แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทที่ 4 เรื่องแกะที่พลัดหลงและเรื่องเงินเหรียญที่หายไป (ลก.15.1-10)


    พระวรสารโดยนักบุญลูกาบทที่ 15 มีความไพเราะที่สุดบทหนึ่งในหนังสือพันธสัญญาใหม่  เพราะแสดงถึงพระเมตตากรุณาของพระเยซูคริสตเจ้าที่ทรงมีต่อคนบาป ดูจากเรื่องอุปมา 3 เรื่องในบทนี้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ อุปมาเรื่องแกะที่พลัดหลง อุปมาเรื่องเงินเหรียญที่หายไป และอุปมาเรื่องบิดาผู้ใจดี – พระองค์ทรงเล่า 3 เรื่องอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย  อย่างไรก็ตาม สมควรที่จะแยกสองเรื่องแรกออกจากเรื่องที่สาม เพราะเรื่องที่สามพัฒนาขึ้นมาก จนจบเรื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ขณะที่เรื่องอุปมาสองเรื่องแรกจบด้วยการเลี้ยงฉลอง แต่เรื่องที่สามปล่อยให้เราต้องกลั้นใจทีเดียว เพราะเรื่องไม่ได้บอกเราว่า พี่ชายตัดสินใจที่จะไปร่วมงานเลี้ยงฉลองการกลับมาของน้องชายหรือไม่    หรือเขาจะไปตามทางของเขา

บัดนี้  คนเก็บภาษีและคนบาปทั้งหลายกำลังเข้าไปใกล้เพื่อฟังพระเยซูเจ้า และพวกชาวฟาริสีและคัมภีราจารย์บ่นไม่พอใจว่า “คนนี้ต้อนรับคนบาปและกินอาหารร่วมกับเขา”
    ดังนั้น  พระองค์ตรัสกับเขาด้วยเรื่องอุปมาว่า “คนใดในพวกท่านที่มีแกะหนึ่งร้อยตัว ถ้าตัวหนึ่งพลัดหลงไป  เขาจะไม่ละทิ้งแกะเก้าสิบเก้าตัวไว้ในถิ่นทุรกันดาร และออกไปตามหาแกะที่พลัดหลงจนพบหรือ  เมื่อพบแล้ว เขาจะยกมันใส่บ่าด้วยความยินดี  กลับบ้าน เรียกมิตรสหายและเพื่อนบ้านมา พูดว่า “จงร่วมยินดีกับฉันเถิด ฉันพบแกะตัวที่พลัดหลงนั้นแล้ว”   เราขอบอกท่านทั้งหลายว่าในสวรรค์จะมีความยินดี  หากคนบาปคนหนึ่งกลับใจมากกว่าความยินดีเพราะคนชอบธรรมเก้าสิบเก้าคนที่ไม่จำเป็นต้องกลับใจใหม่”
แล้วหญิงคนใดที่มีเงินสิบเงินเหรียญแล้วทำหายไปหนึ่งเงินเหรียญ จะไม่จุดตะเกียง กวาดบ้าน ค้นหาอย่างถี่ถ้วนจนกว่าจะพบหรือ  เมื่อพบแล้ว นางจะเรียกมิตรสหายและเพื่อนบ้านมาพูดว่า “จงร่วมยินดีกับฉันเถิด ฉันพบเงินเหรียญที่หายไปแล้ว”  เราบอกท่านทั้งหลายว่าทูตสวรรค์ของพระเจ้าจะมีความยินดีเช่นเดียวกัน  เมื่อคนบาปคนหนึ่งกลับใจ’ (ลก.15.1-10)

1. ประเภทต่างๆ ของคนบาป
ในสมัยพระเยซูเจ้า พวกยึดธรรมเนียมปฏิบัติแบ่งคนบาปเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ด้านอุปนิสัย ด้านเชื้อชาติ ด้านร่างกายและด้านจริยธรรม ปรากฏว่า พระเยซูเจ้าทรงติดต่อสัมพันธ์กับคนบาปทั้งสี่ประเภทนี้
