แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

สัญลักษณ์และความเป็นหนึ่งเดียว
“แด่ลูกสุดที่รัก”

๑. คริสตศาสนากับวัฒนธรรมตะวันตก
    ถ้าไม่มีความรู้บ้างเกี่ยวกับคริสตศาสนาแล้ว ก็ยากที่จะเข้าใจประวัติศาสตร์ยุโรป ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนมากของประวัติศาสตร์โลกด้วย ใครๆก็ทราบว่าพระสันตะปาปาเป็นใคร แต่มีสักกี่คนที่ทราบถึงบทบาทของพระองค์ ในฐานะประมุขของพระศาสนจักร ใครๆ ก็พูดถึงคริสต์มาสและปัสกา แต่มีสักกี่คนที่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของวันสองวันนี้ที่มีการฉลองกันอย่างแพร่หลาย ศิลปะของยุโรปเป็นศิลปะที่มีพื้นฐานมาจากคริสต์ศาสนาตลอดเวลาสองพันปีที่ผ่านมา

เพื่อจะเข้าใจงานชิ้นเอกนับไม่ถ้วนได้ก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ เกี่ยวกับวัฒนธรรมของคริสตชนบ้าง ไม่ว่าภาพวาด รูปแกะสลักดนตรี สถาปัตยกรรมหรืองานของช่างทองต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับ “เรื่องราวศักดิ์สิทธิ์” ที่เล่ากันในพระคัมภีร์ด้วยกันทั้งนั้นซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นหนังสือที่มียอดขายสูงสุดของโลก
    งานของไมเกิ้ล แองเจโลที่มีชื่อเสียงเช่น รูปแกะสลัก โมเสส ที่กรุงโรม หรือ ดาวิด ที่ฟลอเรนส์สอดคล้องกับพันธสัญญาเดิมอย่างไร ถ้าไม่มีความรู้พระคัมภีร์สักนิดหนึ่งใครจะสามารถเข้าใจภาพสักตอนหนึ่งของกระจกสีในอาสนวิหารแห่งชาตร์ หรือของ แซงต์ ชาแปลที่กรุงปารีสได้ จะเข้าใจพระมหาทรมาน โดยนักบุญมัทธิว ของโจฮาน เซบาสเตียน บาก ได้อย่างไร ถ้าอย่างน้อยที่สุดไม่มีความรู้เกี่ยวกับพระวรสารสักเล็กน้อย
    ในขณะที่เรากำลังจะเข้าสู่สหัสวรรษที่สามอยู่นี้ เยาวชนรุ่นหลังต่างรู้สึกถึงความต้องการที่จะค้นหารากเหง้าของพวกเขาเพื่อจะได้สูดอากาศที่บริสุทธิ์ หลังจากความล้มเหลวของระบบเผด็จการต่างๆซึ่งมุ่งหวังที่จะทำลาย ศาสนาพวกเขาก็มีประสบการณ์ด้านชีวิตจิตอย่างลึกซึ้งอีกครั้ง
    ความปรารถนาอันนี้สะท้อนถึงความสำเร็จของหนังสือที่ผลิตออกเป็นชุดๆ ของ Editions Assouline เล่มแรกชื่อ สัญลักษณ์ในศาสนายิว เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับศาสนายิวอย่างดีและชัดเจน หนังสือเล่มนี้เขียนโดยท่าน Rabbi Marc-Alain 1. Quaknin เป็นหนังสือที่อ่านง่ายและชัดเจน
    บทนำของท่านซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจารีตพิธีกับตำนานธรรมนั้น มีความคล้ายคลึงกับการวิเคราะห์หัวข้อนี้ (๑) เป็นการดีที่หนังสือเกี่ยวกับศาสนายิวออกมาก่อน ทั้งนี้เพราะว่าคริสต์ศาสนานั้นมีความใกล้ชิดกับศาสนายิวมาก ไม่เฉพาะโดยทางพระคัมภีร์เท่านั้นแต่โดยทางพิธีกรรมด้วย รูปภาพที่ยอดเยี่ยมของ LazizHamani นั้นไม่เฉพาะแต่งดงามผ่านทางสายตาเท่านั้น แต่คล้ายกับมิติที่สามจนทำให้เราต้องการที่จะสัมผัสด้วยมือ ภาพเต็มไปด้วยความสว่างและความมีชีวิตชีวา และดังนี้ก็บรรลุความสมบูรณ์แบบที่ภาพเหล่านั้นไม่เพียงเป็นภาพประกอบเท่านั้น แต่ยังทำให้สัญลักษณ์ของคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกด้วย

