แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทสรุปของพระสมณสาส์น  "แสงแห่งความเชื่อ” ( Lumen Fidei (LF) 

นครรัฐวาติกัน, 5 กรกฎาคม 2013 (VIS)

บทสรุปสมณสาส์น  "แสงแห่งความเชื่อ” เป็นพระสมณสาส์นฉบับแรกของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระองค์ได้ทรงจัดพิมพ์ขึ้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2013  ก่อนหน้านี้ พระองค์ทรงลงพระนามอนุมัติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2013
แสงแห่งความเชื่อ (LF) เป็นพระสมณสาส์นฉบับแรกของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส  แบ่งเป็นสี่บท รวมทั้งบทนำและบทสรุปด้วย           
สมเด็จพระสันตะปาปาทรงอธิบายว่า จดหมายนี้เป็นส่วนเพิ่มเติมของสมณสาส์น “ความรักและความหวัง” ของพระสันตะปาปากิติคุณเบเนดิกต์ที่ 16 และเริ่ม “ผลงานดีเยี่ยม” ที่พระสันตะปาปากิตติคุณทรงประพันธ์สมณสาส์นเกี่ยวกับความเชื่อที่ “ใกล้จะเสร็จ”  บัดนี้สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเพิ่ม “บทประพันธ์เพิ่มเติม”ให้กับ “ร่างครั้งแรก” ที่มีอยู่เดิมดังกล่าวข้างต้น

บทนำ (ข้อ 1-7) ของสมณสาส์น (LF) อธิบายถึงจุดมุ่งหมายที่เป็นพื้นฐานของเอกสาร:

ประการแรก เน้นย้ำลักษณะเด่นของแสงที่เป็นต้นแบบของความเชื่อ สามารถอธิบายความมีอยู่ของมนุษย์ทั้งหมด เพื่อช่วยให้มนุษย์แยกแยะความดีออกจากความชั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยใหม่ที่ความเชื่อถูกต่อต้านไม่ให้แสวงหา และถือว่าความเชื่อเป็นภาพลวงตา ก้าวกระโดดเข้าสู่ความว่างเปล่า และยังขัดขวางอิสรภาพของมนุษย์อีกด้วย
ประการที่สอง     สมณสาส์น - ปีแห่งความเชื่อนี้ เป็นโอกาสระลึกถึงปีที่ 50 ของการประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ซึ่งเป็น“สภาที่เน้นเรื่องความเชื่อ - แสวงหาอำนาจสนับสนุนความเข้าใจเกี่ยวกับความกว้างขวางของขอบเขตความรู้ที่ความเชื่อเปิดเผยให้ เพื่อว่าจะมีการยืนยันความเชื่อนี้อย่างเป็นเอกภาพและอย่างสมบูรณ์. แท้จริง ความเชื่อไม่ใช่สภาพที่ทึกทักเอาได้ แต่เป็นของขวัญจากพระเจ้าที่ได้รับการจะหล่อเลี้ยงและเสริมแรง.
