แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ศีลล้างบาป
    ดังที่ได้ทราบมาบ้างแล้วว่า ศีลล้างบาปเป็นเสมือนบานประตูบานแรกที่จะนำเราให้เข้ามาเป็นคริสตชนที่สมบูรณ์    มีความจำเป็นอย่างยิ่งตามกฎหมายของพระศาสนจักร
    จากข้อความเชื่อที่บอกว่ามนุษย์เราเกิดมามีบาปกำเนิดติดตัวมาด้วยทุกคน และเมื่อโตขึ้นรู้ความแล้วก็ได้กระทำผิดกระทำบาปด้วยตัวเองอีกมากมายพระเยซูคริสตเจ้าทรงตั้งศีลล้างบาปขึ้นเพื่อชำระล้างให้มนุษย์พ้นจากบาปกำเนิดและบาปที่ทำเองด้วย    มีความหมายถึงการทำให้เกิดใหม่อีกครั้งหนึ่งในความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า ให้มีชีวิตใหม่
    ศีลล้างบาปจึงมีอำนาจแห่งการลบล้างบาปทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ผู้รับกลายเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรโดยสมบูรณ์ และทำให้สามารถรับศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ได้ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
    ถ้าจะเปรียบศีลล้างบาปกับศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ศีลล้างบาปเปรียบเหมือนประตูหน้าบ้านที่ทุกคนในบ้านจะต้องผ่านเข้ามาเป็นอันดับแรก เพื่อเข้าไปยังห้องต่างๆ (ศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ) ภายในบ้าน    ดังนั้น ศีลล้างบาปจึงเป็นเงื่อนไขจำเป็นที่ทุกคนจะต้องรับก่อนที่จะได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ
    การเป็นคริสตชนจึงจำเป็นต้องรับศีลล้างบาปเสมอ ศีลล้างบาปนี้จะทำให้มนุษย์มีชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า หรือ ที่เราเรียกว่า “มีชีวิตพระ” อันหมายถึง การเป็นอวัยวะของพระเยซูคริสตเจ้าและพระศาสนจักรอย่างแท้จริงและศีลล้างบาปจะทำไห้เราได้รับการประทับตราอันไม่รู้เลือนในชีวิต คือ เราจะเป็นคริสตชนตลอดไป     แม้ภายหลังเราอาจจะหลงลืมพระเป็นเจ้าไปก็ตาม ศีลล้างบาปจึงเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ที่รับได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
    ดังที่ได้เคยกล่าวไปแล้วว่า ศีลศักดิ์สิทธิ์มีองค์ประกอบสำคัญ คือ เครื่องหมายภายนอก และ บทภาวนาประจำศีล    สำหรับศีลล้างบาปเครื่องหมายภายนอกที่สำคัญก็คือ การเทน้ำบนศีรษะของผู้รับศีล และประกอบกับบทภาวนาว่า “...ข้าพเจ้าล้างท่าน เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต”     การกระทำดังกล่าวเป็นเครื่องหมายของการชำระล้าง เพราะน้ำคือสิ่งที่ใช้ชำระล้างความสกปรกให้หมดไป มีความหมายลึกลงไปถึงการชำระชีวิต (ทั้งกายและวิญญาณ) ของผู้รับศีลให้ปราศจากบาปและความผิดต่างๆ  ให้มีชีวิตพ้นจากความตายฝ่ายวิญญาณ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
สาระบางประการที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับศีลล้างบาป
    1. ผู้โปรดศีลล้างบาป    โดยปกติจะเป็นพระสงฆ์ แต่ในกรณีจำเป็นอาจเป็นคริสตชนคนใดคนหนึ่งก็ได้    โดยให้ถือตามความเหมาะสม เช่น ไม่มีพระสงฆ์ก็อาจจะเป็น นักบวช บราเดอร์ ซิสเตอร์ ครูคำสอน หรือ สัตบุรุษที่ศรัทธาเป็นที่นับถือของสังคม    แต่ต้องเป็นคริสตชนคาทอลิกด้วยและต้องมีความตั้งใจจริงๆ ที่จะโปรดศีลล้างบาป
    2. ผู้รับศีลล้างบาป    เราแยกแยะผู้รับศีลล้างบาปได้เป็น 2 ประเภท คือ
       ก. ผู้ที่เป็นทารก    หมายถึง เด็กที่เกิดมาในครอบครัวคาทอลิก เมื่อเขาแข็งแรงแล้ว (โดยประมาณ 3 เดือน) บิดามารดาจะต้องนำเขาไปขอรับศีลล้างบาปกับพระสงฆ์ เพราะหน้าที่สำคัญประการหนึ่งในฐานะบิดา-มารดา เมื่อโตขึ้นเราเรียกเด็กๆ เหล่านี้ว่า “คริสตังนอน” สาเหตุก็มาจากการที่มีคนอุ้มมาให้ล้างบาปหรือ นอนรับศีลล้างบาปนั่นเอง
       ข. ผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ (รู้ความแล้ว)    โดยปกติเมื่อเด็กๆ ที่โตขึ้นมาจนรู้ความแล้ว เขาจะต้องเรียนคำสอน ต้องปฏิบัติศาสนกิจ คือ สวดภาวนา ร่วมพิธีกรรมได้ด้วยตัวเอง ต้องมีความเชื่อตามที่พระศาสนจักรสอน ซึ่งสรุปอยู่ใน “บทข้าพเจ้าเชื่อในพระเจ้า” และตัวสินใจด้วยตัวเองที่จะรับศีลล้างบาป เราเรียกคริสตชนคาทอลิกประเภทนี้ว่า “คริสตังยืน” สาเหตุก็เพราะเขาเดินเข้าไปล้างลาปด้วยตัวของเขาเอง หรือ เข้าใจง่ายๆ คือ ยืนรับศีลล้างบาป
    3. พ่อ-แม่อุปถัมภ์ (พ่อแม่ทูนหัว)    พระศาสนจักรเรียกร้องให้ผู้รับศีลล้างบาปทุกคนต้องมีพ่อ-แม่อุปถัมภ์ คือ ต้องมีผู้คอยดูแลแนะนำให้ผู้รับศีลล้างบาปเติบโตขึ้นในความเชื่อและการเป็นคริสตชนคาทอลิกที่ดี    โดยปกติจะเป็นเพศเดียวกับผู้รับศีลล้างบาป และ อายุมากกว่าผู้รับศีลล้างบาปพอสมควร  ทั้งนี้ เพื่อจะได้สามารถดูแลชี้แนะลูกทูนหัวของตนได้ และป้องกันปัญหาชู้สาวที่อาจจะเกิดขึ้นได้    การเลือกพ่อ-แม่อุปถัมภ์จึงควรเป็นผู้ที่รู้จักมักคุ้นและเป็นที่เคารถนับถือของผู้รับศีลด้วย    เป็นผู้ที่มีความเชื่อ ความศรัทธา สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนอื่นได้
    4. ชื่อนักบุญประจำตัว    เวลารับศีลล้างบาป ทุกคนจะต้องเลือกนักบุญองค์ใดองค์หนึ่งเป็นชื่อนักบุญประจำตัว    ถ้าเป็นทารกบิดา-มารดาหรือผู้ใหญ่จะเป็นคนเลือกให้ หรือ ถ้าผู้ล้างบาปเป็นผู้ใหญ่ อาจจะเลือกด้วยตัวเอง  โดยศึกษาประวัติของนักบุญที่ตนชื่นชอบและเป็นแบบอย่างสำหรับตนเองก็ยิ่งดี  โดยปกติก็จะเลือกนักบุญที่เป็นเพศเดียวกับตนเอง    แต่พระศาสนจักรก็มิได้ห้ามเลือกนักบุญที่เป็นเพศตรงข้ามกับตนเอง    ที่สำคัญเขาต้องรู้จักรประวัติของท่านนักบุญประจำตัวของตนเองอย่างดี เพื่อเลียนแบบอย่างและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่าน
    5. ทะเบียนล้างบาป    ผู้ที่รับศีลล้างบาปแล้วทุกคนต้องได้รับการบันทึกประวัติและสถานภาพไว้ที่วัดของตนและถือเป็นหลักฐานสำคัญในการรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ     เราจึงถูกเรียกร้องให้นำใบสำเนาศีลล้างบาป ไปแสดงและต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน    ทังนี้เพราะเหตุผลดังที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นแล้ว
    6. พิธีอื่นๆ ที่แทนศีลล้างบาป    ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ ที่ไม่สามารถจะรับศีลล้างบาปได้ ยังมีพิธีที่ถือว่าเป็นเสมือนศีลล้างบาปได้ คือ
       ก.พิธีล้างบาปด้วยเลือด    คือ การเป็นมรณสักขี เช่น คนหนึ่งมีความเชื่อในพระเป็นเจ้าแล้ว แต่ไม่มีโอกาสรับศีลล้างบาปแบบธรรมดา ถูกทำร้ายและตายยืนยันความเชื่อ
       ข. พิธีล้างบาปด้วยความปรารถนา    คือ การแสดงเจตนาความรัก ความเชื่อในพระเป็นเจ้าอย่างมั่นคง และไม่มีโอกาสรับศีลล้างบาป อยู่ในสถานะกำลังจะตาย แต่หาผู้โปรดศีลไม่ได้ เช่น เรือกำลังจะจม เครื่องบินกำลังจะตก ฯลฯ
ศีลล้างบาป   
    เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่ทุกคนจะต้องเอาใจใส่และกระทำให้ดีที่สุด ให้ถูกต้องตามคำสอนของพระศาสนจักร ทุกคนในที่นี้หมายถึงบรรดาผู้อภิบาล พระสงฆ์ ครูคำสอน บิดา-มารดา ผู้ปกครอง และผู้รับศีลฯ เอง    เพราะดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเป็นเสมือนประตูหน้าบ้าน ที่จะทำให้เราเข้าในห้องต่างๆ ภายในบ้านได้ ให้เราได้รับพระพรที่จำเป็นของชีวิตตามมาอีกมากมาย

