แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

หลักธรรมคาทอลิก : การดำเนินชีวิตแบบคริสตชน
glowingcross1ความเชื่อสำคัญของคริสตชนคาทอลิกเรามีศูนย์รวมอยู่ที่การเชื่อว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่ แต่ศาสนาคริสต์เป็นมากกว่าชุดความเชื่อ นั่นคือเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต  ความเชื่อแบบคริสตชนต้องส่งผลเป็นการใช้ชีวิตรักและรับใช้ผู้อื่น มิฉะนั้นมันจะเป็นความเชื่อที่ไม่จริงใจและเปล่าประโยชน์ หลักธรรมของคริสตชนช่วยให้เราค้นพบว่าควรดำเนินชีวิตอย่างไรให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเจ้า ดังที่พระเยซูเจ้าและพระศาสนจักรเปิดเผยแก่เรา
หลักธรรมของคริสตชนคืออะไร? CCC 1731-1738

    หลักธรรมของคริสตชนถูกสรุปได้ด้วยคำๆ หนึ่งคือคำว่า“ความรับผิดชอบ” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “responsibility”มาจากการผสมของคำในภาษาอังกฤษ 2 คำ คือ response =การตอบสนอง และ ability = ความสามารถหรือเสรีภาพในการเลือกกระทำหรือไม่กระทำ   แล้วเราต้องตอบสนองต่ออะไร  ชีวิตคริสตชนต้องเป็นการตอบสนองต่อความรักที่พระเป็นเจ้าทรงมอบให้เราอย่างไม่มีเงื่อนไขและต่อการช่วยให้รอดพ้น ซึ่งเป็นของขวัญที่ทรงมอบให้เราโดยทางพระเยซูคริสต์ “การติดตามพระเยซูเจ้าเป็นเรื่องสำคัญที่สุด และเป็นพื้นฐานของหลักธรรมสำหรับคริสตชนตั้งแต่ยุคแรก”(พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2, The Splendor of Truth, 19)หลักธรรมของคริสตชนต้องมาเป็นลำดับแรกเมื่อผู้คนตอบรับพระเป็นเจ้า เมื่อพวกเขาตอบสนองความรักของพระองค์อย่างเสรี สาระสำคัญของหลักธรรมสำหรับคริสตชนก็คือ “ความรัก” นั่นเอง
     “ท่านจะต้องรักองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญาของท่าน  นี่คือบทบัญญัติเอกและเป็นบทบัญญัติแรก บทบัญญัติประการที่สองก็เช่นเดียวกัน คือท่านต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง”  (มธ. 22:37-39)
    แง่คิดที่สองในหลักธรรมของคริสตชน ก็คือการมีเสรีภาพที่จะตอบรับพระเป็นเจ้า ซึ่งหมายถึงเสรีภาพที่จะรักและรับใช้พระเจ้า   และนี่ยังเป็นของขวัญอีกประการหนึ่งที่พระเป็นเจ้าทรงมอบให้เรา เพราะมันเป็นส่วนของสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเป็นมนุษย์ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีพื้นฐานซึ่งเกิดจากการที่เขาถูกสร้างขึ้นมาตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า (ด้วยวิญญาณหนึ่ง)นั่นหมายความว่าเราสามารถคิดและรัก พร้อมทั้งสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างในสังคม  มโนธรรมของเราช่วยเหลือเราในการดำรงชีวิตเพื่อพระเป็นเจ้าและบุคคลอื่น
พันธสัญญาคืออะไร?  (CCC 54-67)
    เมื่อเราไตร่ตรองดูชีวิตคริสตชนว่าเป็นดั่งการตอบรับคำเชื้อเชิญของพระเป็นเจ้าให้มามีชีวิตชีวาและรักผู้อื่น นั่นคือเรากำลังให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ตามพระสัญญาระหว่างพระเป็นเจ้ากับลูกๆของพระองค์
