แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

รูปแบบหลากหลายของครูคำสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จำเป็นสำหรับปัจจุบัน
232    รูปแบบของครูคำสอนในพระศาสนจักรมีหลายแบบต่างๆ กันตามความต้องการอันหลากหลายในด้านการสอนคำสอนที่ผันแปรไปจริง
    - “ครูคำสอนในดินแดนมิสซัง” (CT 66b) เป็นบุคคลที่ถูกใช้เป็นประโยชน์ตามหัวข้อที่กล่าวนี้ในวิธีการพิเศษ  หมายความว่า “พระศาสนจักรในประเทศต่างๆ ที่เจริญรุ่งเรืองมาได้จนทุกวันนี้  ก็โดยอาศัยครูคำสอนเหล่านี้เอง” (CT 66b)  โดยบางคนมี “ความรับผิดชอบเฉพาะด้านการสอนคำสอน” (GCM 4)  และบางคนร่วมทำงานเผยแผ่ธรรมในหลากหลายรูปแบบ  (GCM 4)

    - ในพระศาสนจักรบางแห่งที่มีการสืบทอดคริสตศาสนาแบบโบราณ แต่เป็นที่ซึ่งมีความขาดแคลนพระสงฆ์  ในบางสภาพการณ์มีความต้องการครูคำสอนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับครูคำสอนใน ดินแดนมิสซัง  สภาพการณ์ที่จะกล่าวถึงนี้กำหนดให้ (พระศาสนจักร) ต้องเผชิญกับความต้องการครูคำสอนอย่างเร่งด่วน คือในความมีชีวิตชีวาแบบชุมชนของชาวบ้านชนบทเล็กๆที่ถูกถอดถอนการมีพระสงฆ์อยู่ประจำ  และการให้ความช่วยเหลือจากการเข้าร่วมของธรรมทูต “ในพื้นที่ของเมืองใหญ่” (CT 45, อ้างถึง RM 37,a/b, par.2)
    - ในหลายประเทศที่มีการสืบทอดคริสตศาสนาซึ่งต้องการ “การประกาศพระวรสารกันใหม่” (RM 33)  ครูคำสอนสำหรับเยาวชนและครูคำสอนสำหรับผู้ใหญ่กลายเป็นบุคคลที่จำเป็นอย่างยิ่ง  ในการส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการสอนคำสอนเพื่อนำเข้าสู่ชีวิตคริสตชน  ครูคำสอนทั้งหลายจะต้องจัดให้มีการสอนคำสอนอย่างต่อเนื่อง  ในงานต่างๆ ดังกล่าวนี้ บทบาทของพระสงฆ์มีความสำคัญเท่ากัน (เป็นเหมือนครูคำสอน)
    - ครูคำสอนสำหรับเด็กๆ และวัยรุ่นยังคงเป็นบุคคลที่จำเป็นอย่างยิ่ง  ครูคำสอนประเภทนี้มีพันธกิจละเอียดอ่อนในเรื่องการให้ “ความนึกคิดต่างๆ ในเบื้องต้นจากหนังสือคำสอนและการเตรียมตัวรับศีลอภัยบาป  รับศีลมหาสนิทครั้งแรกและศีลกำลัง” (CT 66a)   ความรับผิดชอบอันนี้เป็นเรื่องที่ต้องเน้นมากยิ่งขึ้นในทุกวันนี้  เนื่องจากว่าเด็กๆ และวัยรุ่นทั้งหลาย “มิได้รับการอบรมด้านศาสนาอย่างเหมาะสมภายในครอบครัว” (CT 66a; อ้างถึง CT 42)
    - ครูคำสอนผู้ซึ่งต้องผ่านการอบรมด้วยนั้น คือ ครูคำสอนที่เหมาะกับการให้ความรู้ก่อนรับศีลศักดิ์สิทธิ์ (อ้างถึง GCD(1971) 96) สำหรับผู้ใหญ่ที่เด็กๆของเขาจะรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น ศีลล้างบาป  หรือการรับศีลมหาสนิทครั้งแรก หรือการฉลองสมรส การสอนคำสอนที่เหมาะกับโอกาสต่างๆ นี้เป็นงานหนึ่งที่มีความเฉพาะและมีมาแต่เดิมซึ่งประกอบด้วย การต้อนรับสัตบุรุษ  การประกาศพระวรสารขั้นแรกให้กับพวกเขา และการร่วมเดินทางสู่ความเชื่อพร้อมๆกันกับพวกเขา
    - ครูคำสอนอื่นๆซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างรีบด่วน เพื่อสนองตอบต่อสภาพการณ์อันละเอียดอ่อนของมนุษย์  รวมทั้งครูคำสอนสำหรับผู้สูงอายุ (อ้างถึง CT 45; อ้างถึง GCD(1971) 95)  ผู้ซึ่งต้องการการเสนอพระวรสารที่ได้รับการปรับให้เหมาะกับสภาพการณ์ของพวกเขา  สำหรับคนพิการและคนไร้ความสามารถ  ผู้ต้องการวิธีการสอนแบบพิเศษ (อ้างถึง GCD(1971) 91; อ้างถึง CT 41) ซึ่งนอกเหนือจากความต้องการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอย่างสมบูรณ์จนกลายเป็นชุมชนสำหรับผู้อพยพและผู้ที่ถูกทอดทิ้งโดยการพัฒนาสังคมสมัยใหม่ (CT 45a) 
    - นอกจากนี้ยังมีรูปแบบของครูคำสอนแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมอีก  เมื่อพระศาสนจักรท้องถิ่นทุกแห่งได้วิเคราะห์สถานการณ์ทางด้านวัฒนธรรมและศาสนาของตนแล้วก็จะพบความต้องการต่างๆ ของพระศาสนจักรนั้น  และจะส่งเสริมครูคำสอนในแบบที่ตนต้องการให้เป็นจริง การจัดระบบการวางแนวทางการอบรมครูคำสอนทั้งหลายเป็นภาระขั้นพื้นฐานประการหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบ