แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

สรุปพระพระสมณสาส์น “ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า” (Encyclical Laudato si')
นครรัฐวาติกัน 18 มิถุนายน 2015 (VIS)


ภาพรวมต่อไปนี้มาจากพระสมณสาส์น“ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า” (Encyclical Laudato si') จำนวน 191 หน้าและประเด็นสำคัญ,พร้อมกับสรุปความจาก 6 บท
 ("สิ่งที่เกิดขึ้นกับบ้านรวมของเรา","พระวรสารเกี่ยวกับการเนรมิตสร้าง",“รากเหง้าของมนุษย์เกี่ยวกับวิกฤตด้านระบบนิเวศ, “ระบบนิเวศที่ดี”, “แนวทางความเข้าใจและแนวทางการปฏิบัติ”,และ “การศึกษาระบบนิเวศและชีวิตจิตวิญญาณ”).พระสมณสาส์นสรุปด้วยคำภาวนาด้านศาสนสัมพันธ์เพื่อโลกของเราและคำภาวนาเพื่อการเนรมิตสร้าง
           "เราต้องการให้โลกเป็นอย่างไร เพื่อมอบแก่ผู้ที่มาภายหลังเรา, แก่ลูกหลาน ที่บัดนี้ กำลังเติบโตขึ้น” (160).
 คำถามนี้มีความสำคัญที่สุดในพระสมณสาส์น “ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า”,พระสมณสาส์นที่สมเด็จพระสันตะปาปาทรงประพันธ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับการใส่ใจบ้านรวม
 “ปัญหานี้ไม่ใช่ทำอะไรกับระบบนิเวศเพียงอย่างเดียวและแก้ปัญหาได้; เพราะเรื่องนี้ไม่อาจพิจารณาแบบแยกส่วนได้”.
เรื่องนี้ทำให้เราถามตัวเองเกี่ยวกับความหมายของการมีอยู่และคุณค่าของพื้นฐานชีวิตสังคมว่า “จุดประสงค์ของชีวิตของเราในโลกนี้เป็นเช่นไร”
-อะไรคือเป้าหมายของการทำงานและความพยายามทั้งหมดของเรา
-โลกต้องการอะไรจากเรา
ถ้าเราไม่ต่อสู้กับเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งขึ้น

สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสว่า   “พ่อเชื่อว่า ความห่วงใยต่อระบบนิเวศจะเกิดผลที่สำคัญ”-พระสมณสาส์นตั้งชื่อพระสมณสาส์นจากคำอ้อนวอนของนักบุญฟรานซิส แห่งอัสซีซีที่ว่า “ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า” ในบทเพลงแห่งสิ่งสร้าง. เตือนเราว่า โลกซึ่งเป็นบ้านของเรา “เป็นเหมือนพี่สาวที่เราร่วมชีวิตของเราและมารดาที่สวยงามที่อ้าแขนโอบกอดเราไว้”.เราลืมว่า “เราเองเป็นฝุ่นธุลีของโลก” ยิ่งร่างกายของเราทำมาจากองค์ประกอบของโลก,เราก็ยิ่งหายใจอากาศของโลก และรับชีวิตและความสดชื่นจากสายน้ำของโลก”
บัดนี้ โลกนี้ถูกทำลายและถูกละเมิด,มันกำลังคร่ำครวญ,เสียงครางร่วมกับเสียงบ่นพร่ำร่วมกับสิ่งสร้างของโลกทั้งหมดที่ถูกทิ้งขว้าง สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเชื้อเชิญเราให้ฟังสิ่งเหล่านั้น, ทรงวอนขอเราแต่ละคน-ทีละคน,ครอบครัว,ชุมชน,ชาติต่างๆและประชาคมนานาชาติ – ให้“กลับใจเรื่องระบบนิเวศ” ตามพระดำรัสของพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2.
เราได้รับเชิญให้  “เปลี่ยนทิศทาง” ด้วยการสร้างความงดงามและความรับผิดชอบของงาน “ใส่ใจบ้านรวมของเรา” ในเวลาเดียวกัน พระองค์ทรงยอมรับว่า “มีความรู้สึกรับผิดชอบและความต้องการปกป้องธรรมชาติ,พร้อมกับห่วงใยมากขึ้น,ทั้งผิดหวัง เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับโลกของเรา”
เราจะพบรังสีแห่งความหวังทั่วพระสมณสาส์น,ซึ่งให้สารที่กระจ่างชัดของความหวัง, “มนุษยชาติยังสามารถทำงานร่วมกันในการสร้างบ้านรวม”.
 “มนุษย์ชายหญิงยังสามารถแทรกแซงเชิงบวก”  “ทุกสิ่งไม่สูญหาย,เราสามารถอยู่เหนือพวกมันเอง,คือเลือกว่าสิ่งใดถูกต้อง,และเริ่มต้นใหม่”.
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสตรัสกับสัตบุรุษคาทอลิก เช่นเดียวกับสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ว่า “คริสตชนมีหน้าที่ต่อธรรมชาติและพระผู้เนรมิตสร้าง,ซึ่งจำเป็นสำหรับความเชื่อของพวกเขา”.
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเสนอ “ให้มีการเสวนากับทุกคนเกี่ยวกับบ้านรวม”.
