แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ลักษณะและเป้าหมายของการฝึกอบรมครูคำสอน
235    การฝึกอบรมมุ่งหาแนวทางฝึกครูคำสอนให้สามารถถ่าย ทอดพระวรสารให้กับผู้ที่ประสงค์จะมอบตนเองไว้ในความคุ้มครองของพระคริสตเจ้า  ดังนั้น เป้าหมายของการฝึกอบรมก็คือ การทำให้ครูคำสอนสามารถสื่อสารได้  “จุดหมายสูงสุดและหัวใจของการฝึกอบรมการสอนคำสอนอยู่ที่ความพร้อมที่จะเรียนรู้และความสามารถที่จะสื่อสารสารแห่งพระวรสาร” (อ้างถึง GCD(1971) 111)

    เป้าหมายที่จะให้พระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลางของการสอน คำสอน  ที่เน้นเรื่องการเป็นหนึ่งเดียวกันของผู้ที่กลับใจมาร่วมกับพระเยซูคริสตเจ้า  แทรกซึมเข้าไปสู่ทุกด้านของการฝึกอบรมครูคำสอน (อ้างถึง CT 5c)  ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าความต้องการนำครูคำสอนให้รู้จักทำกระบวนการการสอนคำสอนที่ใช้เวลานานนั้นมีชีวิตชีวา  ซึ่งจำเป็นต้องใช้ขั้นตอนสำคัญๆ ดังนี้  การประกาศถึงพระเยซูคริสตเจ้า  การทำให้ชีวิตของพระองค์เป็นที่รู้จักโดยให้อยู่ในบริบทประวัติศาสตร์แห่งความรอด  การอธิบายเรื่องธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับพระบุตรของพระเป็นเจ้าผู้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อเราทั้งหลาย  และท้ายสุดคือ การช่วยผู้ที่เตรียมตัวเป็นคริสตชน  หรือผู้ที่กำลังเรียนคำสอนอยู่ ให้ทำตัวละม้ายคล้ายกับพระเยซูคริสตเจ้าโดยอาศัยศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แห่งการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน (สี่ขั้นตอนของช่วงเวลาเตรียมตัวรับศีลล้างบาปได้รับการพัฒนาด้วยความมุ่งหวังให้พระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลางของชีวิต)  อาศัยการสอนคำสอนต่อเนื่อง ครูคำสอนเพียงแต่พยายามเจาะลึกลงไปในเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานในขั้นตอนต่างๆเหล่านี้  ความเข้าใจในเนื้อหาอันมีความสัมพันธ์กับการมีพระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลางนี้ได้ให้ความรู้เรื่องเอกลักษณ์ของครูคำสอนและการเตรียมตัวของเขาไว้ว่า “ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการทำงานที่สอดประสานกันของครูคำสอนเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจได้โดยอาศัยความรู้อันเกิดจากการมีพระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลาง  ทั้งยังมีพื้นฐานและได้รับการพัฒนามาจากความคุ้นเคยอย่างลึกซึ้งกับพระคริสตเจ้าและพระบิดา โดยอาศัยพระจิตเจ้าทรงช่วย” (คู่มือครูคำสอน ข้อ 20)

236    อาศัยข้อเท็จจริงที่ว่า  การฝึกอบรมมุ่งหาทางทำให้ครูคำสอนสามารถถ่ายทอดพระวรสารในนามของพระศาสนจักร  และทุกการฝึกอบรมมีลักษณะประการหนึ่งของพระศาสนจักร  ดังนั้น การฝึกอบรมครูคำสอนจึงไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากการช่วยพวกเขาให้สามารถรับรู้ความรู้สึกอันแท้จริงและมีชีวิตชีวาที่พระศาสนจักรมีต่อพระวรสาร  เพื่อทำให้พวกเขาสามารถถ่ายทอดพระวรสารในนามของพระศาสนจักรได้
    ในการรับการอบรมครูคำสอน  ครูคำสอนก็ได้เข้าสู่ความสัมพันธ์อันชัดเจนในการเข้ามีส่วนร่วมกับความปรารถนาของพระศาสนจักรซึ่งคล้ายกับเจ้าสาวที่  “รักษาความซื่อสัตย์ที่มีต่อเจ้าบ่าวไว้ได้อย่างบริสุทธิ์และมั่นคง” (LG 64)  และเป็นดัง “มารดาและครู” ที่ต้องถ่ายทอดพระวรสารโดยการปรับพระวรสารให้เหมาะสมกับทุกวัฒนธรรม  ทุกวัย  และทุกสถานการณ์   คุณภาพอันแท้จริงของพระศาสนจักรเกี่ยวกับการถ่ายทอดพระวรสารนี้จะแทรกซึมสู่ การอบรมครูคำสอนอย่างครบถ้วน   และให้ลักษณะอันถูกต้องของการถ่ายทอดพระวรสารแก่การอบรมนั้น