แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทที่ 8
ใครถูกพระเจ้าตัดสินว่าเป็นผู้ชอบธรรมหรือไม่?
อุปมาเรื่องชาวฟาริสีและคนเก็บภาษีในพระวิหาร (ลก.18.9-14)

ใครเป็นผู้ชอบธรรมเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าและเขาชอบธรรมอย่างไร  พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมาเกี่ยวกับฟาริสีและคนเก็บภาษีในพระวิหาร เพื่อท้าทายการตั้งค่าที่ผิดๆเกี่ยวกับความชอบธรรม ที่นำไปสู่การตัดสินและแช่งด่าคนอื่น  ในไม่ช้า มีการเล่าเรื่องอุปมา ต่อจากเรื่องอุปมาการภาวนาที่ไม่หยุดหย่อน,แต่บัดนี้ ภาพรวมกว้างขึ้นเพราะเกิดปัญหาความยุติธรรมของพระเจ้าที่ทรงมีต่อมนุษย์  พร้อมกับความสามารถเชิงจิตวิทยา ในพระวรสารโดยนักบุญลูกา ครั้งหนึ่ง พระเยซูเจ้าทรงหยั่งรู้จิตใจที่บิดเบี้ยวของมนุษย์ และทรงอ่านใจมนุษย์ได้ แล้วทรงประเมินค่าความคิดและอารมณ์ที่อุบัติจากภายในจิตใจของมนุษย์ว่า

พระเยซูเจ้าตรัสเล่าเรื่องอุปมานี้ให้บางคนที่เชื่อมั่นในตนเองว่า  ตนเป็นผู้ชอบธรรมและดูหมิ่นผู้อื่นฟังว่า  ‘มีชายสองคนขึ้นไปอธิษฐานภาวนาในพระวิหาร คนหนึ่งเป็นชาวฟาริสี อีกคนหนึ่งเป็นคนเก็บภาษี  ชาวฟาริสียืนอธิษฐานภาวนาในใจว่า “ข้าแต่พระเจ้า ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระองค์ที่ข้าพเจ้าไม่เป็นเหมือนมนุษย์คนอื่น ที่เป็นขโมย อยุติธรรม ล่วงประเวณี หรือเหมือนคนเก็บภาษีคนนี้  ข้าพเจ้าจำศีลอดอาหารสัปดาห์ละสองวัน และถวายหนึ่งในสิบของรายได้ทั้งหมดของข้าพเจ้า”  ส่วนคนเก็บภาษียืนอยู่ห่างออกไป ไม่กล้าแม้แต่จะเงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้า ได้แต่ข้อนอก  พูดว่า “ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด”  เราบอกท่านทั้งหลายว่าคนเก็บภาษีกลับไปบ้าน ได้รับความชอบธรรม แต่ชาวฟาริสีไม่ได้รับ  เพราะว่าผู้ใดที่ยกตนขึ้นจะถูกกดให้ต่ำลง ผู้ใดที่ถ่อมตนลง จะได้รับการยกย่องให้สูงขึ้น’(ลก.18.9-14)

1.    ชาวฟาริสีและคนเก็บภาษี
ฉากนี้เกิดขึ้นในพระวิหาร ตัวเอก 2 คนไม่ได้ระบุชื่อที่ไปสวดภาวนา  การเลือกชายทั้งสอง ไม่มีจุดประสงค์จะดูหมิ่นกลุ่มหนึ่งหรือยกย่องอีกกลุ่มที่พวกเขาเป็นสมาชิก  แต่ต้องการถ่ายทอดความคิดเรื่องบุคลิกภาพในเรื่องอุปมา  คนแรก ไม่ควรถูกพิจารณาว่า เขาหยิ่งเพราะอยู่ในกลุ่มพวกฟาริสี  หรือคนที่สองก็ไม่ควรถูกพิจารณาว่า เขาถ่อมตนเพราะเป็นคนเก็บภาษี (อาชีพบาป) เพราะไม่ใช่เรื่องของชาติตระกูลที่ทำให้พวกเขาชอบธรรมหรือเป็นคนบาป,แต่เป็นท่าทีของความสัมพันธ์กับพระเจ้าและความสัมพันธ์กับผู้อื่นมากกว่า
พระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็มเป็นฉากสำหรับเรื่องอุปมานี้  จนกระทั่งชาวโรมันทำลายกรุงเยรูซาเล็มในปี ค.ศ. 70    วิหารนี้เป็นหนึ่งในหลักภูมิทัศน์สำหรับความศรัทธาแบบยิว  และเหนือปัจจัยอื่นๆ คือ เป็นสถานที่ที่ยอมรับว่าตนเป็นคนบาปและขอการยกโทษบาป  ตามปกติ เรื่องอุปมาเสนอความสัมพันธ์แบบสามด้านคือ ชาวฟาริสี  คนเก็บภาษี  และพระเจ้าที่พวกเขาตรัสถึง  พระเจ้าทรงเป็นบุคคลที่สามของกลุ่มที่มีจำนวน 3 บุคคล พระเจ้าทรงมีความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับชาย 2 คน เพราะการภาวนาของชาย 2 คนเริ่มด้วย “พระเจ้า” (ลก.18.11,13และในที่สุด คนเก็บภาษีเป็นคนชอบธรรมแต่ไม่ใช่ชาวฟาริสี (ดู ลก.18.14)
อย่างไรก็ตาม ทัศนคติและการภาวนาของตัวเอก 2 คนขัดแย้งกัน ทั้งสองคนหันไปหาพระเจ้าองค์เดียวกัน,แต่พวกเขามีความคิดและทัศนคติขัดแย้งกัน  ชาวฟาริสียืนสวดภาวนาขณะที่คนเก็บภาษีไม่กล้าที่จะเงยหน้ามองสวรรค์และทุบอก เนื้อหาคำภาวนาของพวกเขายิ่งขัดแย้งกันมากขึ้น ในภาษากรีกของพระวรสารนี้ ชาวฟาริสีใช้คำ “พระเจ้า” 29 คำ ขณะที่ชาวฟาริสีพูดถึงคำ “พระเจ้า” เพียง 6 คำ
    ชาวฟาริสีขอบพระคุณพระเจ้าที่เขาไม่เหมือนคนอื่นที่เป็นคนชอบขู่เข็ญ คนอยุติธรรม คนคบชู้ หรือเหมือนกับคนเก็บภาษีที่กำลังสวดภาวนาในระยะไกลออกไป  คำเย้ยหยันในคำภาวนาของชาวฟาริสีมีเล่ห์เหลี่ยมและทิ่มแทงจิตใจ  เขาไม่ใส่รายชื่อคนอื่นที่ถวายแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าเลย  มีแต่คำพูดเหยียดหยามและสาบแช่งคนอื่นตรงตามที่พระเยซูเจ้าตรัสเล่าเรื่องอุปมา ที่คิดว่า ตนเป็นผู้ชอบธรรมและตัดสินผู้อื่น (ดู ลก.18.9) เป็นช่วงเวลาที่เขาพิจารณาตนเองว่าไม่มีบาป ความจริง ชาวฟาริสีก็ทำบาปหนักที่สุดแล้ว  เขาเองแทนที่พระเจ้าในการดูหมิ่นคนอื่น เขาไร้ยางอายที่อ้างถึงการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติที่เคร่งครัดเกินไป  ขณะที่ตามหนังสือเลวีนิติ 16.29-31 กำหนดให้จำศีลอดอาหารในวันชดเชยบาป (วันที่สิบของเดือนที่เจ็ด...,แต่ชาวฟาริสีในเรื่องอุปมาอดอาหารถึงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง  เขาจำศีลอดอาหารที่ห้ามรับประทานอาหารที่มีมลทิน - เช่น เนื้อหมู-และเขาจ่ายภาษีบำรุงพระวิหาร (หักหนึ่งในสิบของรายได้ถวายแด่พระเจ้า) ตามที่เขาต้องการ  เขาเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบของคนที่ยกย่องตนเองเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า