๒. เนื้อหนังและจิต : สัญลักษณ์
    เป็นธรรมชาติที่แท้จริงของสัญลักษณ์ทุกอัน สัญลักษณ์เป็นทั้งวัตถุและจิต ความเป็นจริงที่ชัดเจนจะอธิบายความจริงที่มองไม่เห็น ตัวอย่างเช่น สิงโตเป็นสัญลักษณ์ของพลัง เช่นเดียวกันงูเป็นสัญลักษณ์ของความฉลาดแกมโกง หรือนกพิราบเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ คำกริยา sym-ballo ในภาษากรีกนั้นหมายความว่า “ขว้างไปหรือรวมเข้าด้วยกัน”  คำ symbolon ดั้งเดิมนั้นเป็นเครื่องหมายของการยอมรับหรือถ้าจะพูดให้ชัดเจนขึ้นไปอีก มันเป็นเครื่องหมายของสองสิ่งเหมาะสมกันเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือมิตรภาพระหว่างบุคคลสองคนทีมีมิตรภาพต่อกัน ดังนั้นบทบาทของ “symbolic” ก็คือการนำมาด้วยกันและรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ส่วนคำว่า “diabolic” นั้น เมื่อแยกคำเป็น (dia-bolos มาจากdia-ballo แปลว่า “ขว้างออกไป แยกออกหรือแบ่งออก”) สัญลักษณ์เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการเสมอเพราะมนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและวิญญาณ เราเรียนรู้จากสัญลักษณ์หนึ่งไปสู่อีกอันหนึ่งโดยทางรูปภาพหรือโดยทางหนังสือ การโฆษณา และการสื่อสารมักจะใช้สัญลักษณ์อยู่ตลอดเวลา ในฐานะที่เป็นมนุษย์เราก็มีทั้งเนื้อหนังและจิต จิตที่เข้ามาอยู่ในกาย และเราดำเนินชีวิตทั้งสองระดับ เนื้อหนังเมื่อปล่อยให้มันอยู่ตามลำพังก็จะอ่อนแรง แต่เมื่อกลายเป็นสัญลักษณ์ไปพร้อมๆกับจิต เนื้อหนังจะเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสวยงามตรงกันข้ามจิตจะเป็นแต่ปัญญาที่เย็นชา เมื่ออยู่ตามลำพัง แต่เมื่อเอาเนื้อหนังและจิตรวมเข้าด้วยกันสัญลักษณ์ก็จะทำให้ปัจเจกบุคคลของเราครบถ้วนและทำให้เราสัมพันธ์กับคนอื่นได้ จิตและกายจะทำหน้าที่เป็นหมุด เป็นบานพับซึ่งมีความจำเป็นสำหรับเรา เครื่องหมายและสัญลักษณ์หมายถึงความเป็นจริงที่อยู่เหนือธรรมชาติ ความแตกต่างระหว่างทั้งสองก็คือเครื่องหมายนั้นเจาะจง แต่สัญลักษณ์นั้นมั่งคั่งกว่า

๓.    สัญลักษณ์และการรับธรรมชาติมนุษย์
    คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาที่ตั้งอยูบนรากฐานของการรับธรรมชาติมนุษย์ พระคริสต์ซึ่งทรงเป็นพระเจ้าและมนุษย์ ในขณะเดียวกันทรงเป็นคนกลางสำหรับความรอดของเรา ทรงรับเอาสภาพมนุษย์เพื่อทรงเปิดโอกาสให้เราเข้าไปในชีวิตของพระเจ้า (๒) กุญแจเข้าสู่สัญลักษณ์แบบคริสต์ดอกนี้ถูกสรุปลักษณะในศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ กลุ่มคำพูดกับเครื่องหมายที่มองเห็นได้ซึ่งปรากฏแก่ประสาทสัมผัสทั้งห้า นอกจากคำพูดที่เราได้ยินและท่าทางที่เรามองเห็นแล้ว พิธีกรรมยังให้เราได้กลิ่นกำยานหรือธูป การลิ้มรสของปังและเหล้าองุ่นซึ่งได้กลายเป็นพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า (ดังเช่นศีลมหาสนิท ซึ่งเป็นมากกว่าสัญลักษณ์เสียอีก เป็นการรำลึกถึงการถวายบูชาของพระคริสต์ที่ได้รับการรื้อฟื้นอยู่เสมอ) ปรากฏแก่ประสาทสัมผัสด้วยการปกมือและการเจิมด้วยน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ ด้วยการเอาใจใส่ต่อคนเจ็บคนป่วย การช่วยเหลือคนจนและการรักษาความสัมพันธ์กับผู้ใกล้ตาย พระเจ้าทรงเผยแสดงและประทานพระองค์แก่เราในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตเราและในขณะเดียวกันศาสนาของพระองค์ยังคงเป็นแบบมนุษย์อย่างลึกซึ้งอีกด้วย

๔.    สัญลักษณ์แบบคริสต์กับความเป็นหนึ่งเดียว
           สัญลักษณ์รวมเราเข้าเป็นหนึ่งเดียว แม้ว่าคริสตชนจะไม่ได้เจริญชีวิตในความเป็นหนึ่งเดียวอย่างสมบูรณ์แบบที่สุดตามที่พระคริสต์ทรงวอนขอจากพระเจ้า สำหรับบรรดาศิษย์ของพระองค์ก่อนพระมหาทรมานของพระองค์ก็ตาม (๓)  แม้ว่าจะมีการไม่ลงรอยกันและการแตกแยกกันมากมายก็ตาม พระศาสนจักรยังสามารถรักษาความเป็นหนึ่งเดียวกันนี้ไว้ได้เป็นเวลานับพันปีเพราะว่า การแยกตัวออกจากกันกับพระศาสนจักรตะวันออกครั้งสำคัญนั้นเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1054 เท่านั้น  และอีกห้าร้อยปีต่อมาในศตวรรษที่สิบหก การปฏิรูปศาสนาของลูเธอร์ได้แยกคริสตชนของศาสนจักรตะวันตก และนำไปสู่สงครามศาสนา
    แต่ทว่าในศตวรรษที่ยี่สิบนี้มีการเริ่มคริสตสัมพันธ์ (Ecumenism) และความพยายามที่จะคืนดีกันหลายครั้งขึ้น นี่เป็นเรื่องที่พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงเขียนในตอนต้นของสมณสาสน์สากล เรื่องขอให้พวกเขาเป็นหนึ่งเดียวกัน (Ut unum sint) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ.1995 ว่า “การเรียกร้องให้คริสตชนเป็นหนึ่งเดียวกันของพระสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง ด้วยความสำนึกในพันธกิจความจริงใจอย่างมากได้ก่อให้เกิดเสียงสะท้อนขึ้นในใจของบรรดาคริสตชนเป็นพิเศษในโอกาสที่จะถึงปีค.ศ. 2000 นี้ อันเป็นปีที่คริสตชนจะฉลองเป็นปีปิติมหาการุญ เป็นการรำลึกถึงการรับเอากายของพระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงมาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อทรงช่วยมนุษยชาติให้รอด” (๔) หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นโดยฤาษีคณะเบเนดิกตินและเสนอสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์คาทอลิก กระนั้นก็ดีคริสตชนส่วนใหญ่เห็นว่าสัญลักษณ์เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับพวกเขา พระศาสนจักรทางตะวันออกซึ่งเรียกกันว่า “ออร์ธอดอกซ์” (“ความถูกต้องของข้อความเชื่อ แปลตรงตัวอักษรในภาษากรีก) มีความเชื่ออันเดียวกันและศีลศักดิ์สิทธิ์อันเดียวกันกับพระศาสนจักรคาทอลิกนั้นแสดงออกต่างกันแต่เป็นวิธีที่เสริมกันและกันได้ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงด้านพิธีกรรมที่ตามคำประกาศของสังคายนาวาติกันที่ 2 พร้อมกับความประสงค์ที่จะกลับคืนสู่ความเรียบง่ายที่น่านับถือในศาสนาบริการ (๕)ได้ทำให้เครื่องหมายที่เราใช้นั้นเสื่อมลงไปบ้างอย่างน่าเสียดาย แต่ในศาสนบริการทางตะวันออกยังคงรักษาสัญลักษณ์ไว้อย่างเต็มที่เช่นเดิม
    พิธีกรรมโรมันได้ใช้ความไตร่ตรองเป็นอย่างมากทั้งในตำราโดยเฉพาะในพระคัมภีร์เป็นส่วนใหญ่ และในท่าทางภายนอกหรืออาภรณ์ แต่เป็นการแสดงออกที่ทรงพลังถึงความศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นการประทับอยู่และพระภารกิจของพระองค์ พระศาสนจักรฝ่ายตะวันตก เช่น พิธีกรรมของลัทธิแองกลิกันและลูเธอร์เรนมีความคล้ายคลึงกับฝ่ายโรมันคาทอลิก ขณะที่พระศาสนจักรที่ได้รับการปฏิรูปเกี่ยวโยงกัน ลัทธิคาลแวงที่เน้นพระวาจาของพระเจ้า ในบทอื่นของหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงความสำคัญและความหมายของสัญลักษณ์ของนิกายต่างๆในคริสตศาสนา
๕.    พระสันตะปาปา: สัญลักษณ์ของหลักคำสอนและความเป็นหนึ่งเดียว
การเป็นเอกของพระสังฆราชแห่งโรมและเป็นต้น ปัญหาของศาสนบริการดูเหมือนว่าเป็นเครื่องสะดุดสำหรับหนทางการรวมกันเข้าเป็นหนึ่งเดียว ประสบการณ์แบบคริสต์คือความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าเป็นสิ่งแรกและเหนือกว่าสิ่งใด เป็นการติดยึดอย่างน่ารักกับพระวาจาและพระประสงค์ของพระองค์จากหนังสือปฐมกาลถึงหนังสือวิวรณ์ (๗) พระคัมภีร์ยืนยันถึงพระประสงค์ของพระเจ้าซึ่งเป็นองค์เจ้าบ่าวในการที่รวมพระองค์กับประชากรของพระองค์ซึ่งเป็นเจ้าสาวของพระเจ้า และบทกวีรักใน “บทเพลงซาโลมอน” แสดงออกซึ่งความอ่อนหวานทั้งมวลที่ดึงดูดทั้งสองเข้าด้วยกัน เมื่อเป็นเช่นนี้เหตุใดเล่าตัวกลางที่เป็นมนุษย์จึงบังอาจเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนที่ซาบซึ้งเช่นนี้ได้ ณ ตรงนี้มีแต่ธรรมล้ำลึกของการรับเอากายเท่านั้นที่จะให้ความสว่างแก่เราได้ พระคริสต์ผู้เสด็จมาเพื่อจะประทับอยู่ท่ามกลางมนุษยชาติ เสด็จกลบไปหาพระบิดาเพื่อประทับเบื้องขวาของพระบิดา ในวันเสด็จขึ้นสวรรค์โดยทรงปล่อยให้พระศาสนจักรที่ทรงสถาปนาขึ้นกระทำภารกิจของพระองค์ต่อไปเพื่อว่าเจ้าสาวของพระองค์จะได้พบกับมิติที่เต็มเปี่ยมของตนในกาลเวลาและสถานที่ พระเยซูทรงแต่งตั้งให้เปโตรและอัครสาวกอีกสิบเอ็ดท่านเป็นหัวหน้าของพระศาสนจักร เพื่อพวกเขาจะได้สืบต่อพระวาจาและพระพรของพระเจ้า
พระสังคายนาวาติกันที่ 2 ชี้ให้เห็นชัดว่าฐานันดรของพระศาสนจักรคาทอลิกเป็นส่วนที่ขาดเสียมิได้ของประชากรของพระเจ้าในการรับใช้ประชากร (๘) ถ้าพระสันตะปาปา พระสังฆราช พระสงฆ์และสังฆานุกรต่างก็เป็นตัวแทนขององค์เจ้าบ่าวและนายชุมพาด้วยวิธีการต่างๆ กระนั้นก็ดีพวกเขาก็มิได้แทนที่พระคริสต์ หากแต่เพื่อเป็นประกันถึงการสนิทสัมพันธ์ที่แท้จริงและที่สมบูรณ์แบบกับพระองค์เท่านั้น