คนบาปประเภทแรกคือด้าน “ร่างกาย”  เนื่องจากความคิดรวบยอดที่ว่าความบกพร่องทางด้านร่างกายถูกเชื่อมโยงกับบาป พวกเขาเห็นความเจ็บป่วยเป็นผลที่ตามมาของบาป และไม่ใช่จากสภาพตามธรรมชาติ เมื่อพระเยซูเจ้าทรงรักษาชายตาบอดแต่กำเนิดคนหนึ่ง ศิษย์ของพระองค์ทูลถามพระองค์ว่า ความบกพร่องทางสายตาเกี่ยวโยงกับบาปของคนตาบอดหรือกับบาปของบิดามารดาของเขา (เกิดมาในบาปทั้งตัว) หรือไม่ (ยน.9.1-2)  นอกจากความคิดเชื่อมโยงระหว่างบาปกับความเจ็บป่วยแล้ว ยังมีความคิดที่แพร่หลายในชาวปาเลสไตน์ในเวลานั้นว่า พระเจ้าเท่านั้นที่สามารถยกบาปได้ ดังนั้น ตราบใดที่เครื่องหมายอัศจรรย์เกิดขึ้น  ก็จะมีการชดเชยบาปด้วยการชำระมลทินในพระวิหาร พระเยซูเจ้าทรงอ้างสิทธิที่จะชำระคนพิการจากบาปมลทินด้วยพระองค์เอง ขณะที่มีกรณีของคนอัมพาตที่มีคนนำเขามาทางหลังคา (มก.2.3-12)  คนที่รวมกันในที่ประชุมบางคนรู้สึกเห็นการยกบาปของพระองค์ว่าเป็นการหมิ่นพระเจ้า ทำให้พวกเขารู้สึกเกลียดชังพระองค์
คนบาปประเภทที่ 2 ด้านเชื้อชาติ ชาวยิวพิจารณาว่า คนต่างชาติ (ไม่ใช่เชื้อสายของชาติอิสราเอล) พวกเขาเป็นคนบาปเพราะพวกเขาไม่ได้ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของโมเสสตามธรรมเนียมชาวยิว คนบาปประเภทนี้ ได้แก่ ชาวสะมาเรียและชาวต่างศาสนาที่อาศัยในปาเลสไตน์ พวกเขาต้องยอมปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของโมเสส จึงเป็นอิสระจากบาปประเภทนี้ ตามพื้นฐานเรื่องเชื้อชาติ, คนต่างศาสนา (Gentiles) จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในพระวิหารกรุงเยรูซาเล็ม และจะถูกบังคับให้เคารพแต่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ภายใต้กฎแห่งการทุ่มหินใส่    หากถ้าพวกเขาทำให้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นมลทิน
นอกจากนี้ ความสำคัญทางเชื้อชาติสำหรับคำ “คนบาป”  ยังมีความสำคัญทางสังคมที่ประยุกต์กับคนเก็บภาษีที่ทำงานผิดกฎหมาย ซึ่งรับสัมปทานในการเก็บภาษีตามอำนาจของจักรวรรดิโรมัน ไม่เหมือนคนออกเงินกู้ทั่วไป เพราะคนเก็บภาษีดำเนินชีวิตด้วยการขู่กรรโชกให้ได้เงินมากกว่าจำนวนหนี้และเขาจะเก็บเงินส่วนต่างไว้ ในบรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงเลือกเลวี บุตรของอัลเฟอัส โดยเชิญให้เขาติดตามพระองค์ขณะที่เขากำลังเก็บภาษีในที่ทำงานของเขา (ดู มก.2.14)  มีการประเมินการฟื้นฟูคนบาปกลุ่มนี้ต่ำเกินไป  พระเยซูเจ้าจึงทรงเล่าเรื่องอุปมาคนเก็บภาษีกับชาวฟาริสีในพระวิหาร (ลก.18.9-14) ซึ่งจะอภิปรายต่อไป
