แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ทำไมจึงมีความทุกข์ทรมานในโลก

045 โยบ    ความทุกข์ทรมานเป็นความจริงของประสบการณ์ชีวิตมนุษย์ เป็นธรรมล้ำลึกมากพอๆ กับการมีอยู่ของมนุษย์เอง จากประสบการณ์เรารู้ว่าความทุกข์ทรมานเป็นอะไรบางอย่างที่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมชาติมนุษย์ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เรามนุษย์กลัวและพยายามจะหลีกหนี
    ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ห่วงใยถึงความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก หลักคำสอนของพุทธศาสนาเริ่มด้วยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความทุกข์ทรมาน ความเห็นของชาวพุทธเกี่ยวกับความทุกข์ทรมาน คือ เป็นผลกรรมของความชั่วร้ายที่กระทำไว้ในชีวิตก่อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเห็นนั้นมุ่งอธิบายถึงความไม่เท่าเทียมกันของชีวิตมนุษย์ทั้งหลาย คำสอนหลักของพุทธศาสนา คือ อริยสัจสี่ที่ยึดหลักข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความทุกข์ทรมาน ท่าทีของชาวพุทธเกี่ยวกับความทุกข์ทรมาน คือ ความทุกข์ทรมานเป็นตัวมารร้าย ดังนั้นจึงต้องมุ่งเป้าไปที่การดับทุกข์
    คำอธิบายของชาวคริสต์เกี่ยวกับความทุกข์ทรมานนั้น คือ เป็นผลกระทบจากการตกในบาปของมนุษย์ ในอีกแง่หนึ่งก็คือ มนุษย์ได้สูญเสียสภาพดั้งเดิมที่เป็นอิสระจากความทุกข์ แต่คริสตชนมองความทุกข์ในทางบวก คือสามารถกลายเป็นสิ่งดีเพื่อประโยชน์ต่อปัจเจกชนและเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย

    คริสตชนมีองค์พระคริสตเจ้าเป็นแบบอย่าง พระองค์เหมือนอย่างมนุษย์คนอื่นๆ ทรงมีประสบการณ์เกี่ยวกับความปวดร้าวของความทุกข์ทรมาน “พระบิดาเจ้าข้า ถ้าเป็นไปได้ ขอให้ถ้วยนี้พ้นข้าพเจ้าไปเถิด ถ้าเป็นไปไม่ได้ ก็ขออย่าให้เป็นไปตามใจข้าพเจ้า แต่ให้เป็นไปพระประสงค์ของพระองค์เถิด” (มธ 26:39) เรามีพระคริสตเจ้าเป็นแบบอย่างชีวิตในการเห็นคุณค่าของความทุกข์ทรมาน พระองค์ได้ทรงช่วยโลกให้รอดพ้นโดยอาศัยความทุกข์ทรมานและการสิ้นพระชนม์ของพระองค์
    ความทุกข์ทรมานมิได้มาจากพระเจ้าผู้ทรงเป็นองค์ความดีทุกประการ แต่พระองค์อาจอนุโลมให้เกิดทุกข์เพื่อคุณประโยชน์ของเรา ถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่เห็นผลดีที่ได้นั้นเสมอไปก็ตาม
    ความทุกข์มาสู่เราได้หลายวิธี
    ก) อันดับแรก ความทุกข์เป็นเรื่องสภาพธรรมชาติมนุษย์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ความทุกข์ทรมานที่เกิดจากการเจ็บป่วย การถูกทำร้าย การทำงานหนัก ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ “ท่านจะคลอดบุตรด้วยความเจ็บปวด... แผ่นดินจะถูกสาปแช่งเพราะท่าน ท่านจะต้องหากินจากแผ่นดินด้วยความทุกข์ยากทุกวันตลอดชีวิต แผ่นดินจะผลิตต้นหนามและกอหนาม” (ปฐก 3:16-18)
    ข) ความทุกข์ทรมานนั้นเป็นผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย  วาตภัย แผ่นดินไหว ภัยแล้ง และทุพภิกขภัย มนุษย์มิได้ก่อภัยต่างๆ นี้ขึ้นมา
    ค) แต่ก็มีความทุกข์ทรมานที่มนุษย์นั้นเป็นต้นเหตุ คือความทุกข์ยากต่างๆ ที่เกิดจากการกระทำอันชั่วร้ายของมนุษย์ กิจการชั่วร้ายต่างๆ นั้นเกิดจากความอยาก ความอิจฉาริษยา ความเกลียดชัง ความโลก ราคะตัณหา ฯลฯ ความทุกข์ทรมานนั้นมิได้เกิดเฉพาะจากการทะเลาะวิวาทและการอาฆาตผูกพยาบาทเท่านั้น แต่ยังเกิดจากภัยสงครามทำลายล้างกันทั่วไปด้วย ดังนั้นมนุษย์ต้องรับผิดชอบภัยพิบัติที่เกิดจากการกระทำนั้นๆ ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ยากต่างๆ นี้
    จากมุมมองของคริสตชนนั้น มีหลากหลายวิธีในการทำให้ความทุกข์กลายเป็นสิ่งดีและเป็นพระพร
    1. เนื่องจากเราต้องรับผิดชอบในกิจการที่จงใจให้เกิดความทุกข์ยาก เราจึงควรหลีกเลี่ยงกิจการดังกล่าวนี้ คริสตชนควรแสวงหาการช่วยเหลือด้วยการสวดภาวนา และรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพื่อเสริมสร้างพลังฝ่ายจิต และความมีศีลธรรมเพื่อหลีกหนีจากกิจการชั่วร้ายต่างๆ นี่คือแนวทางบวกในการพ้นจากความทุกข์ยากที่เกิดจากการกระทำของเรามนุษย์
    2. ผลบวกของความทุกข์ทรมานนั้นคืออาจนำไปสู่การกลับใจทั้งส่วนตัวและส่วนรวม และหันกลับไปหาพระเจ้า พันธสัญญาเดิมบอกไว้หลายแห่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ สงคราม ทุพภิกขภัย และภัยพิบัติอื่นๆ ทำให้ชาวยิวตระหนักว่าพวกเขากระทำผิดด้วยการละทิ้งพระเจ้า การตระหนักได้เช่นนี้ ทำให้พวกเขาสำนึกผิดและกลับใจ
    3. ผลบวกอีกอย่างหนึ่งของความทุกข์ทรมาน คือ อาจเป็นตัวช่วยให้รู้จักชดเชยความผิดและการชดใช้ความผิด พระคริสตเจ้าเองได้ทรงแสดงแบบอย่างนี้ให้กับเรา พระองค์ทรงยอมทนทุกข์ทรมานเพื่อบาปของมนุษย์เพื่อให้พวกเขาได้รับความรอดนิรันดร ในการเจริญรอยตามแบบอย่างของพระองค์นั้น เราเองก็ต้องยอมรับความทุกข์ทรมาน เพื่อเป็นการชดเชยบาปของเราและของผู้อื่น
    4. นอกจากการชดเชยความผิดแล้ว ยังมีการถวายความทุกข์ทรมานเป็นบูชาขอบคุณพระเจ้า และถวายเกียรติแด่พระองค์ พระคริสตเจ้าได้ทรงถวายความทุกข์ทรมาน และความตายของพระองค์เป็นเครื่องถวายบูชา ซึ่งเป็นการถวายบูชาที่เรารื้อฟื้นบนพระแท่น เป็นการถวายเกียรติแด่พระเจ้าอย่างสูงสุด ดังนั้น ความทุกข์ทรมานต่างๆ ของเราจึงกลายเป็นวิธีการถวายเกียรติแด่พระเจ้า
    5. ความทุกข์ทรมานยังเป็นเครื่องมือช่วยให้เราชำระตัวเองให้บริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ ดังเช่นการใช้ไฟพิสูจน์ทองคำ เราเองก็ถูกท้าทายจากความทุกข์ทรมาน ดังนั้นความทุกข์ทรมานจึงเป็นการพิสูจน์ถึงความซื่อสัตย์ของเราต่อพระเจ้า
    6. ความทุกข์ทรมานยังเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความรักแท้ เราเห็นความรักของพระเจ้าต่อเราได้ในทางนี้ พระองค์ทรงประทานพระบุตรเป็นเครื่องถวายบูชาเพื่อเราทั้งหลาย “พระเจ้าทรงรักโลกอย่างมากจึงประทานพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่มีความเชื่อในพระบุตรจะไม่พินาศแต่จะมีชีวิตนิรันดร” (ยน 3:16) เป็นการกระทำอันยิ่งใหญ่แห่งความรักเมตตาที่ยอมทรมานเพื่อผู้อื่น และความรักเมตตานี้ได้รับการยกระดับขึ้นเป็นความกล้าหาญเมื่อผู้หนึ่งยอมสละชีวิตของตนเพื่อผู้อื่น “ไม่มีใครมีความรักยิ่งใหญ่กว่าสละชีวิตตนเพื่อมิตรสหาย” (ยน 15:13)
    7. ผลดีอีกอย่างหนึ่งของความทุกข์ทรมาน คือ การช่วยบรรเทาทุกข์ผู้อื่น นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ ทุ่มเทชีวิตให้กับงานอันทรงเกียรติเช่นนี้ เป็นการรับใช้มนุษยชาติอย่างสูงส่ง       เมื่อเรามองมิติของความทุกข์ทรมานแบบ
คริสตชน คือ การช่วยบรรเทาทุกข์ผู้อื่น นั่น คือ การแสดงเมตตาจิตแบบคริสตชนที่ลงเอยในพระเจ้า “เมื่อเราหิว ท่านให้เรากิน เรากระหาย ท่านให้เราดื่ม...ท่านทำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา” (มธ 25:35, 40)
    ดังนั้นถึงแม้ว่ามนุษย์จะสูญเสียอภิสิทธิ์ของการเป็นอิสระจากความทุกข์ทรมาน และเวลานี้ได้รับผลกระทบของมันอยู่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมนุษย์ในปัจจุบัน ความทุกข์ทรมานนั้นไม่จำเป็นต้องให้ผลร้าย เนื่องจากเราสามารถปรับให้กลายเป็นผลดีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกี่ยวเนื่องกับความสุขนิรันดรของเรา

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:7-14) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ถ้าท่านทั้งหลายรู้จักเรา ท่านก็รู้จักพระบิดาของเราด้วย บัดนี้ ท่านก็รู้จักพระบิดา และเห็นพระองค์แล้ว” ฟีลิปทูลว่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:1-6) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย ในบ้านพระบิดาของเรา มีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มี...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
10017
15633
79014
288547
306218
36032269
Your IP: 3.131.13.37
2024-04-26 15:38

สถานะการเยี่ยมชม

มี 257 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์