แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ลองนึกภาพว่ามีเส้นลวดขึงอยู่ระหว่างตึกธนาคารกับสำนักงานศาลในเมืองที่ท่านอยู่  สตรีผู้หนึ่งยืนอยู่บนดาดฟ้าของตึกธนาคาร และประกาศความตั้งใจว่าจะเดินบนเส้นลวดข้ามไปยังสำนักงานศาล  คนกลุ่มหนึ่งมาร่วมเป็นพยานในการกระทำที่อาจหาญนี้  ไม่มีตาข่ายอยู่ด้านล่างเพื่อรองรับสตรีผู้นี้ในกรณีที่เธอพลาดตกลงไป   เธอถามคนกลุ่มนั้นว่าพวกเขาเชื่อหรือไม่ว่าเธอจะทำสำเร็จ  หลายคนตอบว่าเชื่อและก็เป็นกำลังใจให้เธอดำเนินต่อไป   เธอค่อย ๆ เดินข้ามช้า ๆ ด้วยความระมัดระวัง บางช่วงก็ส่ายไปมาและเกือบจะเสียการทรงตัว   พอเดินไปถึงอีกฟากหนึ่งเธอก็ได้ยินเสียงไชโยจากเบื้องล่าง ผู้คนร้องตะโกนออกมาว่า “ดีมาก เก่งจริงๆ”   แล้วเธอก็หยิบรถเข็นล้อเดียวออกมาคันหนึ่ง และถามผู้ชมว่าเชื่อไหมว่าเธอสามารถเข็นรถเดินกลับไปอีกฟากหนึ่งได้  บางคนพยักหน้าแสดงการยอมรับ  ส่วนคนอื่นๆก็ส่ายหน้าด้วยความไม่แน่ใจ   ในเวลานั้นเองเธอมองตรงไปยังชายคนหนึ่งและร้องถามว่า “คุณคิดว่าฉันทำได้ไหม?”  เขาตอบรับว่าเธอทำได้และยิ้มให้  เธอจึงท้าเขาว่า “งั้นพิสูจน์ความเชื่อของคุณที่มีต่อฉัน โดยขึ้นมานั่งบนรถเข็นคันนี้สิ”

    การบุกเข้าโจมตีฝ่ายตรงข้ามในสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้พบเรื่องแปลกๆมากมายและบ่อยครั้งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ   กองกำลังทหารค้นตามไร่นาและบ้านเรือนต่าง ๆ  เพื่อหาเหล่ามือปืนที่ดักยิง ณ บ้านร้างแห่งหนึ่ง  พวกเขาส่องไฟฉายและเข้าไปในห้องใต้ดิน  บนผนังที่ผุพังนั้นเอง พวกเขาเห็นไม้กางเขนอันหนึ่งแขวนอยู่ และที่ใต้กางเขนนั้นมีการเขียนข้อความไว้ว่า :
    ข้าพเจ้าเชื่อในพระอาทิตย์    - แม้ในเวลาที่มันมิได้ส่องแสง
    ข้าพเจ้าเชื่อในความรัก      -  แม้ในเวลาที่ยังไม่มีการแสดงออก
    ข้าพเจ้าเชื่อในพระเยซู       - แม้ในเวลาที่พระองค์มิได้พูดด้วย
    ลูกอ๊อดสองตัวกำลังถกกันเรื่องความเป็นไปได้ที่จะมีโลกอื่น นอกเหนือจากโลกที่ตนอยู่   ลูกอ๊อดน้อยตัวหนึ่งบอกอีกตัวหนึ่งว่า  “ฉันคิดว่าจะโผล่หัวขึ้นเหนือน้ำเพื่อดูว่าส่วนที่เหลือของโลกเป็นอย่างไร” ลูกอ๊อดอีกตัวหนึ่งกล่าวว่า “อย่าโง่ไปเลย อย่าพยายามบอกฉันว่ายังมีสิ่งอื่นในโลกนอกจากน้ำ”