คนบาปประเภทสุดท้ายเป็นเรื่องศีลธรรมและรวมถึงพวกเจ้าหนี้ นายทุนและหญิงล่วงประเวณี คิดว่าหญิงที่เช็ดพระบาทของพระเยซูเจ้าในบ้านของซีโมนชาวชาวฟาริสี จัดอยู่ในประเภทนี้ด้วย ตัวอย่างอื่น คือ หญิงชาวสะมาเรียที่พระเยซูเจ้าทรงหยุดพักเพื่อสนทนากับนางที่บ่อน้ำ ที่มีสามี 5 คนและอยู่กินกับชายที่ไม่ได้เป็นสามีของนาง (ดู ยน. 4.7-30)
พระเยซูเจ้าทรงยืนยันว่า พระบิดาเจ้าทรงส่งพระองค์มาเพื่อรักษาแผลของคนบาปทุกคนโดยไม่เลือกหน้า อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงถูกกล่าวหาว่าเป็นคนบาปเสียเอง เพราะพระองค์ทรงคลุกคลีกับคนบาป (ดู ยน. 9.24) แต่เครื่องหมายอัศจรรย์ของพระองค์พิสูจน์ว่า ข้อกล่าวหาเหล่านี้ผิด เนื่องจากคนบาปไม่อาจกระทำเครื่องหมายอัศจรรย์ได้  เรื่องอุปมาช่วยอธิบายเหตุผลที่พระองค์ประทับอยู่กับคนบาป

2. คนเลี้ยงแกะและแกะที่ได้รับการช่วยชีวิตให้รอดพ้นจากความตาย
พระเยซูเจ้าไม่ใช่บุคคลแรกที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนเลี้ยงแกะและแกะ และใช้ความสัมพันธ์นี้เป็นการเปรียบเทียบ ประกาศกเอเสเคียลเล่าเรื่องอุปมาขนาดยาวเพื่อต่อต้านคนเลี้ยงแกะของอิสราเอล (บรรดากษัตริย์)  ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจแก่เรื่องอุปมาของพระเยซูเจ้า “เราเองจะเป็นผู้เลี้ยงแกะของเรา เราจะให้เขานอนพัก – พระยาห์เวห์องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัส – เราจะตามหาแกะที่สูญหายไป เราจะนำแกะที่หลงทางกลับมา เราจะพันแผลของแกะที่บาดเจ็บ เราจะเสริมกำลังแกะที่อ่อนเพลีย เราจะดูแลแกะที่อ้วนและแข็งแรง เราจะเลี้ยงเขาอย่างยุติธรรม” (อสค.34.15-16)
    อย่างไรก็ตาม เรื่องอุปมาของพระเยซูเจ้า เป็นความจริงที่ขัดแย้งกัน เราเห็นคนเลี้ยงแกะ100 ตัว,แกะ 99 ตัว กับแกะตัวเดียวที่หลงทาง  คนเลี้ยงแกะทิ้งแกะ 99 ตัวไว้ในที่เปลี่ยว แล้วไปหาแกะที่หลงทาง  เมื่อเขาพบแกะที่พลัดหลง เขาเอาแกะใส่บ่าและเดินกลับบ้าน  เรียกเพื่อนๆมารวมตัวกันและขอให้พวกเขาร่วมยินดีกับเขา ดูเหมือน เราพบคำถามของพระเยซูเจ้าในความจริงที่ขัดแย้งกันนี้ เพื่อบรรยายถึงการตัดสินใจเลือกของคนเลี้ยงแกะ ในแง่ของคนที่เลือกเช่นนั้น  ไม่มีใครทอดทิ้งแกะ 99 ตัวจริงๆไว้ในที่เปลี่ยว  เพื่อไปค้นหาแกะที่พลัดหลงเพียงตัวเดียว  เพราะเขาเสี่ยงที่จะสูญเสียแกะ 99 ตัวในที่เปลี่ยว โดยปราศจากความมั่นใจว่าจะพบแกะที่พลัดหลงด้วย