พระสันตะปาปาทรงเป็นสัญลักษณ์ที่เด่นชัดสำหรับคริสตชน และสำหรับคริสตชนร่วมสมัย เช่นเดียวกันพระคริสต์ทรงเป็นเครื่งหมายที่จะถูกโต้แย้ง (ลก.2:34) พระเยซูทรงตัดสินพระทัยที่จะสร้างพระศาสนจักรของพระองค์บนศิลาแห่งเปโตร (๙) และเป็นหน้าที่ของท่านที่จะ “ช่วยค้ำจุนพี่น้องของท่าน” (ลก.22:32)ในฐานะที่เป็นผู้สืบตำแหน่งของนักบุญเปโตรในศาสนจักรแห่งโรม พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ตรัสในบทเทศน์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ.1987 ต่อหน้า ฯพณฯ ดีมีตรีออสที่ 1 อัครสังฆราชแห่งคอนสแตนตินโนเปิลและอัยกาแห่ง
คริสตสัมพันธ์ว่า “ข้าพเจ้าวิงวอนพระจิตอย่างไม่หยุดหย่อนให้ทรงฉายแสงของพระองค์ลงมาเหนือชาวเราและ ส่องสว่างแด่บรรดานายชุมพาและนักเทววิทยาของศาสนจักรต่างๆของเรา เพื่อให้เราแสวงหาด้วยกัน ซึ่งศาสนบริการแบบนี้จะได้บรรลุถึงการรับใช้แห่งความรักอันเป็นที่ยอมรับของทุกคนที่เกี่ยวข้อง” (๑๐)
พระสันตะปาปามิได้ทรงเป็นเพียงเครื่องหมาย สัญลักษณ์และข้อหลักของความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระศาสนจักรเท่านั้น ทรงเป็นหลักในเรื่องเมตตารักพร้อมกับบรรดาพี่น้องพระสังฆราชซึ่งมีบรรดาสงฆ์และสังฆานุกรของท่านคอยช่วยเหลือ สังฆานุกรเป็นผู้รับใช้พี่น้องฆราวาสของพวกท่านอีกต่อหนึ่งในฐานะที่เป็นสมาชิกของประชากรของพระเจ้า ทุกคนเป็นผู้เหมาะสมต่อหน้าธรรมล้ำลึกแห่งพระศาสนจักร คนยากจน ในทุกความหมายของคำๆนี้ (ด้านกาย ด้านชีวิตจิต ด้านจิตวิทยา และด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม) เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่บรรดาคริสตชนยกย่อง เพราะพวกเขาเป็นเสมือนพระคริสต์ผู้ถ่อมองค์ลงจนกระทั่งทรงยอมสิ้นพระชนม์บนกางเขน
ความหมายของสัญลักษณ์นี้ยืดหยุ่นเกี่ยวกับความเป็นจริงทุกอย่างที่ให้ “อาหารใจ” แก่เราสัญลักษณ์ของคาทอลิกรวมเอาทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคาทอลิก ไม่ใช่เพียงแต่สิ่งที่เกี่ยวกับพิธีกรรมเท่านั้น พระคริสต์ซึ่งทรงเป็นมนุษย์-พระ คนกลางของชาวเรา แบบฉบับที่เลอเลิศที่สุดของความเป็นจริงที่ครบถ้วน ทรงเป็นสัญลักษณ์ที่แตกออก เป็นภาพลักษณ์จำนวนมากมาย (ลูกแกะ นายชุมพาแสนดี ฯลฯ) สัญลักษณ์อื่นๆ อาจเป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กางเขน ขนมปังหรือหอคอย แต่บ่อยครั้งอาจเป็นบุคคลเช่นสามพระบุคคลในพระตรีเอกภาพ พระนางพรหมจารีมารีย์ บรรดานักบุญ พระสงฆ์ ผู้ที่อยู่ในฐานันดรและฆราวาส สัญลักษณ์มีไว้สำหรับมนุษยชาติ สำหรับเราทุกคน เพื่อเราจะสามารถเข้าใจความสมบูรณ์และการเป็นหนึ่งเดียวของความรักที่พระคริสต์ทรงแสดงออก ขณะที่ภาวนาต่อพระบิดาเป็นครั้งสุดท้ายบนโลกนี้ว่า “ข้าพเจ้าได้บอกให้เขารู้จักพระนามของพระองค์และจะบอกให้รู้ต่อไป เพื่อความรักที่พระองค์ทรงรักข้าพเจ้าจะได้อยู่ในเขาและข้าพเจ้าจะได้อยู่ในเขาด้วยเช่นกัน” (ยน.17:26)


(๑)    เทียบ Le Gall Associes a l’oeuvre de dieu: C.L.D. Chambray-les-Tours: 1981: pp.103-107
(๒)    “และพระวจนาตถ์ทรงรับเอาธรรมชาติมนุษย์ และมาประทับอยู่ท่ามกลางเรา” (ยน 1:14)
(๓)    “...เพื่อให้เขาเป็นหนึ่งเดียวกันเช่นเดียวกับพระองค์และข้าพเจ้าเป็นหนึ่งเดียวกัน ข้าพเจ้าอยู่ในเขาและพระองค์ทรงอยู่ในข้าพเจ้า เพื่อเขาจะได้เป็นหนึ่งเดียวกันโดยสมบูรณ์ โลกจะได้รู้ว่า พระองค์ทรงส่งข้าพเจ้า เพื่อเขาจะได้เป็นหนึ่งเดียวกันโดยสมบูรณ์ โลกจะได้รู้ว่า พระองค์ทรงส่งข้าพเจ้าและพระองค์ทรงเขาเช่นเดียวกับทรงรักข้าพเจ้า” (ยน 17:22-23)
(๔)    สมณสาสน์สากล “เพื่อให้พวกเขาเป็นหนึ่งเดียวกัน” ของพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ข้อ 1
(๕)    กฤษฎีกาว่าด้วย “พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์” ของสังคายนาวาติกัน 2 พิมพ์วันที่ 4 ธันวาคม 1963 ข้อที่ 66
(๖)    สมณสาสน์สากล “เพื่อให้พวกเขาเห็นหนึ่งเดียวกัน” ของพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ข้อ 66
(๗)    หนังสือเล่มแรกและเล่มสุดท้ายของพระคัมภีร์
(๘)    บทที่ 2 ของสังฆธรรมนูญว่าด้วยเรื่องข้อความเชื่อของพระศาสนจักร Lumen Gentium เกี่ยวกับประชากรของพระเจ้า
บทที่ 3 เกี่ยวกับ “สังฆธรรมนูญว่าด้วยเรื่องฐานานุกรมของพระศาสนจักร พร้อมด้วยข้ออ้างพิเศษสำหรับพระสังฆราช
(๙)    มธ. 16:18
(๑๐)    อ้างใน “เพื่อให้พวกเขาเป็นหนึ่งเดียวกัน” ข้อ 95

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 18:1-19:42) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ข้ามห้วยขิดโรน ที่นั่นมีสวนแห่งหนึ่ง พระองค์เสด็จเข้าไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ยูดาสผู้ทรยศรู้จักสถานที่นั้นด้วย เพราะพระองค์เคยทรงพบกับบรรดาศิษย์ที่นั่นบ่อยๆ ยูดาสนำกองทหารและยามรักษาพระวิหารที่บรรดาหัวหน้าสมณะ...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:1-15) ก่อนวันฉลองปัสกา พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าถึงเวลาแล้วที่จะทรงจากโลกนี้ไปเฝ้าพระบิดา พระองค์ทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด ระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ ปีศาจดลใจยูดาสอิสคาริโอทบุตรของซีโมนให้ทรยศต่อพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระบิดาประทานทุกสิ่งไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว และทรงทราบว่าพระองค์ทรงมาจากพระเจ้าและกำลังเสด็จกลับไปหาพระเจ้า จึงทรงลุกขึ้นจากโต๊ะ...
วันพุธ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 26:14-25) เวลานั้น คนหนึ่งในบรรดาอัครสาวกสิบสองคน ชื่อ ยูดาส อิสคาริโอท ไปพบบรรดาหัวหน้าสมณะ ถามว่า “ถ้าข้าพเจ้ามอบเขาให้ท่าน ท่านจะให้อะไรแก่ข้าพเจ้า”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลมหาพรตและปัสกา กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ เทศกาลมหาพรตและปัสกา E-book...
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อัครสาวก 12 องค์ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

212. มื้ออาหารของพระเยซูเจ้ากับเรามีชื่อว่าอะไรบ้าง และหมายความว่าอะไร มีชื่อแตกต่างกันที่ชี้บอกถึงความมั่งคั่งอย่างไม่อาจหยั่งถึงได้ของธรรมล้ำลึกนี้ คือ การบูชาศักดิ์สิทธิ์ มิสซา เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชาขอบพระคุณ อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า การบิปัง การชุมนุมศีลมหาสนิท การรำลึกถึงพระทรมาน...
211. ศีลมหาสนิทสำคัญอย่างไรสำหรับพระศาสนจักร การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท เป็นหัวใจของชุมชนคริสตชน ในศีลมหาสนิทพระศาสนจักรกลายเป็นพระศาสนจักร (1325) เราไม่ได้เป็นพระศาสนจักรเพราะเรากลมเกลียวกัน หรือเป็นเพราะเราสิ้นสุดในชุมชนวัดเดียวกัน แต่เนื่องจากในศีลมหาสนิทเราได้รับพระกายของพระคริสตเจ้า และเราถูกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นในพระกายของพระคริสตเจ้า 126,217 ในศีลมหาสนิทเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเหมือนกับอาหารเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย...
210. พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทอย่างไร “ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนั้นต่อให้ท่าน คือในคืนที่ทรงถูกทรยศนั้นเอง พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงหยิบปัง ขอบพระคุณ แล้วทรงบิออก ตรัสว่า “นี่คือกายของเราเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” เช่นเดียวกัน...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา เรื่อง การดูหมิ่น พระคัมภีร์ โรม 12:16 ภาพรวม เด็กๆ สร้างคนด้วยไม้จิ้มฟัน และเรียนรู้ว่า การดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดอย่างไร อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ปากกาเส้นใหญ่ กาว และแถบกาว ประสบการณ์ แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 คน แจกไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
🤖 TRV. Innovation Fair 2023 🤖 วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสไปออกร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ และออกบูธจัดกิจกรรมคำสอน ร่วมกับฝ่ายจิตตาภิบาล โรงเรียนไตรราชวิทยา ในโครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม ประธานในพิธี บาทหลวงเอกรัตน์...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)
วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
3984
15753
57840
253110
326718
35690614
Your IP: 3.238.233.189
2024-03-29 03:36

สถานะการเยี่ยมชม

มี 874 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์