    เช่นเดียวกับมนุษย์เรา ลูกอ๊อดบางตัวไม่เคยคิดเลยว่าตนจะสามารถกลายเป็นกบ  แม้ในเวลาที่ได้ขึ้นจากสระน้ำอันเป็นโลกของพวกมันแล้ว   มนุษย์บางคนก็เชื่อว่าไม่มีสิ่งใดอื่นนอกจากสิ่งที่สามัญสำนึกบอกพวกเขา  แต่ทว่าพวกเขาน่าจะมีอะไรมากกว่านั้น ถ้าพวกเขามีความเชื่อ

ความเชื่อของบรรดาพ่อแม่เรายังคงดำเนินต่อไป
    ในการเปิดเผย(ความจริง) พระเป็นเจ้าทรงแสดงให้เรารู้ว่าพระองค์ทรงเอาพระทัยใส่เรา  และทรงเชื้อเชิญเราให้มาใกล้ชิดกับพระองค์และพระหรรษทานของพระองค์ ซึ่งจะช่วยให้เรารอดพ้นจากความชั่วร้ายและความผิด
    การตอบรับคำเชิญของการเปิดเผย(ความจริง) คือ ความเชื่อ
    เราถวายความคิดและจิตใจของเราแด่พระเป็นเจ้าโดยอาศัยความเชื่อ  นักบุญเปาโลกล่าวถึงการกระทำดังนี้ว่าเป็นดั่งการเชื่อฟังความเชื่อ(the obedience of faith) (รม 1:5, 16:26) คำว่าการเชื่อฟัง (obedience) มาจากคำภาษาลาตินคือ ob-audire  หมายถึงการฟัง   ความเชื่อเปิดจิตใจของเราให้ฟังถ้อยคำที่เปี่ยมด้วยความรักของพระเป็นเจ้าซึ่งบอกเราให้รู้ถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และชะตานิรันดรของเรา  เราจึงต้องเป็นทั้งผู้ฟังพระวาจาและผู้ปฏิบัติตามพระวาจา
    พระคัมภีร์บอกเราว่า อับราฮัม คือ บิดาแห่งความเชื่อของเรา  เพราะท่านเชื่อฟังพระดำรัสของพระเป็นเจ้าที่ต้องการให้ท่านออกจากแผ่นดินเกิดของตน และกลายเป็นบิดาของชนชาติใหม่ในอีกดินแดนหนึ่งซึ่งพระเป็นเจ้าจะทรงแสดงให้ท่านรู้ (ปฐก 12:1-4)  อ่านจดหมายถึงชาวฮีบรูบทที่ 7 ซึ่งยกย่องประชากรศักดิ์สิทธิ์ในพันธสัญญาเดิมจำนวนหนึ่งผู้ซึ่งเป็นแบบอย่างในเรื่องความเชื่อ
    พระนางพรหมจารีมารีย์ทรงเป็นผู้แสดงการเชื่อฟังความเชื่อได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด  เมื่อพระนางเสด็จไปเยี่ยมนางเอลีซาเบธญาติของพระนางนั้น  พระนางทรงได้ยินนางเอลีซาเบธกล่าวว่า “เธอเป็นสุขที่เชื่อว่า พระวาจาที่พระเป็นเจ้าตรัสแก่เธอไว้จะเป็นจริง” (ลก 1:45)   ตั้งแต่คำตอบรับ “ตกลง” ของพระนาง เมื่อเทวทูตมาแจ้งสารของพระเป็นเจ้าจนถึงการยอมรับอย่างสงบของพระนาง ณ เชิงไม้กางเขน  ความเชื่อของพระนางมารีย์ไม่เคยหวั่นไหว  พระนางมารีย์ทรงเป็นพยานถึงพระประสงค์ของพระเป็นเจ้าได้อย่างน่าพิศวง นี่คือเหตุผลที่พระศาสนจักรเคารพพระแม่มารีย์ในฐานะที่เป็นแบบอย่างที่บริสุทธิ์ที่สุดในเรื่องความเชื่อ

อะไรคือลักษณะเฉพาะของความเชื่อคริสตชน?