    ท่าทีที่ดูเหมือนขัดแย้งกันของคนเลี้ยงแกะอธิบายการเข้าถึงพระเยซูเจ้า นั่นคือ คนที่คิดว่าพวกเขาที่ปราศจากบาปเหมือนกับแกะ 99 ตัวที่อยู่ตามลำพังโดยไม่มีคนเลี้ยงแกะ ความจริง แกะ 99 ตัวเสี่ยงภัยในที่เปลี่ยวเช่นเดียวกับแกะที่พลัดหลงตัวเดียว แต่ด้วยความแตกต่างที่เป็นสาระว่า แกะที่พลัดหลงต้องการความปลอดภัย ขณะที่แกะ 99 ตัวคิดว่าพวกมันปลอดภัยแล้ว
    ความชื่นชมยินดีในตอนท้ายของเรื่องอุปมาเป็นจริงสำหรับชีวิต การพบแกะที่พลัดหลงคือ ความชื่นชมยินดีของคนเลี้ยงแกะ...และของพระเจ้าที่ทรงความชื่นชมยินดีที่เห็นคนบาปกลับใจมากกว่าเห็นคนชอบธรรม 99 คนที่ไม่ต้องการกลับใจ  (หรือหลอกตัวเองว่าพวกเขาเป็นคนชอบธรรม)  วิธีที่พระเยซูเจ้าทอดพระเนตรคนกลับใจ ก่อให้เกิดความคิดว่า ไม่ใช่เป็นผลของคนที่กลับใจได้รับ แต่เป็นผลของการกระทำของพระเจ้าที่ทรงแสวงหาคนที่หลงทาง การกลับใจมักจะเป็นการกระทำของพระหรรษทานที่ประทานโดย พระองค์ผู้ทรงแบกแกะที่พลัดหลงไว้บนบ่าของพระองค์และพากลับบ้าน และเนื่องจากการกลับใจเกิดจากพระหรรษทาน  ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องแบ่งปัน พวกชาวฟาริสีมีทางเลือก  พวกเขาสามารถแบ่งปันความชื่นชมยินดีแห่งการกลับใจที่ประทานแก่คนเก็บภาษีและคนบาปหรือพวกเขาสามารถต่อต้านที่จะไม่รับความชื่นชมยินดีนั้น  พวกเขาพลาดที่ทึกทักเอาเองว่า ตนปลอดภัยในที่เปลี่ยวแล้ว   แท้จริงแล้ว พวกเขาเหมือนฝูงแกะที่อยู่บนเส้นทางที่มีภัยเพราะไม่มีคนเลี้ยงคอยดูแลพวกเขา
    องค์ประกอบแห่งการกลับใจของมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะคนไม่ใช่ผู้ร้องทุกข์เหมือนแกะ  อย่างไรก็ตาม เรื่องอุปมาไม่ได้นำเสนอด้านจริยธรรมเกี่ยวกับแกะ 99 ตัว หรือแกะที่รอดตาย อีกแง่หนึ่ง พูดอีกแบบหนึ่ง  บุคคลคนหนึ่งไม่จำเป็นต้องพลัดหลง เพื่อจะได้ถูกตามหาให้พบ หรือไม่ได้ต้องถูกทิ้งในที่เปลี่ยว แล้วจะหมายความว่า พระเจ้าจะไม่เสาะแสวงหาเขา การกระทำทั้งหมดเป็นเรื่องของคนเลี้ยงแกะไม่ใช่เป็นเรื่องของแกะ  การเพิ่มเรื่องอุปมาเงินเหรียญถัดจากเรื่องอุปมาแกะที่พลัดหลง เพื่อจุดประเด็นว่าการกลับใจเริ่มมาจากพระเจ้าโดยแท้

3. แม่บ้านและเงินเหรียญที่หาจนพบ
