แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทที่ 6
สิ่งที่ตรงกันข้ามกับพระเมตตากรุณา
อุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัส (ลก.16.19-31)
    เราจะซาบซึ้งกับสิ่งที่มีคุณค่าก็ต่อเมื่อมันหายไป หรือสิ่งตรงกันข้ามมาแทนที่ และเนื่องจากบ่อยครั้ง ความชั่วดับเสียงความดี  หลายครั้ง เราต้องตรวจสอบความชั่วเพื่อเข้าใจและทำความรู้จักกับความดี   เราเคารพพระเมตตากรุณาเมื่อไรและอย่างไร ประเด็นอะไรที่เป็นไปได้ที่จะวางใจในพระเมตตากรุณาของพระเจ้า   เสียงก้องของเรื่องอุปมา 3 เรื่องที่แสดงพระเมตตากรุณาของพระเจ้าในพระวรสารโดยนักบุญลูกายังแข็งแกร่ง แต่เราต้องเผชิญอุปสรรคใหญ่ในเรื่องอุปมานี้ คือคนรวยคนใดสามารถได้รับความรอดพ้น และเขาจะรอดอย่างไร

    สรุปแล้ว ก่อนจะเล่าเรื่องอุปมานี้ พระเยซูเจ้าทรงต่อต้านพวกชาวฟาริสีด้วยการวิจารณ์ข้อกล่าวหาอย่างรุนแรง   เพราะผู้ที่รักเงินทองหัวเราะเยาะพระองค์” (ลก.16.14) พระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า “ท่านทั้งหลายคิดว่า ท่านเป็นผู้ชอบธรรมต่อหน้ามนุษย์ แต่พระเจ้าทรงล่วงรู้ใจของท่าน สิ่งที่มนุษย์ยกย่องเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้า” (ลก.16.15) อุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัสที่ให้ความมั่นใจ คงต้องท้าทายข้อสมมติฐานที่ว่า “ผู้ที่ได้รับการยกย่องต่อหน้ามนุษย์เพราะเขามีฐานะทางสังคมที่ดี พวกเขาจะได้รับการยกย่องเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าด้วย” แต่พระเจ้าทอดพระเนตรที่เจตนาในจิตใจไม่ใช่แค่ภาพปรากฏภายนอก
‘เศรษฐีผู้หนึ่ง แต่งกายหรูหราด้วยเสื้อผ้าเนื้อดีราคาแพง จัดงานเลี้ยงใหญ่ทุกวัน   คนยากจนผู้หนึ่งชื่อลาซารัส นอนอยู่ที่ประตูบ้านของเศรษฐีผู้นั้น เขามีบาดแผลเต็มตัว   อยากจะกินเศษอาหารที่ตกจากโต๊ะของเศรษฐี มีแต่สุนัขมาเลียแผลของเขา   วันหนึ่ง คนยากจนผู้นี้ตาย ทูตสวรรค์นำเขาไปอยู่ในอ้อมอกของอับราฮัม เศรษฐีคนนั้นก็ตายเช่นเดียวกัน และถูกฝังไว้     ‘เศรษฐีซึ่งกำลังถูกทรมานอยู่ในแดนผู้ตาย แหงนหน้าขึ้น มองเห็นอับราฮัมแต่ไกล และเห็นลาซารัสอยู่ในอ้อมอก   จึงร้องตะโกนว่า “ท่านพ่ออับราฮัม จงกรุณาลูกด้วย กรุณาส่งลาซารัสให้ใช้ปลายนิ้วจุ่มน้ำมาแตะลิ้นให้ลูกสดชื่นขึ้นบ้าง เพราะลูกกำลังทุกข์ทรมานอย่างสาหัสในเปลวไฟนี้”  แต่
อับราฮัมตอบว่า “ลูกเอ๋ย จงจำไว้ว่า เมื่อยังมีชีวิต ลูกได้รับแต่สิ่งดี ๆ ส่วนลาซารัสได้รับแต่สิ่งเลว ๆ  บัดนี้เขาได้รับการบรรเทาใจที่นี่ ส่วนลูกต้องรับทรมาน  ยิ่งกว่านั้น ยังมีเหวใหญ่ ขวางอยู่ระหว่างเราทั้งสอง จนใครที่ต้องการจะข้ามจากที่นี่ไปหาลูก ก็ข้ามไปไม่ได้ และผู้ที่ต้องการจะข้ามจากด้านโน้นมาหาเรา ก็ข้ามมาไม่ได้ด้วย”
‘เศรษฐีจึงพูดว่า “ท่านพ่อ ลูกอ้อนวอนให้ท่านส่งลาซารัสไปยังบ้านบิดาของลูก  เพราะลูกยังมีพี่น้องอีกห้าคน ขอให้ลาซารัสเตือนเขาอย่าให้มายังสถานที่ทรมานแห่งนี้เลย”  อับราฮัมตอบว่า “พี่น้องของลูกมีโมเสสและบรรดาประกาศกอยู่แล้ว ให้เขาเชื่อฟังท่านเหล่านั้นเถิด” แต่เศรษฐีพูดว่า “มิใช่เช่นนั้น ท่านพ่ออับราฮัม ถ้าใครคนหนึ่งจากบรรดาผู้ตายไปหาเขา เขาจึงจะกลับใจ”  อับราฮัมตอบว่า   “ถ้าเขาไม่เชื่อฟังโมเสสและบรรดาประกาศก แม้ใครที่กลับคืนชีวิตจากบรรดาผู้ตายเตือนเขา เขาก็จะไม่เชื่อ” (ลก.16.19-31)

1.    สิ่งตรงกันข้ามกับพระเมตตากรุณา
    อุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัสผู้ยากจนอยู่แนวเดียวกับอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียแสนดี และอุปมาเรื่องบิดาผู้ใจดี อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่องนี้ ขอเสนอเรื่องอุปมา 2 เรื่องที่เป็นฉากก่อนหน้านั้น เปรียบกับผ้าใบที่มีสีตัดกัน  เช่นเดียวกัน เริ่มเรื่องจากอุปมาอื่น 2 เรื่อง “มีชายคนหนึ่ง...” (เทียบ ลก.10.30; 15.11;16.19)  และเวลานี้ด้วย ที่มี 2 ฉาก ฉากแรกเศรษฐีกับขอทานลาซารัสในโลกนี้ และฉากที่สอง เศรษฐี อับราฮัมและลาซาลัส ในโลกหน้า
    ฉากแรก เศรษฐีผู้หนึ่งแต่งกายหรูหราด้วยเสื้อผ้าเนื้อดีราคาแพง จัดงานเลี้ยงใหญ่ทุกวัน ตรงกันข้ามกับขอทานลาซารัส เศรษฐีสวมใส่เสื้อผ้าราคาแพง การย้อมผ้าสีม่วงที่เป็นเสื้อคลุมภายนอกราคาแพงเพราะผลิตจากต่อมของสัตว์ทะเลประเภทหอยหรือปลาหมึก และสีนี้สงวนไว้สำหรับเป็นฉลองพระองค์และอาภรณ์ของกษัตริย์หรือคนชั้นสูง ก่อนที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน มีคนนำผ้าสีม่วงมาให้พระองค์สวม เพื่อให้ทหารในจวนของผู้ว่าราชการโรมัน เยาะเย้ยว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์” (มก.15.19-20)  ผ้าลินินอย่างดีของเศรษฐีเป็นผ้าสีขาวละเอียดอ่อนสำหรับสวมทับผิวหนังของเขา รายละเอียดขั้นต้นก็เพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึง ไม่ได้กล่าวเกินความจริงเลย เศรษฐีสวมเสื้อแสดงฐานะผู้ปกครอง แต่ไม่ได้บันทึกชื่อของเขาไว้ คนยากจนที่เต็มไปด้วยบาดแผลกลับมีชื่อและเป็นชื่อเดียวที่ถูกบันทึกไว้ในเรื่องอุปมาของพระเยซูเจ้า ความหมายของลาซารัสคือ “พระเจ้าทรงช่วย”(พันธสัญญาใหม่พูดถึงลาซารัสที่เป็นเพื่อนของพระเยซูเจ้าและพี่ของมาร์ธาและมารีย์ที่ทรงทำให้กลับคืนชีพ แต่ลาซารัสคนนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องอุปมานี้เลย
    ลาซารัสนอนใกล้ทางเข้าใหญ่โตของบ้านเศรษฐี และเมื่อลาซารัสตาย เขาถูกนำไปสู่อ้อมอกอับราฮัม บางธรรมประเพณีถือว่าชื่อของเศรษฐีคือคนโลภอาหาร (epulone-glutton) แต่เป็นชื่อเฉพาะและพบคำนั้นในเรื่องอุปมากฎของ “ความขัดแย้ง” (contrapasso) ถูกจัดให้กลับด้านได้ เนื่องจากเศรษฐี   สวมใส่เสื้อเหมือนเป็นกษัตริย์องค์หนึ่ง  ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าว่าเป็นชื่อนิรนาม ขณะที่คนยากจน กลับมีชื่อที่บันทึกไว้เพื่อความเป็นอมตะตลอดกาล
 ฉากทั้งสองที่ประกอบในเรื่องอุปมาไม่ได้สัดส่วนกัน  ขณะที่เหตุการณ์เกี่ยวข้องกับตัวเอก 2 คนบนโลก จัดให้มาอยู่ใกล้กัน (ดู ข้อ 19-21) เป็นฉากในชีวิตหลังความตาย ซึ่งเศรษฐีใช้เวลาขอความเมตตากรุณานานกว่า (ข้อ 22-31) และในระดับที่ไม่สิ้นสุด    สองฉากขัดแย้งกัน ตามด้วยกฎการพลิกกลับด้าน  ระหว่างที่เศรษฐีดำเนินชีวิตในโลก ที่เขาจัดงานเลี้ยงฉลองทุกวัน  แต่ไม่ให้เศษอาหารจากโต๊ะอาหารของเขาแก่ลาซารัสเลย  ในชีวิตหลังความตาย ลาซารัสได้รับความบรรเทาใจขณะที่เศรษฐีไม่มีแม้กระทั่งหยดน้ำมาทำให้ริมปากชุ่มชื้น  สิ่งดีๆที่เศรษฐีได้รับและลาซารัสไม่ได้รับขณะมีชีวิตบนโลกถูกพลิกกลับด้าน ณ บัดนี้  ลาซารัสได้รับความบรรเทาและเศรษฐีถูกทรมานในชีวิตหลังความตาย
    เช่นเดียวกับเรื่องอุปมาที่ต่อรองด้วยความเมตตาเชิงบวก เรื่องอุปมานี้พลิกสถานการณ์ แต่มีความแตกต่างกัน การกลับด้านมีลักษณะเจาะจง เนื่องจากมีอุปสรรคถาวร 2 ประการในที่นี่  อุปสรรคแรก คือ ประตูบานใหญ่เพื่อเข้าบ้านที่กีดขวางลาซารัส ไม่ให้ลาซารัสได้รับความช่วยเหลือ (ซึ่งเป็นมุมมองของเศรษฐีที่มีต่อคนยากจน) อุปสรรคที่สองคือ เหวที่อยู่ใต้พิภพที่ซึ่งเศรษฐีค้นพบตัวเอง แต่ลาซารัสได้รับการต้อนรับให้อยู่ในอ้อมอกของอับราฮัม
    ความไม่ได้สัดส่วนระหว่างสถานการณ์ที่ปรากฏในเวลานั้นกับในนิรันดรภาพ เป็นการสื่อสารส่วนหนึ่งด้วยความเงียบในมิติของเวลาและด้วยบทสนทนาในมิติของนิรันดรภาพ  คำร้องขอของผู้ชายทั้งสองคน ยังคงไม่ได้รับคำตอบที่น่าพึงพอใจในมิติเรื่องเวลา เศรษฐีได้ช่วยปล่อยให้ลาซารัสคลายความหิวโหย  และบัดนี้ในนิรันดรภาพ  อับราฮัมก็ไม่สามารถตอบสนองคำร้องขอ 3 ข้อของเศรษฐีได้เหมือนกัน ลาซารัสไม่อาจใช้ปลายนิ้วจุ่มน้ำมาแตะลิ้นให้เศรษฐีที่กำลังทรมานให้สดชื่นขึ้นบ้าง อับราฮัมไม่สามารถส่งลาซารัสกลับไปยังโลก  เพื่อเป็นพยานเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในชีวิตหลังความตาย,เนื่องจาก   แม้แต่การกลับคืนชีพของคนตายก็จะไม่สามารถทำให้พี่น้องของเศรษฐี 5 คนกลับใจได้

2.    เขาไม่ได้รับความเมตตา
    ความขัดแย้งระหว่างเรื่องอุปมาแห่งพระเมตตากรุณา และเรื่องอุปมาเศรษฐีกับขอทานลาซารัสนั้นใหญ่หลวงนัก กว่าจะมาถึงประเด็นนี้ มีการให้ความเมตตาทุกครั้ง ตั้งแต่เจ้าหนี้ยกหนี้ทั้งหมดให้แก่ลูกหนี้ 2 คน จนถึงการอ้อนวอนของลูกล้างผลาญ ในเรื่องอุปมาหลายเรื่องที่จะเล่าต่อจากเรื่องอุปมานี้ มีการให้ความเมตตาแก่หญิงม่ายที่เพียรทน (ดู ลก.18.9-14). แก่คนเก็บภาษีในพระวิหาร (ลก.18.9-14) คำร้องขอของเศรษฐีในดินแดนผู้ตายว่า ขอเมตตาลูกด้วย” (ลก.16.24) คล้ายกับคำภาวนาของคนเก็บภาษีในเรื่องอุปมาที่จะกล่าวต่อไป ซึ่งพูดว่า “ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด” (ลก.18.13) อย่างไรก็ตาม นี่คือกรณีเดียวเท่านั้น คือ คำร้องขอของเศรษฐี ที่ไม่มีใครได้ยินการ เพราะเป็นสถานการณ์ที่พลิกกลับด้าน