    พันธสัญญาเป็นคำมั่นสัญญาที่หนักแน่นที่สุดที่สามารถเป็นไปได้ระหว่างบุคคลสองฝ่ายที่มีชนชั้นต่างกัน ซึ่งมีข้อผูกมัดต่อกันอยู่บ้าง  หนังสือพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมเปิดเผยให้รู้ว่าพระยาเวห์ผู้ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าทรงกระทำพันธสัญญามากมายกับมนุษย์โดยทั่วไป  และเป็นพิเศษกับประชาชนชาวยิว ในพันธสัญญาเหล่านั้น พระยาเวห์ทรงซื่อสัตย์ต่อพระสัญญาที่ทรงให้ไว้เสมอ ในทางกลับกันพระองค์ก็มีพระประสงค์ให้ประชากรของพระองค์ซื่อสัตย์ต่อพันธสัญญานั้นด้วย   สำหรับชาวยิว การซื่อสัตย์ต่อพันธสัญญาหมายถึงการนำเอาหนังสือโตราห์(Torah)หรือธรรมบัญญัติ(law) มาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตซึ่งถือเป็นการตอบรับพระเจ้า  ธรรมบัญญัติซึ่งถูกสรุปไว้ในบทบัญญัติ 10 ประการที่พระเป็นเจ้าทรงแสดงแก่โมเสสไม่ใช่ข้อผูกมัดอันเป็นภาระที่ชาวยิวเลือกเอามาปฏิบัติได้ตามใจ  แต่เป็นแนวทางการใช้ชีวิตที่เป็นลักษณะเฉพาะอย่างยิ่งซึ่งพระเป็นเจ้าทรงมอบให้ประชาชนชาวยิว
พันธสัญญาในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่คืออะไร? (CCC 1718-1724)
    พันธสัญญาที่สำคัญที่สุดในบรรดาพันธสัญญาทั้งหมดที่พระผู้เป็นเจ้าทรงกระทำต่อมนุษย์ ก็คือ พันธสัญญาด้วยความรักที่พระเจ้าทรงกระทำผ่านทางพระเยซูเจ้าพระบุตรของพระองค์  พันธสัญญาในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่คือ หลักประกันที่เกิดขึ้นด้วยพระโลหิตของพระคริสต์เอง   ความตายและการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้าเป็นสิ่งที่รับรองความสัมพันธ์ของเรากับพระบิดา  คริสตชนทั่วไปดำเนินชีวิตตามพันธสัญญาโดยการยอมรับความรักของพระเจ้าในองค์พระเยซูคริสต์  และตอบรับพระองค์ได้โดยการปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาคริสต์ ซึ่งหมายถึง บทบัญญัติ 10 ประการ(The Ten Commandments) และบทเทศน์บนภูเขา(The Sermon on the Mount) ที่พระเยซูเจ้าทรงเทศน์สอนโดยถูกบรรยายไว้อย่างรวบรัดในเรื่องความสุขแท้ 8 ประการ (Beatitudes)
    หลักธรรมของศาสนาคริสต์ ประกอบด้วยการดำเนินชีวิตติดตามพระเยซูเจ้า การละทิ้งตนเองเพื่อพระองค์ การน้อมรับพระสิริมงคลขององค์พระผู้เป็นเจ้าเข้ามาเปลี่ยนแปลงตัวเองและการฟื้นฟูชีวิตโดยอาศัยพระพรนานาประการจากพระเมตตาของพระองค์ที่ประทานแก่เราผ่านการใช้ชีวิตร่วมกันในพระศาสนจักรของพระองค์.....บุคคลที่รักองค์พระคริสตเจ้า ก็จะปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระองค์(อ้างอิง ยน. 14:15)
                                            The Splendor of Truth, ข้อ119
บทบัญญัติ 10 ประการ  (The Ten Commandments) คืออะไร? (CCC 2052-2082)
    บทบัญญัติ 10 ประการ ถูกค้นพบในหนังสืออพยพ บทที่ 20 ข้อ 2-17 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ บทที่ 5 ข้อ 6-21
1.    เราคือองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่าน  ท่านต้องไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากเรา
2.    อย่าออกพระนามพระเจ้าของท่านอย่างไม่สมควร
3.    อย่าลืมฉลองวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์
4.    จงนับถือบิดามารดา
5.    อย่าฆ่าคน
6.    อย่าผิดประเวณี
7.    อย่าลักขโมย
8.    อย่าพูดเท็จใส่ร้ายผู้อื่น