แม่บ้านที่ทำเงินเหรียญหาย และทำทุกสิ่งเท่าที่เธอจะสามารถเพื่อค้นหาเงินเหรียญนั้นให้พบ  ทำให้สถานการณ์เหมือนกับเรื่องอุปมาคนเลี้ยงแกะและแกะของเขา นั่นคือ เป็นสิ่งที่ยากจะจินตนาการว่าจะเป็นจริงได้ ครั้นเมื่อแม่บ้านหาเงินเหรียญจนเจอแล้ว เธอก็รวบรวมเพื่อนและเพื่อนบ้านของเธอ และขอให้พวกเขามาร่วมยินดีกับเธอ เพราะเธอพบเงินเหรียญที่หาย บทสรุปของเรื่องอุปมามีลักษณะเหมือนกับเรื่องอุปมาแกะที่พลัดหลง คือ มีความชื่นชมยินดีต่อหน้าทูตสวรรค์ของพระเจ้าเพราะคนบาปคนเดียวที่กลับใจ 
ในบทแรก ดูเหมือนว่า เนื้อหาของเรื่องอุปมา 2 เรื่องคล้ายคลึงกัน แกะ 100 ตัวคล้ายกับเงินเหรียญ 10 เหรียญ  ขณะที่แกะพลัดหลงคล้ายกับเงินเหรียญที่หาย ความจริง ความสนใจในเรื่องอุปมาถูกมุ่งเน้นที่ความผูกมัดของหญิงที่จะหาเงินเหรียญที่หาย ซึ่งมีค่าน้อยกว่าแกะตัวหนึ่งมากนัก ในสมัยพระเยซูเจ้า เงินเหรียญดรักมามีค่าประมาณ 1 เดนาริอัน ซึ่งเท่ากับค่าแรงหนึ่งวัน
ถึงแม้เงินเหรียญมีค่าเล็กน้อย แม่บ้านก็ทุ่มเทอย่างสิ้นสุดจิตใจในการค้นหาเงินเหรียญนั้น เรื่องอุปมาไม่ได้บ่งชี้ฐานะทางสังคมของหญิงคนนั้น  แต่ในกรณีนี้ ความยากจนอาจอธิบายความพยายามที่เข้มข้นเมื่อต้องค้นหาเงินเหรียญที่หายไป  การมุ่งเน้นอยู่ที่ค้นหาเงินเหรียญที่หายไปอย่างละเอียด และความชื่นชมยินดีร่วมกันเมื่อพบเงินเหรียญ การอุทิศตนและความชื่นชมยินดีของเธอ  แท้จริง ไม่ใช่ค่าเล็กน้อยของเงินเหรียญนั้น แต่เน้นที่คุณค่าที่แท้จริงของเงินเหรียญต่างหาก
เงินเหรียญหนึ่งไม่น่าจะมีความสำคัญ ซึ่งถูกประเมินค่าต่ำกว่าการกลับใจนั้น  ไม่คิดว่าเท่ากับการตอบสนองของมนุษย์ ความจริง เป็นการกระทำของพระหรรษทานของพระเจ้า เรื่องอุปมาสั้นๆนี้เกี่ยวกับพระเมตตากรุณาไม่ได้เชื่อมโยงระหว่างเงินเหรียญที่หายกับเงินเหรียญอื่นๆไม่เหมือนแกะที่พลัดหลงที่เชื่อมโยงกับแกะ 99 ตัว  แม่บ้านค้นหาเงินเหรียญเพียงเหรียญเดียว เพราะมันมีค่าสำหรับนางเธอ และไม่ใช่เพราะมันมีค่าเหมือนกับเงินเหรียญดรักมาเหรียญอื่นๆ ถ้ามีคนบาปเพียงคนเดียว  ก็น่าจะคุ้มที่จะฝ่าฟันความยากลำบากที่จะค้นหาเขา และจะมีความชื่นชมยินดีเมื่อพบเขา

4. พระเยซูเจ้าและชุมชนกับโฉมหน้าของคนเลี้ยงแกะ
ในคำว่า “คนเลี้ยงแกะและแกะ”, โฉมหน้าใหม่ของความสัมพันธ์นั้นเกิดขึ้นในพระวรสารโดยนักบุญยอห์นและพระวรสารโดยนักบุญมัทธิว ในพระวรสารนักบุญยอห์น 10.1-16 พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องเกี่ยวกับความคล้ายคลึงระหว่างพระองค์เองกับคนเลี้ยงแกะที่ดี ซึ่งสามารถตีความคำ ผู้เลี้ยงแกะ “แสนดี” – ที่พระองค์ทรงระบุว่าเป็นสิ่งเดียวกัน  พระองค์ทรงเป็นคนเลี้ยงแกะแสนดี