อาศัยทัศนคติของการใช้โทษบาป,คนเก็บภาษีเพียงกล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด” (ลก.18.13)   คำภาวนาของเขาแสดงถึงความจำเป็นในการพูดเพียงสองหรือสามคำ ประกอบด้วยการยอมรับผิดของตนและคำร้องขอพระเมตตากรุณา ดังนั้น เขาได้รับการอภัย การภาวนาเพื่อชดเชยบาปคล้ายกับการภาวนาในหนังสือสดุดี 79.9  "ปล่อยเราไปและให้อภัยบาปของเรา/เพื่อเห็นแก่นามของท่าน”

2.    การกลับด้าน
    เมื่อถึงเวลาสรุป พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาผู้ฟังทั้งหลาย และเน้นการกลับด้านในสถานการณ์ด้วยการสบัดแปรงครั้งสุดท้ายอย่างแรงว่า “คนเก็บภาษีกลับไปบ้าน ได้รับความชอบธรรม แต่ชาวฟาริสีไม่ได้รับ  เพราะว่าผู้ใดที่ยกตนขึ้นจะถูกกดให้ต่ำลง ผู้ใดที่ถ่อมตนลง จะได้รับการยกย่องให้สูงขึ้น” ผู้ที่พระเจ้าทรงยกย่องคนสุภาพถ่อมตนและกดคนหยิ่งให้ต่ำลงได้ คือ เช่นเดียวกับพระนางมารีย์ร้องเพลงในบทสรรเสริญพระเจ้า ( Magnificat)  “พระองค์ทรงยกพระกรแสดงพระอานุภาพ    ทรงขับไล่ผู้มีใจมักใหญ่ใฝ่สูงให้กระจัดกระจายไป   ทรงคว่ำผู้ทรงอำนาจจากบัลลังก์ และทรงยกย่องผู้ต่ำต้อยให้สูงขึ้น” (ลก.1.51-52) วิถีของพระเจ้าคือการนำผู้มีอำนาจออกจากบัลลังก์-โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนอย่างชาวฟาริสีในเรื่องอุปมา ที่ต้องการเหยียบย่ำศักดิ์ศรีของคนอื่นเพื่อยกย่องตัวเอง-และพระเจ้าทรงยกย่องผู้ถ่อมตน ทัศนคติของชาวฟาริสีเป็นคนหยิ่งจองหอง แต่คนเก็บภาษีเป็นคนสุภาพถ่อมตน  ถึงแม้ว่าชาวฟาริสีใช้เวลานานในการสวดภาวนา  แต่ไม่ได้กลายเป็นคนชอบธรรม  ขณะที่คนเก็บภาษีสวดภาวนาสั้นๆ ใช้เวลาไม่นาน ก็เพียงพอสำหรับเขาที่จะกลับบ้านไปอย่างคนชอบธรรม
อะไรเป็นเครื่องบ่งชี้การพลิกกลับด้านของสถานการณ์ เนื่องจากมีการเลือกลักษณะนิสัยเด่นของตัวแทน 2 คน  เรื่องอุปมามุ่งจุดเปลี่ยน 2 ประการ  ประการแรก จุดเปลี่ยนในการภาวนาของชาวฟาริสีคือ ไม่เพียงพอสำหรับพวกเขาที่จะยกย่องตนเองเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า  เขายังเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นและดูหมิ่นคนอื่นด้วย จุดสำคัญเกิดขึ้นในวลีที่ว่า “หรือเหมือนคนเก็บภาษีผู้นี้” (ลก.18.11) คำภาวนาของชาวฟารีสีที่เหลือไม่ผิด ตรงกันข้าม เขาเป็นบุรุษคนหนึ่งที่กระตือรือร้นในการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติและธรรมเนียมของชาวยิว สิ่งที่ทำให้ชาวฟารีสีกลับบ้านโดยไม่เป็นผู้ชอบธรรมคือ  การดูถูกดูแคลนของเขาคือ  ชาวฟาริสีตัดสินคนเก็บภาษี  โดยไม่ได้ตระหนักรู้ถึงความสำนึกผิด และการสวดภาวนาของคนเก็บภาษี เนื่องจากมีระยะห่างที่แยกชายทั้งสองออกจากกันในพระวิหาร
