แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako
ความหมายของกิริยาอาการบางประการในพิธีกรรม

การทำเครื่องหมายกางเขน (ทำสำคัญมหากางเขน)
  • ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 3 ในพิธีรับศีลล้างบาป  และศีลกำลังของคริสตชนในอัฟริกา  และที่กรุงโรม  มีการทำเครื่องหมายไม้กางเขนที่หน้าผากของผู้รับศีล  เป็นเครื่องหมายว่า  บุคคลผู้นั้นได้กลายเป็นของพระคริสตเจ้า  และประหนึ่งถูกประทับตราหมายไว้แล้ว คริสตชนทำเครื่องหมายไม้กางเขนให้กับตนเองบ่อยๆ นอกจากทำเครื่องหมายบนหน้าผากแล้ว  คริสตชนยังทำเครื่องหมายที่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายด้วย  กลายเป็นเครื่องหมายขับไล่ปีศาจอีกอย่างหนึ่ง
  • การทำเครื่องหมายกางเขนอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การยกมืออวยพร  วิธีการอวยพรจะแตกต่างกันบ้าง สุดแล้วแต่ท้องที่  และกาลสมัย  พวกตะวันออกมักจะอวยพรโดยมือถือไม้กางเขนไปด้วย
  • ส่วนการทำเครื่องหมายไม้กางเขนแบบ “มิติกว้าง” คือ ที่หน้าผากไปที่อก  และไปที่บ่าซ้าย-ขวา  ซึ่งนิยมทำกันมากในปัจจุบันนี้  เข้าใจกันว่ามีภายหลังวิธีแรกซึ่งเป็นแบบ “มิติสั้น” คือ ทำรูปกางเขนที่จุด ๆ เดียว  ตรงส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย  วิธีนี้นำมาใช้เป็นต้นว่า  ก่อนอ่านพระวรสาร โดยผู้อ่านหมายรูปกางเขนบนหนังสือที่อ่าน  และบนหน้าผาก  ริมฝีปาก  และหน้าอกของตน
การข้อนอก หรือทุบอก
  • ระหว่างการสวดบท “ ข้าพเจ้าขอสารภาพ”  เมื่อถึงตอน  “โอ้บาปข้าพเจ้า” มีการ “ทุบอก”  เป็นเครื่องหมายของความสำนึกผิด  และความถ่อมตน  กิริยาอาการนี้เราพบได้ในพระวรสารนักบุญลูกา  “ฝ่ายคนเก็บภาษีนั้นยืนอยู่แต่ไกล  ไม่แหงนดูฟ้า  แต่ทุบอกตนเองว่า ข้าแต่พระเจ้าขอโปรดพระเมตตาแก่ข้าพเจ้าผู้เป็นคนบาปเถิด” (ลก 18:13)

การเงยหน้าขึ้นเบื้องบน (สวรรค์)
  • พระสงฆ์ทำกิริยาอาการนี้เพื่อบรรยายถึงการกระทำของพระเยซูเจ้า  ในบทขอบพระคุณที่ 1 ในพิธีว่าดังนี้ “พระองค์ท่านทรงหยิบปังไว้ในพระหัตถ์อันศักดิ์สิทธิ์น่าเคารพ  ยกพระเนตรขึ้นหาพระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ  ขอบพระคุณ  อวยพร  บิออก  แล้วยื่นให้สานุศิษย์…”
  • ความจริงพระวรสารทั้งสี่ไม่ได้กล่าวถึงกิริยาอาการนี้ของพระเยซูเจ้าในเวลารับประทานอาหารค่ำมื้อสุดท้ายเลย  อย่างไรก็ดี พระวรสารได้เล่าถึงการกระทำของพระเยซูเจ้าเช่นนี้ในเวลาทรงทวีขนมปัง (มธ 14:19)