 มีการเขียนเกี่ยวกับการเสวนามากและในบทที่ 5 เป็นเครื่องมือสำหรับพูดอภิปรายและการแก้ปัญหา. ตั้งแต่เริ่มต้น พระองค์ทรงเตือน “คริสตจักรอื่นๆและประชาคมคริสต์” – และศาสนาอื่นๆด้วย-ทรงแสดงความห่วงใย และเสนอข้อไตร่ตรองที่มีคุณค่า” เกี่ยวกับหัวข้อระบบนิเวศ. แท้จริง มีการจัดทำหนังสือมาแล้ว,ปลุกเร้าด้วยการนำเสนอ “ท่านอัยกาบาร์โธโลมิวแห่งศาสนจักรสัมพันธ์”, ที่พูดขยายความถึงข้อ.8-9
        ในหลายโอกาส, สมเด็จพระสันตะปาปาขอบพระทัยผู้มีความสามารถที่มีความพยายามในเรื่องนี้ – ไม่ว่าจะเป็นปัจเจกบุคคลและสมาคม สถาบัน. พระองค์ทรงทราบว่า “การไตร่ตรองของนักวิทยาศาสตร์  นักปรัชญา นักเทววิทยาและพลเรือนทั้งหมด (...) สร้างความรู้เกี่ยวกับปัญหานี้แก่พระศาสนจักรมาก” พระองค์ทรงเชื้อเชิญทุกคนให้รับรู้ “การมีส่วนร่วมอย่างมากซึ่งศาสนาต่างๆ สร้างระบบนิเวศเชิงบูรณาการและพัฒนาอย่างเต็มที่ของมนุษยชาติ”.
            มีการกล่าวอย่างละเอียดในข้อ 15 และแบ่งเป็น 6 บท. เริ่มด้วยการนำเสนองานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน,แล้วทบทวนพระคัมภีร์และธรรมประเพณียิว-คริสต์. รากเหง้าปัญหาในเทคโนโลยีธิปไตยและในการวิเคราะห์ความคิดที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง.
             พระสมณสาส์นนำเสนอ “ระบบนิเวศเชิงบูรณาการ ซึ่งเคารพมิติต่างๆของมนุษย์และสังคมอย่างชัดเจน” ที่ไม่ได้ เชื่อมโยงกับปัญหาระบบนิเวศ. ในมุมมองนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเริ่มเสนอการเสวนาที่ซื่อสัตย์ในทุกระดับของชีวิตการเมือง,เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งสร้างกระบวนการของการตัดสินใจที่โปร่งใส,และทรงเตือนว่า ไม่มีโครงการใดที่มีประสิทธิภาพ ถ้าขาดมโนธรรมที่รับผิดชอบและมีรูปแบบของการกระตุ้น. นำความคิดไปช่วยให้แนวทางนี้เติบโตในระดับเทววิทยา  พระศาสนจักร จิตวิญญาณ การศึกษาและการเมือง.
          สรุปพระสมณสาส์นด้วยบทภาวนา 2 บท บทแรกเพื่อทุกคนที่มีความเชื่อศรัทธาใน “พระผู้สร้าง ผู้ทรงสรรพานุภาพ” และอีกบทหนึ่งเพื่อผู้ที่ยืนยันความเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า,พร้อมกับร้องขึ้นว่า “ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า” ซึ่งเป็นข้อความที่เริ่มและสรุปพระสมณสาส์น
              หัวข้อหลักในพระสมณสาส์นกล่าวจากหลายมุมมองที่ต่างไป,การพิจารณาและรวบรวมพระสมณสาส์นเป็นหนึ่งเดียวกัน: ความสนิทสัมพันธ์ระหว่างคนยากจนกับความเปราะบางของโลก,เชื่อมั่นว่า ทุกสิ่งในโลกเชื่อมโยงกัน,การวิจารณ์กระบวนทัศน์และรูปแบบต่างๆของอำนาจใหม่ทมาจากเทคโนโลยี,เสียงเรียกร้องให้แสวงหาวิธีอื่นที่จะเข้าใจเศรษฐกิจและความก้าวหน้า,คุณค่าที่ถูกต้องกับแต่ละสิ่งสร้าง,ความหมายของมนุษย์เกี่ยวกับระบบนิเวศ,ความต้องการการโต้เถียงที่ซื่อสัตย์และเปิดเผย,ความรับผิดชอบอย่างมากเกี่ยวกับนโยบายระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ,วัฒนธรรมทิ้งขว้างสิ่งต่างๆและการนำเสนอวิถีชีวิตใหม่
บทที่ 1 – อะไรเกิดขึ้นกับบ้านของเรา (มลพิษและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ:มลพิษ  การปฏิเสธและวัฒนธรรมการทิ้งขว้าง; สภาพอากาศเป็นของส่วนรวม; เรื่องน้ำ   สัตว์และพืชหลากชนิดจำนวนมากสูญพันธุ์
       มีการตอบสนองต่อแนวโน้มเรื่องคุณลักษณะของชีวิตมนุษย์และการล่มสลายของสังคม การขาดสมดุลของโลกที่อ่อนแรง.
          บทนี้นำเสนอการค้นพบล่าสุดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมว่าเป็นวิธีฟังคำคร่ำครวญของสิ่งสร้าง “เพื่อตระหนักด้วยความเจ็บปวด, เมื่อกล้าที่จะหันไปหาสิ่งที่เกิดขึ้นต่อโลก ให้เป็นความทุกข์ส่วนตัว และดังนี้ เพื่อค้นหาสิ่งที่เราแต่ละคนสามารถทำเกี่ยวกับโลก”. ดังนี้ จึงเป็น “หลายมุมมองของวิกฤตด้านระบบนิเวศ
        มลพิษและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง “สภาพอากาศคือปัญหาที่ร้ายแรงของโลก  ไม่ว่าด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสำหรับการจัดสรรทรัพย์ส่วนรวม   คือหนึ่งในความท้าทายหลักที่เผชิญหน้ากับมนุษยชาติในสมัยของเรา”. ถ้า “สภาพอากาศเป็นทรัพย์ส่วนรวม,เป็นของทุกคนและมีความหมายสำหรับทุกคน” เป็นผลกระทบต่อคนที่ยากจนที่สุด ขณะที่ “หลายคนครอบครองแหล่งทรัพยากรและมีอำนาจทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ  ดูเหมือนรู้สึกกังวลกับการแก้ปัญหาอย่างหยิบโหย่งหรือซ่อนลักษณะเชิงซ้อนต่างๆไว้”. “การไม่ตอบสนองต่อโศกนาฏกรรมที่เกิดกับพี่น้อง เหลานี้เป็นประเด็นของการสูญเสียความสำนึกรับผิดชอบต่อเพื่อนมนุษย์ที่มีต่อการวางรากฐานสังคมพลเมืองทั้งหมด”
เรื่องน้ำ: สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสอย่างชัดเจนว่า “การเข้าถึงน้ำดื่มเป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐานระดับสากล,เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเอาชีวิตรอด  เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงเป็นสภาพการใช้สิทธิมนุษย์อื่นๆด้วย”. เมื่อตัดสิทธิของคนยากจนที่จะเข้าถึงน้ำ  ก็หมายถึงการปฏิเสธ “สิทธิที่จะให้ชีวิตที่ประกอบด้วยศักดิ์ศรีที่ไม่แปลกแยก”.