9.    อย่าปลงใจผิดประเวณี
10.    อย่ามักได้ทรัพย์สินของผู้อื่น

    “เราคือองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่าน ท่านต้องไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากเรา”   บทบัญญัติประการที่ 1จัดว่ามีความสำคัญเป็นอันดับแรกสำหรับชีวิตคริสตชน  การปฏิบัติและแสดงความรู้สึกต่อพระเจ้าแบบตรงไปตรงมาซึ่งนำไปสู่การเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าตลอดนิรันดร ต้องเป็นหัวใจและเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิต   การประจญล่อลวงมักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอในรูปของสิ่งต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา   เงินทอง, อำนาจ, การได้ครอบครองเป็นเจ้าของ และความสุขสบาย ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อเราได้มันมาหรือประสบผลสำเร็จตามที่ได้ตั้งใจไว้ เราก็มักจะหลงลืมผู้ที่สร้างมันมา และนั่นเป็นเหตุให้เรากลายเป็นคนที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า
เราเคารพต่อบทบัญญัติประการที่ 1 เมื่อเรายอมรับอย่างสำนึกในบุญคุณ, นมัสการ และขอบคุณผู้เป็นแหล่งกำเนิดของชีวิต นั่นคือพระเจ้าผู้ทรงสร้างเราด้วยความรัก  บทบัญญัติประการนี้เรียกร้องให้เราเชื่อและหวังในพระเจ้า และรักพระองค์เหนือทุกสิ่ง
บทบัญญัติประการที่ 1 นี้ห้ามการเคารพรูปบูชาในทุกรูปแบบ, การเชื่อไสยศาสตร์. โหราศาสตร์, การทำนายโชคชะตาหรือ การนับถือลัทธิเชื่อผี
    “อย่าออกพระนามพระเจ้าของท่านอย่างไม่สมควร”   บทบัญญัติประการที่ 2  เน้นความจำเป็นที่เราต้องเคารพพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า และปฏิบัติกิจทางศาสนาของเราอย่างสุภาพ คริสตชนต้องระลึกเสมอว่าสิ่งที่เราเอ่ยออกไป จะสะท้อนว่าเราเป็นใคร บางสิ่งบางอย่างมีความศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงพระนามของพระเจ้า ดังนั้นการใช้ภาษาและทัศนคติของเราที่มีต่อศาสนาจึงควรเป็นไปด้วยความเคารพ   การแช่งด่า การวอนขอให้พระเป็นเจ้าลงโทษหรือทำร้ายผู้อื่นจึงเป็นสิ่งที่ผิด การสบประมาทอันหมายถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงดูถูกหรือขาดความเคารพต่อพระเจ้า และการกล่าวสาบานเท็จโดยอ้างพระนามของพระเจ้า ล้วนแล้วแต่เป็นการผิดต่อบทบัญญัติประการที่สอง
    “อย่าลืมฉลองวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์”   ความจงรักภักดีต่อพระเจ้า เรียกร้องให้เราสักการะและเคารพบูชาพระเจ้าในชุมชนร่วมกับผู้อื่น  ความรอดพ้นจากบาปของเราไม่ใช่สิ่งที่เราได้มาด้วยความพยายามตามลำพัง  คาทอลิกได้รับคำสั่งของพระเยซูเจ้าให้ประกอบพิธีหักปัง(มิสซา) ในพระนามของพระองค์  เรารวมกลุ่มกันอาทิตย์ละครั้งเพื่อร่วมกันนมัสการพระเจ้า  และในวันนั้นเราจะหยุดภาระหน้าที่อื่นๆของเราเพื่อพักผ่อน สวดภาวนาและรำพึงไตร่ตรอง  คริสตชนคาทอลิกนมัสการพระเจ้าในวันอาทิตย์ เพื่อระลึกถึงการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า  หลายคนจัดพิธีของวันอาทิตย์ตั้งแต่เย็นวันเสาร์  เนื่องจากเวลาทางพิธีกรรมเริ่มต้นและสิ้นสุดด้วยเวลาพระอาทิตย์ตก  คริสตชนคาทอลิกถูกกระตุ้นเตือนให้เคารพวันพระเจ้าโดยละเว้นการทำงานที่ไม่จำเป็นในวันนั้น ใช้เวลากับคนที่รัก และมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์อื่นๆ
    “จงนับถือบิดามารดา”   พันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับคริสตชนถูกสะท้อนให้เห็นโดยครอบครัว  พระเจ้าทรงรักลูกๆ ของพระองค์อย่างไร บิดามารดาที่เป็นมนุษย์ควรรักและดูแลลูกของตนอย่างนั้น  ส่วนผู้ที่เป็นบุตรก็ควรเคารพ เชื่อฟัง มีความสุภาพและความกตัญญูต่อบิดามารดา  นอกจากนั้น ผู้เป็นพี่น้องกันทั้งชายและหญิงก็ต้องมีความอดทน ปรองดอง และให้ความเคารพกัน  เพื่อให้ครอบครัวสามารถเป็นชุมชนหนึ่งที่มีความรักเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน   บทบัญญัติประการนี้ยังมีความหมายโดยนัยถึงถึงสังคมที่กว้างออกไปด้วย นั่นคืออำนาจใดๆที่มีอยู่อย่างเหมาะสมเป็นสิ่งที่เราต้องเชื่อฟังและให้ความเคารพ เนื่องจากอำนาจทั้งมวลล้วนมาจากพระเจ้า  บรรดาผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่าผู้อื่นจึงมีหน้าที่ใช้อำนาจของตนด้วยความเมตตาและความอ่อนน้อมถ่อมตน
    “อย่าฆ่าคน”   ชีวิตเป็นของขวัญที่พระเป็นเจ้าประทานให้กับเรา และบทบัญญัติประการที่ห้านี้เน้นถึงความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต โดยกล่าวโทษทุกสิ่งที่ทำลายชีวิต (ตัวอย่างเช่น การฆาตกรรม, การฆ่าตัวตาย หรือการค้ายา)  ความสำคัญของบทบัญญัติประการที่ห้ารวมเอาเรื่องการดูแลตัวเองไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย จิตใจและวิญญาณ   คริสตชนยังต้องสนใจเกี่ยวกับการปกป้องดูแลชีวิตของผู้อื่นด้วยเช่นกัน  พระเยซูเจ้าได้ทรงแสดงให้เห็นถึงความรักของพระเป็นเจ้าที่แผ่ไปถึงผู้อ่อนแอและช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ดังนั้น คริสตชนจึงควรทำแต่สิ่งที่มุ่งหวังความสงบสุข, ความยุติธรรม และชีวิต  โดยการต่อต้านสงคราม, ความยากจน, ความลำเอียง, การทำแท้ง, การทำการุณยฆาต และความอยุติธรรมอื่นๆ ในสังคม
    “อย่าผิดประเวณี”   การแต่งงานของคริสตชนเป็นเครื่องหมายที่ทรงพลังของความรักที่มีสัญญาต่อกัน  ความไม่ซื่อสัตย์ส่งผลร้ายต่อความรักนั้นและคุกคามเพื่อจะทำลายสัญญา  บทบัญญัติประการที่หกเรียกร้องเราให้คำนึงถึงพลังการให้กำเนิดด้วยสิ่งที่พระเป็นเจ้าได้ทรงอวยพรเราไว้  ความรักระหว่างชายหญิงเป็นส่วนหนึ่งในลักษณะนิสัยชอบสร้างสรรค์ของพระเจ้าเอง  พฤติกรรมที่เอาเปรียบผู้อื่นหรือหมกมุ่นอยู่กับความต้องการอย่างเห็นแก่ตัว บิดเบือนเจตนาของพระเจ้าในการสร้างมนุษย์ (ดูข้อมูลเพิ่มเรื่อง วิธีการเข้าถึงจุดหมายกิจกรรมทางเพศของคริสตชน ในบทที่ 16)
     “อย่าลักขโมย”   การขโมยในทุกรูปแบบทำลายความเชื่อใจ  การขโมยเป็นการทำลายข้อผูกมัดของมนุษย์ที่จำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและสามัคคีกัน  บทบัญญัติประการที่เจ็ดยังห้ามการโกงและการใช้สิ่งแวดล้อมในทางที่ผิด บทบัญญัติเตือนเราให้แบ่งปันสิ่งที่เรามีมากเกินความจำเป็นให้แก่ผู้ที่ขาดแคลน  การไม่แบ่งปันสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้กับผู้ที่ขาดแคลนถือเป็นความผิดต่อความรักอย่างร้ายแรง
