แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

เดือนตุลาคม เดือนแห่งแม่พระลูกประคำ แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เชิญชวนพี่น้องทุกครอบครัว สวดสายประคำในครอบครัว และบทภาวนาแม่พระแก้ปม เพื่อวอนขอพระนางให้เสนอวิงวอนสำหรับทุกๆ ปัญหา (ปม) ของเรา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านชีวิตสมรส สุขภาพ การงาน การไม่ลงรอยกัน ความยุ่งยากในครอบครัว ปัญหาส่วนตัว และความขัดแย้งทั้งในชุมชนและระดับนานาชาติ


แม่พระผู้แก้ปม เต็มประวัติความศรัทธาต่อพระนางมารีย์ ผู้แก้ปม 

โดย Richard Lenar   

 

เรื่องราวความศรัทธาต่อพระนางมารีย์ ผู้แก้ปม เริ่มต้นกับขุนนางชาวเยอรมันชื่อ วอฟกัง ลังเงนมันโทล (Wolfgang Langenmantel ค.ศ. 1568-1637)  ท่านได้สมรสกับหญิงสูงศักดิ์ชื่อ โซฟี อิมโมฟ (Sophie Imoff) เป็นเวลาหลายปี แต่ในปี ค.ศ. 1612 เมื่อคู่สมรสนี้อยู่ในช่วงที่กำลังจะหย่าร้างกัน เพื่อรักษาชีวิตการแต่งงานไว้ วอฟกังจึงตัดสินใจไปเยี่ยมคุณพ่อ จาคอบ เรม (Jakob Rem) สงฆ์เยสุอิต ซึ่งประจำอยู่ที่อารามและมหาวิทยาลัยแห่งอิงโกลสตัดท์ (Ingolstadt) ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากทางเหนือของเมืองออกส์เบิร์ก (Augsburg) เป็นระยะทาง 70 กิโลเมตร

      

ในช่วงระยะเวลา 28 วัน วอฟกังได้ไปพบคุณพ่อเรมถึง 4 ครั้ง และได้รับคำแนะนำจากพระสงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่เคารพในด้านปรีชาญาณ ความศรัทธา และความเฉลียวฉลาดเป็นพิเศษของท่าน อันที่จริง มีคนเชื่อว่าคุณพ่อเรมได้รับประสบการณ์แห่งการประจักษ์ของพระนางมารีย์ ในช่วงที่พระนางปรากฏองค์แก่ท่านภายใต้พระนามว่า “พระมารดาแห่งความน่ายกย่อง 3 ครั้ง”      

 

ในระหว่างการพบปะกัน วอฟกังและคุณพ่อเรมได้ร่วมกันสวดภาวนาและถวายเกียรติแด่พระนางพรหมจารีมารีย์ ในวันสุดท้ายของการพบปะกันคือวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1615 คุณพ่อเรมได้ไปสวดภาวนาในวัดของอารามต่อหน้าพระรูปของพระนางพรหมจารีมารีย์ภายใต้พระนามว่า “แม่พระแห่งหิมะ” เมื่อชายทั้งสองได้พบกัน วอฟกังได้มอบริบบิ้นแต่งงานให้แก่คุณพ่อเรม (ตามธรรมเนียมพิธีแต่งงานของยุคสมัยนั้น เพื่อนเจ้าสาวมักใช้ริบบิ้นผูกแขนของเจ้าบ่าวและเจ้าสาวเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพวกเขาไปจนตลอดชีวิต) ด้วยการทำพิธีอย่างสง่า คุณพ่อเรมชูริบบิ้นแต่งงานของวอฟกังขึ้น ในเวลาเดียวกันก็ค่อยๆ แก้ปมของริบบิ้นทีละปม และในขณะที่คุณพ่อเรมรีดริบบิ้นให้เรียบอยู่นั้น ริบบิ้นก็กลับกลายเป็นสีขาวบริสุทธิ์ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ วอฟกังและโซฟีจึงสามารถหลีกเลี่ยงการหย่าร้างและรักษาชีวิตการแต่งงานไว้ได้       

 

หลายปีหลังจากนั้น หลานชายของวอฟกัง ชื่อ ฮีโรนีมัส อัมโบรซิอุส ลังเงนมันโทล (Hieronymus Ambrosius

