แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

พระสันตะปาปา: สัญลักษณ์ของหลักคำสอนและความเป็นหนึ่งเดียว
การเป็นเอกของพระสังฆราชแห่งโรมและเป็นต้น ปัญหาของศาสนบริการดูเหมือนว่าเป็นเครื่องสะดุดสำหรับหนทางการรวมกันเข้าเป็นหนึ่งเดียว ประสบการณ์แบบคริสต์คือความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าเป็นสิ่งแรกและเหนือกว่าสิ่งใด เป็นการติดยึดอย่างน่ารักกับพระวาจาและพระประสงค์ของพระองค์จากหนังสือปฐมกาลถึงหนังสือวิวรณ์ (๗) พระคัมภีร์ยืนยันถึงพระประสงค์ของพระเจ้าซึ่งเป็นองค์เจ้าบ่าวในการที่รวมพระองค์กับประชากรของพระองค์ซึ่งเป็นเจ้าสาวของพระเจ้า และบทกวีรักใน “บทเพลงซาโลมอน” แสดงออกซึ่งความอ่อนหวานทั้งมวลที่ดึงดูดทั้งสองเข้าด้วยกัน

เมื่อเป็นเช่นนี้เหตุใดเล่าตัวกลางที่เป็นมนุษย์จึงบังอาจเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนที่ซาบซึ้งเช่นนี้ได้ ณ ตรงนี้มีแต่ธรรมล้ำลึกของการรับเอากายเท่านั้นที่จะให้ความสว่างแก่เราได้ พระคริสต์ผู้เสด็จมาเพื่อจะประทับอยู่ท่ามกลางมนุษยชาติ เสด็จกลบไปหาพระบิดาเพื่อประทับเบื้องขวาของพระบิดา ในวันเสด็จขึ้นสวรรค์โดยทรงปล่อยให้พระศาสนจักรที่ทรงสถาปนาขึ้นกระทำภารกิจของพระองค์ต่อไปเพื่อว่าเจ้าสาวของพระองค์จะได้พบกับมิติที่เต็มเปี่ยมของตนในกาลเวลาและสถานที่ พระเยซูทรงแต่งตั้งให้เปโตรและอัครสาวกอีกสิบเอ็ดท่านเป็นหัวหน้าของพระศาสนจักร เพื่อพวกเขาจะได้สืบต่อพระวาจาและพระพรของพระเจ้า
พระสังคายนาวาติกันที่ 2 ชี้ให้เห็นชัดว่าฐานันดรของพระศาสนจักรคาทอลิกเป็นส่วนที่ขาดเสียมิได้ของประชากรของพระเจ้าในการรับใช้ประชากร (๘) ถ้าพระสันตะปาปา พระสังฆราช พระสงฆ์และสังฆานุกรต่างก็เป็นตัวแทนขององค์เจ้าบ่าวและนายชุมพาด้วยวิธีการต่างๆ กระนั้นก็ดีพวกเขาก็มิได้แทนที่พระคริสต์ หากแต่เพื่อเป็นประกันถึงการสนิทสัมพันธ์ที่แท้จริงและที่สมบูรณ์แบบกับพระองค์เท่านั้น
พระสันตะปาปาทรงเป็นสัญลักษณ์ที่เด่นชัดสำหรับคริสตชน และสำหรับคริสตชนร่วมสมัย เช่นเดียวกันพระคริสต์ทรงเป็นเครื่งหมายที่จะถูกโต้แย้ง (ลก.2:34) พระเยซูทรงตัดสินพระทัยที่จะสร้างพระศาสนจักรของพระองค์บนศิลาแห่งเปโตร (๙) และเป็นหน้าที่ของท่านที่จะ “ช่วยค้ำจุนพี่น้องของท่าน” (ลก.22:32)ในฐานะที่เป็นผู้สืบตำแหน่งของนักบุญเปโตรในศาสนจักรแห่งโรม พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ตรัสในบทเทศน์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ.1987 ต่อหน้า ฯพณฯ ดีมีตรีออสที่ 1 อัครสังฆราชแห่งคอนสแตนตินโนเปิลและอัยกาแห่ง