    “อย่าพูดเท็จใส่ร้ายผู้อื่น”   การเป็นคนซื่อสัตย์คือ การเป็นพยานให้กับความจริง   การพูดโกหก, การพูดเพื่อแก้แค้น, การนินทา, การทำเรื่องอื้อฉาว, การพูดให้เสื่อมเสีย (การนำความผิดของผู้อื่นมาเปิดเผยโดยไม่จำเป็น) และการเป็นพยานเท็จ ล้วนทำลายความรักที่เป็นตัวเชื่อมสังคมมนุษย์ และเป็นการละเมิดบทบัญญัติประการนี้
    “อย่าปลงใจผิดประเวณี”   “อย่ามักได้ทรัพย์สินของผู้อื่น”   บ่อยครั้งที่ความอยากได้เป็นผลมาจากตัณหา, การทำตามใจตนเอง, ความอิจฉา, หรือความโลภ การไม่ควบคุมความต้องการในเรื่องเพศหรือเรื่องการครอบครองวัตถุสิ่งของมักก่อให้เกิดความเกลียดชัง, ความหึงหวง และการชิงดีชิงเด่น  บทบัญญัติทั้งสองประการนี้เน้นความสำคัญของเจตนาที่บริสุทธิ์และแรงจูงใจที่เหมาะสมเมื่อต้องเกี่ยวข้องกับผู้อื่น การกระทำทั้งหลายที่ทำลายความรัก มักจะเกิดจากความต้องการที่ไม่ได้มุ่งให้เกิดปฏิสัมพันธ์อันมีความเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์
ความสุขแท้จริง(The Beatitudes) คืออะไร? (CCC 1716, 1725-1727)
    ความสุขแท้จริงสรุปแนวทางที่ผู้ติดตามพระคริสต์พึงพากเพียรในการดำเนินชีวิต และแสดงถึงสาระสำคัญของหลักธรรมตามแนวพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ที่ถูกพบในบทเทศน์บนภูเขาซึ่งพระเยซูเจ้าทรงเทศนาสั่งสอน(มัทธิว บทที่ 5-7)  ความสุขแท้จริงเป็นคำพรรณนารูปแบบการเจริญชีวิตแบบพระคริสต์ และเป็นคำเชื้อเชิญให้เข้ามาเป็นศิษย์พระคริสต์ อีกทั้งร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ (พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2, The Splendor of Truth, 16)
    ผู้มีใจยากจนย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา
    ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้าย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับการปลอบโยน
    ผู้มีใจอ่อนโยนย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับแผ่นดินเป็นมรดก
    ผู้หิวกระหายความชอบธรรมย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะอิ่ม
    ผู้มีใจเมตตาย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับพระเมตตา
    ผู้มีใจบริสุทธิ์ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้เห็นพระเจ้า
    ผู้สร้างสันติย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า
    ผู้ถูกเบียดเบียนข่มเหงเพราะความชอบธรรมย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา
                                        (มธ 5:3-10)
เราจะอธิบายความหมายของความสุขแท้จริงอย่างไร?   (CCC 1716-1717)
    “ผู้มีใจยากจนย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา”   ในประเด็นนี้ พระเยซูเจ้าไม่ได้ทรงยกย่องความยากจนในความหมายตามตัวอักษร แต่พระองค์ทรงกล่าวถึงบุคคลที่ถูกริดรอนทรัพย์สินเงินทอง, อำนาจ, ชื่อเสียง และไม่ใส่ใจในสิ่งต่างๆ ที่สื่อถึงเป็นความสำเร็จฝ่ายโลก  แต่มีความซื่อสัตย์ต่อเบื้องพระพักตร์พระเจ้า   พวกเขารู้ว่าพวกเขาต้องไว้วางใจพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ในทุกเรื่อง  พระเยซูเจ้าขอให้เรามีความยากจนในจิตใจแบบนั้นเหมือนกัน คือต้องมีความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในพระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว
    “ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้าย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับการปลอบโยน”   คำสอนนี้ให้ความหวังแก่เราว่า ท่ามกลางความยากลำบากที่เราได้รับ เราจะได้รับการปลอบโยนในตอนท้าย เราต้องไม่กลายเป็นผู้ที่ขมขื่น
     “ผู้มีใจอ่อนโยนย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับแผ่นดินเป็นมรดก”   ผู้ที่มีใจอ่อนโยนจะเป็นผู้ที่ถ่อมตัว เขาหรือเธอจะไม่แสดงความอิจฉาหรือหาวิธีแก้แค้นเมื่อถูกทำร้ายหรือถูกชิงช้ง
    “ผู้หิวกระหายความชอบธรรมย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะอิ่ม”   การกระหายหาความชอบธรรมหมายถึงการค้นหายุติธรรมอันศักดิ์สิทธิ์  การค้นหายุติธรรมอันศักดิ์สิทธิ์หมายถึงการแสวงหาความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลหนึ่งที่ได้ชื่อว่ามีความชอบธรรม, ยุติธรรม, และถูกต้องอย่างสมบูรณ์ การรับศีลมหาสนิทในทุกวันอาทิตย์เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและฟื้นฟูความสัมพันธ์นี้ ศีลมหาสนิทผลักดันเราให้ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความยุติธรรม, ให้สิ่งที่พวกเขาสมควรได้รับ  และทำให้มั่นใจว่าทุกคนมีทางเข้าถึงสิ่งทั้งหลายที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี
    “ผู้มีใจเมตตาย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับพระเมตตา”  ในบทข้าแต่พระบิดา เราร้องขอให้พระเจ้ายกโทษให้เราเหมือนที่เรายกโทษให้ผู้อื่น เมื่อเรายกโทษให้ผู้ที่ทำร้ายเรา, แม้แต่ศัตรูของเรา, นั่นคือเราแสดงให้ทุกคนได้รู้ว่าพระเจ้าทรงมีความรักและความเมตตา  และพระองค์ทรงดูแลเราทุกคน
    “ผู้มีใจบริสุทธิ์ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้เห็นพระเจ้า”   ผู้มีใจบริสุทธิ์เป็นผู้ที่มีหัวใจพร้อมมอบให้กับพระเจ้าเพียงผู้เดียว ไม่ควรมีสิ่งใดมาหันเหความสนใจของเราไปจากพระเจ้าได้  เงินทอง, หน้าที่การงาน, ครอบครัว, เพื่อน, ชื่อเสียง ล้วนเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งเหล่านี้ควรมีบทบาทเป็นอันดับสองในชีวิตของเรา
    “ผู้สร้างสันติย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า”   การมีชีวิตอยู่ในความรักและสันติสุขเป็นคุณลักษณะของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบุตรบุญธรรมของพระเจ้า คริสตชนมีหน้าที่สร้างความสามัคคีขึ้นในหมู่ผู้ที่มีความขัดแย้ง, การแตกแยก และความเป็นศัตรูกัน โดยช่วยพวกเขาให้ตระหนักถึงความเป็นพี่น้องชายหญิงของเรากับพระเยซูคริสต์
    “ผู้ถูกเบียดเบียนข่มเหงเพราะความชอบธรรมย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา”   ไม่มีสัญลักษณ์ของการเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าอันไหนที่จะสำคัญมากไปกว่าการเต็มใจทนทุกข์เพื่อพระองค์  คำสอนและการกระทำของพระเยซูเจ้าทำให้พระองค์ถูกเข้าใจผิดและถูกสบประมาท  การเป็นคริสตชนหมายถึงการเป็นคนมีความตั้งใจที่จะลุกขึ้นยืนยันถึงความเชื่อมั่นของเรา  แม้ว่าการทำเช่นนี้จะนำไปสู่การถูกปฏิเสธ, การถูกข่มเหง หรือการเป็นมรณสักขี