    จุดเปลี่ยน คือส่วนที่สองที่อยู่ในคำภาวนาของคนเก็บภาษีที่ว่า “โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด”(ข้อ13) คนเก็บภาษีไม่พยายามทำให้สภาพบาปของเขามีมลทินบาปทางศาสนาน้อยลง เช่น “คนอื่นพิจารณาว่า งานของข้าพเจ้าไม่สะอาด (ทางศาสนา)  ข้าพเจ้ากำลังพยายามทำกำไรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น" หรือ “ข้าพเจ้ามีครอบครัวต้องเลี้ยงดู และข้าพเจ้าจึงไม่อาจเปลี่ยนงานได้”  คนเก็บภาษีกลับเสนอตนเองเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าด้วยดวงใจที่ว่างเปล่า  ในคำภาวนาที่สั้นมากๆ เขาได้แสดงสิ่งที่เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า คือการยอมรับผิด และความหวังที่จะได้รับการอภัย การยอมรับตนเองว่าเป็นคนบาปเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้ชอบธรรม  เพราะความหยิ่งยโสของคน ที่คิดว่าพวกเขาไม่มีบาป ไม่เป็นผลดีต่อในสถานการณ์นี้เลย

3.    พระหรรษทานก่อให้เกิดความชอบธรรม
    น่าเสียดาย ในสมัยของเรา  คำๆหนึ่งในหลายคำที่มีแนวโน้มกำกวมมากที่สุดคือ คำ “ชอบธรรม”
ในภาษาที่นิยมพูดกัน มันเป็นสิ่งที่เท่าเทียมกันกับการหาเหตุผลมาอ้างสำหรบความผิดของคนๆหนึ่ง ในสภาพแวดล้อมของการทำงาน ผู้คนจำเป็นต้อง “พิสูจน์ให้เห็นว่าถูกต้อง” สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่นำเสนอ   คำว่า“ความยุติธรรม” และ “การคืนดี” มีความหมายกำกวมด้วย บ่อยครั้ง เราจะเห็นว่า “ความยุติธรรม” ถูกมองเป็นรางวัล  ที่ความดีถูกสงวนไว้สำหรับคนที่ทำดีและความชั่วสำหรับคนที่ทำชั่ว และ การเข้าใจ “การคืนดี” ว่า เป็นผลของสันติภาพที่สถาปนาขึ้นใหม่ระหว่างคนที่ขัดแย้งกัน
    เรื่องอุปมานี้แสดงวิสัยทัศน์ที่ต่างไปของความยุติธรรม ความชอบธรรม  และการคืนดี   สิ่งที่ 3 คำนี้มีเหมือนกัน ถูกสะท้อนในพระหรรษทานที่พระเจ้าประทานแก่คนเก็บภาษี และไม่ได้ให้ชาวฟาริสี  แต่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงยกย่องชายอีกคนที่รอคอยพระหรรษทาน และให้เขาเป็นคนชอบธรรม ตรงข้ามกับชายที่ตัดสินว่าตัวเองบริสุทธิ์ อีกคนหนึ่งกลับรอคอยการตัดสินจากพระเมตตาของพระเจ้า  เราต้องศึกษาคุณสมบัติที่เกี่ยวกับความเป็นเอกของพระหรรษทานนี้  ไม่เช่นนั้น เรื่องอุปมาอาจถูกเข้าใจผิดและถูกใช้ในทางที่ผิดได้  พระหรรษทานไม่ได้เป็นผลของบาป เราผิดที่คิดว่า