แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

Pope Paul VI portrait

พระสมณสาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาหลายพระองค์ ได้อธิบายให้เข้าใจถึงความหมายของการสวดสายประคํา และส่งเสริมการสวดสายประคํา

พระสมณสาส์นว่าด้วยการนับถือพระนางมารีย์ (1974) โดย สมเด็จพระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6 - สายประคําเป็น “บทภาวนาที่สอดคล้องกับพระวรสาร”

สายประคํามีลักษณะสอดคล้องกับพระวรสาร คือได้รับชื่อธรรมล้ำลึก และบทภาวนาสําคัญมาจาพระ วรสาร นอกจากนั้น เมื่อระลึกถึงคําคํานับของเทวดา และความยินยอมอย่างศรัทธาของพระแม่มารีย์ สายประคําก็ได้รับแรงบันดาลใจจากพระวรสาร ซึ่งเตือนว่าสัตบุรุษต้องสวดสายประคําด้วยจิตใจอย่างไร สายประคําเสนอธรรมล้ำลึกสําคัญ เมื่อเราสวดบทวันทามารีย์ติดต่อกัน เช่น การมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระวจนาตถ์ เมื่อทูตสวรรค์แจ้งสารแก่พระนางมารีย์ ฉะนั้น สายประคําจึงเป็น “บทภาวนาที่สอดคล้องกับพระวรสาร”

พระสมณสาส์นเรื่องการสวดสายประคํา (2002) สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 การสวดสายประคําเป็น “การสรุปพระวรสาร”

ไม่มีผู้ใดเพ่งพินิจพระพักตร์พระคริสตเจ้าได้ หากไม่ได้ยินพระสุรเสียงเรียกของพระบิดาในพระจิตเจ้า เพราะ “ไม่มีใครรู้จักพระบุตรนอกจากพระบิดา” (มธ 11:27) เมื่อเปโตรแสดงความเชื่อที่เมืองซีซารียาแห่งฟิลิป พระเยซูเจ้าทรงชี้ให้เห็นชัดว่าเขาได้รับความเข้าใจถึงพระองค์จากไหน “ไม่ใช่มนุษย์ที่เปิดเผยให้ท่านรู้ แต่พระบิดาเจ้าของเราผู้สถิตในสวรรค์ทรงเปิดเผย” (มธ 16:17) พระเจ้าทรงเปิดเผยจากเบื้องบน แต่เพื่อรับการเปิดเผยเช่นนี้ได้ เราจําเป็นต้องตั้งใจฟังด้วย “ประสบการณ์ความเงียบและการภาวนาเท่านั้น เป็นบรรยากาศ ที่เอื้ออํานวยให้เข้าใจพระธรรมล้ําลึกนี้อย่างแท้จริง

การสวดสายประคําเป็นวิธีหนึ่งในธรรมประเพณีการภาวนาที่บรรดาคริสตชนใช้ เพื่อเพ่งพินิจพระพักตร์ของพระคริสตเจ้า สมเด็จสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 ตรัสไว้ว่า “การสวดสายประคําเป็นการภาวนาที่เริ่มจากพระวรสาร มีศูนย์กลางที่พระธรรมล้ำลึกการรับสภาพมนุษย์และการกอบกู้ จึงเป็นการภาวนาที่เกี่ยวกับพระคริสตเจ้าโดยตรง ลักษณะเฉพาะของการสวดสายประคํา คือการสวดบท “วันทามารีย์” ซ้ำๆ เป็นการสรรเสริญพระคริสตเจ้าโดยไม่หยุดหย่อน เพราะพระองค์ทรงเป็นบุคคลที่ทูตสวรรค์และมารดาของยอห์น บัปติสต์ กล่าวถึง “โอรสของท่านทรงบุญนักหนา” (เทียบ ลก 1:42) ยิ่งกว่านั้น การสวดบท “วันทามารีย์” ซ้ำๆ ยังเป็นเสมือนด้ายเส้นตั้งในการทอผ้า และการเพ่งพินิจพระธรรมล้ำลึกเป็นเสมือนด้ายเส้นขวาง พระเยซูเจ้าในบทวันทามารีย์ แต่ละครั้งคือพระเยซูเจ้าองค์เดียวกัน ที่เราเพ่งพินิจพระธรรมล้ำลึกของพระองค์ตามลําดับ ในฐานะพระบุตร ของพระเจ้าและพระบุตรของพระนางพรหมจารีมารีย์ (Marialis Cultus 46)

การสวดสายประคํามอบ “เคล็ดลับ” ให้เราเปิดตัวรับความรู้จากพระคริสตเจ้าอย่างลึกซึ้งถ่องแท้ เราอาจเรียกเคล็ดลับนี้ว่าเป็น “หนทางของพระแม่มารีย์” ที่พระนางทรงดําเนินมาแล้ว ในฐานะสตรีที่มีความเชื่อ ไม่พูดมากแต่รู้จักฟัง การสวดสายประคํายังเป็นวิธีการแสดงความศรัทธาต่อพระแม่มารีย์ที่ได้รับแรงบันดาลใจ จากความสัมพันธ์แน่นแฟ้นของพระคริสตเจ้ากับพระมารดา จึงกล่าวได้ว่า พระธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้า เป็นพระธรรมล้ำลึกของพระมารดาด้วย แม้พระธรรมล้ำลึกบางประการมิได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับพระนางเลยก็ตาม เพราะพระองค์ทรงเป็นเหตุผลให้พระนางเจริญชีวิตอยู่ และดําเนินชีวิตเพื่อพระองค์ เมื่อเราทําให้คําพูด ของทูตสวรรค์และของนางเอลีซาเบ็ธในบท “วันทามารีย์” มาเป็นของเราด้วยนั้น เราก็มีความรู้สึกว่าถูกดึงดูด ให้แสวงหา “โอรสของพระนาง” (เทียบ ลก 1:42) อีกครั้งหนึ่งในอ้อมกอดและดวงหทัยของพระแม่มารีย์ด้วย

 

ที่มา: นิตยสารแม่พระยุคใหม่ ฉบับที่ 239 ปีที่ 40 กันยายน- ตุลาคม 2021