สถานการณ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนให้เป็นเหมือนเดิมได้ จะได้รับพระเมตตาอันหาที่สุดมิได้ของพระเจ้าได้อย่างไร ถ้าคำภาวนาที่เพียรทนสามารถก่อให้เกิดผลต่อดวงพระทัยของพระเจ้า-เหมือนที่เราจะได้เห็นในเรื่องอุปมาแม่ม่ายที่เพียรทน  แล้วเหตุใดคำภาวนาของเศรษฐีไม่อาจปรับสภาพของเขาแม้แต่น้อยเลย เราถูกทำให้เข้าใจว่า สถานการณ์ของเขาแก้ไขไม่ได้แล้ว เพราะไม่มี “เวลา (แบบโลก)” ในนิรันดรภาพ. นั่นเป็นคำตอบที่มีตรรกะมากที่สุด แต่ไม่ได้กล่าวไว้ในเรื่องอุปมา
    จุดเปลี่ยนได้อธิบายเหตุผลหลักว่า เหตุใดสถานการณ์ของเศรษฐีไม่อาจได้รับการแก้ไข เมื่อเศรษฐีอยู่ในแดนของผู้ตายและเห็นลาซารัสในอ้อมอกของอับราฮัม,เขาจำลาซารัสได้และเรียกชื่อของลาซารัสถึงสองครั้ง  เท่ากับ เขาสาปแช่งตนเองด้วยคำพูดของเขาเอง     เขารู้อย่างถ่องแท้ว่า ลาซารัสเป็นใครขณะที่อยู่ในโลก  แต่เขากลับไม่สนใจไยดีต่อลาซารัสเลย ด้วยวาทศิลป์ที่ดีและที่สำคัญที่สุด ถูกเชื่อมด้วยความขัดแย้งกับเรื่องอุปมาแสดงพระเมตตากรุณา 2 เรื่องก่อนหน้านั้น ในกรณีของชาวสะมาเรียใจดีที่เมื่อ “เห็นชาวยิวที่ถูกทำร้าย เขาก็รู้สึกเวทนาสงสาร”(ลก.10.33) และกล่าวซ้ำในกรณีของเรื่องบิดาผู้ใจดีว่า “ในขณะที่บุตรชายยังอยู่ไกล บิดามองเห็นเขา และ รู้สึกเวทนาสงสาร (ลก.15.20)  แต่บัดนี้ เศรษฐีได้ “แหงนหน้าขึ้น มองเห็นอับราฮัมแต่ไกล และเห็นลาซารัสอยู่ในอ้อมอกของอับราฮัม” ข้อความไม่ได้กล่าวว่า “เห็นเขา” โดยทั่วไป ซึ่งอาจตีความได้หลากหลาย แต่กล่าวว่า “ได้เห็นเขา” (อดีต)  เศรษฐีถูกบังคับให้เห็นลาซารัสที่ไม่เคยได้รับความใส่ใจในอดีตขณะมีชีวิตบนโลก มาปรากฏให้เป็น  ในนิรันดรกาล
    ดังนั้น ไม่อาจแก้ไขสถานการณ์ได้แล้ว  เพราะเศรษฐีน่าจะแสดงความเห็นอกเห็นใจ ขณะที่ขอทานลาซารัสนอนที่ประตูบ้านเศรษฐี เต็มไปด้วยแผล  ต่อมา ความเห็นอกเห็นใจ จึงไม่มีความหมาย และตามข้อเท็จจริง   เป็นไปไม่ได้เลยสำหรับเศรษฐี  พระเมตตาของพระเจ้าลดน้อยลง เมื่อมนุษย์แสดงความเมตตาขอพรพรกรุณาต่อผู้อื่นน้อยลง  และเมื่อใดขาดความเมตตาต่อผู้อื่น,เมื่อนั้นก็จะไม่มีที่ว่างสำหรับพระเมตตากรุณาของพระเจ้าเช่นกัน ไม่ใช่เหตุบังเอิญที่ไม่มีการกล่าวถึงพระเจ้าเลยในเรื่องอุปมาทั้งหมด เพราะพระองค์ตรัสและทรงกระทำผ่านอับราฮัมแล้ว
    อย่างไรก็ตาม เรื่องอุปมานี้เกี่ยวกับความขัดแย้งของพระเมตตา แสดงว่า ทำอย่างไรจึงจะไม่ต้องตกไปอยู่ในสถานการณ์ของเศรษฐี - นั่นคือ ให้เราตั้งใจฟังโมเสสและบรรดาประกาศก  พระวาจาของพระเจ้า  การกลับคืนชีพของผู้ตายไม่เพียงพอที่จะทำให้ญาติพี่น้องของเศรษฐีกลับใจ  แต่การที่เราปฏิบัติต่อคนจนของโลกอย่างไรนั้น เป็นการทดลอง (เหมือนทดลองด้วยกระดาษลิตมัส)ว่า  เราอยู่ในเส้นทางสู่ความรอดพ้น หรือสู่การสาปแช่งสำหรับเศรษฐีคนใดก็ได้   ขอทานที่โลกไม่แยแส จะต้องได้รับการยอมรับจากเศรษฐีตลอดนิรันดร

    3. “เมื่อเราหิว   ท่านไม่ให้อะไรเรากิน” (มธ.25.42)