เพราะพระองค์ทรงรู้จักแกะของพระองค์ตามชื่อของแกะแต่ละตัวและสละชีวิตของพระองค์เพื่อพวกมันได้ ในการดูแลเอาใจใส่แกะ คนเลี้ยงแกะไม่เหมือนลูกจ้างและขโมย ขณะที่ลูกจ้างสนใจแต่ค่าแรงของเขา, คนเลี้ยงแกะสละชีวิตของตนเพื่อแกะโดยไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนหรือเวลาที่จำเป็นแก่ฝูงแกะเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับแกะ และในขณะที่ขโมยลักแกะไป คนเลี้ยงแกะที่อยู่เพื่อแกะ จึงยอมสละชีวิตเพื่อแกะ
สิ่งที่แยกแยะลูกจ้างและขโมยจากคนเลี้ยงแกะ คืออันตรายที่เกิดขึ้น เมื่อลูกจ้างเห็นสุนัขป่า เขาจะทิ้งแกะและหนีไปเพราะเขาไม่สนใจแกะ คนเลี้ยงแกะที่แท้จริงมีเอกลักษณ์ตายตัว ไม่ใช่สักแต่ถือเป็นหน้าที่เท่านั้น  แต่ยินดีเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายและอันตราย – ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเขาต้องตัดสินใจว่า จะหนีเพื่อรักษาชีวิตของเขาเอง  หรืออยู่และสละชีวิตเพื่อแกะของเขา พระเยซูเจ้าประทานของขวัญแห่งตัวตนทั้งหมดนี้ พระองค์มุ่งสู่การสิ้นพระชนม์เพราะทรงเป็นคนเลี้ยงแกะแสนดี เป็นความงดงามที่ไม่ได้มาจากวิธีที่เขามอง แต่มาจากการอยู่กับแกะของเขาเวลามีภัย   
ในบทเทศน์เกี่ยวกับคนเลี้ยงแกะที่แสนดี พระเยซูเจ้าทรงมีเอกลักษณ์ในการสละชีวิตพระองค์เองถึงกับหลั่งพระโลหิต,แต่พระเยซูเจ้าในพระวรสารโดยนักบุญมัทธิว เพิ่มมิติแก่ความสัมพันธ์ระหว่างคนเลี้ยงแกะกับแกะ มธ.18.12-14 และอุปมาเรื่องแกะที่พลัดหลงใน ลก. 15.3-7  แต่บริบทแตกต่างกันเพราะเป็นวาทกรรมเกี่ยวกับพระศาสนจักรช่วงแรกถูกอุทิศแก่ “คนต่ำต้อย” ที่ชุมชนคริสตชนจำเป็นต้องต้อนรับและจบลงด้วยเรื่องอุปมาคนเลี้ยงแกะที่ดีบริบทต่างไป  ณ ที่นี้ เน้นความสนใจแรงผลักดันของเรื่องอุปมาว่า “พระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ก็เช่นกัน ไม่ทรงปรารถนาให้คนธรรมดาๆ เหล่านี้แม้เพียงผู้เดียวต้องพินาศไป” (มธ.18.14) พระศาสนจักรเกี่ยวข้องกับเรื่องอุปมานี้โดยส่วนบุคคล เพราะวางใจในพระประสงค์ของพระบิดาเจ้า ไม่ใช่ปล่อยให้คนต่ำต้อยเหล่านี้พินาศไป