เป็นความจำเป็นที่ทำบาปเพื่อจะได้รับความชอบธรรมและจะได้คืนดีกับพระเจ้า หรือว่า คนที่ยิ่งทำบาปมากเท่าใด  เขายิ่งได้รับพระหรรษทานจากพระเจ้ามากขึ้นเท่านั้น ถ้าเกิดกรณีนั้น ความคิดของคนนั้นๆ ก็จะไม่ต่างจากความคิดของชาวฟาริสี  หมายความว่า บาปวางเงื่อนไขให้กับพระหรรษทาน (บาปของคนเก็บภาษี)  เช่นเดียวกับพระหรรษทานถูกกำหนดโดยฤทธิ์กุศลความดี  (การทำดีของชาวฟาริสี) อย่างไรก็ตาม พระหรรษทานแห่งความเที่ยงธรรม พระเจ้าประทานให้อย่างอิสระเสรี และไปไกลเหนือการกระทำของมนุษย์ ไม่ว่าดีหรือชั่ว
ความคิดของความเป็นเอกแห่งพระหรรษทานได้นำไปสู่ความเข้าใจผิดที่ว่า  จำเป็นที่ต้องทำชั่วหรือไม่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติเพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากพระหรรษทาน ในจดหมายถึงชาวโรม นักบุญเปาโลแสดงปฏิกิริยาต่อต้านการบิดเบือนเบี้ยวทำนองนี้ ที่เน้นย้ำว่ามีพระหรรษทานอุดมสมบูรณ์ท่วมท้น ไม่ใช่เพราะเป็นสัดส่วนกับบาป แต่เพราะมนุษย์ถูกตัดสินให้ชอบธรรมในพระเจ้า โดยทางพระหรรษทานเท่านั้น "ดังนั้น เมื่อได้เป็นผู้ชอบธรรมด้วยความเชื่อแล้ว เราย่อมมีสันติกับพระเจ้า เดชะพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา  โดยทางพระองค์ เราจึงเข้าถึงพระหรรษทานและกำลังดำรงอยู่ในพระหรรษทานนี้” ( โรม 5.1-2)
    ความเข้าใจผิดขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับวิธีที่พระเจ้าบันดาลให้เกิดความชอบธรรม  คนทั่วไป มักคิดว่า ครั้งแรก พระเจ้าต้องแสดงความยุติธรรมก่อน แล้วจึงทรงทำให้คนบาปกลายเป็นคนชอบธรรมภายหลัง ความคิดที่ว่า ในเรื่องความเป็นธรรม   พระเจ้าประทานสิ่งที่คนดีสมควรได้รับก่อน แล้วจึงทรงบันดาลให้เขากลายเป็นคนชอบธรรม  อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับความยุติธรรมของพระเจ้า,ซึ่งพระเจ้าทรงเป็นธรรมในทุกขณะในสิ่งที่ทรงบันดาลให้คนบาปเป็นผู้ชอบธรรม เรื่องอุปมานี้ทำให้เข้าใจข้อเท็จจริง นั่นคือ  ทำให้ความชอบธรรมเกิดขึ้นกับคนเก็บภาษี  แต่ความชอบธรรมจะไม่เกิดหลังจากเขาสมควรรับได้รับ ถ้าเป็นกรณีเช่นนั้น ชาวฟาริสีจะเป็นผู้ชอบธรรมส่วนหนึ่งเพราะเขาเป็นผู้ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติอย่างกระตือรือร้น  แทนที่จะเป็นเช่นนั้น กลับไม่มีช่องว่างระหว่างความยุติธรรมของพระเจ้าและการทำให้คนบาปเป็นคนชอบธรรม ดังนั้น พระเจ้าทรงพระยุติธรรมเมื่อพระองค์ทรงทำให้คนบาปเป็นคนชอบธรรม