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา พระวรสาตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา (ลก 10:1-12) เวลานั้น องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงแต่งตั้งศิษย์อีกเจ็ดสิบสองคน และทรงส่งเขาล่วงหน้าพระองค์เป็นคู่ๆ ไปทุกตำบลทุกเมืองที่พระองค์จะเสด็จ พระองค์ตรัสกับเขาว่า “ข้าวที่จะเกี่ยวมีมาก แต่คนงานมีน้อย จงวอนขอเจ้าของนาให้ส่งคนงานมาเก็บเกี่ยวข้าวของพระองค์เถิด...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา พระวรสาตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 11:25-30) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ข้าแต่พระบิดา เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ข้าพเจ้าสรรเสริญพระองค์ที่ทรงปิดบังเรื่องเหล่านี้จากบรรดาผู้มีปรีชาและรอบรู้ แต่ทรงเปิดเผยแก่บรรดาผู้ต่ำต้อย ถูกแล้ว พระบิดาเจ้าข้า...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา (ลก 9:51-56) เวลาที่พระเยซูเจ้าจะต้องทรงจากโลกนี้ไปใกล้เข้ามาแล้ว พระองค์ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่จะเสด็จไปกรุงเยรูซาเล็ม และทรงส่งผู้นำสารไปล่วงหน้า คนเหล่านี้ออกเดินทางและเข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของชาวสะมาเรียเพื่อเตรียมรับเสด็จพระองค์ แต่ประชาชนที่นั่นไม่ยอมรับเสด็จเพราะพระองค์กำลังเสด็จไปกรุงเยรูซาเล็ม เมื่อยากอบและยอห์นศิษย์ของพระองค์เห็นดังนี้ก็ทูลพระองค์ว่า “พระเจ้าข้า พระองค์ทรงพระประสงค์ให้เราเรียกไฟจากฟ้าลงมาเผาผลาญคนเหล่านี้หรือไม่”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน วิธีสวดสายประคำและข้อรำพึง
สื่อคำสอน วิธีสวดสายประคำและข้อรำพึง
สื่อคำสอน วิธีการสวดสายประคำ และข้อรำพึงสายประคำ สำหรับวันจันทร์และวันเสาร์…..ธรรมล้ำลึกแห่งความปีติยินดี ข้อรำพึงที่ 1 ทูตสวรรค์แจ้งข่าวแก่พระนางมารีย์ ข้อรำพึงที่ 2 พระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมนางเอลีซาเบธ...
สื่อคำสอน เรื่อง สิ่งคล้ายศีล
สื่อคำสอน เรื่อง สิ่งคล้ายศีล
สิ่งคล้ายศีล คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือกิจการที่พระศาสนจักรกระทำผ่านทางบทภาวนาเฉพาะ เพื่อให้เราได้รับพระพรทั้งสำหรับฝ่ายกายและวิญญาณจากพระเจ้า สิ่งคล้ายศีลมีความคล้ายกับศีลศักดิ์สิทธิ์ ต่างกันตรงที่ว่า ศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็นเครื่องหมายแลเห็นได้ สถาปนาขึ้นโดยพระคริสตเจ้าเพื่อประทานพระหรรษทาน รับอำนาจแจกจ่ายพระหรรษทานจากพระเจ้า...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า การทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า ศีลมหาสนิท...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

141. ความรับผิดชอบของพระสันตะปาปาคืออะไร ในฐานะผู้สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโตร และเป็นหัวหน้าคณะพระสังฆราช สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเป็นบ่อเกิด และผู้รับรองเอกภาพของพระศาสนจักร ท่านมีอำนาจสูงสุดในการอภิบาล...