       การสูญพันธุ์ของสัตว์และพืชหลากชนิดจำนวนมาก:
  “แต่ละปี พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์หลายพันชนิดสูญพันธุ์  ซึ่งบางพันธุ์เราไม่เคยรู้จัก,เด็กๆไม่เคยเห็น เพราะมันจะสูญพันธุ์ตลอดไป” ความจริง มันไม่เพียงเป็น “ทรัพยากร” ที่ต้องถูกทำลาย,แต่มันมีคุณค่าในตัวมันเองด้วย.
         ในมุมมองนี้ “เราสำนึกในบุญคุณของผู้ที่มีความพยายาม ควรแก่การยกย่อง ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักวิศวกร ที่อุทิศตนเพื่อหาทางแก้ปัญหาที่มนุษย์ก่อขึ้น”, เมื่อการแทรกแซงของมนุษย์ คือรับผิดชอบเรื่องการเงินและแนวคิดบริโภคนิยม, “เป็นการสร้างโลกที่มั่งคั่งของเรา ให้งดงามน้อยลง,ด้วยข้อจำกัดและทำให้เป็นสีเทา”.
            การปฏิเสธเรื่องคุณลักษณะของชีวิตมนุษย์และความล่มสลายของสังคม: ในกรอบงานของจริยธรรมในเรื่องความสัมพันธ์นานาชาติ,พระสมณสาส์นชี้ถึงวิธี “หนี้ทางระบบนิเวศ”มีอยู่ในโลก,ด้วยประเทศในซีกโลกเหนือเป็นหนี้ต่อประเทศในซีกโลกใต้. ในการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ,มี “ความรับผิดชอบที่ต่างกัน”,และประเทศพัฒนาแล้วต้องมีความรับผิดชอบมากกว่า.
                    สมเด็จพระสันตะปาปาทรงตระหนักถึงความแตกต่างที่ลึกซึ้งของเรื่องเหล่านี้ พระองค์ทรงแสดงผลกระทบจาก “การตอบสนองที่อ่อนแรง” อย่างมาก เมื่อเผชิญหน้ากับโศกนาฏกรรมของหลายประเทศและประชากรมากมาย, แม้ว่า ยังมีแบบอย่างดีๆ,ที่ทำให้ “อิ่มอกอิ่มใจ”ก็ตาม.
               เราขาดวัฒนธรรม  ความเต็มใจที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิต,การผลิตและการบริโภค,ขณะที่มีความพยายาม “ที่จะสถาปนากรอบงานตามกฎหมาย ซึ่งสามารถทำให้ขอบข่ายกระจ่างชัด และมั่นใจที่จะมีการปกป้องระบบนิเวศ”.
บทที่ 2 – พระวรสารแห่งการเนรมิตสร้าง (ความเชื่อเอื้อต่อแสงสว่าง; ปรีชาญาณแห่งเอกสารด้านพระคัมภีร์   ธรรมล้ำลึกแห่งจักรวาล   สาระความรู้เกี่ยวกับสิ่งสร้างในความกลมกลืนของสิ่งสร้าง    ความเป็นหนึ่งเดียวกันของจักรวาล    จุดหมายร่วมกันของทรัพย์สิน   การมองดูพระเยซูเจ้า)
               การเผชิญหน้ากับปัญหาที่กล่าวในบทที่แล้ว,สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเลือกเอกสารจากพระคัมภีร์,เพื่อเสนอความคิดรวบยอดที่มาจากธรรมเนียมยิว-คริสต์. พร้อมกับเรื่องนี้ พระองค์ทรงเชื่อมโยงกับ “ความรับผิดชอบมหาศาล” ของมนุษยชาติต่อสิ่งสร้าง,ความเชื่อมโยงที่ใกล้ชิดระหว่างสิ่งสร้างทั้งหมดกับข้อเท็จจริงที่ว่า “สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติคือทรัพย์สินส่วนรวม,เป็นมรดกของมนุษยชาติทั้งหมด จึงเป็นความรับผิดชอบของทุกคน”.
              ในพระคัมภีร์ “พระเจ้าที่ทรงปลดปล่อยและทรงช่วยให้รอด เป็นพระเจ้าองค์เดียวกัน ที่ทรงเนรมิตสร้างจักรวาล,และวิธีกระทำเหล่านี้ของพระเจ้า เป็นการเชื่อมโยงอย่างสนิทและไม่อาจแยกกันได้”.
            การเนรมิตสร้างมีความสำคัญสำหรับการไตร่ตรองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งสร้างอื่น และวิธีที่บาปทำให้การสร้างทั้งหมดเสียสมดุลไป “เอกสารเหล่านี้แนะนำว่า ชีวิตมนุษย์อยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ 3 แบบที่เกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิดคือ ระหว่างพระเจ้า กับผู้อื่นและกับโลกเอง. ตามพระคัมภีร์ ความสัมพันธ์ที่มีชีวิตชีวาทั้ง 3 เหล่านี้แตกร้าวหมด ทั้งภายนอกและภายในเรา การแตกแยกนี้คือบาป”.