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 21:20-25) เวลานั้น เปโตรเหลียวไปดู ก็เห็นศิษย์ที่พระเยซูเจ้าทรงรักตามมา เป็นคนที่เอนกายชิดพระอุระพระเยซูเจ้าในการเลี้ยงอาหารค่ำ และทูลถามพระองค์ว่า “พระเจ้าข้า ผู้ที่ทรยศพระองค์เป็นใคร” เมื่อเปโตรเห็นเขา...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 21:15-19) เวลานั้น เมื่อบรรดาศิษย์กินเสร็จแล้ว พระเยซูเจ้าตรัสกับซีโมนเปโตรว่า “ซีโมน บุตรของยอห์น ท่านรักเรามากกว่าคนเหล่านี้รักเราไหม” เปโตรทูลตอบว่า “ใช่แล้ว...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 17:20-26) เวลานั้น พระเยซูเจ้าทรงเงยพระพักตร์ขึ้นเบื้องบน ตรัสว่า “ข้าพเจ้าอธิษฐานภาวนามิใช่สำหรับคนเหล่านี้เท่านั้น แต่สำหรับผู้ที่จะเชื่อในข้าพเจ้า ผ่านทางวาจาของเขาด้วย ข้าแต่พระบิดา ข้าพเจ้าอธิษฐานภาวนา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