140. ทำไมพระศาสนจักร จึงไม่ใช่องค์กรประชาธิปไตย ประชาธิปไตยทำงานบนหลักการที่ว่าอำนาจทั้งปวงมาจากประชาชน ในพระศาสนจักร อำนาจทุกประการมาจากพระคริสตเจ้า ด้วยเหตุนี้พระศาสนจักรจึงมีโครงสร้างในลักษณะฐานานุกรม...
139. กระแสเรียกฆราวาสคืออะไร ฆราวาสถูกส่งไปเพื่อให้มีส่วนร่วมในสังคม เพื่อพระอาณาจักรของพระเจ้าจะได้เติบโตท่ามกลางมนุษย์ (987- 913, 940-943)...

กิจกรรมพระคัมภีร์

สู้กับตาสีเขียวของสัตว์ประหลาด
สู้กับตาสีเขียวของสัตว์ประหลาด
สู้กับตาสีเขียวของสัตว์ประหลาด เรื่อง ความอิจฉา พระคัมภีร์ มัทธิว 20:20-28 ภาพรวม เด็กๆ ได้รับประสบการณ์ของความอิจฉา และเรียนรู้ที่จะพอใจในสิ่งที่ตนมี อุปกรณ์ ทอฟฟี่ 1 ถุง ถั่วลิสง...
คุณค่าภายใน
คุณค่าภายใน
คุณค่าภายใน เรื่อง การตัดสินผู้อื่น พระคัมภีร์ 1 พงษ์กษัตริย์ 8:39 และ 1 ซามูเอล 16:7 ภาพรวม เด็กๆ ตรวจสอบปากกา 2...

ประมวลภาพกิจกรรม

อบรมวิธีการสอนคำสอน เณรกลาง ปี 2023
อบรมวิธีการสอนคำสอน เณรกลาง ปี 2023
วันพุธที่ 20 กันยายน 2023 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสแบ่งปัน ให้กับบราเดอร์ที่บ้านเณรกลาง รังสิต จำนวน 11 คน ในหัวข้อ...
ปิดคอร์สพระคัมภีร์วันเสาร์ ปีที่ 33
ปิดคอร์สพระคัมภีร์วันเสาร์ ปีที่ 33
วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2023 เป็นการเรียนครั้งสุดท้ายของการอบรมพระคัมภีร์วันเสาร์ หนังสือประกาศกดาเนียลและประกาศกโฮเชยา ที่ได้เริ่มอบรมตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. - 16 ก.ย....

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์ พระมารดาของพระเจ้าเท่านั้น...
ประวัติความศรัทธาต่อพระนางมารีย์ ผู้แก้ปม
เดือนตุลาคม เดือนแห่งแม่พระลูกประคำ แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เชิญชวนพี่น้องทุกครอบครัว สวดสายประคำในครอบครัว และบทภาวนาแม่พระแก้ปม...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา พระบุตรและพระจิต...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Yahweh
พระยาห์เวห์ คือพระนามของพระเจ้า...
X (symbol)
สัญลักษณ์ X...
worship
การนมัสการ คือการกระทำเพื่อการสรรเสริญและถวายเกียรติแด่พระเจ้า...

ประวัตินักบุญ

4 ตุลาคม ระลึกถึงนักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี
4 ตุลาคม ระลึกถึงนักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี
4 ตุลาคม ระลึกถึงนักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี [St. Francis of Assisi (C. 1181...
1 ตุลาคม ระลึกถึงนักบุญเทเรซา แห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร
1 ตุลาคม  ระลึกถึงนักบุญเทเรซา แห่งพระกุมารเยซู   พรหมจารี และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร
1 ตุลาคม ระลึกถึงนักบุญเทเรซา แห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร (St Thérèse of the...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
2142
8610
41597
41597
441572
33324797
Your IP: 44.197.111.121
2023-10-05 06:11

สถานะการเยี่ยมชม

มี 183 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์