            สำหรับเรื่องนี้,แม้ “หลายครั้ง เราคริสตชนตีความข้อพระคัมภีร์อย่างไม่ถูกต้อง,บัดนี้ เราต้องทิ้งความคิดเห็นนี้อย่างจริงจัง ความเป็นตัวตนของเราที่ได้รับการสร้างตามภาพลักษณ์ของพระเจ้าและปกครองโลก   มีอำนาจตัดสินสูงสุดเหนือสิ่งสร้างอื่น”. มนุษย์มีความรับผิดชอบที่จะ “เพาะปลูกและดูแล” สวนของโลก” โดยรู้ “จุดประสงค์สูงสุดของสิ่งสร้าง. ยิ่งกว่านั้น สิ่งสร้างทั้งหมดกำลังรุดหน้าไปเบื้องหน้า,พร้อมกับเราและอาศัยเรา,สู่พระเจ้าซึ่งทรงเป็นประเด็นร่วมของการมาถึงของมนุษย์”.
                  มนุษย์ไม่ใช่นายของจักรวาล “ไม่มีความสำคัญที่จะนำสิ่งมีชีวิตทั้งหมดให้อยู่ในระดับเดียวกันและทำลายมนุษย์มีคุณค่าที่เป็นเอกลักษณ์และความรับผิดชอบมากมายที่ส่งผลที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. ไม่ได้ทำให้โลกมีลักษณะสูงส่งของ ซึ่งจะป้องกันเราจากการทำงานเรื่องนี้ และปกป้องโลกที่มีความเปราะบาง”.
        ในมุมมองนี้ “ทุกการกระทำที่โหดร้าย ที่มีต่อสิ่งสร้าง เป็นสิ่งที่ “ขัดแย้งกับศักดิ์ศรีของมนุษย์”.
อย่างไรก็ตาม “ความสำนึกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับสิ่งธรรมชาติอื่นๆ ยังไม่เป็นจริง ถ้าหัวใจของเรายังขาดความอ่อนโยน   ความเมตตาสงสาร และความห่วงใยที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ของเรา”. เราต้องตระหนักถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของจักรวาล นั่นคือ “พระบิดาเจ้าทรงเรียกร้องความเป็นหนึ่งเดียวกันของจักรวาลให้เป็นจริง. โดยเราทุกคนถูกเชื่อมโยงด้วยพันธะที่มองไม่เห็นและก่อรูปแบบของครอบครัวโลกด้วยกัน,ความเป็นหนึ่งเดียวกันที่สูงส่งซึ่งเติมเต็มเราด้วยความเคารพที่ศักดิ์สิทธิ์ ความรักและความถ่อมตน
        บทนี้รวมถึงหัวใจของวิวรณ์คริสตชนที่ว่า “พระเยซูเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์”พร้อมกับ “ความสัมพันธ์รักที่สัมผัสได้ที่มีต่อโลก” พระองค์ทรง “กลับคืนพระชนมชีพและได้รับพระสิริรุ่งโรจน์,และประทับอยู่ทางสิ่งสร้างโดยองค์พระผู้เป็นเจ้าแห่งจักรวาล”
บทที่ 3 –มนุษย์คือรากเหง้าแห่งวิกฤตของระบบนิเวศ (เทคโนโลยี: การสร้างสรรค์และอำนาจ; โลกาภิวัตน์แห่งกระบวนทัศน์เทคโนธิปไตย; วิกฤตและผลกระทบจากความคิดที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง; สัมพัทธนิยม; ความต้องการปกป้องเรื่องการว่าจ้างงาน;เทคโนโลยีด้านชีวภาพ).
         บทนี้เป็นบทวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน, “ไม่ใช่พิจารณาแค่กลุ่มอาการเท่านั้น แต่พิจารณาสาเหตุที่ลึกซึ้งที่สุดของเหตุการณ์” ด้วยการเสวนากับวิชาปรัชญาและวิทยาศาสตร์ในเรื่องมนุษย์.
           การไตร่ตรองเกี่ยวกับเทคโนโลยีเป็นการมุ่งเน้นตอนเริ่มบทนี้: ยอมรับการมีส่วนร่วมที่ดีต่อการปรับปรุงสภาพการดำเนินชีวิตอย่างรู้คุณ. อย่างไรก็ตาม การไตร่ตรองด้วยความรู้เกี่ยวกับ “มนุษย์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรัพย์สินทางเศรษฐกิจที่ใช้สิ่งเหล่านั้น, การครอบครองมนุษยชาติและโลกทั้งหมดอย่างรุนแรง”. เป็นความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับการครอบครองด้านเทคโนโลยีธิปไตยที่นำไปสู่การทำลายธรรมชาติผู้คนและประชากรซึ่งถูกทำลายง่ายอยู่แล้ว. “กระบวนทัศน์ด้านเทคโนโลยีธิปไตยโน้มเอียงไปสู่การครอบงำชีวิทางการเมืองและชีวิตทางเศรษฐกิจ”, เราไม่อาจยอมรับว่า “การตลาดเองไม่รับประกันการพัฒนามนุษย์และการรวบรวมสังคมเข้าด้วยกัน”.