ในที่สุด ผลที่ตามมาที่สำคัญแห่งการบันดาลความชอบธรรมมีความสำคัญ  นั่นคือ เขาคืนดีกับพระเจ้าเพื่อความสัมพันธ์ใหม่ที่ไม่คาดหวังมาก่อน   การบันดาลความชอบธรรมคือการกระทำที่เป็นอิสระในส่วนของพระเจ้า และความชอบธรรมของคนเก็บภาษีอยู่เหนือความคาดหวังใดๆ อย่างไรก็ตาม การคืนดีนี้ไม่ตอบสนองต่อการสถาปนาสันติภาพขึ้นใหม่ระหว่างสองบุคคลที่อยู่ในระดับเดียวกัน  คือ โดยทั่วไป มีความขัดแย้งทั้งหมดของการคืนดีในพระคริสตเจ้า  คนที่ทำผิดต้องแก้ไข และขอคืนดีกับคนที่เป็นฝ่ายถูก - “กล่าวคือ พระเจ้าทรงทำให้โลกคืนดีกับพระองค์ในองค์พระคริสตเจ้า พระองค์มิได้ทรงเอาผิดกับมนุษย์ แต่ทรงประกาศสารแห่งการคืนดีนี้มอบแก่เรา”
(2 คร.5.19)  ชาวฟาริสีไม่ได้กลับบ้านพร้อมกับความชอบธรรม เพราะการทำดีของเขาไม่ได้ป้องกันเขาจากการตัดสินคนอื่น ขณะที่พระเจ้าทรงบันดาลให้คนเก็บภาษีเป็นคนชอบธรรม เพราะเขาหลีกเลี่ยงการตัดสินคนอื่น 

4.    ความยุติธรรมที่เปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาของพระเจ้า
    เป็นเวลาหลายศตวรรษที่เรื่องอุปมานี้ถูกตีความว่าเป็นคำวิจารณ์ลัทธิยิวว่า ชาวฟาริสีในเรื่องอุปมาเป็นชาวยิว และคนเก็บภาษีเป็นคริสตชน ความจริงแล้ว เป็นวิธีขัดแย้งกันในความสัมพันธ์กับพระเจ้าและกับผู้อื่น  ซึ่งอาจเกิดขึ้นในบรรยากาศทางศาสนาใดๆก็ได้ รวมทั้งบรรยากาศของพระศาสนจักรด้วย  ความเสี่ยงในการพิจารณาตนว่า ปราศจากความผิด และความต้องการที่จะลดคุณค่าของคนอื่นเพื่อยกย่องตนเอง เป็นเรื่องที่ปรากฏอย่างช่วยไม่ได้ในมวลมนุษยชาติ และไม่จำกัดกับศาสนาศาสนาหนึ่งใดเลย
    อคติที่คิดว่า  ลัทธิยิวเป็นศาสนาแห่งการทำดี และคริสตศาสนาเป็นศาสนาแห่งพระหรรษทาน  ดูเหมือนทั้งสองศาสนาได้เล่นบทบาทที่ถูกกำหนดในบทอ่านเรื่องอุปมาอย่างผิดๆ         อย่างไรก็ตาม วิธีการนั้น   เสี่ยงในการ   ที่สร้างภาพผิดๆ ที่พันธสัญญาเดิม นำเสนอพระเจ้าที่ต่างจากพระเจ้าของพระเยซูคริสตเจ้า และพระเจ้าของกลุ่มคริสตชนเริ่มแรก ตามพันธสัญญาเดิม  ความยุติธรรมของพระเจ้าอยู่ในข้อเท็จจริงที่เชื่อมโยงความรอดและพระเมตตากรุณา,เช่นเดียวกับประกาศกโฮเชยากล่าวว่า               “เราจะแต่งงานกับท่านตลอดไป   เราจะแต่งงานกับท่านในความยุติธรรมและความชอบธรรมด้วยความรักมั่นคง และความเมตตาของพระเจ้า” (ฮชย.2.19)
เช่นเดียวกับชนรุ่นแล้วรุ่นเล่าตลอดเวลาที่ผ่านมา หนังสือสดุดี กล่าวว่า “แล้วข้าพเจ้าจะสรรเสริญพระนาม    หรือกฎแห่งชุมชน 11,11-12 ในคัมภีร์ของศาสนาอิสลาม ประกอบด้วย บทภาวนาที่น่าประหลาดใจเกี่ยวกับความยุติธรรมที่เปี่ยมด้วยพระเมตตา กรุณาของพระเจ้า
