แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

98.  เป็นพระประสงค์ของพระเจ้าหรือที่ให้บุตรแต่พระองค์เดียวของพระองค์ต้องสิ้นพระชนม์

ความตายที่รุนแรงของพระเยซูเจ้านั้น ไม่ได้เกิดจากสภาพแวดล้อมที่น่ากลัว พระเยซูเจ้าทรง “ถูกมอบในเงื้อมมือของท่านตามที่พระเจ้ามีพระประสงค์ และทรงทราบล่วงหน้าแล้ว” (กจ 2:23)  เพื่อให้เราที่เป็นลูกหลานของบาปและความตายจะได้มีชีวิต พระบิดาเจ้าสวรรค์ “ทำให้พระองค์ผู้ไม่รู้จักบาป เป็นผู้รับบาป” ( 2 คร 5:21) เป็นการถวายบูชาอันยิ่งใหญ่ที่พระบิดาทรงขอจากพระบุตร สอดคล้องกับความนอบน้อมของพระคริสตเจ้า “เราจะพูดอะไรเล่า จะพูดหรือว่า ข้าแต่พระบิดาเจ้าโปรดช่วยข้าพเจ้าให้รอดพ้นจากเวลานี้  ไม่ใช่ เพราะข้าพเจ้ามาก็เพื่อเวลานี้” (ยน 12:27) ด้วยความยินยอมทั้งจากพระบิดา และพระบุตรนี้เอง ความรักของพระเจ้าต่อมนุษย์ได้รับการพิสูจน์ด้วยการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ( 599-609, 620) 

 

เพื่อช่วยเราให้รอดพ้นจากความตาย พระเจ้าได้ทรงปฏิบัติภารกิจที่แสนอันตราย พระองค์ทรงแนะนำ “ยาแห่งความเป็นอมตะ” (นักบุญอิกญาซีอุสห่งอันทิโอก) ให้กับโลกแห่งความตาย นั่นคือพระเยซูตริสตเจ้า พระบุตรของพระองค์ พระบิดาและพระบุตรได้ทรงกระทำภารกิจนี้ร่วมกัน ด้วยความยินดีและด้วยความรักต่อมนุษย์ พระเจ้าทรงประสงค์ให้เกิดการแลกเปลี่ยนนี้ เพื่อช่วยเราให้รอดตลอดไป พระองค์ทรงปรารถนาให้เรามีชีวิตนิรันดรของพระองค์ เพื่อให้เราได้ลิ้มรสความชื่นชมยินดี และพระองค์ทรงปรารถนาที่จะมีประสบการณ์เช่นเดียวกับเรามนุษย์ทั้งความทุกข์โศก ความตาย ความสิ้นหวัง การถูกทอดทิ้ง เพื่อแสดงให้เราเห็นว่าทรงรักเราเหนือสิ่งอื่นใด การสิ้นพระชนม์ของพระคริสตเจ้าเป็นพระประสงค์ของพระบิดา  แต่ไม่ใช่วาจาสุดท้ายของพระองค์ เพราะพระคริสตเจ้าทรงสิ้นพระชนม์เพื่อเรา เราจึงสามารถแลกเปลี่ยนความตายของเรากับชีวิตของพระองค์

 

ในความหมายหนึ่ง เราสามารถกล่าวได้ว่าเหตุการณ์อาหารค่ำมื้อสุดท้าย เป็นรากฐานสำคัญของพระศาสนจักร เพราะพระองค์ทรงมอบพระองค์เอง และทรงสร้างชุมชนใหม่ขึ้น เป็นชุมชนที่รวมเป็นหนึ่งเดียวกันในความสนิทสัมพันธ์กับพระองค์

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่16

15 มีนาคม 2006

 

การรับทรมาน   (PASSION)

(ภาษาลาติน passio ความป่วยไข้ ความทุกข์ทรมาน) 

หมายถึง พระทรมานของพระคริสตเจ้า

 

พระเจ้าทรงกางแขนออกบนไม้กางเขน 

เพื่อโอบกอดเขตแดนไกลสุดในจักรวาล

นักบุญซีริล แห่งเยรูซาเล็ม

(313-386/387 ปิตาจารย์ของพระศาสนจักร)