  • ความเชื่อเป็นเรื่องส่วนตัว ความเชื่อทำให้ข้าพเจ้ากล่าวกับพระเป็นเจ้าว่า “ข้าพเจ้าเชื่อในพระองค์ ข้าพเจ้าวางใจในพระองค์ด้วยสิ้นสุดจิตใจ และมอบความคิด, จิตใจ, วิญญาณและร่างกายของข้าพเจ้าไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์” ความเชื่อดังกล่าวนี้รวมถึงความเชื่อในพระเยซูคริสต์ และพระจิตด้วย
  • ความเชื่อเป็นเรื่องส่วนรวม ข้าพเจ้ามิได้เชื่อทุกสิ่งโดยตัวข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้าเป็นส่วนของพระศาสนจักรอันเป็นชุมชนหนึ่งของผู้มีความเชื่อทั้งหลาย   ข้าพเจ้าเข้าร่วมกับพวกเขาในการกล่าวว่า “เราเชื่อในพระบิดา พระบุตร และพระจิต”  โดยนัยหนึ่งพระศาสนจักรก็คือกลุ่มคนที่สนับสนุนความเชื่อของข้าพเจ้า  ดังนั้น ความเชื่อของเราจึงเป็นแบบพระศาสนจักร   คงจะเป็นการยากหรือบางทีอาจจะไม่มีทางเป็นไปได้ที่ข้าพเจ้าจะมีความเชื่อในพระคริสต์  ถ้าไม่มีคนรอบข้างสักคนเป็นผู้มีความเชื่อ   ครอบครัว, วัด, สังฆมณฑลและพระศาสนจักรสากลต่างก็ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่ข้าพเจ้าโดยทางความเชื่อของแต่ละหน่วยสังคม
  • ความเชื่อเป็นความสามารถประการหนึ่งที่พระเป็นเจ้าประทานแก่มนุษย์   เมื่อนักบุญเปโตรยืนยันว่าพระเยซูเจ้า คือพระบุตรของพระเป็นเจ้าผู้ทรงชีวิตนั้น  พระเยซูเจ้าทรงสรรเสริญพระเป็นเจ้าที่ประทานความสามารถที่จะเชื่อนี้แก่นักบุญเปโตร   นักบุญเปโตรไม่รู้เรื่องที่พระเยซูเจ้าเป็นพระบุตรของพระเป็นเจ้าจากวิจารณญาณของตนหรือจากบุคคลในครอบครัวของพระองค์   แต่โดยอาศัยความสามารถอันยิ่งใหญ่จากพระหรรษทานของพระบิดา  ความเชื่อของเราจึงเป็นดั่งความสามารถประการหนึ่งและพระหรรษทานอย่างหนึ่งที่พระเป็นเจ้าประทานแก่มนุษย์
  • ความเชื่อเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของมนุษย์  พระจิตทรงทำให้มีความเชื่อได้  แต่เราต้องใช้สติปัญญา และความสามารถของเราด้วยเพื่อที่จะมีความไว้วางใจ  พระหรรษทานพึ่งพาความสามารถตามธรรมชาติของมนุษย์เพื่อจะได้รู้และไว้วางใจในอิสรภาพพร้อมทั้งยกระดับความสามารถเหล่านี้ขึ้นสู่ระดับเหนือธรรมชาติ
  • ความเชื่อแสวงหาความเข้าใจ  ขณะที่ความเฉลียวฉลาดของเราเองนั้น ไม่สามารถทำให้เรารู้ความจริงเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่มาจากการเปิดเผย(ความจริง)ได้ เช่น พระตรีเอกภาพ(Trinity)  แผนการช่วยให้รอดพ้น(the plan of salvation) หรือสถานภาพพระเจ้าของพระคริสต์(the divinity of Christ)   แต่สติปัญญาของเราสามารถถูกโน้มน้าวให้เชื่อได้โดยเรื่องอัศจรรย์ต่าง ๆ ของพระคริสตเจ้าและนักบุญทั้งหลาย, คำสั่งสอนของบรรดาประกาศก รวมทั้งการเจริญเติบโตและความศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักร   ยิ่งกว่านั้น สติปัญญาของเรายังสามารถตรวจสอบความจริงต่างๆจากการเปิดเผย(ความจริง)  เพื่อจะเข้าใจสิ่งต่างๆนั้นได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น และนำเอาความจริงเหล่านั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย  นักบุญออกัสตินกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเชื่อเพื่อจะเข้าใจ และข้าพเจ้าเข้าใจเพื่อจะเชื่อ” (Sermo 43,7,9)
  • ความเชื่อเป็นสิ่งที่แน่นอน สิ่งที่เรารู้โดยทางความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่แน่นอนกว่าสิ่งที่เรารู้ด้วยวิจารณญาณ  เพราะเรามีอำนาจของพระเป็นเจ้ารับรองความรู้นั้น  ในบางครั้งความเชื่ออาจดูเป็นสิ่งยากแก่การเข้าใจด้วยสติปัญญาของเรา  แต่ความแน่ใจที่เกิดขึ้นจากแสงสว่างของพระเป็นเจ้า(the divine light)2นั้นยิ่งใหญ่กว่าความแน่ใจที่เกิดจากสติปัญญาของเรา   นักบุญอังเซล์ม กล่าวว่า “ความยุ่งยากร้อยแปดพันประการ ก็ไม่ทำให้เกิดความสงสัยแม้เพียงประการเดียว”
  • ความเชื่อเป็นเพื่อนของวิจารณญาณ   ความเชื่อกับวิจารณญาณไม่สามารถจะขัดแย้งกันได้  ในเวลาที่ทั้งสองต้องกล่าวถึงความจริง   ความจริงของพระเป็นเจ้านั้นไม่ขัดแย้งกับความจริงของมนุษย์  เนื่องจากพระเป็นเจ้าทรงเป็นผู้ประพันธ์ความจริง ในทุกๆที่ที่มีความจริงปรากฏ   การค้นคว้าอย่างมีระเบียบในการหาความรู้ทุกสาขานั้น  หากกระทำด้วยความสุจริตและไม่ขัดกับกฎศีลธรรมแล้ว  ย่อมจะไม่ขัดแย้งกับความเชื่อ
  • ความเชื่อเป็นอิสระ  ไม่ควรมีผู้ใดถูกบังคับให้มามีความเชื่อที่เขาไม่สมัครใจเชื่อ  เพราะการแสดงความเชื่อนั้นโดยธรรมชาติแล้วเป็นการแสดงออกที่อิสระ   เราแนะนำความเชื่อให้กับผู้อื่นได้ แต่เราไม่ควรยัดเยียดความเชื่อให้เขา  เราเสนอทางเลือกหนึ่งคือพระเยซูคริสตเจ้า, ทางเลือกหนึ่งคือความรักให้กับมวลมนุษย์   เราพยายามให้เหตุผลว่าทำไมควรจะเลือกพระคริสตเจ้าโดยใช้ความรัก, กำลังความสามารถทั้งหมดและการโน้มน้าวใจที่เราสามารถทำได้  แต่เราต้องไม่ยัดเยียดพระเยซูเจ้าให้กับผู้อื่น
  • ความเชื่อเป็นความเชื่อถือในข่าวสารหนึ่ง   ส่วนใหญ่ของสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้นอ้างถึงความเชื่อในลักษณะที่เป็นความสัมพันธ์แบบส่วนตัว, ส่วนรวมและการไว้ใจ   ความเชื่อของเรานั้นริเริ่มความสัมพันธ์ของเรากับพระตรีเอกภาพ –นั่นคือกับพระเยซูเจ้าด้วย   พระคริสตเจ้าได้ตรัสไว้แล้วว่าเราควรเชื่อในพระองค์  แต่พระองค์ยังตรัสอีกว่าเราควรเชื่อในสิ่งที่พระองค์ทรงสอนด้วย  พระองค์ตรัสว่า “เราคือความจริง”  และยังทรงสอนว่า “เรามีความจริง” บทข้าพเจ้าเชื่อของบรรดาอัครสาวกเป็นตัวอย่างสาระสำคัญหนึ่งที่อยู่ในข่าวสารถึงคริสตชน  ทั้งยังเป็นบทข้าพเจ้าเชื่อที่เกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่สอง และได้ถูกนำมาใช้ในพิธีศีลล้างบาป   บทข้าพเจ้าเชื่อแห่งนิเชนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่สี่ อันเป็นผลมาจากสภาสังคายนาสากลสองครั้งแรก (คือสภาสังคายสากลครั้งแรกที่นิเช และครั้งที่สองที่คอนสแตนติโนเปิล) ที่ทำให้คำสอนของพระศาสนจักร เรื่อง ความเป็นมนุษย์และสถานภาพพระเจ้าของพระเยซูเจ้า, สถานภาพพระเจ้าของพระจิตและความสัมพันธ์ระหว่างพระบิดากับพระบุตรและพระจิตในพระตรีเอกภาพมีความกระจ่างขึ้น   หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก เป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมของข่าวสารที่มีค่าและน่าพึงพอใจซึ่งความเชื่อของเรายึดถือ
  • ความเชื่อได้ประสบกับชีวิตนิรันดรในช่วงเวลาสั้นๆ   นักบุญบาซิลสอนเราให้พิจารณาว่า ความสุขที่เกิดจากความเชื่อในปัจจุบันนั้น เหมือนดั่งการมีประสบการณ์ชีวิตนิรันดรเป็นครั้งแรก   แน่นอนทีเดียวที่ปัญหาต่าง ๆอันเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินชีวิตปัจจุบันของเราทำให้เรามีความชื่นชมในความรุ่งโรจน์ของชีวิตหน้าได้ยาก   ด้วยเหตุนี้เราจึงควรได้รับแรงบันดาลใจจากบรรดาพยานเรื่องความเชื่อ เช่น อับราฮัม ผู้เดินไปในทางของพระเป็นเจ้าด้วยความหวังอันเต็มไปด้วยพลังความเชื่อที่ให้ความสุขอย่างไม่เคยมีมาก่อน  และพระแม่มารีอาผู้ทรงเดินทางไปในยามค่ำคืนแห่งความเชื่อ   บรรดานักบุญก็เป็นกลุ่มพยานผู้ซึ่งยืนยันกับเราว่าการอุทิศตนทำตามความเชื่อของเรานั้นไม่เปล่าประโยชน์  แต่เป็นการประกันของพระเป็นเจ้าถึงสิ่งที่เราหวังจะได้รับ และเป็นความมั่นใจในความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่เรามองไม่เห็น


การไตร่ตรองจากหนังสือคำสอน
1.    ความเชื่อคริสตชนคืออะไร?
“ความเชื่อ คือ ความยึดมั่นเป็นส่วนตัวของมนุษย์ทั้งตัวตนต่อพระเป็นเจ้าผู้เปิดเผยพระองค์เอง  เป็นการยอมรับการเปิดเผยซึ่งพระเป็นเจ้าได้ทรงกระทำเองโดยกิจการและพระวาจาของพระองค์ ด้วยสติปัญญาและเจตจำนงของบุคคลคนหนึ่ง” (CCC 176) “ความเชื่อเป็นของประทานแบบเหนือธรรมชาติจากพระเป็นเจ้า  มนุษย์จึงต้องการความอนุเคราะห์ช่วยเหลือภายในจากพระจิต เพื่อเขาจะได้เชื่อ” (CCC 179)
2.    ความเชื่อเป็นการกระทำของมนุษย์ และของพระศาสนจักรอย่างไร?