    อุปมาที่เน้นเรื่องชีวิตหลังความตายไม่ได้เล่าเพื่อขู่คนฟังให้กลัวหรือเพื่อบรรยาย –  เหมือนคำบรรยายของดังเต อัลไลริ (Dante   Alighieri) ในหนังสือชื่อ Divine Comedy – เกี่ยวกับนรก   ไฟชำระ  และสวรรค์  แต่ในเรื่องอุปมาเหล่านี้ที่เกี่ยวกับบั้นปลายของชีวิตมนุษย์ พระเยซูเจ้ากลับตรัสถึงนิรันดรภาพในบริบทของกาลเวลาเกี่ยวกับอนาคตกาลโดยผ่านปัจจุบันกาล  พระองค์ทรงสนพระทัยในคำ “วันนี้” และทรงนำอนาคตกาลเข้าสู่บทละครเพื่อท้าทายคนร่วมสมัยของพระองค์ เรื่องการยอมรับคนยากจน, อุปมาเรื่องเศรษฐีและขอทานลาซารัสเน้นสิ่งที่ผู้คนควรทำด้วยเวลาที่ธรรมชาติกำหนดให้พวกเขาทำในชีวิตนี้
    ความขัดแย้งระหว่างเรื่องที่เศรษฐีไม่สนใจว่า มีคนยากจนนอนอยู่นอกประตูของคฤหาสน์ของเขา กับการยอมรับเขาในนิรันดรกาลภาพนั้น เรื่องอุปมานี้อยู่ในแนวเดียวกับอุปมาเรื่องการพิพากษาครั้งสุดท้ายในพระวรสารโดยนักบุญมัทธิว 25.31-46   ถ้าในส่วนแรกของเรื่องอุปมานั้น,บุตรแห่งมนุษย์ทรงอวยพรและทรงต้อนรับคนที่ไม่รู้จักพระองค์ แต่เป็นผู้ที่ให้อาหารแก่คนหิวโหย และให้น้ำแก่คนที่กระหาย และต้อนรับคนแปลกหน้า ให้เสื้อผ้าแก่คนที่ไม่มีเสื้อผ้า และเยี่ยมคนป่วยและคนที่อยู่ในคุก และส่วนที่สองของเรื่องอุปมา ไม่อาจแทนที่สำหรับคนที่เพิกเฉยงานเมตตากิจด้านร่างกายและด้านจิตใจ เรื่องอุปมาสรุปด้วยมาตรการที่แยกแกะจากแพะ (คนที่ได้รับพระพรและคนที่ถูกสาบแช่ง) และที่ปรับใช้กับทุกคน “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ท่านทำสิ่งใดต่อผู้ต่ำต้อยของเราคนหนึ่ง ท่านทำสิ่งนั้นต่อเรา” (มธ.25.45)
    สิ่งที่กล่าวถึงโดยทั่วไปเกี่ยวกับคนที่ถูกเพิกเฉยในเรื่องอุปมาของนักบุญมัทธิวปรับเข้ากับอุปมาเรื่องเศรษฐีและขอทานลาซารัส ลาซารัสหิว แต่เศรษฐีไม่ให้อาหารเขา แม้แต่เศษอาหารจากโต๊ะของเขา ลาซารัสป่วยและเต็มไปด้วยบาดแผล  แต่เศรษฐีไม่ไปเยี่ยมเขา ลาซารัสไม่มีเสื้อผ้าใส่ แต่เศรษฐีไม่ได้ให้เสื้อผ้าแก่เขา ลาซารัสเป็นคนจาริกแสวงบุญคนหนึ่งที่มาที่ประตูหน้าบ้านเศรษฐี แต่เศรษฐีไม่ให้การต้อนรับเขา งานเมตตาสงเคราะห์ต่างๆที่ปรากฏในอุปมาเรื่องการพิพากษาครั้งสุดท้าย ไม่ได้ทำเพื่อลาซารัส ที่เศรษฐีเพิกเฉยระหว่างลาซารัสมีชีวิตอยู่  ดังนั้น บัดนี้ เศรษฐีถูกบังคับให้ยอมรับลาซารัสตลอดนิรันดร์กาล
    ขอให้ไตร่ตรองคุณสมบัติที่ต้องมีเกี่ยวกับความมั่งคั่งและความยากจนในเรื่องอุปมา มิฉะนั้น เราอาจผิดที่จะคิดถึงความแตกต่างอย่างลวกๆ  เมื่อพิจารณาจากรูปแบบ  เรื่องอุปมาไม่ได้อธิบายเหตุผลสำหรับการที่ลาซารัสถูกอุ้มไปยังอ้อมอกของอับราฮัม และเศรษฐีถูกส่งไปยังดินแดนของผู้ตาย ดังนั้น การเดินเรื่องหลีกเลี่ยงการพิจารณาว่า คนยากจนได้รับพระพรเพราะเขาเป็นคนยากจนและเศรษฐีถูกสาบแช่งเพราะเขาเป็นคนร่ำรวย  เราสังเกตว่าจุดเปลี่ยนของเรื่องอุปมาอยู่ที่การบังคับให้เศรษฐียอมรับลาซารัส  ไม่ใช่ความมั่งคั่งหรือความยากจนที่ประกันหรือกีดกันผลเชิงบวกหรือผลเชิงลบในการพิพากษาครั้งสุดท้าย แต่เป็นความสามารถหรือความไม่สามารถที่จะเห็นและแสดงความเมตตาต่อผู้อื่นต่างหาก  ในประเด็นนี้ ละครเรื่องเศรษฐีกับขอทานลาซารัส ให้เครื่องหมายสำคัญในทุกแห่งและทุกเวลาที่อ่านเรื่องอุปมานี้ เศรษฐีเพิกเฉยคนยากจนระหว่างมีชีวิตบนโลกนี้ ดังนั้น บัดนี้ เศรษฐีถูกบังคับให้ยอมรับลาซารัสตลอดนิรันดรภาพ ที่ซึ่งความเมตตาใดๆที่ไร้ประโยชน์เสียแล้ว