232. ฉันต้องนำอะไรไปในการสารภาพบาป องค์ประกอบที่สำคัญของทุกๆ การสารภาพบาป คือการพิจจารณามโนธรรม ความสำนึกผิด จุดประสงค์ของการปรับปรุงแก้ไข ไปสารภาพบาป และทำกิจใช้โทษบาป (1450-1460,1490-1492,1494) การพิจารณามโนธรรมควรกระทำอย่างถี่ถ้วน แต่ไม่สามารถหมดจดได้...
231. สององค์ประกอบพื้นฐานของการให้อภัยบาปของคริสตชนที่เกิดขึ้นในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการใช้โทษบาปคืออะไร สิ่งที่เรียกร้องเพื่อการให้อภัยบาป คือบุคคลที่ผ่านกลับใจ และพระสงฆ์ ผู้ให้อภัยบาปในนามของพระเจ้า
230. การใช้โทษบาปคืออะไร การใช้โทษบาปคือการทำการชดใช้ หรือทำสิ่งที่ชดเชยในสิ่งที่ได้กระทำผิด การใช้โทษบาปต้องไม่ใช่การเอาไว้เฉพาะในสมองเท่านั้น แต่ต้องแสดงออกด้วยการกระทำด้วยความรักเมตตา และในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับผู้อื่น การใช้โทษบาปอาจกระทำได้ด้วยการภาวนา การจำศีลอดอาหาร และช่วยเหลือผู้ยากจนทั้งด้านฝ่ายจิตและวัตถุสิ่งของ (1434 –...