Langenmantel ผู้ทำงานที่เซนต์ปีเตอร์ในช่วงปี ค.ศ. 1666-1709 ท่านเป็นพระสงฆ์และศาตราจารย์ด้านกฎหมายพระศาสนจักร ได้ตัดสินใจมอบพระแท่นของครอบครัวให้แก่วัด แซง ปีเตอร์ อัม แพร์ลัค (St. Peter am Perlach) ที่เมืองออกส์เบิร์ก เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงจุดเปลี่ยนของศตวรรษในปี ค.ศ. 1700 ซึ่งการมอบถวายเช่นนี้เป็นสิ่งที่ทำกันเป็นปกติในสมัยนั้น แท่นบูชานี้ถูกมอบอุทิศแก่ “พระนางพรหมจารีผู้แนะนำ” และคุณพ่อฮีโรนีมัสปรารถนาให้แท่นบูชานี้เป็นตัวแทนแห่งประวัติศาสตร์ของครอบครัวลังเงนมันโทล   

 

จิตรกร โยฮัน เมลคีออร์ เกียรก์ ชมิตเนอร์ (Johann Melchior Georg Schmittdner) ได้รับหน้าที่วาดรูปพระแท่นของครอบครัว ท่านตัดสินใจวาดเรื่องราวของวอฟกัง โซฟี และคุณพ่อเรม ดังนั้น ชมิตเนอร์จึงได้วาดรูปของพระนางพรหมจารีมารีย์ แก้ปม ที่กำลังแก้ปมริบบิ้นแห่งชีวิตแต่งงาน การเหยียบหัวงูแสดงให้เห็นว่าพระนางมารีย์ทรงเป็นการปฏิสนธินิรมลทิน เหตุว่า อาศัยพระหรรษทานพิเศษ พระนางผู้ได้รับการยกเว้นจากร่องรอยทั้งสิ้นของบาปกำเนิด ทรงเป็นศัตรูของงูไปตลอดกาล นกพิราบมีความหมายว่าพระนางมารีย์ทรงเป็นเจ้าสาวของพระจิตเจ้า บรรดาทูตสวรรค์มีหน้าที่ช่วยเหลือพระมารดา โดยทูตสวรรค์องค์หนึ่งส่งริบบิ้นที่มีปมให้แด่พระนาง ในขณะที่อีกองค์หนึ่งส่งริบบิ้นที่แก้ปมแล้วให้แก่เรา เบื้องล่างของพระนางมารีย์ มีภาพของวอฟกังซึ่งเดินตรงไปยังอารามฤๅษีอย่างกังวลใจภายใต้การนำของทูตสวรรค์ราฟาแอล       

 

ในที่สุด เรื่องราวของครอบครัวลังเงนมันโทลได้เลือนลางไปจากประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษต่อมาภาพวาดก็ยังคงอยู่เป็นวัตถุโบราณในวัดที่ แซง ปีเตอร์ อัม แพร์ลัค ที่เมืองออกส์เบิร์ก เป็นเวลาหลายปีที่ภาพวาดนี้ได้ไปอยู่ที่อารามของนักพรตคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้าที่เมืองออกส์เบิร์กนั่นเอง ภาพวาดดังกล่าวยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ แม้ได้ผ่านช่วงเวลาแห่งสงคราม การปฏิวัติ และการต่อต้านของพวกฆราวาสก็ตาม     

 

ถึงแม้ว่าการกล่าวถึงพระนางมารีย์ว่าทรงเป็นผู้รวมปมนั้นต้องย้อนไปถึงนักบุญอีเรเนโอในศตวรรษที่สอง ความศรัทธาต่อพระนางมารีย์ผู้แก้ปมก็ยังไม่เป็นที่เลื่องลือจนถึงสมัยนี้ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ได้มีการนำพระรูปนี้ไปยังประเทศอาร์เจนตินา โดยอัครบิชอป จอร์จ มารีโอ แบร์โกลีโอ (Jorge Mario Bergoglio) สงฆ์เยสุอิต (ปัจจุบันคือสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส) ซึ่งได้รับประชานิยมเป็นพิเศษ ความศรัทธานี้ได้ถูกเผยแผ่ออกไปอาศัยการทำงานของฤๅษีชื่อ มารีโอ เฮส อีเบอร์ติส รีเวรา (Mario H. Ibertis Rivera) ตามที่ทางสันตะสำนักวาติกันได้มีอนุญาตให้ใช้รูปภาพนี้ได้ซึ่งถูกจัดพิมพ์โดยทางวาติกัน        

 

อาศัยการเผยแผ่ความศรัทธา จึงทำให้ทุกวันนี้มีผู้ติดตามพระนางพรหมจารีมารีย์ผู้แก้ปมจำนวนหลายพันคนได้ไปที่วัด แซง ปีเตอร์ อัม แพร์ลัค เพื่อวอนขอพระนางให้เสนอวิงวอนสำหรับทุกๆ ปัญหา (ปม) ของพวกเขา นอกเหนือจากปัญหาด้านชีวิตสมรสแล้ว ปมเหล่านี้ยังรวมไปถึงปัญหาหลากหลายที่ไม่ธรรมดาด้วย ผู้คนมาหาพระนางมารีย์เพื่อรับความช่วยเหลือทั้งทางด้านร่างกาย เช่น สุขภาพ การงาน การไม่ลงรอยกัน ความยุ่งยากในครอบครัว ปัญหาส่วนตัว และความขัดแย้งทั้งในชุมชนและระดับนานาชาติ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐ นักธุรกิจ กลุ่มองค์กรคาทอลิก และผู้จาริกแสวงบุญเอง ต่างก็มาหาเพื่อรับการปกป้องจากพระนางพรหมจารีมารีย์ผู้แก้ปม           