4    โมเสส ประกาศก และดวงใจมนุษย์
    เหตุใดจึงมีความมั่นใจในโมเสสและประกาศกมากกว่าการกลับมาของคนตายจากชีวิตหลังความตาย หรือเหตุใดพระวาจาของพระเจ้า เป็นสิ่งเดียวที่สามารถเปลี่ยนหัวใจมนุษย์ ไปสู่ความเมตตาสงสารคนอื่น  เราจะเห็นเหตุผลหลัก 2 ประการตลอดพระวรสารโดยนักบุญลูกาสำหรับเรื่องนี้
    เหตุผลประการแรกและที่สำคัญที่สุด  คือ ความเมตตาหลั่งไหลจากดวงใจมนุษย์,และเพียงพระวาจาของพระเจ้าเท่านั้นที่สามารถสนับสนุนความเมตตาและป้องกันไม่ให้เหือดแห้งหายไป  การพบปะกันระหว่างพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพกับศิษย์ 2 คนระหว่างทางไปเอมมาอุส ทำให้เข้าใจประเด็นนี้  ในส่วนแรกของการเล่าของนักบุญลูกาที่ว่า “แล้วพระองค์ทรงอธิบายพระคัมภีร์ทุกข้อที่กล่าวถึงพระองค์ให้เขาฟังโดยเริ่มตั้งแต่โมเสสจนถึงบรรดาประกาศก”(ลก.24.27) หลังจากบรรดาสานุศิษย์จำพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพได้เมื่อพระองค์ทรงบิปัง  พวกเขาสารภาพว่า “ใจของเราไม่ได้เร่าร้อนเป็นไฟอยู่ภายในใช่ไหม   เมื่อพระองค์ตรัสกับเราขณะเดินทาง และอธิบายพระคัมภีร์ให้เราฟัง” ลก.24.27)  เมื่อพระวาจาของพระเจ้าแทงทะลุดวงใจมนุษย์ ก็จะสามารถทำให้เร่าร้อนอยู่ภายในและเยียวยาอาการมืดบอดและอาการใบ้ได้  มันทำให้เราสามารถเห็นสิ่งที่พวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อน  เศรษฐีในเรื่องอุปมามีความคิดผิดเกี่ยวกับการกลับใจ  เขาคิดว่ามันขึ้นกับเครื่องหมายอัศจรรย์ เช่น การบันดาลให้คนตายกลับคืนชีพ  เขาไม่ตระหนักว่าการกลับใจเกิดขึ้นเมื่อเริ่มได้ยินพระวาจาของพระเจ้าและไม่ใช่อาศัยคนตายที่กลับมีชีวิต
คำกริยาที่อับราฮัมใช้ 2 ครั้ง เกี่ยวกับโมเสสและบรรดาประกาศกขณะที่ท่านสนทนากับเศรษฐี มีความสำคัญ “ให้พวกเขาได้ยิน (โมเสสและประกาศก)...ถ้าพวกเขาไม่เชื่อฟังโมเสสและประกาศก” (ลก.16.29-31) ตราบเท่าที่พระคัมภีร์ยังเป็นเพียงแหล่งรวบรวมหนังสือที่จะอ่าน   ก็ไม่สามารถเปิดตาใจของมนุษย์ เศรษฐีที่เป็นบุตรของอับราฮัม ตะโกนเรียกอับราฮัมหลายครั้งในโลกเบื้องล่างว่า “ท่านพ่อ...ท่านพ่อ” (ดู ลก.16.24,27,30)   เศรษฐีควรรู้พระคัมภีร์อย่างทะลุปรุโปร่ง  อย่างไรก็ตาม เขาอ่านพระคัมภีร์แต่ไม่ได้เข้าใจอย่างถ่องแท้  ถ้าเขาศึกษาพระคัมภีร์อย่างจริงจัง  เขาก็จะไม่ได้รับความจริงของพระคัมภีร์เข้ามาในจิตใจของเขา  ดูจากการที่เขาบอกอับราฮัมว่า ให้อับราฮัมส่งลาซารัสกลับไปยังโลกเพื่อช่วยพี่น้องอีกห้าคนของเขาให้กลับใจ พระคัมภีร์ไม่ใช่สำหรั้บอ่านและศึกษาเท่านั้น แต่ควรเป็นพระคัมภีร์ที่ได้ฟังเหมือนกับพระวาจาของพระเจ้า  แต่ควรฟังพระวาจาของพระเจ้า  เขาคิดว่า ที่สามารถทำให้มนุษย์กลับใจและเปิดดวงใจไปสู่ความเชื่อ