          “เรากำหนดความทันสมัยด้วยแนวคิดของมานุษยวิทยาเชิงรวมศูนย์”:มนุษย์ไม่ยอมรับจุดยืนที่ถูกต้องที่ต้องเคารพโลกอีกต่อไป แต่กลับไปสู่จุดยืนที่เน้นตนเองเป็นศูนย์กลาง,โดยมุ่งตัวมนุษย์เท่านั้น. ผลของการกระทำนี้อยู่ในตรรกะ “การใช้และทิ้งขว้าง” ที่ใช้ในการตัดสินขยะทุกรูปแบบ,สิ่งแวดล้อมหรือมนุษย์,ที่กระทำในรูปแบบอื่นๆ และเห็นธรรมชาติเป็นเพียงวัตถุที่ต่ำต้อยเท่านั้น และสร้างรูปแบบต่างๆของการครอบครองขึ้น ด้วยการบังคับคนอื่นให้เป็นทาส และประเมินสมรรถนะของการตลาดสูงเกินไป จนควบคุมมนุษย์ไว้, ด้วยวิธีการค้ามนุษย์,การขายและทารุณสัตว์ ทำให้สัตว์สูญพันธุ์ และเกี่ยวกับ “เพชรเลือด. เป็นความรู้สึกนึกคิดเดิมที่เป็นมาเฟีย (กลุ่มคนที่ทำงานในองค์การลับ),เกี่ยวกับคนที่ขายอวัยวะอย่างผิดกฎหมาย และการค้ายาเสพติด และการทำแท้งเพราะทารกไม่ตอบสนองต่อสิ่งที่บิดามารดาต้องการได้)
+
       ในแง่นี้, พระสมณสาส์นกล่าวถึงปัญหาที่มีความสำคัญของโลกในปัจจุบัน มากกว่าปัญหาอื่นใด คือการ “เข้าถึงระบบนิเวศเชิงบูรณาการ,ซึ่งรวมมนุษย์ด้วย,ต้องถือเป็นเรื่องของคุณค่าของแรงงาน”,เพราะ “การหยุดลงทุนในผู้คน,เพื่อได้รับสิ่งตอบแทนด้านการเงินระยะสั้นมากขึ้น,เป็นธุรกรรมที่ชั่วร้ายสำหรับสังคม”.
ปัญหาที่สอง คือข้อจำกัดของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์,พร้อมข้ออ้างอิงที่ชัดเจนในการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs-สิ่งมีชีวิตซึ่งไม่ว่าจะเป็นพืช หรือสัตว์ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมจากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering). ว่า “การใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของพวกเขา ก่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาในบางภูมิภาคก็ตาม,ยังมีความยุ่งยากมากมายที่ไม่ควรมองข้าม" ,เริ่มต้นจากการ "เน้นที่ดินที่เพิ่มผลผลิต ซึ่งตกอยู่ในมือของเจ้าของที่ดินไม่กี่ราย”.  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงคำนึงถึงผู้ผลิตรายย่อยและผู้ใช้แรงงานในชนบท,เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ,และเครือข่ายของระบบนิเวศ. ดังนั้น จึง"เกิดการโต้แย้งทางสังคม ทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องมีความรับผิดชอบอย่างกว้างขวาง,  เราสามารถพิจารณาข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด และเรียกสิ่งต่างๆตามชื่อ" เริ่มต้นจาก "งานวิจัยสาขาวิชาต่างๆที่เป็นอิสระและมีลักษณะสหวิทยาการ"

บทที่สี่ – ระบบนิเวศเชิงบูรณาการ  (ด้านสิ่งแวดล้อม,ระบบนิเวศทางเศรษฐกิจและสังคม,ระบบนิเวศเชิงวัฒนธรรม, ระบบนิเวศในชีวิตประจำวัน,หลักการของความดีส่วนรวม; ความยุติธรรมระหว่างชนรุ่นต่างๆ)
              พระสมณสาส์นทรงนำเสนอสิ่งที่มีความสำคัญมาก คือระบบนิเวศเชิงบูรณาการ เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ของความยุติธรรม;ระบบนิเวศ  "ซึ่งเคารพตำแหน่งที่มีเอกลักษณ์ในฐานะที่เป็นมนุษย์ในโลกนี้และความสัมพันธ์ของเราที่มีต่อสิ่งแวดล้อมของเรา" .ตามความเป็นจริง, โดย "ไม่ถือว่า ธรรมชาติเป็นสิ่งที่แยกออกจากเราเอง หรือลักษณะที่เป็นเพียงสถานที่ที่เราอาศัยอยู่". นี่คือความจริงที่เรามีส่วนร่วมในสาขาวิชาต่างๆ: ด้านเศรษฐกิจและด้านการเมือง,วัฒนธรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ถูกคุกคามมากที่สุด,และในทุกช่วงเวลาของชีวิตประจำวันของเรา.
          มุมมองเชิงบูรณาการยังนำเข้าสู่ระบบนิเวศของสถาบันต่างๆที่มีบทบาทในเรื่องนี้  "ถ้าทุกสิ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันแล้ว,สุขภาพของสถาบันของสังคม จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตมนุษย์. "ทุกการละเมิดต่อความเป็นปึกแผ่นและมิตรภาพของพลเมืองทุกคนเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม"
               สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงยืนยันพระดำริของพระองค์    ด้วยตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมากมายว่า "การวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่สามารถแยกออกจากการวิเคราะห์บริบทด้านมนุษย์ ด้านเมืองใหญ่,งานที่เกี่ยวข้อง,ครอบครัว,และวิธีที่ปัจเจกชนเกี่ยวข้องกับบริบท”. เราไม่เผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ 2 ประการที่ถูกพิจารณาแยกกัน ว่าเป็นวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม และวิกฤตด้านสังคม, แต่วิกฤตการณ์ที่ซับซ้อนเป็นได้ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม”.
          ระบบนิเวศด้านมนุษย์แยกไม่ได้จากความเห็นเกี่ยวกับความดีส่วนร่วม", แต่จะเข้าใจด้วยวิธีการที่เป็นรูปธรรมในบริบทปัจจุบัน,ที่ "ความอยุติธรรมสุดโต่ง และประชาชนมากมายถูกลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน", ส่วนการผูกมัดตนเองกับความดีส่วนรวม หมายถึง การหาทางเลือกในเรื่องความเป็นปึกแผ่น ที่ขึ้นอยู่กับ "ตัวเลือกพิเศษสำหรับคนยากจนที่สุดของบรรดาพี่น้องของเรา". นี่ก็เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะมอบโลกที่ยั่งยืนสำหรับชนรุ่นอนาคต,ไม่ใช่เพียงแต่ประกาศด้วยคำพูด, แต่ด้วยการผูกมัดตนที่จะดูแลคนยากจนในปัจจุบัน, ซึ่งพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงเน้นย้ำว่า  "นอกจากความรู้สึกที่ชอบธรรม ของความสามัคคีระหว่างชนรุ่นต่างๆแล้ว  ยังต้องการศีลธรรมที่เร่งด่วน เพื่อสร้างความหมายที่ได้รับการฟื้นฟูของ “ความเป็นปึกแผ่นระหว่างชนรุ่นต่างๆด้วย”.