            สมเด็จพระสันตะปาปาทรงประพันธ์ว่า  “ผู้เชื่อ ,จะเห็น” เนื่องจากแสงแห่งความเชื่อมาจากพระเจ้าและสามารถส่องสว่างแก่ทุกมุมมองของการดำรงอยู่ของมนุษย์: ความเชื่อไม่เพียงดำเนินมาตั้งแต่อดีต จากความทรงจำถึงพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า แต่ยังไปสู่อนาคตขณะที่เปิดขอบฟ้าที่กว้างขวางด้วย
บทที่หนึ่ง ( ข้อ  8-22): เราเชื่อในความรัก (1 ยอห์น 4: 16) ในการกล่าวถึงอับราฮัมซึ่งเป็นบุคคลในพระคัมภีร์ ในบทนี้ เราอธิบายความเชื่อความเชื่อในบทนี้เป็น"การฟัง"พระวาจาของพระเจ้า, การ"เรียก" ที่ให้ออกจากตัวเองที่หงอยเหงาเพื่อเปิดตัวเองไปสู่ชีวิตใหม่ และ "สัญญา" ถึงอนาคต ซึ่งจะทำให้เกิดความต่อเนื่องของเส้นทางของเราผ่านกาลเวลา, เชื่อมโยงอย่างมากกับความหวัง. ความเชื่อยังมีความหมายกว้างถึง “ความเป็นบิดา”, เพราะพระจิตที่เรียกเราไม่ได้ทรงเป็นบุคคลแปลกหน้า, แต่ทรงเป็นพระบิดาเจ้า,ทรงเป็นแหล่งความดี,  พระองค์ทรงเป็นจุดเริ่มต้นและทรงค้ำจุนทุกสิ่ง. ในประวัติศาสตร์ของชาวอิสราเอล,ความเชื่อเข้าไม่ได้กับการถือรูปเคารพ ซึ่งมนุษย์ถูกทำลายลงด้วยความปรารถนาหลายหลากของเขาและ"เรื่องราวในชีวิตของเขาจึงสลายไปกับสิ่งชั่วคราวก่ายกองที่ขาดความเชื่อมโยง”, กำลังปฏิเสธเขา ขณะที่รอให้พระสัญญาสำเร็จไป. ตรงกันข้าม ความเชื่อคือความความวางใจในพระเมตตารักของพระเจ้าซึ่งมักจะต้อนรับและให้อภัยเขา,และที่ยืด "ความคดเคี้ยวของประวัติศาสตร์ของเรา"ให้ตรง เป็นความตั้งใจที่จะให้ตัวเองได้รับการแปรสภาพใหม่โดย "ของประทานที่ให้เปล่าพระเจ้า ซึ่งเรียกร้องให้เขามีความสุภาพถ่อมตนและความกล้าหาญที่จะไว้วางใจและมอบตนแด่พระเจ้า ช่วยให้เราสามารถเห็นเส้นทางเจิดจ้าที่นำไปสู่การพบปะกับพระเจ้าและมนุษยชาติ,ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์แห่งความรอด"(ข้อ 14) และในที่นี้ "คำพูดที่ดูเหมือนขัดแย้งกัน" ของความเชื่อ,เราจะหันไปหาองค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างสม่ำเสมอ ผู้ทรงบันดาลให้มนุษยชาติมีเสถียรภาพ ปลดปล่อยเราจากการนับถือรูปเคารพ
              แล้วสมณสาส์นกลับไปสู่พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นบุคคลกลาง
ซึ่งเปิดทางแก่เราไปสู่ความจริงที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเราเอง,เป็นการแสดงออกแห่งความรักของพระเจ้าที่เป็นรากฐานของความเชื่อ: "ในการพิศเพ่งถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้า...ความเชื่อก็จะแข็งแกร่งขึ้น" ในการนี้ พระองค์ทรงเผยให้เห็นความรักที่ไม่สั่นคลอนที่มีต่อมนุษยชาติ.  การกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า บันดาลให้พระองค์ทรงเป็น "องค์พยานที่น่าเชื่อถือได้", "สมควรที่จะเชื่อ",ผ่านพระเจ้าผู้ทรงกระทำการอย่างแท้จริงตลอดประวัติศาสตร์, ทรงกำหนดชะตากรรมสุดท้ายไว้.  แต่มี "มุมมองที่สำคัญ" ของความเชื่อในพระเยซูเจ้า: " การมีส่วนร่วมในวิธีมองของพระองค์". แท้จริง ความเชื่อไม่ใช่มองพระเยซูเจ้าเท่านั้น แต่มองด้วยมุมมองของพระเยซูเจ้าเอง. สมเด็จพระสันตะปาปาทรงใช้การเปรียบเทียบเพื่ออธิบาย,เช่นเดียวกับวิธีการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ที่เราวางใจใน "คนอื่น ๆ ที่รู้ดีกว่าที่เรารู้" – ไม่ว่าจะเป็นสถาปนิก,
เภสัชกร, ทนายความ – สำหรับความเชื่อแล้ว เราต้องการคนที่น่าเชื่อถือและเชี่ยวชาญ "ที่พระเจ้าทรงเกี่ยวข้องด้วย" ผู้นั้นคือพระเยซูเจ้า "พระบุคคลที่ทำให้เรารู้จักพระเจ้า." ดังนั้น เราเชื่อในพระเยซูเจ้าก็ต่อเมื่อเรารับพระวาจาของพระองค์และเราเชื่อในพระเยซูเจ้าก็ต่อเมื่อเราต้อนรับพระองค์เข้ามาในชีวิตของเราและมอบตัวเราเองแด่พระองค์ อันที่จริง การรับสภาพมนุษย์ของพระองค์ทำให้เรามั่นใจว่า ความเชื่อไม่แยกเราออกจากสภาพความเป็นจริง, แต่กลับช่วยเราให้เข้าใจความหมายที่ลึกที่สุด.ส่วนความเชื่อ มนุษย์จะรอด ต่อเมื่อเขาเปิดตัวเองต่อองค์ความรักที่เสด็จนำหน้าเขาและแปรสภาพเขาจากภายใน. และนี่คือการกระทำที่แท้จริงของพระจิตเจ้า: "คริสตชนสามารถมองเห็นได้ด้วยพระเนตรของพระเยซูเจ้าและร่วมใจกับพระองค์, มีอุปนิสัยใจคอเยี่ยงบุตรของพระองค์ เพราะเขาหรือเธอร่วมในความรักของพระองค์ ซึ่งเป็นจิต” (No.21) . ปราศจากการประทับอยู่ของพระจิตเจ้า จะเป็นไปไม่ได้ที่จะยืนยันถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า. ดังนั้น "ชีวิตของผู้มีความเชื่อจะเป็นการดำรงอยู่ของพระศาสนจักร" เนื่องจากต้องมีการยืนยันความเชื่อภายในพระกายทิพย์แห่งพระศาสนจักร,ซึ่งเป็น "ความเป็นหนึ่งเดียวที่เป็นรูปธรรมของผู้มีความเชื่อ." คริสตชนเป็น"หนึ่งเดียวกัน" โดยไม่สูญเสียปัจเจกภาพของพวกเขาและในการรับใช้ผู้อื่นแบบเอาใจเขามาสู่ใจเรา.  ดังนั้น "ความเชื่อไม่ใช่เรื่องส่วนตัวหรือเป็นความคิดเห็นของแต่ละคน แต่ "มาจากการได้ยินและมุ่งที่จะแสดงออกเป็นถ้อยคำและประกาศ "

บทที่สอง (ข้อ 23-36): ถ้าคุณไม่เชื่อ, คุณก็จะไม่เข้าใจ  (อสย. 7:9) สมเด็จพระสันตะปาปาทรงแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างความเชื่อกับความจริง เป็นความจริงที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับพระเจ้า,การประทับอย่างสัตย์ซื่อในตลอดประวัติศาสตร์ของพระองค์ "ความเชื่อโดยปราศจากความจริง, จะทำให้รอดพ้น”  "เป็นเรื่องราวที่งดงาม, เป็นการฉายภาพไปยังความโหยหาความสุขของเรา” และในปัจจุบัน เรามี "วิกฤตของความจริงในยุคของเรา" จึงมีความจำเป็นที่คิดถึงความเชื่อมโยงนี้มากกว่าแต่ก่อน,เป็นวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มีแนวโน้มที่จะยอมรับเพียงความจริงของเทคโนโลยี, ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์บริหารจัดการสร้างและกำหนดเป็นมาตรการผ่านวิทยาศาสตร์,ความจริงที่ "ใช้การได้", หรือเป็นความจริงเดียวที่ใช้การได้เพียงเพื่อแต่ละบุคคลและไม่ได้รับใช้ความดีส่วนรวม.  ทุกวันนี้ เราสงสัยใน "ตัวความจริงเอง,ความจริงที่ใช้คำอธิบายแบบรวบยอดได้ว่า ชีวิตของเราเป็นเรื่องปัจเจกภาพและอยู่ในสังคม" รูปแบบต่างๆของแนวคิดเผด็จการในศตวรรษที่ 20 ที่อ้างถึงความจริงต่างๆ แบบผิดๆ. อย่างไรก็ตาม   สิ่งนี้จะนำไปสู่ "ความจำที่บกพร่องมากในโลกปัจจุบันของเรา"– ซึ่งเอื้อต่อแนวคิดสัมพัทธนิยมและความกลัวแนวคิดบ้าคลั่ง – โดยลืมปัญหาเกี่ยวกับของความจริงนี้อันเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง – นั่นคือ ปัญหาเกี่ยวกับพระเจ้า.