เศรษฐีในเรื่องอุปมา รู้พระคัมภีร์เช่นเดียวกับลูกหลานทั้งหมดของอับราฮัม เหมือนหนุ่มผู้ดีที่พระเยซูเจ้าจะทรงพบเป็นเวลาสั้นๆหลังจากเล่าเรื่องอุปมานี้ (ดู ลก.18.18-23)  ชายหนุ่มทูลถามพระเยซูเจ้าถึงสิ่งที่เขาต้องทำเพื่อจะได้ชีวิตนิรันดรเป็นมรดก เขารู้พระคัมภีร์และได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติเหล่านี้ทุกข้อตั้งแต่เป็นเด็กแล้ว  เขาขาดสิ่งหนึ่ง คือ การขายทุกสิ่งที่มี แจกจ่ายเงินให้คนจน  แล้วติดตามพระองค์  หนุ่มผู้ดีคนนั้นจากไปด้วยความเศร้าใจมาก เพราะเขาเป็นคนมั่งมีเหลือล้น  ความจริงแล้ว การกระทำที่ตามมาต้องเกิดจากพระวาจาที่ได้ยินด้วยหัวใจของเขา เพื่อให้พระวาจามาอยู่ในดวงใจของเขา   ที่นั่นต้องการที่ว่างในดวงใจ ที่ไม่ยึดมั่นในทรัพย์สิน. ใน “การอยู่เหนือความหมายตามตัวอักษร” ของพระคัมภีร์ในพระวาจาของพระเจ้า  เช่นเดียวกับพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ที่ตรัสถึงในสมณลิขิตเรื่องพระวาจาของพระเจ้า (Verbum    Domini   (ดู 38),   การกระทำของพระจิตแห่งพระผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพเป็นสิ่งจำเป็น  มิฉะนั้น ข้อพระคัมภีร์ยังคงเป็นแค่แหล่งรวบรวมหนังสือและไม่ถูกแปรสภาพเป็นพระวาจาทรงชีวิต การกระทำสุดท้ายอย่างหนึ่งของพระผู้กลับคืนพระชนมชีพก็คือ “แล้วพระองค์ทรงทำให้เขาเกิดปัญญาเข้าใจพระคัมภีร์” (ลก.24.45)
           เหตุผลอื่นที่พระวาจาของพระเจ้าสามารถกลับใจมนุษย์พบได้ในความสัมพันธ์กับคนยากจน ถ้าพระวาจาเปล่าประโยชน์สำหรับลาซารัสที่จะกลับจากชีวิตหลังความตายไปสู่โลกเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องของเศรษฐี,เป็นเพราะคนยากจนมีความสำคัญที่สุดของพระวรสาร เมื่อบางคนเพิกเฉยหรือลดคุณค่าคนยากจนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของพระวรสารนี้ก็ไร้ประโยชน์สำหรับคนตายที่จะกลับ เพราะคนตายจะดูเหมือน “ขอทานลาซารัส” อีกคนเท่านั้น แต่ใช้ชื่อต่างกัน  ดังนั้น ปัญหาของการเพิกเฉยลาซารัสของเศรษฐียังคงอยู่
ฉากนี้ ซึ่งเป็นพื้นฐานต่อพระวรสารโดยนักบุญลูกาทั้งหมดแสดงภาพความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างคนยากจนกับพระวาจาของพระเจ้า  ในกรณีนี้ คือโมเสสและประกาศก  เมื่อพระเยซูเจ้าทรงเริ่มพระพันธกิจของพระองค์ พระองค์เสด็จไปยังศาลาธรรมในนาซาเร็ธ. เมื่อมีคนส่งม้วนพระคัมภร์ของประกาศกอิสยาห์ให้พระองค์อ่าน  พระองค์ทรงเปิดม้วนพระคัมภีร์และอ่านตอนเริ่มของหนังสือประกาศกอิสยาห์ บทที่ 61 ตามที่บันทึกไว้ในพระวรสารโดยนักบุญลูกา 4.18-19
“พระจิตของพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า
เพราะพระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน
ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศการปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ คืนสายตาให้แก่คนตาบอด
ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระ    ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้า”