“การเชื่อ” เป็นการกระทำของมนุษย์อย่างมีสติและอิสระ เหมาะสมกับความมีเกียรติของบุคคลผู้เป็นมนุษย์   “การเชื่อ” เป็นกิจการของพระศาสนจักร   ความเชื่อของพระศาสนจักรมาก่อน, ก่อให้เกิด, สนับสนุนและบำรุงเลี้ยงความเชื่อของเรา” (CCC 180 -181)  “ความเชื่อเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความรอดพ้น” (CCC 183)
3.    เราจะพากเพียรในความเชื่อได้อย่างไร?
“เราจะต้องบำรุงเลี้ยงความเชื่อด้วยพระวาจาของพระเป็นเจ้า เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่, เจริญเติบโต และพากเพียรในความเชื่อได้จนถึงที่สุด  เราจะต้องวิงวอนขอองค์พระผู้เป็นเจ้าให้ช่วยเพิ่มพูนความเชื่อของเรา(เทียบ มก 9:24; ลก 17:5; 22:32)   ความเชื่อจักต้อง ‘เป็นการกระทำโดยอาศัยความรัก’ , มีความหวังอย่างเต็มเปี่ยม, และมีรากฝังอยู่ในความเชื่อของพระศาสนจักร(กท 5:6; รม 15:13; อ้างถึง Jas 2:114-26)” (CCC 162)

ที่มา : หนังสือคำสอนครอบครัว บทที่ 3

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพุธ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:35-40) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “เราเป็นปังแห่งชีวิต ผู้ที่มาหาเราจะไม่หิว และผู้ที่เชื่อในเราจะไม่กระหายอีกเลย เราบอกท่านทั้งหลายแล้วว่า ท่านเห็นเราแล้ว แต่ไม่เชื่อ...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:30-35) เวลานั้น ประชาชนจึงทูลถามพระเยซูเจ้าว่า “ท่านทำเครื่องหมายอัศจรรย์ใดเพื่อพวกเราจะได้เห็น และจะได้เชื่อในท่าน ท่านทำอะไร บรรพบุรุษของเราได้กินมานนาในถิ่นทุรกันดาร ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า พระองค์ประทานขนมปังจากสวรรค์ให้เขากิน”...
วันจันทร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:22-29) เวลานั้น ประชาชนที่ยังอยู่บนฝั่งตรงข้าม สังเกตเห็นว่า มีเรืออยู่ที่นั่นเพียงลำเดียว และจำได้ว่าพระเยซูเจ้ามิได้เสด็จลงเรือไปกับบรรดาศิษย์ บรรดาศิษย์ไปกันตามลำพังเท่านั้น แต่เรือลำอื่นจากเมืองทิเบเรียสมายังสถานที่ที่พวกเขาได้กินขนมปัง เมื่อประชาชนเห็นว่าทั้งพระเยซูเจ้า...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...
215. ใครเป็นหัวหน้าของพิธีมิสซาขอบพระคุณ ตามความเป็นจริงองค์พระคริสตเจ้าเองทรงปฏิบัติการในทุกพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ พระสังฆราช หรือพระสงฆ์ พูดแทนพระองค์ (1348) เป็นความเชื่อของพระศาสนจักร ว่าผู้ประกอบพิธีที่ยืนอยู่บนพระแท่นปฏิบัติหน้าที่ in persona Christi...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
74
8378
19218
131736
306218
35875458
Your IP: 18.118.145.114
2024-04-17 00:08

สถานะการเยี่ยมชม

มี 272 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์