สารที่มีความหมายยิ่งสำหรับมนุษย์
116    พระวาจาของพระเป็นเจ้า ที่กลับกลายมาเป็นมนุษย์ได้รับเอาธรรมชาติทุกอย่างของมนุษย์ยกเว้นบาป  แนวทางนี้เองที่ทำให้พระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงเป็น “ภาพลักษณ์ของพระเป็นเจ้าที่เรามองไม่เห็น” (คส 1:15)  ทรงเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วย  จากความจริงนี้สิ่งที่ตามมาก็คือ “ในความเป็นจริง มีเพียงพระธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับพระวจนาตถ์ทรงรับเอากายนี้เท่านั้น ที่จะทำให้พระธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับมนุษย์ปรากฏชัดเจนอย่างแท้จริง” (GS 22a)

    ในการนำเสนอสารคริสตชนนั้น  การสอนคำสอนไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าพระเป็นเจ้าเป็นใคร  และแผนการช่วยให้รอดของพระองค์คืออะไร แต่อย่างที่พระเยซูเจ้าเองทรงกระทำก็คือ การสอน คำสอนเป็นการเปิดเผยความเป็นมนุษย์ให้แก่มนุษย์  และช่วยให้มนุษย์ตระหนักถึงกระแสเรียกอันสูงส่งของเขาดียิ่งขึ้น (GS 22a)   อันที่จริง การเปิดเผยของพระเป็นเจ้า “...มิได้...ถูกแยกออกจากชีวิตมนุษย์  หรือถูกนำมาเชื่อมโยงกับชีวิตอย่างไม่เป็นธรรมชาติ  แต่เกี่ยวข้องกับความหมายสูงสุดของชีวิตและทำให้เข้าใจชีวิตแบบองค์รวมได้ง่ายขึ้นหลังจากที่ได้พิจารณาพระวรสารแล้ว  เพื่อทำให้เกิดชีวิตแบบองค์รวมหรือสืบหาความรู้เกี่ยวกับชีวิตแบบองค์รวม (CT 22c, อ้างถึง EN 29)
    ความสัมพันธ์ระหว่างสารคริสตชนกับประสบการณ์ชีวิตมนุษย์มิได้เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับระเบียบวิธีสร้างความสัมพันธ์อย่างธรรมดา  ความสัมพันธ์นี้เกิดจากขั้นท้ายที่สุดของการสอนคำสอนซึ่งมุ่งนำเอามนุษย์เข้ามาเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูคริสตเจ้า   ในชีวิตบนมนุษย์โลกของพระองค์นั้น พระองค์ดำเนินชีวิตแบบมนุษย์ของพระองค์อย่างสมบูรณ์คือ “พระองค์ทรงทำงานด้วยมือแบบมนุษย์   พระองค์ทรงคิดด้วยจิตใจแบบมนุษย์  พระองค์ทรงทำภารกิจด้วยความตั้งใจอย่างมนุษย์และทรงรักด้วยหัวใจอย่างมนุษย์” (GS 22b)  ดังนั้น “พระคริสตเจ้าจึงทรงกระทำเพื่อให้เราสามารถดำเนินชีวิตอย่างที่พระองค์ได้ทรงดำเนินมาแล้ว  และพระองค์ก็ทรงดำเนินชีวิตเช่นเดิมในเรา” (CCC 521)  การสอนคำสอนได้พยายามกระทำหลายสิ่งตามลักษณะเฉพาะของประสบการณ์แบบมนุษย์ระหว่างพระเยซูเจ้ากับศิษย์ของพระองค์  และสอนให้คิดอย่างพระองค์  กระทำอย่างพระองค์  รักอย่างพระองค์ (อ้างถึง CT 20b)  และดำเนินชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าคือ มีประสบการณ์ชีวิตใหม่แห่งพระหรรษทาน (อ้างถึง รม 6:4)

117    ด้วยเหตุนี้เอง การสอนคำสอนจึงนำเสนอสารคริสตชนโดยมีพระเยซูคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลางอย่างเด่นชัด  เพราะฉะนั้น “จึงควรมีผลให้มนุษย์รับฟังหรือเฝ้าดูประสบการณ์ทั้งด้านส่วนตัวและที่เกี่ยวกับสังคมของพวกเขาอันมีความสำคัญยิ่งขึ้นด้วยความสนใจ  และการสอนคำสอนยังมีหน้าที่ช่วยจัดวางปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์เหล่านั้นหลังจากที่พิจารณาตามพระวรสารแล้ว  เพื่อว่ามนุษย์จะได้รับการกระตุ้นให้เกิดความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตนเองอย่างถูกต้อง” (GCD (1971) 74, อ้างถึง CT 29)  โดยอาศัยแนวทางต่อไปนี้
    - ในการประกาศพระวรสารขั้นแรก  ซึ่งเหมาะกับช่วงเตรียมตัวเป็นคริสตชนหรือช่วงก่อนเรียนคำสอน  การประกาศพระวรสารจะต้องเชื่อมต่ออย่างแนบแน่นกับธรรมชาติของมนุษย์และความปรารถนาตามธรรมชาติของมนุษย์  และจะต้องแสดงให้เห็นว่าพระวรสารทำให้จิตใจมนุษย์มีความชื่นชมยินดีอย่างเต็มเปี่ยมได้อย่างไร (อ้างถึง AG 8a)
    - ในการสอนคำสอนแบบอิงพระคัมภีร์  เป็นการสอนคำสอนที่ช่วยให้ความหมายที่พิเศษแก่ชีวิตมนุษย์ยุคปัจจุบันด้วยการพิจารณาจากประสบการณ์ชีวิตของชนชาติอิสราเอล   ของพระเยซูคริสตเจ้าและชุมชนของพระศาสนจักรซึ่งพระจิตของพระเยซูผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ทรงดำเนินชีวิตอยู่และทำงานอยู่อย่างต่อเนื่อง
    - ในการอธิบายเกี่ยวกับข้อความเชื่อ (the Creed)  การสอน คำสอนจะช่วยแสดงให้เห็นว่าหัวข้อเรื่องสำคัญๆ ของความเชื่อ (เช่นการสร้างโลก  บาปกำเนิด  การบังเกิดเป็นมนุษย์  ปัสกา  พระจิตเสด็จลงมา  การเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่ง)  ยังคงเป็นบ่อเกิดของชีวิตและแสงสว่างสำหรับมนุษย์ชาติอยู่เสมอๆ
    - การสอนคำสอนในเชิงศีลธรรม  โดยการนำเสนอสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีค่าควรแก่พระวรสาร (อ้างถึง ฟป 1:27)  และการส่งเสริมความสุขแท้จริง (the Beatitude) ในฐานะที่เป็นทัศนคติที่จะต้องซึมซาบเข้าสู่บัญญัติ  10 ประการ  ก็จะเป็นการวางสิ่งดังกล่าวนี้ไว้เป็นรากฐานของคุณธรรมมนุษย์ที่ต้องมีในจิตใจของคนเรา (อ้างถึง CCC 1697)
    - การสอนคำสอนแบบอิงพิธีกรรม  จะอ้างอิงกับประสบการณ์ของมนุษย์ที่สำคัญยิ่ง  ซึ่งถูกแทนโดยเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆของการกระทำทางพิธีกรรมที่มีกำเนิดในวัฒนธรรมของชาวยิวและวัฒนธรรมของคริสตชนเสมอ (อ้างถึง CCC 1145-1152)