 

บทภาวนาแด่พระแม่มารีย์ผู้แก้ปม

ข้าแต่พระแม่มารีย์พรหมจารี

พระมารดาแห่งความรักอันอ่อนหวาน

พระมารดาผู้ไม่เคยปฏิเสธที่จะช่วยเหลือลูกผู้วอนขอ

พระแม่ผู้แจกจ่ายความรักและพระเมตตาของพระเจ้า

จากดวงพระทัยของพระแม่

พระหัตถ์ของพระแม่ทรงช่วยเหลือบรรดาลูกทั้งหลายเสมอ

ด้วยพระหัตถ์ที่เปี่ยมด้วยความรักของพระเจ้า

และพระเมตตาอันยิ่งใหญ่ในดวงพระทัยของพระแม่

โปรดทอดพระเนตรอันเมตตามายังลูก

และโปรดทรงแก้ปัญหาที่ยุ่งเหยิงในชีวิตของลูก

พระแม่ทรงทราบดีว่าเป็นปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้

ทำให้ลูกรู้สึกผิดหวัง เศร้าโศก และเจ็บปวดมากเพียงใด

ข้าแต่พระแม่มารีย์ผู้แก้ปม

ผู้ที่พระเจ้าทรงได้วางพระทัยให้ทรงแก้ปมในชีวิตของลูกทั้งหลาย

ลูกขอมอบเชือกสายชีวิตของลูกไว้ในพระหัตถ์ของพระแม่

โปรดอย่าให้มารร้ายหรือผู้ใดมาช่วงชิง

ไปจากความดูแลของพระแม่ได้

ลูกเชื่อมั่นว่า ในพระหัตถ์ของพระแม่ไม่มีปมใด

ที่ไม่สามารถคลายออกได้

ข้าแต่พระแม่มารีย์ผู้แก้ปม

โดยอาศัยพระหรรษทาน และคำเสนอวิงวอนอันทรงอำนาจ

ต่อพระเยซูเจ้าพระบุตรของพระแม่พระ

ผู้ทรงปลดปล่อยลูกให้เป็นอิสระ

โปรดทรงรับปมปัญหานี้ไว้ในพระหัตถ์ของพระแม่

ลูกวอนขอพระแม่โปรดแก้ปมนี้เพื่อพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า

ข้าแต่พระแม่มารีย์ผู้แก้ปม

พระแม่ทรงเป็นความหวังของลูกตลอดกาล

เป็นความบรรเทาใจที่พระเจ้าประทานแก่ลูก

เป็นพละกำลัง ยามเมื่อลูกอ่อนแอ

เป็นความอิ่มหนำ ยามเมื่อลูกขาดแคลน

และเป็นอิสรภาพ ยามเมื่อลูกถูกพันธนาการ

โปรดสดับฟังคำวอนของพวกลูก

โปรดทรงปกปักรักษา และทรงนำทางลูก

ข้าแต่พระแม่มารีย์ ที่หลบภัยอันวางใจของลูก

พระแม่มารีย์ผู้แก้ปม….ช่วยวิงวอนเทอญ

 

History of the Devotion to Mary, Untier of Knots

– Richard Lenar

 

The story of the Devotion to Mary, Untier of Knots begins with the German nobleman Wolfgang Langenmantel (1568-1637). For some years, he had been married to the noblewoman Sophie Imoff, but by the year 1612 the couple was on the verge of a divorce. To save their marriage, Wolfgang decided to pay a visit to Father Jakob Rem, a Jesuit priest who lived at the monastery and university of Ingolstadt, located seventy kilometers north of Augsburg.

 

Over a period of 28 days, Wolfgang visited Father Rem four times and received advice from the holy priest, who was honored for his wisdom, piety and extraordinary intelligence. In fact, Father Rem was believed to have experienced an apparition of Mary in the course of which she appeared to him under the title of “Mother Thrice Admirable.”