กิจกรรมพระคัมภีร์

บ่อแห่งความปรารถนา
บ่อแห่งความปรารถนา
เรื่อง คำภาวนาพระคัมภีร์ เพลงสดุดี 91:15-16ภาพรวม เด็กโยนเหรียญบาทลงในภาชนะ และเรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างความปรารถนา และคำภาวนาอุปกรณ์ เหรียญบาทเท่าจำนวนเด็ก (หรือให้เด็กนำมาเอง) ชามใหญ่ 1 ใบประสบการณ์ วางชามที่เตรียมมาตรงกลางห้อง ให้เด็กๆ นั่งเป็นวงกลมล้อมรอบชาม...
บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้นำทางจิตวิญญาณ
บัญญัติ   10  ประการสำหรับผู้นำทางจิตวิญญาณ
ชื่อเรื่อง บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้นำทางจิตวิญญาณ คำนำ บัญญัติ 10 ประการ นี้จะช่วยให้คุณเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นคุณควรศึกษาด้วยความเอาใจใส่ ไตร่ตรองและนำไปปฏิบัติแล้วคุณจะพบว่า การศึกษาของคุณจะให้ผลดี และความเพลิดเพลินแก่เยาวชนและตัวคุณเอง เนื้อหา บัญญัติประการที่...

ประมวลภาพกิจกรรม

จัดห้องคำสอน โรงเรียนคาเบรียลอุปถัมภ์
จัดห้องคำสอน โรงเรียนคาเบรียลอุปถัมภ์
📘 เตรียมพร้อมก่อนเปิดเทอม 📘 วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2024 คุณพ่อทัศมะกิจประยูร ผู้จัดการแผนกคำสอน ได้นำทีมคำสอนสัญจร ไปจัดห้องเรียนคำสอน เพื่อเตรียมต้อนรับเด็กๆ ก่อนเปิดเทอม ที่โรงเรียนคาเบรียลอุปถัมภ์ ✨ครั้งนี้ ทางแผนกฯ ได้ขนหนังสือที่เหมาะกับเด็กๆ และสำหรับคุณครู ในการอ่าน ศึกษา...
ผู้หว่าน 8
ผู้หว่าน 8
🌾 ผู้หว่าน 8 🌾 วันที่ 2 พฤษภาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจร แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้มีโอกาสไปแบ่งปันให้กับผู้ที่มาเข้าคอร์ส "ผู้หว่าน รุ่นที่ 8" จำนวน 14 คน ที่บ้านผู้หว่าน อำเภอสามพราน ในหัวข้อ...

สวดสายประคำ

ประวัติความศรัทธาต่อพระนางมารีย์ ผู้แก้ปม
เดือนตุลาคม เดือนแห่งแม่พระลูกประคำ แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เชิญชวนพี่น้องทุกครอบครัว สวดสายประคำในครอบครัว...
พระแม่มารีย์ แห่งกวาดาลูเป
ชาวคาทอลิกกว่า 400 คน ในเดนเวอร์ (Denver) ได้แห่ศีลมหาสนิทไปรอบๆ...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...
วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Joy
Joy
ความชื่นชมยินดีคือความสุขอันยิ่งใหญ่ ความเชื่อของเราในองค์พระเยซูเจ้าและในพระสัญญาของพระองค์นำความชื่นชมยินดีมาสู่เรา
Creator
พระผู้สร้าง พระผู้สร้างคือผู้ที่ทำให้ทุกสิ่งเกิดขึ้นมา เราเชื่อว่าพระเจ้าทรงเป็นพระผู้สร้าง ที่ทำให้ทุกสิ่งเกิดขึ้น
faith
ความเชื่อ ความเชื่อ คือการเชื่อและไว้วางใจในความรักของพระเจ้า ความเชื่อคือพรประทานจากพระเจ้า ที่เราสัมผัสได้จากประสบการณ์ของการเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร

ประวัตินักบุญ

14 พฤษภาคม  ฉลองนักบุญ มัทธีอัส  อัครสาวก  ( St. Matthias, Apostle, feast )
14 พฤษภาคม ฉลองนักบุญ มัทธีอัส อัครสาวก ( St. Matthias, Apostle, feast ) นักบุญมัทธีอัสได้เป็นหนึ่งในบรรดาอัครสาวกของพระเยซูเจ้า โดยถือว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่อยู่กับพวกอัครสาวกตลอดเวลาที่ติดตามพระเยซูเจ้า โดยนับจากเวลาที่พระเยซูเจ้าได้รับพิธีล้างที่แม่น้ำจอร์แดน จนกระทั่ง...
13 พฤษภาคม พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา
13 พฤษภาคม พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา (Our Lady of Fatima) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ.1917 ซึ่งอยู่ในช่วงปีที่ 3 ของสงครามโลกครั้งที่ 1...
1 พฤษภาคม  ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร
1 พฤษภาคม ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร (St Joseph the Worker, memorial) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1955...
29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร
29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร ( St. Catherine of Siena ; Virgin & Doctor,...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
5410
6799
34236
163929
346070
36253721
Your IP: 3.144.69.178
2024-05-17 21:49

สถานะการเยี่ยมชม

มี 182 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์