                  แล้วสมณสาส์นเน้นความเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อกับความรัก ไม่ใช่เป็นแค่  "อารมณ์ชั่ววูบ", แต่เป็นความรักอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าที่แปรสภาพเราจากภายในและประทานดวงตาใหม่แก่เราเพื่อจะเห็นสภาพความเป็นจริง. ดังนั้น ความเชื่อถูกเชื่อมโยงไปสู่ความจริงและความรัก, "ความรักและความจริงเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ได้” เพราะความรักที่แท้จริงเท่านั้นจะทนทานต่อการทดสอบของเวลา และเป็นแหล่งที่มาของความรู้.  และเนื่องจากความรู้เกี่ยวกับความเชื่อเกิดจากความรักสัตย์ซื่อของพระเจ้า "ความจริงและความจงรักภักดีจึงต้องไปด้วยกัน." ความจริงที่เปิดเผยถึงความเชื่อคือความจริงเกี่ยวกับการพบปะกับพระคริสตเจ้าที่ทรงรับสภาพมนุษย์, ผู้เสด็จเข้ามาประทับท่ามกลางเรา, ทรงสัมผัสเราและประทานพระหรรษทานแก่เราเพื่อแปรสภาพหัวใจของเรา.
                  ในประเด็นนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเริ่มการไตร่ตรองที่กว้างขึ้นเกี่ยวกับ "การเสวนาระหว่างความเชื่อกับเหตุผล" เกี่ยวกับความจริงในโลกปัจจุบัน ซึ่งถูกลดทอนเป็น "ลักษณะเที่ยงแท้ที่ขึ้นกับแต่ละคน” " ว่าเป็นความจริงที่ก่อให้เกิดความกลัว, และมักจะเป็นสิ่งเดียวกับความดันทุรังที่ต้องการเป็นแนวคิดเผด็จการ. แต่ถ้าความจริงคือความต้องการความรักของพระเจ้าซึ่งไม่บังคับอย่างรุนแรงและไม่กดดันใคร. ดังนั้น ความเชื่อต้องไม่ดันทุรัง และผู้มีความเชื่อต้องไม่อวดหยิ่ง. ตรงกันข้าม ความเชื่อทำให้ผู้มีความเชื่ออ่อนน้อมถ่อมตนและนำไปสู่การอยู่ร่วมกันด้วยความเคารพผู้อื่น แต่นี้ต่อไป ความเชื่อต้องนำไปสู่การเสวนาในทุกสาขาวิชา: ในเรื่องของวิทยาศาสตร์,ในขณะที่ปลุกสำนึกที่สำคัญและแผ่ขยายไปสู่เรื่องของเหตุผล, เป็นการเชิญชวนให้เรามองการเนรมิตสร้างด้วยความประหลาดใจ; ในบริบทของการทำศาสนสัมพันธ์นั้น,ศาสนาคริสต์ก็ได้ร่วมจัดพิมพ์เอกสาร; เสวนากับผู้ที่แสวงหาความจริงอย่างไม่หยุดหย่อน, ซึ่ง "มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติการราวกับพระเจ้าได้มีอยู่" เพราะ "พระเจ้าทรงเป็นแสงสว่างและผู้ที่แสวงหาพระองค์จิตใจบริสุทธิ์ก็จะพบพระองค์” “ใครก็ตามที่เริ่มเดินบนเส้นทางของการทำดีต่อผู้อื่น เท่ากับเขาเข้าใกล้พระเจ้าแล้ว"