การกางมือภาวนา
  • การกางมือภาวนานี้ใช้ในกรณีที่พระสงฆ์ผู้เป็นประธานกล่าวคำภาวนาในมิสซา  หรือในการอภิเษกในภาคตอนที่สำคัญ (สำหรับประเทศไทย อนุโลมให้พนมมือภาวนาตามธรรมเนียมไทย)  กิริยาอาการนี้ สืบทอดมาจากการถือปฏิบัติของพวกยิว  แต่คริสตชนได้ให้ความหมายใหม่ตามที่แตร์ตุลเลียนเขียนไว้ว่า “เราไม่เพียงแต่ยกมือขึ้น แต่ยังกางแขนออกไปยังพระเจ้า  และขณะที่เราทำตามแบบการทนทุกข์ทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า  เราก็ยอมรับพระองค์ในขณะภาวนา  ยิ่งกว่านั้น เมื่อเรานมัสการพระเป็นเจ้าด้วยความสำรวม  และสุภาพถ่อมตน  เราก็ทำให้ความภาวนานั้นเป็นที่สบพระทัยพระองค์  ถ้าแลว่าเราจะไม่ยกแขนแบบเลยเถิด  แต่ในระดับกลาง  และเหมาะสม และถ้าแลว่าเราไม่เงยหน้าขึ้นในลักษณะหยิ่งยโส”
  • ในพันธสัญญาเดิมมีหลายตอนที่เอ่ยถึงลักษณะเช่นนี้  เช่น  โมเสสยกและกางแขน  เพื่อให้ความมั่นใจในชัยชนะของประชากรของท่าน (อพย 17:9-14)
  • พระคริสตเจ้าก็ทรงทำกิริยาอาการเช่นเดียวกัน  โดยทรงกางพระกรบนไม้กางเขน  คริสตชนภาวนาแบบนี้เพื่อจะถือตามแบบอย่างของพระองค์  และขอร่วมมีส่วนในคำเสนอวิงวอนเพื่อได้รับชัยชนะแบบพระองค์
  • กิริยาอาการที่ใช้ในพิธีกรรม บางอย่างก็เป็นเพียงเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น การล้างมือหลังพิธีการบางอย่าง หรือหลังการเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ หลังการโรยเถ้าบนศีรษะ  บางอย่างก็เป็นการทำประกอบคำพูด เพื่อเน้นความหมาย เช่น การยกมือขวา (ของผู้ร่วมในพิธีฯ ) ชี้ไปที่ปัง และเหล้าองุ่นเวลาเสกศีล การยกพระกาย  และพระโลหิตชูขึ้น  พร้อมกับกล่าวคำว่า “อาศัยพระคริสตเจ้า  พร้อมกับพระคริสตเจ้า และในพระคริสตเจ้า  ข้าแต่พระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ  พระองค์ทรงพระสิริรุ่งโรจน์  ร่วมกับพระบิดา  และพระจิตตลอดนิรันดร”
  • นอกนั้นยังมีกิริยาอาการที่แสดงถึงความเคารพหรือเทิดทูนต่อบุคคล  หรือสิ่งของที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ กิริยาอาการเหล่านี้ บางอย่างอาจได้มาจากสังคมที่แวดล้อมในสมัยนั้น เช่น การซ่อนมือไว้ใต้เสื้อหรือผืนผ้าขณะอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น อัญเชิญผอบบรรจุศีลมหาสนิท ตลอดจนถึงหมวกสูง ไม้เท้าพระสังฆราช เหล่านี้มาจากพิธีการในราชสำนักในสมัยจักรวรรดิไบซันตินยุคหลัง
  • กิริยาอาการบางอย่างก็เป็นสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากคริสตชนเอง เช่น เครื่องหมายกางเขนที่กระทำบนหน้าผาก  อก  และไหล่ทั้งสองข้าง  ในที่นี้เราจะพิจารณาถึงความหมายของกิริยาอาการบางประการ
  • ขอให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราแสดงออกภายนอกในพิธีกรรม เป็นสิ่งที่ออกมาจากความรักที่เปี่ยมล้นในจิตใจของเรา โดยที่เราไม่ลืมว่าพิธีกรรมเป็นคำภาวนาของพระศาสนจักร และเราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งในพระวรกายศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:1-6) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย ในบ้านพระบิดาของเรา มีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มี...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 12:44-50) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสเสียงดังว่า “ผู้ที่เชื่อในเรา ไม่ได้เชื่อในเราเท่านั้น แต่ยังเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามาด้วย ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา เราเข้ามาในโลกเป็นแสงสว่าง...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
6055
15633
75052
284585
306218
36028307
Your IP: 3.140.188.16
2024-04-26 09:48

สถานะการเยี่ยมชม

มี 352 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์