คริสตสัมพันธ์ว่า “ข้าพเจ้าวิงวอนพระจิตอย่างไม่หยุดหย่อนให้ทรงฉายแสงของพระองค์ลงมาเหนือชาวเราและ ส่องสว่างแด่บรรดานายชุมพาและนักเทววิทยาของศาสนจักรต่างๆของเรา เพื่อให้เราแสวงหาด้วยกัน ซึ่งศาสนบริการแบบนี้จะได้บรรลุถึงการรับใช้แห่งความรักอันเป็นที่ยอมรับของทุกคนที่เกี่ยวข้อง” (๑๐)
พระสันตะปาปามิได้ทรงเป็นเพียงเครื่องหมาย สัญลักษณ์และข้อหลักของความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระศาสนจักรเท่านั้น ทรงเป็นหลักในเรื่องเมตตารักพร้อมกับบรรดาพี่น้องพระสังฆราชซึ่งมีบรรดาสงฆ์และสังฆานุกรของท่านคอยช่วยเหลือ สังฆานุกรเป็นผู้รับใช้พี่น้องฆราวาสของพวกท่านอีกต่อหนึ่งในฐานะที่เป็นสมาชิกของประชากรของพระเจ้า ทุกคนเป็นผู้เหมาะสมต่อหน้าธรรมล้ำลึกแห่งพระศาสนจักร คนยากจน ในทุกความหมายของคำๆนี้ (ด้านกาย ด้านชีวิตจิต ด้านจิตวิทยา และด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม) เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่บรรดาคริสตชนยกย่อง เพราะพวกเขาเป็นเสมือนพระคริสต์ผู้ถ่อมองค์ลงจนกระทั่งทรงยอมสิ้นพระชนม์บนกางเขน
ความหมายของสัญลักษณ์นี้ยืดหยุ่นเกี่ยวกับความเป็นจริงทุกอย่างที่ให้ “อาหารใจ” แก่เราสัญลักษณ์ของคาทอลิกรวมเอาทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคาทอลิก ไม่ใช่เพียงแต่สิ่งที่เกี่ยวกับพิธีกรรมเท่านั้น พระคริสต์ซึ่งทรงเป็นมนุษย์-พระ คนกลางของชาวเรา แบบฉบับที่เลอเลิศที่สุดของความเป็นจริงที่ครบถ้วน ทรงเป็นสัญลักษณ์ที่แตกออก เป็นภาพลักษณ์จำนวนมากมาย (ลูกแกะ นายชุมพาแสนดี ฯลฯ) สัญลักษณ์อื่นๆ อาจเป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กางเขน ขนมปังหรือหอคอย แต่บ่อยครั้งอาจเป็นบุคคลเช่นสามพระบุคคลในพระตรีเอกภาพ พระนางพรหมจารีมารีย์ บรรดานักบุญ พระสงฆ์ ผู้ที่อยู่ในฐานันดรและฆราวาส สัญลักษณ์มีไว้สำหรับมนุษยชาติ สำหรับเราทุกคน เพื่อเราจะสามารถเข้าใจความสมบูรณ์และการเป็นหนึ่งเดียวของความรักที่พระคริสต์ทรงแสดงออก ขณะที่ภาวนาต่อพระบิดาเป็นครั้งสุดท้ายบนโลกนี้ว่า “ข้าพเจ้าได้บอกให้เขารู้จักพระนามของพระองค์และจะบอกให้รู้ต่อไป เพื่อความรักที่พระองค์ทรงรักข้าพเจ้าจะได้อยู่ในเขาและข้าพเจ้าจะได้อยู่ในเขาด้วยเช่นกัน” (ยน.17:26)


(๗)    หนังสือเล่มแรกและเล่มสุดท้ายของพระคัมภีร์
(๘)    บทที่ 2 ของสังฆธรรมนูญว่าด้วยเรื่องข้อความเชื่อของพระศาสนจักร Lumen Gentium เกี่ยวกับประชากรของพระเจ้า
บทที่ 3 เกี่ยวกับ “สังฆธรรมนูญว่าด้วยเรื่องฐานานุกรมของพระศาสนจักร พร้อมด้วยข้ออ้างพิเศษสำหรับพระสังฆราช
(๙)    มธ. 16:18
(๑๐)    อ้างใน “เพื่อให้พวกเขาเป็นหนึ่งเดียวกัน” ข้อ 95