               ในที่สุด สมณสาส์นกล่าวเกี่ยวกับเทววิทยาและยืนยันว่า เป็นไปไม่ได้ที่ปราศจากความเชื่อ เนื่องจากพระเจ้าไม่ทรงเป็นเพียง "วัตถุ" ธรรมดาสามัญ แต่เป็นผู้ทรงกระทำพระองค์เองให้เป็นที่รู้จัก. เทววิทยาคือการมีส่วนร่วมในการรู้ว่าที่พระเจ้าทรงมีความรู้เกี่ยวกับพระองค์เอง; เทววิทยาที่สำคัญต้องรับใช้ความเชื่อคริสตชนและอำนาจสอนของ
พระศาสนจักร ไม่จำกัดวงกับอิสรภาพด้านเทววิทยาเท่านั้น, แต่เป็นองค์ประกอบที่สร้างสรรค์ที่ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกับพระวาจาของพระคริสตเจ้าซึ่งเป็นแหล่งกำเนิด
 บทที่สาม (ข้อ 37-49): สมเด็จพระสันตะปาปาทรงประพันธ์ไว้ว่า “ข้าพเจ้าส่งมอบธรรมประเพณีที่ข้าพเจ้าได้รับมาอีกทอดหนึ่ง และมอบให้กับท่าน” (1 โครินธ์ 15:3) บทนี้จะมุ่งเน้นทั้งความสำคัญของการประกาศพระวรสาร: ผู้ที่เปิดตัวเองต่อความรักของพระเจ้าจะไม่สามารถเก็บของประทานนี้ไว้กับตัวเอง. แสงสว่างของพระเยซูเจ้าส่องสว่างบนใบหน้าของคริสตชนและแผ่กระจายออกไปด้วยวิธีนี้, ยังถูกถ่ายทอดด้วยการสัมผัสติดต่อกันเหมือนเปลวไฟที่จุดสว่างจากคนอื่นและส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น, ผ่านโซ่คล้องพยานถึงความเชื่ออย่างต่อเนื่อง.การนี้นำไปสู่ความเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อกับการระลึกถึงขณะที่ความรักของพระเจ้าช่วยให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันทุกครั้ง, ทำให้เราเป็นบุคคลร่วมสมัยกับพระคริสตเจ้า. ยิ่งกว่านั้น  "เป็นไปไม่ได้ที่จะเชื่อตัวของเราเอง" เพราะความเชื่อไม่เป็น "การตัดสินใจของแต่ละคน" แต่เปิด "ตัวฉัน" แก่ "เรา" และมักเกิดขึ้น "ภายในชุมชนของพระศาสนจักร”. ดังนั้น "คนที่เชื่อจะไม่เคยอยู่คนเดียว" ในขณะที่เขาค้นพบว่า พื้นที่ต่างๆของตัวเองขยายออกไปและก่อให้เกิดความสัมพันธ์ใหม่ๆที่เสริมสร้างชีวิต.
               อย่างไรก็ตาม มี “วิธีพิเศษต่างๆ" เพื่อถ่ายทอดความเชื่อ: สื่อเรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็น “การระลึกถึงที่ทำให้เหตุการณ์ในอดีตเกิดขึ้นเป็นจริง”.