คนยากจนไม่ได้ถูกทอดทิ้ง พวกเขาไม่เพียงมีบทบาทชั้นรอง  พวกเขากลับมีความสำคัญที่สุดของพระวรสาร  อุปมาginjv’เศรษฐีและลาซารัส การใส่ใจเศรษฐีมากเป็นเรื่องน่าประหลาดทีเดียว  ไม่มีเหตุผลว่าเหตุใดลาซารัสถูกนำไปยังอ้อมอกของอับราฮัมและลาซารัสไม่ได้พูดอะไรในเรื่องอุปมา แต่กลับเน้นชะตากรรมของเศรษฐีคนหนึ่งแทน เนื่องจากเศรษฐีเพิกเฉยลาซารัสระหว่างเวลาที่เศรษฐีอยู่ในโลก   เขาถูกบังคับให้รับนิรันดรภาพในดินแดนผู้ตาย เพื่อยอมรับตัวเองว่าถูกลงทะเบียนคำสาบแช่งของเขาเอง ในเรื่องนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงลิขิตอย่างกระจ่างชัดในพระสมณสาส์นเรื่องความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร (Evangeli   Gaudium) ที่ว่า “การปรากฏตัวของคนยากจนเป็นเครื่องหมายถึงประวัติศาสตร์ความรอดพ้นทั้งหมด” (ข้อ 197)
ปัญหาพระเมตตากรุณาคือปัญหาร้ายแรงที่สร้างความเสี่ยงหลัก 2 ประการในสมัยของเรา (1) เนื่องจากพระเมตตาของพระเจ้าไม่มีที่สิ้นสุด,คนจะรอดพ้นได้ เมื่อพวกเขาตัดสินและดูหมิ่นผู้อื่นในพระนามของพระเจ้า (2) ขณะที่เราคิดว่าพระเมตตากรุณาของพระเจ้า น่าจะถูกสถาปนาให้ถูกต้อง  ความเมตตาต่อผู้อื่นขึ้นกับการตัดสินใจโดยสมัครใจของแต่ละคนโดยสิ้นเชิง
อย่างไรก็ตาม ไม่มีเรื่องอุปมาพระเมตตากรุณาใด ที่นำไปสู่ข้อสรุปเหล่านี้  ความเมตตามักมี 3 มิติ (พระเจ้า  ฉันและคนอื่น) และไม่เคยอยู่ในมิติเดียว (ฉันเอง) หรือ 2 มิติ (พระเจ้ากับฉัน)   สิ่งที่ตรงกันข้ามทำให้เข้าใจสภาพความเป็นจริงที่น่าเศร้าของเรื่องอุปมาความเมตตา นรกเป็นอะไรกันแน่  และความเป็นอยู่ของนรกเข้ากันได้กับพระเมตตาของพระเจ้าได้อย่างไร  โดสโตฟสกี (Dostoevsky) กล่าวในหนังสือ พี่น้องตระกูลคารัมโซฟ (The Brothers Karamzov)   และวิจารณ์เรื่องอุปมานี้ด้วยวิธีที่น่าประหลาดใจว่า
“คุณพ่อและคุณครูที่รัก ผมคิดว่า “นรกคืออะไร” ผมขอยืนยันว่า นรกคือความทุกข์ทรมานของการไม่สามารถรักได้  ในการมีอยู่ที่ไม่มีสิ้นสุด  ไม่อาจวัดได้ในเวลาและสถานที่  ครั้งหนึ่ง เป็นสิ่งสร้างฝ่ายจิตที่เข้ามาสู่โลก เป็นอำนาจที่พูดว่า “เราเป็นและเราคือองค์ความรักเท่านั้น ช่วงเวลาหนึ่งได้ถูกมอบแก่เขาที่จะดำเนินชีวิตด้วยรัก (Living Love) ในขณะมีชีวิตในโลกตามเวลาและตามฤดูกาล  และแล้วสิ่งสร้างที่มีความสุขกลับปฏิเสธของขวัญที่มีค่าเหลือล้น,ไม่เห็นว่าเป็นการให้รางวัลและไม่รัก,กลับดูหมิ่นและยังคงดูหมิ่นผู้อื่น เช่น บุคคลที่จากโลกนี้ไป เห็นอ้อมอกอับราฮัมและพูดคุยกับอับราฮัม อย่างที่เราอ่านงอุปมาเรื่องเศรษฐีกับขอทานลาซารัส  และดูเถิด  ได้เห็นสวรรค์และยังสามารถเข้าไปเฝ้าองค์พระผู้เป็นเจ้า แต่นั่น เป็นเพียงรับความทรมานของเขาที่เงยหน้าหาองค์พระผู้เป็นเจ้า โดยไม่เคยรักใครเลย ถูกนำไปให้ใกล้ชิดกับบุคคลที่รักเขาเมื่อเขาดูหมิ่นความรักของคนเหล่านั้น (Dostoevsky,The Brothers  Karamazov หน้า 273)
ถ้านรกคือความทุกข์ทรมานของการที่ไม่สามารถรักได้อีกต่อไป แล้วละก็  ทุกช่วงเวลาทีละนิดของชีวิตมนุษย์ที่ไม่ได้ดำเนินชีวิตเพื่อรัก  ก็คือ  การรอคอยนรกที่จะมาถึงนั่นเอง