แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

การใช้โทษบาปคืออะไร
              การใช้โทษบาปคือการทำการชดใช้ หรือ ทำสิ่งที่ชดเชยในสิ่งที่ได้กระทำผิด การใช้โทษบาปต้องไม่ใช่การเอาไว้เฉพาะในสมองเท่านั้น แต่ต้องแสดงออกด้วยการกระทำด้วยความรักเมตตา และในความเป็นน้ำหนึ่งเดียวกับผู้อื่น การใช้โทษบาปอาจกระทำได้ด้วยการภาวนา การจำศีลอดอาหาร และช่วยเหลือผู้ยากจนทั้งด้านฝ่ายจิตและวัตถุสิ่งของ (1434 – 1439)

บ่อยครั้งที่มีการเข้าใจผิดเรื่องการใช้โทษบาป ทำอะไรไม่ได้กับผู้ที่มีความนับถือตนเองต่ำหรือมีความละเอียดอ่อน การใช้โทษบาปไม่ใช่การหมกมุ่นถึงว่าฉันเป็นคนไม่ดีอย่างไร แต่การใช้โทษบาปปลดปล่อยและส่งเสริมให้เราทำการเริ่มต้นใหม่

หลังจากตกในบาปแล้ว จงลุกขึ้นอีกครั้งเดินในทางที่ถูกต้อง อย่าปล่อยให้บาปอยู่ในหัวใจของท่านแม้แต่สักครู่เดียว
นักบุญยอห์น เวียนเนย์
(1786-1859)

พระเจ้าทรงให้ความนับถือต่อการเป็นทุกข์ถึงบาปอย่างมากซึ่งมีการเป็นทุกข์ถึงบาปน้อยมากในโลก ตราบใดที่เป็นการเป็นทุกข์ถึงบาปอย่างแท้จริง ก็จะเป็นเหตุให้พระองค์ทรงลืมบาปทุกชนิด  แม้แต่บาปของปีศาจก็จะได้รับการอภัย ถ้าพวกมันเพียงแต่มีความสำนึกผิด
นักบุญ ฟรังซิส เดอ ชาล
(1567-1622)

สององค์ประกอบพื้นฐานของการให้อภัยบาปของคริสตชนที่เกิดขึ้นในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการใช้โทษบาปคืออะไร
สิ่งที่เรียกร้องเพื่อการให้อภัยบาป คือบุคคลที่ผ่านกลับใจ และพระสงฆ์ ผู้ให้อภัยบาปในนามของพระเจ้า

“ท่านทั้งหลายอภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ได้รับการอภัย ท่านทั้งหลายไม่อภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ไม่ได้รับการอภัยบาปด้วย”
ยอห์น 20:23

การพิจารณามโนธรรมควรกระทำอย่างถี่ถ้วน แต่ไม่สามารถหมดจดได้ ไม่มีใครสามารถให้อภัยบาปได้ถ้าไม่สำนึกผิดอย่างจริงจัง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ “ออกจากปาก” พอๆกับการขาดไม่ได้ของจุดประสงค์ของการปรับปรุงแก้ไข มีความตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่กระทำบาปนั้นอีกในอนาคตคนบาปต้องสารภาพบาปอย่างครบถ้วนต่อพระสงฆ์ผู้ให้อภัยบาป แล้วจึงไปสารภาพบาป องค์ประกอบที่สำคัญสุดท้ายคือการชดใช้ หรือกิจใช้โทษบาปที่พระสงฆ์ผู้ให้อภัยบาปกำหนดให้คนบาปกระทำเพื่อเป็นการซ่อมแซมอันตรายที่เขาได้กระทำ

การเป็นทุกข์ถึงบาปเป็นผลมาจากการรู้จักความจริง
โทมัส สเตอร์น เอเลียต
(1888-1956 กวีชาวอเมริกัน –อังกฤษ)

เครื่องหมายการเป็นทุกข์ถึงบาปอย่างจริงใจหลีกหนีโอกาสบาป
นักบุญเบอร์นาร์ด แห่ง แคลแวกซ์
(1090 -1153)