                 เป็นครั้งแรกที่สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสเกี่ยวกับศีลล้างบาป – ทั้งสำหรับเด็กและสำหรับผู้ใหญ่ ในรูปแบบของคริสตชนสำรอง – ซึ่งเตือนเราว่า ความเชื่อจะไม่เกิดผลของแต่ละบุคคลที่อยู่ตามลำพังและปฏิบัติงานตามลำพัง แต่บุคคลควรรับหน้าที่ในความเป็นหนึ่งเดียวของพระศาสนจักร.คำอธิบายของสมณสาส์นนี้คือ  "ไม่มีใครโปรดศีลล้างบาปให้ตัวเองได้"
                 ยิ่งกว่านั้น เนื่องจากเด็กที่ได้รับศีลล้างบาปไม่อาจยืนยันความเชื่อด้วยตัวเอง  บิดามารดาและบิดาอุปถัมภ์/มารดาอุปถัมภ์ต้องสนับสนุนเขา, “ความร่วมมือระหว่างพระศาสนจักรกับครอบครัวจึงเป็นเรื่องสำคัญ
                 สมณสาส์นกล่าวถึงศีลมหาสนิท,ซึ่งเป็น “การหล่อเลี้ยงที่มีค่าสำหรับความเชื่อ”, "การกระทำที่เป็นการระลึกถึง,การทำให้ธรรมล้ำลึกมีอยู่จริงในปัจจุบัน” ซึ่ง "นำโลกที่มองเห็นได้ไปสู่โลกที่มองไม่เห็น”, เป็นการสอนเราให้มีประสบการณ์ความลึกล้ำของสภาพความเป็นจริง. แล้วสมเด็จพระสันตะปาปาทรงพิจารณาการยืนยันความเชื่อคือ “บทข้าพเจ้าเชื่อ” (The Creed) ซึ่งผู้มีความเชื่อไม่เพียงแต่ยืนยันความเชื่อเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องในความจริงที่เขายืนยันด้วย, “บทข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย”ที่คริสตชนเรียนรู้ที่จะเห็นผ่านพระเนตรของพระคริสตเจ้า, อย่าเข้าใจว่าบัญญัติสิบประการเป็น "ชุดคำสั่งเชิงลบ" แต่เป็น "คำแนะนำที่เป็นรูปธรรม"มากกว่า เพื่อเข้าสู่การสนทนากับพระเจ้า "เพื่อพระเมตตาของพระองค์จะโอบกอดเขา บทนี้จึงเป็น "เส้นทางแห่งความกตัญญู" ไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า
                   ในที่สุด สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเน้นว่า มีความเชื่อประการหนึ่งที่มาจาก “ความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระเจ้า”, ต้องทำให้เป็นที่รู้จักและยืนยันได้ เนื่องจากนำไปสู่อาศัยพระผู้เป็นเจ้าเดียว ที่ประทาน "การเพ่งมองร่วมกัน” แก่เรา และ”ร่วมกันทั้งหมดในพระศาสนจักรซึ่งเป็นกายเดียวและจิตเดียว”. ดังนั้น จึงมีความเชื่อหนึ่งเดียวเท่านั้น, จึงต้องมีการยืนยันอย่างบริบูรณ์และมีบูรณาการ: "เอกภาพของความเชื่อคือเอกภาพของพระศาสนจักร”,การลดทอนบางสิ่งจากความเชื่อเป็นการลดทอนบางสิ่งจากความสัตย์จริงแห่งเอกภาพ.
            ยิ่งกว่านั้น เนื่องจากเอกภาพแห่งความเชื่อคือเอกภาพแห่งองคาพยพทรงชีวิต จะสามารถผสมผสานทุกสิ่งที่เผชิญอยู่,แสดงตัวเองเป็นแบบสากล,ไม่คำนึงถึงความหลากหลาย,กำลังส่องแสงและสามารถนำทุกสิ่งในเอกภพและประวัติศาสตร์ทั้งหมดไปสู่การแสดงออกที่งดงามที่สุด โดยการสืบทอดตำแหน่งของอัครสาวกรับรองเอกภาพนี้ .