 

During their meetings, Wolfgang and Father Rem would pray together and venerate the Virgin Mary. On the day of their last visit together, September 28th, 1615, Father Rem had been praying in the chapel of the monastery before an image of the Virgin Mary under the title of “Our Lady of the Snows.” When the two men met, Wolfgang gave his wedding ribbon to Father Rem. (In the marriage ceremony of that time and place, the maid of honor joined together the arms of the bride and groom with a ribbon in order to represent their invisible union for the rest of their lives.) In a solemn ritual act, Father Rem took Wolfgang’s wedding ribbon and lifted it up, while at the same time untying the knots of the ribbon one by one. As Father Rem smoothed out the ribbon, it became intensely white. Because of this happening, Wolfgang and Sophie were able to avoid a divorce and continue their marriage.

 

Some years later, Wolfgang’s grandson Hieronymus Ambrosius Langenmantel (Canon of St. Peter's 1666-1709), who was himself a priest and canon law doctor, decided to donate a family altar to the Church of St. Peter am Perlach in Augsburg in commemoration of the turn of the century in the year 1700. Such donations were a common tradition at the time. The altar piece was dedicated to “the Blessed Virgin of Good Counsel” and Father Hieronymus wanted it to represent the history of the Langenmantel family.

 

A painter, Johann Melchior Georg Schmittdner, was commissioned to provide a painting for the family altar. He decided to base his painting on the story of Wolfgang, Sophie and Father Rem. Therefore, Schmittdner depicts the Virgin Mary as she is untying the knots of the ribbon of married life. The crushing of the serpent illustrates that Mary is the Immaculate Conception, since she as the one exempt by special grace from all stain of original sin is the serpent’s eternal opponent. The dove is a reference to Mary as the Bride of the Holy Spirit. Angels assist the Blessed Mother; one presents the knots of our lives to her, while another angel presents the ribbon, freed from knots, to us. Underneath Mary, the worried noble Wolfgang, accompanied by the Archangel Raphael, walks towards a monastery.

 

Eventually, the story of the Langenmantel family disappeared from history. However, through the following centuries the painting remained as an antique in the Church of St. Peter am Perlach in Augsburg. For some years the painting was located in the Discalced Carmelite Convent of the same city of Augsburg. The painting, which has survived wars, revolutions and secular opposition, still adorns the St. Peter Church today.

 

Although the reference to Mary as one who unites knots goes back to St. Irenaeus in the second century, the devotion to Mary Untier of Knots was not well known until recently. In the 1980’s it was brought to Argentina by Archbishop Jorge Mario Bergoglio, S.J. (now Pope Francis), where it remains particularly popular. The devotion has also spread through the efforts of Brother Mario H. Ibertis Rivera, according to whom the Vatican has authorized the use of the image for Vatican publishing.

 

Because of the spread of the devotion, thousands of followers of the Virgin Mary Untier of Knots now come to the St. Peter am Perlach Church to ask for her intercession regarding all their problems (knots). Besides marriage difficulties, these so-called knots include a range of other problems of unusual diversity. People come to Mary for assistance regarding health, work, disputes, family complications, personal problems, and conflicts both in the community and internationally. Many government officials, business people, Catholic groups and individual pilgrims have already placed themselves under the protection of the Virgin Mary Untier of Knots.

Image shown: Johann Melchior Georg Schmittdner, c. 1700

 

References:

Historical timeline from the website of St. Peter am Perlach Church: http://www.sankt-peter-am-perlach.de/zeittafel.htm

Historical research by Brother Mario H. Ibertis Rivera, International Fraternity of Mary Untier of Knots: http://www.desatadora.com.ar/titulo-i.htm

Information on Wolfgang Langenmantel: http://records.ancestry.com/Wolfgang_Langenmantel_records.ashx?pid=36553430

Ball, Ann. Encyclopedia of Catholic Devotions and Practices. Huntington, IN: Our Sunday Visitor, 2003, 287-288

 

Novena to Our Lady Undoer of Knots: http://www.theholyrosary.org/maryundoerknots

 

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 15:1-8) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราเป็นเถาองุ่นที่แท้จริง และพระบิดาของเราทรงเป็นชาวสวน กิ่งก้านใดในเราที่ไม่เกิดผล พระองค์จะทรงตัดทิ้งเสีย กิ่งก้านใดที่เกิดผล พระองค์จะทรงลิด เพื่อให้เกิดผลมากขึ้น...
วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:7-14) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ถ้าท่านทั้งหลายรู้จักเรา ท่านก็รู้จักพระบิดาของเราด้วย บัดนี้ ท่านก็รู้จักพระบิดา และเห็นพระองค์แล้ว” ฟีลิปทูลว่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:1-6) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย ในบ้านพระบิดาของเรา มีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มี...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร
29 เมษายน ระลึกถึงนักบุญ กาธารีนา แห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร ( St. Catherine of Siena ;...
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
10567
16702
96266
305799
306218
36049521
Your IP: 18.223.32.230
2024-04-27 14:38

สถานะการเยี่ยมชม

มี 139 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์