     “ส่วนข้าพเจ้า ถ้าข้าพเจ้าสะดุดล้มลง พระเมตตากรุณาของพระเจ้าจะเป็นความรอดพ้นตลอดไป ถ้าข้าพเจ้าล้มลงในบาปทางเนื้อหนัง การตัดสินของข้าพเจ้าจะเป็นไปตามพระยุติธรรมของพระเจ้า  ซึ่งคงอยู่ตลอดกาล”
เราอยู่ห่างไกลมากจากวิสัยทัศน์ของพระเจ้า ผู้ทรงจำกัดพระองค์เองในการตัดสินคนเพราะบาปของพวกเขา บาปก็คือ บาป และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปสับสนกับการทำดี แต่พระยุติธรรมของพระเจ้าเป็นธรรม เมื่อทรงแปรสภาพให้ตัวเองเข้าสู่ความเมตตาที่ยกบาปได้
พันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่เต็มไปด้วยความยุติธรรม ที่เปิดเผยโฉมพระพักตร์ของพระเจ้าโดยไม่เข้าใจผิดที่เห็นดีเป็นชั่ว แต่เป็นการเปลี่ยนจากชั่วมาเป็นดีมากกว่า เรื่องอุปมานี้สอนเราว่า เราเองควรเข้าถึงความรักของพระคริสตเจ้า เรื่องน่าอายที่พระเยซูเจ้ายั่วยุให้บางคนที่คิดว่าตัวเขาเป็นผู้ชอบโรม ยิ่งเข้มข้นขึ้นอีก ผ่านทางเรื่องอัปยศแห่งการดูถูกที่ไม้กางเขน    “เพราะเห็นแก่เรา พระเจ้าจึงทรงทำให้พระเยซูเจ้าผู้ไม่รู้จักบาปเป็นผู้รับบาป เพื่อว่าในพระองค์เราจะได้กลายเป็นผู้ชอบธรรมของพระเจ้า” (2 คร.5.21) พระเยซูเจ้าทรงถูกทำให้พระองค์เองบาป ขณะที่พระองค์ถูกตรึงบนไม้กางเขน เพื่อว่าความชอบธรรมของพระเจ้าจะสามารถเข้าถึงทุกคน นำแต่ละคนเข้าสู่ความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับพระองค์เอง
    อุปมาเรื่องชาวฟาริสีกับคนเก็บภาษีเริ่มเข้าสู่ความจริงที่ขัดแย้งมากสำหรับทุกคน    การทำให้คนบาปเป็นคนชอบธรรม ขณะที่คนที่คิดว่าตนชอบธรรม กลับไม่ชอบธรรม  ที่ใดมีการตัดสินผู้อื่น ที่นั่นไม่มีพระยุติธรรมของพระเจ้า

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:1-6) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย ในบ้านพระบิดาของเรา มีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มี...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 12:44-50) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสเสียงดังว่า “ผู้ที่เชื่อในเรา ไม่ได้เชื่อในเราเท่านั้น แต่ยังเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามาด้วย ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา เราเข้ามาในโลกเป็นแสงสว่าง...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
604
15633
69601
279134
306218
36022856
Your IP: 18.222.125.171
2024-04-26 00:54

สถานะการเยี่ยมชม

มี 184 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์