บทที่สี่ (ข้อที่ 50-60): พระเจ้าทรงจัดเตรียมเมือง(สวรรค์)ไว้ให้พวกเขา แล้ว (ฮีบรู 11:16) บทนี้อธิบายต่อความเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อกับความดีร่วม ซึ่งนำไปสู่การเนรมิตสร้างสถานที่ที่ผู้ชายและผู้หญิงอาจอยู่ร่วมกับคนอื่นได้. ความเชื่อซึ่งเป็นการให้กำเนิดความรักของพระเจ้า, เสริมสร้างพันธะของมนุษยยชาติและยอมรับใช้ความยุติธรรม สิทธิต่างๆและสันติสุข. นี่คือเหตุผลที่ความเชื่อไม่ห่างไกลจากโลกและเกี่ยวข้องกับความมุ่งมั่นที่แท้จริงของคนร่วมสมัย. ตรงกันข้าม ถ้าปราศจากความรักของพระเจ้าที่เราสามารถวางไว้ในพระองค์ พันธต่างๆระหว่างมนุษย์จะขึ้นกับการใช้ประโยชน์, ผลประโยชน์และความกลัว. ความเชื่อยึดพื้นฐานที่ลึกที่สุดของความสัมพันธ์ต่างๆของมนุษย์,ชะตากรรมที่แน่นอนของพวกเราในพระเจ้า,และจัดพวกเขาให้รับใช้ความดีร่วม”; ความเชื่อสำหรับทุกคนมุ่งความดีร่วม จุดมุ่งหมายจึงไม่ใช่เพียงการสร้างสิ่งที่ตามมาภายหลัง แต่เพื่อช่วยอบรมศีลธรรมแก่สังคม เพื่อพวกเขาจะก้าวหน้าไปสู่อนาคตแห่งความหวังร่วมกัน
              แล้วสมณสาส์นยังพิจารณาพื้นที่เหล่านั้นที่ใช้ความเชื่อส่องสว่าง: ประการแรกที่สำคัญกว่าหมด คือ การเข้าใจว่า ครอบครัวอยู่บนพื้นฐานของการแต่งงานเพราะเป็นเอกภาพที่มั่นคงระหว่างชายกับหญิง. สิ่งนี้เกิดจากการรับรู้และการยอมรับความดีงามของความแตกต่างทางเพศและอยู่บนพื้นฐานของความรักในพระคริสตเจ้า, คำมั่นสัญญาที่ว่า "จะรักกันตลอดไป" และยอมรับความรักว่าเป็นผู้สร้างที่นำไปสู่การให้กำเนิดบุตร.แล้ว ณ ที่นี้ สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสถึงวันเยาวชนโลกที่เยาวชนแสดง “ความชื่นชมยินดีแห่งความเชื่อ” และความมุ่งมั่นที่จะทำให้ความเชื่อดำรงชีวิตอย่างมั่นคงและอย่างใจกว้าง. สมเด็จพระสันตะปาปาทรงประพันธ์ไว้ว่า “คนหนุ่มสาวต้องการที่จะใช้ชีวิตอย่างเต็มที่" ด้วย"การพบปะกับพระคริสตเจ้า.... ขยายขอบเขตอันกว้างไกลของการดำรงอยู่นั้น,ซึ่งจะทำให้ความหวังมั่นคง แล้วจะไม่ทำให้ผิดหวัง. ความเชื่อไม่เป็นที่ลี้ภัยสำหรับคนที่อ่อนเปลี้ยเพลียแรง, แต่เป็นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมชีวิตของเรา". และอีกครั้ง ในความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งหมดความเชื่อทำให้เราเป็นบุตรของพระเจ้า, แท้จริง  ความเชื่อต้องให้ความหมายใหม่แก่การเป็นพี่น้องกันทั้งโลก, ซึ่งไม่ใช่ความเสมอภาคเท่านั้น แต่เป็นประสบการณ์ร่วมที่มีพระเจ้าทรงเป็นพระบิดา, ความเข้าใจรวบยอดเกี่ยวกับศักดิ์ศรีเฉพาะของแต่ละคน. พื้นที่อื่นคือ พื้นที่ของธรรมชาติแห่งความเชื่อ นั่นคือ ความเชื่อช่วยเราให้เคารพธรรมชาติ, เพื่อ "หาต้นแบบของการพัฒนาซึ่งไม่ได้มีพื้นฐานธรรมดาที่เป็นการใช้ประโยชน์และหาผลกำไร แต่พิจารณาการสร้างว่าเป็นของขวัญ." ความเชื่อสอนเราให้หารูปแบบต่างๆของรัฐ,ซึ่งอำนาจรัฐมาจากพระเจ้า