แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บรรดานักบุญ (The Saints)
หลังจากการเจริญชีวิตบนโลกนี้ ในการอุทิศตนเพื่อรับใช้พระเจ้า
บรรดานักบุญก็เป็นทั้งแบบฉบับและผู้ปกป้องเรา


    ทั้งเวลาและสถานที่ๆ เราดำเนินชีวิตอยู่นี้เต็มไปด้วยนักบุญ นับตั้งแต่นครปีเตอร์สเบิร์กไปจนถึง ซานติอาโก เด กอมแปสแตลลา จากเซนต์อีฟส์ในคอร์นเวลไปจนถึงเซนต์ปีเตอร์ในมีนีโซตา โลกของเราเต็มไปด้วยเมืองและหมู่บ้านที่ตั้งชื่อตามชื่อของนักบุญต่างๆ แม้ว่าในสมัยเริ่มแรกของคริสต์ศาสนานั้น นักบุญเปาโลจะเรียกทุกคนที่มีความเชื่อในพระคริสต์ว่า “นักบุญ” หรือ “ประชากรศักดิ์สิทธิ์” (๑) ก็ตาม

นับตั้งแต่ศตวรรษที่สิบเอ็ดเป็นต้นมาตำแหน่งนี้สงวนไว้สำหรับผู้ที่พระสันตะปาปาได้ประกาศแต่งตั้ง มีชื่อในหนังสือสารบบนักบุญเท่านั้นและเป็นผู้ที่ได้รับการเคารพยกย่องในพระศาสนจักรในช่วงเวลาที่มีความจำเป็น ที่จะต้องปรับปรุงการเคารพยกย่องอย่างพร่ำเพรื่อตั้งแต่การเบียดเบียนของอาณาจักรโรมัน ได้มีการถวายเกียรตินี้แก่ผู้ที่เป็นมรณสักขีและผู้ที่ได้บำเพ็ญคุณธรรมอย่างน่าสรรเสริญ ตามธรรมเนียมเรามักฉลองวันตายของพวกท่าน หรือไม่ก็วันเคลื่อนย้ายอัฐิ และธรรมเนียมนี้ก็ยังคงถือปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้ตามปฏิทินของวันฉลองนักบุญ
    กระบวนการ เพื่อแต่งตั้งบุญราศีจนถึงการแต่งตั้งนักบุญได้รับการกำหนด โดยพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 ในศตวรรษที่สิบสองและก็ได้รับการปรับปรุงหลายครั้ง เป็นการเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจในพระศาสนจักรประกาศว่าบุคคลผู้นั้นๆ ได้เข้าสู่สิริมงคลของพระเจ้าแล้วและสมควรได้รับการเคารพยกย่องในฐานะนักบุญ จำเป็นต้องมีการสอบสวนตามมาด้วย “การตั้งศาลเพื่อพิจารณา” ซึ่งมีการต่อสู้กันในศาลระหว่างผู้ที่เสนอเรื่อง (เห็นด้วย)กันทนายฝ่ายค้าน (ทนายปีศาจ)
    ต่อจากพระนางพรหมจารีมารีย์ซึ่งทรงมีความสำคัญในพระศาสนจักรดังที่เราได้กล่าวมาแล้ว บรรดานักบุญรวมทั้งอัครสาวกและบรรดามรณสักขี พระสันตะปาปา พระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวชและฆราวาสด้วยนักบุญเป็นผู้ที่พระจิตทรงนำได้อุทิศชีวิตของตนแด่พระเจ้าและแก่เพื่อนมนุษย์ เราใช้ชื่อของพวกท่านเป็นชื่อของวัดและอารามต่างๆ เราแต่ละคนรับชื่อนักบุญในเวลาที่เรารับศีลล้างบาปซึ่งก็เป็นสัญลักษณ์ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าสะท้อนจากตัวท่าน นับตั้งแต่สมัยพันธสัญญาเดิมมาแล้วที่บุคคลอย่างโมเสสและเอลียาห์ที่เปล่งประกายด้วยแสงของพระเจ้าเพราะเหตุนี้ท่านทั้งสองจึงได้มาสนทนากับพระคริสต์บนภูเขาทาบอร์ (๒)
    แต่ว่าการเคารพยกย่องที่เรามีต่อบรรดานักบุญนี้จะไปเทียบเท่ากับการนมัสการที่เรามีต่อพระเจ้าและต่อพระคริสต์นั้นไม่ได้เลย ในบทนำขอบพระคุณของมิสซาวันฉลองนักบุญ “พระองค์ทรงได้รับเกียรติในบรรดานักบุญของพระองค์ เพราะว่าเกียรติของท่านก็คือมงกุฏของพระพรของพระองค์นั้นเอง” การเคารพยกย่องต่อพระธาตุของนักบุญก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมเนียมคาทอลิกที่ถือกันมา นับตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว นี่ตรงกับธรรมล้ำลึกแห่งการรับเอาธรรมชาติมนุษย์ได้ดีที่สุด ซึ่งมีการเคารพต่อร่างกายซึ่งเป็นอวัยวะของพระกายทิพย์ของพระคริสต์และเป็นพระวิหารของพระจิต (๓)


(๑)    2 คร.1:1
(๒)    อพย.34:29        2 พกษ.2:11        มธ.17:3
(๓)    1 คร.6:15-19