พระศาสนจักรเปรียบเสมือนคล้ายกับพระบิดาเจ้าสวรรค์ที่ทรงพระเมตตากรุณา เมื่อแสดงองค์เป็นมารดาที่ค้นหาแกะที่พลัดหลง และไม่ลืมแกะ 99 ตัวที่อยู่บนภูเขา แต่ชื่นชมกับแกะตัวเดียวที่หาพบ  เป็นการง่ายที่จะเห็นเรื่องอุปมาคนเลี้ยงแกะที่ดีเกี่ยวข้องกับพระศาสนจักรและแกะของพระศาสนจักร คนต่ำต้อยที่ไม่อาจมีที่ในสังคม ต้องการสิทธิพลเมืองในชุมชนคริสตชน คนต่ำต้อยไม่เพียงต้องการการต้อนรับ  แต่ยังถูกค้นพบ  แม้มีความเสี่ยงที่พระศาสนจักรอาจหาคนต่ำต้อยไม่พบก็ตาม พระเยซูเจ้าตรัสเป็นนัยถึงความขัดแย้งระหว่างพระศาสนจักรที่เข้ามาอยู่บนเส้นทางแห่งศีลธรรมหรือความสามารถในการทำงานที่ใช้เวลา  และพระศาสนจักรที่ถือว่าบรรดาคนต่ำต้อยเป็นศูนย์กลางของพระศาสนจักร ถ้าพระศาสนจักรมีอยู่ในทุกแห่งที่มีคนสองหรือสามคนมาประชุมกันในพระนามของพระเยซูเจ้า,พระพักตร์ของพระคริสตเจ้าในพระศาสนจักรก็คือใบหน้าของคนต่ำต้อยเหล่านี้นั่นเอง
อเลซซานโดร มานโซนี (Alessandro   Manzoni) ได้เขียนเรื่องอุปมาแกะที่รอดชีวิตไว้อย่างปราดเปรื่อง เมื่อเขาบอกเกี่ยวกับการพบปะของตัวละครที่ไม่มีใครรู้จักชื่อ ลูซี่ (Lucy)   กับพระคาร์ดินัลเฟรเดอริค   บอโรเมโอ (Cardinal Frederick Borromeo) เราไม่สามารถอยู่ ณ ที่นี่ในบทที่ 21 และบทที่ 23 ของนวนิยายอิตาเลียนยอดนิยม (The Betrothed- นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1827 (I   promiessi   sposi)  แต่แนะนำให้อ่านความไพเราะของทั้งสองบทนี้ เพราะไพเราะมาก ให้เราเพียงแต่พูดว่า ลองครุ่นคิดในสิ่งที่ลูซีพูดในบทเหล่านี้เมื่อเธอพบกับชายแปลกหน้าคนหนึ่ง “พระเจ้าประทานอภัยด้วยกิจการหลากหลายเพื่อแสดงพระเมตตากรุณาสักครั้งหนึ่ง”. (Alessandro Manzoni, The Bethothed (CreateSpace   Independent   Publishing  Platform, 2013), p. 105). คำกล่าวของเธอป้องกันคนแปลกหน้าจากการฆ่าตัวตายในคืนที่เจ็บปวด, และวันต่อมา เขาพบกับพระคาร์ดินัล บอร์โรเมโอ พระคาร์ดินัลกลับยอมรับผิดและตำหนิตัวเอง ที่มองข้ามคนแปลกหน้าที่รอคอยให้มาเยี่ยมพระคาร์ดินัลและนี่คือการเขียนเรื่องอุปมาใหม่ในถ้อยคำของมานโซนี (Manzoni)  ตามถ้อยคำของพระคาร์ดินัลที่ว่า “เราจะทิ้งแกะ 99 ตัวไว้ตามลำพัง... พวกมันจะปลอดภัยบนภูเขา  บัดนี้ ข้าพเจ้าต้องอยู่กับแกะที่พลัดหลง คนเหล่านี้ (ที่กำลังรอพระสังฆราช) บัดนี้ บางที พวกเขารู้สึกพอใจมากกว่า ถ้าพวกเขามีพระสังฆราชที่ยากจนอยู่กับพวกเขา  บางทีพระเจ้า จะเสด็จเยือนท่านด้วยสิ่งมหัศจรรย์มากมายและประทานความมั่งคั่งแห่งพระหรรษทาน  บัดนี้ พระหรรษทานกำลังเติมเต็มในหัวใจของพวกเขาด้วยความชื่นชมยินดี ซึ่งช่วยทำให้พวกเขาศักดิ์สิทธิ์ได้ ไม่ใช่มาจากความดีของพวกเขาเอง” (Alessandro   Manzoni, The   Betrothed  (CreateSpace  Independent  Publishing  Platform, 2013), p. 113)yy