แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

120. พระจิตเจ้าทรงกระทำอะไรในชีวิตของฉัน

พระจิตเจ้าทรงกระทำให้ฉันเปิดรับพระเจ้า ทรงสอนฉันให้สวดภาวนา และทรงช่วยฉันให้อยู่เพื่อผู้อื่น 

(738-741)

 

นักบุญออกัสติน เรียกพระจิตเจ้าว่า “แขกรับเชิญผู้เงียบสงบในจิตวิญญาณของเรา” ผู้ปรารถนาสัมผัสการสถิตอยู่ของพระจิตเจ้าต้องรู้จักสงบเงียบ ผู้รับเชิญนี้มักพูดอย่างแผ่วเบากับเราและในตัวเรา เช่น ในเสียงมโนธรรมของเรา หรือสิ่งเร้าจากภายในและภายนอกอื่น ๆ การเป็น “วิหารของพระจิตเจ้า” หมายความว่า เราต้องอยู่ที่นั่นทั้งร่างกายและวิญญาณ เพื่อแขกรับเชิญท่านนี้ ผู้ทรงเป็นองค์พระเจ้าสถิตกับเรา เมื่อเป็นเช่นนี้ ร่างกายของเราจึงเปรียบเสมือนห้องรับแขกของพระเจ้า 

 

ยิ่งเราเปิดรับพระจิตเจ้าในตัวเรามากเท่าใด พระองค์ก็จะทรงเป็นอาจารย์ในชีวิตของเราได้มากเท่านั้น  และพระองค์ก็จะทรงเร่งประทานพระพรพิเศษของพระองค์แก่เราเพื่อเสริมสร้างพระศาสนจักร  ดังนั้น ผลของพระจิตเจ้า จะเติบโตในตัวเรา แทนที่จะเป็นการทำงานของเนื้อหนัง   290-291, 295-297, 310-311

 

การทำงานของเนื้อหนัง

ในจดหมายถึงชาวกาลาเทีย 5:19...

การทำงานของเนื้อหนัง ได้แก่ การผิดศีลธรรม ความไม่บริสุทธิ์ ความมักมากในกาม การบูชารูปเคารพ การใช้เวทมนต์คาถา การเป็นศัตรูกัน การทะเลาะวิวาท ความอิจฉาริษยา ความโกรธเคือง การแก่งแย่งชิงดี การแตกแยก การแบ่งพรรคแบ่งพวก ความอิจฉา การเมามาย  การดื่มสุรา และอีกหลายประการ

 

พระจิตเจ้าทรงทำงานอย่างลึกซึ้งในชีวิตภายในของเรา การติดต่อสัมพันธ์กับพระองค์ คือการแสวงหาความเงียบ หลีกเลี่ยงการพูดที่ไม่เหมาะไม่ควร

Henrich SPAEMAN

(1903–2001 พระสงฆ์คาทอลิก และนักเขียนฝ่ายจิต)

 

พระศาสนจักร (CHURCH)

(ภาษากรีก kyriake เป็นขององค์พระผู้เป็นเจ้า) ประกอบด้วยผู้ที่ได้รับเรียกจากทุกชนชาติทั้งหมดรวมกัน    (ภาษากรีก ex kaleo, ekklesia) ให้เป็นพระกายของพระคริสตเจ้า โดยอาศัยศีลล้างบาป