               ระบบนิเวศที่บูรณาการยังเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน.พระพระสมณสาส์นทรงสนพระทัยเป็นพิเศษกับสิ่งแวดล้อมของเมือง. มนุษย์มีสมรรถนะที่ดีเพื่อปรับใช้ เพราะ “บุคคลจะแสดงความคิดสร้างสรรค์ที่น่าชื่นชมและความเอื้ออาทร ที่บุคคลและกลุ่มตอบสนองต่อข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม โดยการบรรเทาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมของพวกเขาและการเรียนรู้ ที่จะดำเนินชีวิตที่เกิดผลท่ามกลางการขาดระเบียบและความไม่แน่นอน". อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่แท้จริง คาดว่าจะมีการปรับปรุงคุณภาพชีวิตเชิงบูรณาการของมนุษย์: พื้นที่สาธารณะ, ที่อยู่อาศัย, การขนส่ง เป็นต้น
นอกจากนี้  "การยอมรับว่า ร่างกายของเราเป็นของขวัญของพระเจ้า ที่ควรต้อนรับและยอมรับโลกทั้งหมดว่าเป็นของขวัญจากพระบิดาเจ้าและเป็นบ้านรวมของเรา,ในขณะที่เราชื่นชอบกับอำนาจสูงสุด ที่อยู่เหนือร่างกายของเราเอง, บ่อยครั้ง กลับคิดว่า เราชื่นชอบกับอำนาจสูงสุดเหนือสิ่งสร้าง”.
บทที่ 5 – เส้นระดับของความเข้าใจและการกระทำ (การเสวนาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม;ในชุมชนระหว่างประเทศ; การเสวนาสำหรับนโยบายท้องถิ่นและระดับชาติ การเสวนาและความโปร่งใสในการตัดสินใจ;การเมืองและเศรษฐกิจ; การเสวนาระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นการเสวนาเพื่อทำให้มนุษย์สมบูรณ์) .
              บทนี้กล่าวถึงปัญหาที่เราสามารถดำเนินการและจะต้องดำเนินการ. การวิเคราะห์ต่างๆไม่เพียงพอ:เราต้องการมีข้อเสนอ "ให้มีการเสวนาและการลงมือดำเนินการในสิ่งเกี่ยวข้องกับเราแต่ละคน ไม่น้อยกว่าดำเนินนโยบายต่างประเทศ". 
    พวกเขาจะ "ช่วยให้เราหนีภัยที่กำลังวนเวียนมาทำลายตนเองทุกที ซึ่งขณะนี้โอบล้อมเราอยู่" สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงมุ่งมั่นว่า การพัฒนาความเข้าใจที่แท้จริง ไม่ใช่เรื่องที่กระทำด้วยอุดมการณ์ที่เลื่อนลอยหรือลดทอนอุดมการณ์ลง. สำหรับเรื่องนี้,การเสวนาเป็นสิ่งจำเป็น,
     "มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ง่ายที่จะบรรลุฉันทามติในวงกว้าง [... ] พระศาสนจักรไม่ได้มุ่งตั้งคำถามด้านวิทยาศาสตร์ หรือเข้าไปแทนที่การเมือง. แต่ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะส่งเสริมการอภิปรายที่เปิดกว้างและซื่อสัตย์,เพื่อว่า ความสนใจหรืออุดมการณ์เฉพาะจะไม่กระทบกระเทือนต่อความดีส่วนร่วม "

            ตามความคิดพื้นฐานนี้,   สมเด็จพระสันตะปาปา
ฟรานซิสไม่ทรงกลัวที่จะตัดสินการเปลี่ยนแปลงระดับโลกอย่างจริงจังว่า "เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการประชุมสุดยอดระดับโลกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ล้มเหลวต่อการดำเนินชีวิตที่คาดหวังไว้,เพราะเป็นการประชุมที่ขาดเจตจำนงทางการเมือง,พวกเขาไม่สามารถที่จะเข้าถึงข้อตกลงระดับโลก ที่ควรมีความหมายและมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม" และพระองค์ตรัสถามว่า "สิ่งใดจูงใจพวกท่านในเวทีนี้, ทำให้คิดถึงความไม่สามารถของผู้นำ (ในการประชุมครั้งนั้น) ที่จะดำเนินการ เมื่อปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องทำ?" แต่สิ่งที่จำเป็นตามที่พระสันตะปาปาตรัสหลายครั้งแล้ว,ที่เริ่มด้วยพระสมณสาส์นชื่อ”สันติสุข ณ แผ่นดิน” (ของสมเด็จพระสันตะปปาปายอห์นที่ 23- Pacem in  Terris) เป็นรูปแบบและเครื่องมือในการสร้างธรรมาภิบาลระดับโลก ที่เรียกว่า "สิ่งที่ใช้ร่วมกันทั่วโลก” ,เห็นได้ว่า เราไม่อาจมั่นใจว่า จะปกป้องสิ่งแวดล้อมได้ตามพื้นฐานการเก็งราคาและผลประโยชน์. สิ่งแวดล้อมเป็นทรัพย์ประเภทหนึ่งในทรัพย์ทั้งหลาย  ที่กลไกตลาดไม่อาจปกป้องหรือส่งเสริมอย่างเพียงพอได้ " (190 บทสรุปของคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร).