และรับใช้ความดีร่วม; ความเชื่อเสนอความเป็นไปได้ที่เราจะให้อภัย เพื่อทำให้เราเอาชนะความขัดแย้งทั้งหมด. "เมื่อความเชื่อถูกทำให้อ่อนแอลง,รากฐานของมนุษยชาติก็เสี่ยงที่จะถูกทำให้อ่อนแอด้วย" และถ้าเราถอดถอนความเชื่อในพระเจ้าออกจากเมืองของเรา, เราก็จะสูญเสียความไว้วางใจที่มีต่อกัน และจะมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยความกลัวเท่านั้น ดังนั้น เราต้องไม่อายที่จะยืนยันพระเจ้าต่อหน้าสาธารณชน,เพราะความเชื่อส่องสว่างชีวิตทางสังคม.  ความเชื่อส่องสว่างพื้นที่อื่นด้วย ได้แก่ พื้นที่แห่งความทุกข์ทรมานและความตาย: คริสตชนตระหนักว่า ถึงไม่อาจกำจัดความทุกข์ได้, แต่เราให้ความหมายใหม่ นั่นคือ เราถวายความทุกข์นั้นไว้ในพระหัตถ์ของพระเจ้าที่ไม่ทรงเคยทอดทิ้งเรา และดังนั้น ความทุกข์จะกลายเป็น"ช่วงเวลาของการเจริญเติบโตในความเชื่อ" พระเจ้าไม่ได้ประทานเหตุผลเพื่ออธิบายทุกสิ่งกับคนที่พระองค์ประทับอยู่เป็นเพื่อนเขา, แต่พระองค์ทรงเปิดธรณีประตูแห่งแสงให้ส่งองในเงามืดต่างๆ.  ในแง่นี้ ความเชื่อถูกเชื่อมโยงกับความหวัง.
                และ ณ ที่นี่ สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเรียกร้องดังนี้: "ให้เราปฏิเสธที่จะถูกปล้นเอาความหวังไป,หรือทำให้ความหวังของเราริบหรี่ลงด้วยคำตอบง่ายๆต่อการแก้ปัญหาที่ปิดกั้นความก้าวหน้าของเรา."

               บทสรุป (ข้อ 58-60):  “เธอเป็นสุขที่เชื่อ” (ลก.1.45) ในตอนท้ายของสมณสาส์น,สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเชื้อเชิญเราให้มองดูพระนางมารีย์ที่เป็น “ไอคอนที่สมบูรณ์แบบ" แห่งความเชื่อ ผู้ที่เป็นพระมารดาของพระเยซูเจ้า, ผู้ให้กำเนิด"ความเชื่อและความชื่นชมยินดี."      สมเด็จพระสันตะปาปาขอถวายคำภาวนาแด่พระนางมารีย์ เพี่อพระนางจะช่วยมนุษย์ให้ดำรงในความเชื่อของเขา,เพื่อเตือนเราผู้มีความเชื่อว่า จะไม่อยู่คนเดียวตามลำพัง และสอนเราให้มองผ่านพระเนตรของพระเยซูเจ้า.

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:7-14) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ถ้าท่านทั้งหลายรู้จักเรา ท่านก็รู้จักพระบิดาของเราด้วย บัดนี้ ท่านก็รู้จักพระบิดา และเห็นพระองค์แล้ว” ฟีลิปทูลว่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:1-6) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย ในบ้านพระบิดาของเรา มีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มี...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร
29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร ( St. Catherine of Siena ;...
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
13108
15633
82105
291638
306218
36035360
Your IP: 3.145.60.29
2024-04-26 19:34

สถานะการเยี่ยมชม

มี 427 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์