       ในบทที่ 5 นี้,สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงยืนกรานถึงการพัฒนากระบวนการตัดสินใจที่ซื่อสัตย์และโปร่งใส,เพื่อที่จะ "พิเคราะห์แยกแยะ" นโยบายและการริเริ่มธุรกรรมใดที่สามารถก่อให้เกิด  "การพัฒนาเชิงบูรณาการที่แท้จริง" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมของ "การลงทุนทางธุรกิจแบบใหม่และทำโครงการที่ต้องการกระบวนการทางการเมืองที่โปร่งใส  ที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างอิสระ.
            อีกแง่หนึ่ง      รูปแบบต่างๆของการทุจริตที่ซ่อนผลกระทบที่แท้จริงต่อสิ่งแวดล้อม  ล้วนเป็นโครงการที่จัดทำเพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งตอบแทน มักจะนำไปสู่ข้อตกลงที่หลอกลวง  ซึ่งไม่อาจแจกแจงได้อย่างเพียงพอ และไม่ปล่อยให้มีการอภิปรายอย่างเต็มที่ "
              การเรียกร้องที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลไปยังผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อว่าพวกเขาจะหลีกเลี่ยง "ความคิดเกี่ยวกับ "ประสิทธิผล" และ "ความฉับไว” " ที่พบกันบ่อยครั้งในปัจจุบันนี้" แต่ถ้าพวกเขากล้า,พวกเขาจะยืนยันถึงศักดิ์ศรีที่พระเจ้าประทานแก่พวกเขา และเป็นพยานถึงความรับผิดชอบที่ไม่เห็นแก่ตัวไว้"

บทที่หก - การศึกษาด้านระบบนิเวศและชีวิตจิตวิญญาณ (มุ่งสู่วิถีชีวิตแบบใหม่;การให้ความรู้เกี่ยวกับพันธสัญญาระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม; การกลับใจด้านระบบนิเวศ; ความสุขและสันติสุข; ความรักต่อบ้านเมืองและความรักทางการเมือง;สัญลักษณ์ด้านศีลศักดิ์สิทธิ์และการเฉลิมฉลองของเรื่องอื่นๆ;พระตรีเอกภาพและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งสร้าง;พระราชินีแห่งสิ่งสร้างทั้งหมด,นอกเหนือจากดวงอาทิตย์)

            บทสุดท้าย ขอเชิญชวนทุกคนให้สนใจต่อหัวใจของการกลับใจด้านระบบนิเวศ. รากเหง้าของวิกฤตทางวัฒนธรรมที่ลึกล้ำ,และไม่ใช่ง่ายที่จะช่วยพัฒนานิสัยและพฤติกรรม.การศึกษาและการฝึกอบรมมีความท้าทายที่สำคัญ "เป็นไปไม่ได้ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสร้างแรงจูงใจและกระบวนของการศึกษา" (15). ทุกภาคการศึกษาต้องมีส่วนร่วม,ทั้ง"ที่โรงเรียน,ในครอบครัว,ทางสื่อสารมวลชน,ในการสอนคำสอนและอื่น ๆ "

              จุดเริ่มต้นคือ "การมุ่งสู่วิถีชีวิตแบบใหม่", ซึ่งยังเปิดสู่ความเป็นไปได้ในการ "นำความกดดันด้านสุขภาพ ที่จะทนรับกับผู้มีอำนาจด้านการเมืองเศรษฐกิจและสังคม" นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อทางเลือกของผู้บริโภคสามารถที่จะ "เปลี่ยนวิธีทำธุรกรรม,ที่บังคับให้พวกเขาพิจารณารอยเท้าทางนิเวศน์และแบบแผนของการผลิต"
        เราไม่อาจประเมินความสำคัญของการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมต่ำเกินไป. เพราะสิ่งแวดล้อมอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและความคุ้นชินประจำวัน,การลดการบริโภคน้ำ,การแยกประเภทขยะ และแม้กระทั่ง "ปิดไฟที่ไม่จำเป็น": "ระบบนิเวศเชิงบูรณาการมาจากการดำเนินชีวิตเรียบง่าย ที่ต่างจากการใช้ความรุนแรง,การเอาเปรียบและความเห็นแก่ตัว".
                   ทุกสิ่งจะเริ่มง่ายขึ้น ถ้าเรามีทัศนคติที่พิศเพ่งจากความเชื่อ :”เยี่ยงผู้มีความเชื่อ, นั่นคือ เราไม่ได้มองโลกจากภายนอก แต่มองจากภายใน (จิตใจ),สำนึกในพันธะที่มีต่อสิ่งที่พระบิดาเจ้าทรงเชื่อมโยงเรากับสิ่งมีชีวิตทั้งหมด.พระเจ้าประทานสมรรถนะแห่งการพัฒนาปัจเจกภาพของเรา,การกลับใจด้านระบบนิเวศ เราจึงจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และความกระตือรือร้นมากขึ้น"
                 ขณะที่สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเสนอพระสมณสาส์น “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” (Evangelii Gaudium) "เราจะมีความสุขุมคัมภีรภาพ ต่อเมื่อเราดำเนินชีวิตอย่างอิสระและมีจิตสำนึก, และ "ความสุขหมายถึงการรู้ถึงวิธีจำกัดความต้องการ ที่มีแต่ทำลายตัวเรา,และการเปิดรับความเป็นไปได้ต่างๆ ที่ชีวิตสามารถยื่นให้เราได้". ด้วยวิธีนี้ "เราจะต้องฟื้นความเชื่อมั่นว่า เราต้องการกันและกัน,ซึ่งเราต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันสำหรับคนอื่น และโลก,ซึ่งต้องมีสภาพดีและทรงค่า”
            มีนักบุญหลายองค์ที่ร่วมในการเดินทางนี้กับเรา. อาทิเช่น นักบุญฟรานซิสแห่งอัสซีซี ได้กล่าวหลายครั้งว่า "แบบอย่างที่ดีเลิศ คือการใส่ใจผู้ที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง ระบบนิเวศที่สมบูรณ์ จะทำให้เราร่าเริงและเป็นสุขแท้”. ท่านนักบุญเป็นต้นแบบของ "พันธะที่แยกไม่ออกระหว่างความห่วงใยต่อธรรมชาติ,ความยุติธรรมสำหรับคนยากจน, ความมุ่งมั่นต่อสังคมและความสุขใจ" พระสมณสาส์นยังอ้างถึงนักบุญ
เบเนดิกต์,นักบุญเทเรซาแห่งลิซีเออและบุญราศีชาร์ลส์ เดอ ฟูโกลด์
        ส่วนพระสมณสาส์นชื่อ ‘จงสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า’(Laudato si’),เป็นแบบฝึกปกติของการสำรวจมโนธรรม,ซึ่งเป็นวิธีการที่พระศาสนจักรมักจะแนะนำ ให้ปรับชีวิตของเราในแง่ของความสัมพันธ์กับองค์พระผู้เป็นเจ้า, ควรรวมถึงมิติใหม่ที่จะพิจารณาว่า ไม่ใช่เป็นเพียงวิธีที่เราเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเท่านั้น แต่ต้องเป็นหนึ่งเดียวกับผู้อื่นและกับตนเอง รวมทั้งสิ่งสร้างทั้งมวลและกับธรรมชาติด้วย.

ข้อความเต็มของพระสมณสาส์นภาษาอังกฤษสามารถดูเพิ่มเติมที่:
http://w2.vatican.va/content/francesco/en/encyclicals/documents/papa-francesco_20150524_enciclica-laudato-si.html.

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ คืนตื่นเฝ้าปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา (ลก 24:1-12) เวลานั้น ตั้งแต่เช้าตรู่วันต้นสัปดาห์ บรรดาสตรีนำเครื่องหอมที่เตรียมไว้มาที่พระคูหา เขาพบว่าก้อนหินถูกกลิ้งออกไปจากพระคูหาแล้ว เมื่อเข้าไปในพระคูหาก็ไม่พบพระศพของพระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้า ขณะที่บรรดาสตรีประหลาดใจกับเหตุการณ์นี้ บุรุษสองคนสวมเสื้อที่เป็นประกายรุ่งโรจน์ยืนอยู่ใกล้ๆ สตรีเหล่านั้นตกใจกลัวและก้มหน้าลงมองพื้นดิน...
วันศุกร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 18:1-19:42) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ข้ามห้วยขิดโรน ที่นั่นมีสวนแห่งหนึ่ง พระองค์เสด็จเข้าไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ยูดาสผู้ทรยศรู้จักสถานที่นั้นด้วย เพราะพระองค์เคยทรงพบกับบรรดาศิษย์ที่นั่นบ่อยๆ ยูดาสนำกองทหารและยามรักษาพระวิหารที่บรรดาหัวหน้าสมณะ...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:1-15) ก่อนวันฉลองปัสกา พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าถึงเวลาแล้วที่จะทรงจากโลกนี้ไปเฝ้าพระบิดา พระองค์ทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด ระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ ปีศาจดลใจยูดาสอิสคาริโอทบุตรของซีโมนให้ทรยศต่อพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระบิดาประทานทุกสิ่งไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว และทรงทราบว่าพระองค์ทรงมาจากพระเจ้าและกำลังเสด็จกลับไปหาพระเจ้า จึงทรงลุกขึ้นจากโต๊ะ...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลมหาพรตและปัสกา กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ เทศกาลมหาพรตและปัสกา E-book...
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อัครสาวก 12 องค์ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

212. มื้ออาหารของพระเยซูเจ้ากับเรามีชื่อว่าอะไรบ้าง และหมายความว่าอะไร มีชื่อแตกต่างกันที่ชี้บอกถึงความมั่งคั่งอย่างไม่อาจหยั่งถึงได้ของธรรมล้ำลึกนี้ คือ การบูชาศักดิ์สิทธิ์ มิสซา เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชาขอบพระคุณ อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า การบิปัง การชุมนุมศีลมหาสนิท การรำลึกถึงพระทรมาน...
211. ศีลมหาสนิทสำคัญอย่างไรสำหรับพระศาสนจักร การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท เป็นหัวใจของชุมชนคริสตชน ในศีลมหาสนิทพระศาสนจักรกลายเป็นพระศาสนจักร (1325) เราไม่ได้เป็นพระศาสนจักรเพราะเรากลมเกลียวกัน หรือเป็นเพราะเราสิ้นสุดในชุมชนวัดเดียวกัน แต่เนื่องจากในศีลมหาสนิทเราได้รับพระกายของพระคริสตเจ้า และเราถูกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นในพระกายของพระคริสตเจ้า 126,217 ในศีลมหาสนิทเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเหมือนกับอาหารเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย...
210. พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทอย่างไร “ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนั้นต่อให้ท่าน คือในคืนที่ทรงถูกทรยศนั้นเอง พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงหยิบปัง ขอบพระคุณ แล้วทรงบิออก ตรัสว่า “นี่คือกายของเราเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” เช่นเดียวกัน...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา เรื่อง การดูหมิ่น พระคัมภีร์ โรม 12:16 ภาพรวม เด็กๆ สร้างคนด้วยไม้จิ้มฟัน และเรียนรู้ว่า การดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดอย่างไร อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ปากกาเส้นใหญ่ กาว และแถบกาว ประสบการณ์ แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 คน แจกไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
🤖 TRV. Innovation Fair 2023 🤖 วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสไปออกร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ และออกบูธจัดกิจกรรมคำสอน ร่วมกับฝ่ายจิตตาภิบาล โรงเรียนไตรราชวิทยา ในโครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม ประธานในพิธี บาทหลวงเอกรัตน์...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)
วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
14524
15753
68380
263650
326718
35701154
Your IP: 3.238.12.0
2024-03-29 12:22

สถานะการเยี่ยมชม

มี 757 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์