แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลมหาพรต

พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (ลก 2:41-51ก)          

โยเซฟพร้อมกับพระมารดาของพระเยซูเจ้าเคยขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็มในเทศกาลปัสกาทุกปี เมื่อพระองค์มีพระชนมายุสิบสองพรรษา โยเซฟพร้อมกับพระมารดาก็ขึ้นไปกรุงเยรูซาเล็มตามธรรมเนียมของเทศกาลนั้น เมื่อวันฉลองสิ้นสุดลง ทุกคนก็เดินทางกลับ แต่พระเยซูเจ้ายังประทับอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็มโดยที่บิดามารดาไม่รู้ เพราะคิดว่า พระองค์ทรงอยู่ในหมู่ผู้ร่วมเดินทาง เมื่อเดินทางไปได้หนึ่งวันแล้ว โยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์ตามหาพระองค์ในหมู่ญาติและคนรู้จัก เมื่อไม่พบจึงกลับไปกรุงเยรูซาเล็ม เพื่อตามหาพระองค์ที่นั่น

      ในวันที่สาม โยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์พบพระองค์ในพระวิหารประทับนั่งอยู่ในหมู่อาจารย์ ทรงฟังและทรงไต่ถามพวกเขา ทุกคนที่ได้ฟังพระองค์ต่างประหลาดใจในพระปรีชาที่ทรงแสดงในการตอบคำถาม เมื่อโยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์เห็นพระองค์ก็รู้สึกแปลกใจ พระมารดาจึงตรัสถามพระองค์ว่า “ลูกเอ๋ย ทำไมจึงทำกับเราเช่นนี้ ดูซิ พ่อกับแม่ต้องกังวลใจตามหาลูก” พระองค์ตรัสตอบว่า “พ่อกับแม่ตามหาลูกทำไม พ่อแม่ไม่รู้หรือว่า ลูกต้องอยู่ในบ้านของพระบิดาของลูก” โยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์ไม่เข้าใจที่พระองค์ตรัส

      พระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปที่เมืองนาซาเร็ธกับบิดามารดาและเชื่อฟังท่านทั้งสอง


ลก 2:41-52 เทศกาลปัสกาซึ่งเริ่มต้นในวันที่สิบห้า ได้อธิบายถึงชีวิตของพระคริสตเจ้าที่ยืดยาว ในช่วงเวลาของเดือนนิสานของชาวยิวเป็นงานเลี้ยงเช่นนี้ตั้งแต่อายุประมาณสิบสองปี ที่ระลึกถึงอิสรภาพของชาวยิวจนบางทีถึงอายุสามสิบปี นักวิชาการอ้างถึงช่วงนี้จากการเป็นทาสในอียิปต์ ในช่วงเวลาของพระคริสตเจ้า ทั้งหมดนี้เป็น“ ปีที่ซ่อนเร้น” ของพระคริสตเจ้า เนื่องจากมีคนยิวน้อยมากที่ต้องเดินทางไปยังพระวิหารในเยรูซาเล็ม ผู้ชายมักจะพาครอบครัว และเดินทางเป็นกลุ่มใหญ่พร้อมกับครอบครัวอื่น ๆ โดยชายและหญิงเดินทางแยกกันเป็นกลุ่ม และทั้งสองกลุ่มจะมีเด็กหลายคนอยู่ในนั้นด้วย เนื่องจากการจัดการแบบนี้ทำให้การหายตัวไปของพระคริสตเจ้านั้นไม่ได้เป็นที่สังเกตุในทันที การตอบสนองของพระคริสตเจ้าเมื่อถูกพบในพระวิหาร บ่งบอกว่าพระองค์ทรงเข้าใจตัวตนของพระองค์ในฐานะพระบุตรของพระเจ้า และพันธกิจของพระองค์ในการไถ่กู้มนุษยชาติ เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นถึงพระมหาทรมานที่จะเกิดขึ้นในเยรูซาเล็มนครศักดิ์สิทธิ์ โยเซฟและมารีย์ได้ยอมรับต่อภารกิจของพระบุตรด้วยความเชื่อที่นอบน้อม สามวันของพระคริสตเจ้าในพระวิหารยังสามารถมองได้ว่าเป็นการทำนายล่วงหน้าถึงสามวันของพระองค์ในพระคูหาก่อนการกลับคืนชีพของพระองค์ด้วย 

CCC ข้อ 534 การพบพระเยซูเจ้าในพระวิหาร เป็นเพียงเหตุการณ์เดียวที่ทำลายความเงียบของพระวรสารเกี่ยวกับช่วงเวลาพระชนมชีพซ่อนเร้นของพระเยซูเจ้า ในเรื่องนี้พระเยซูเจ้าทรงอนุญาตให้เราแลเห็นพระธรรมล้ำลึกของการที่ทรงเป็นพระบุตรพระเจ้าและทรงถวายพระองค์อย่างสมบูรณ์ต่อพันธกิจที่ทรงรับมาจากพระบิดา “พ่อแม่ไม่รู้หรือว่าลูกต้องอยู่ในบ้านของพระบิดาของลูก” โยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์ “ไม่เข้าใจ” ที่พระองค์ตรัส แต่ก็ยอมรับพระวาจานี้ด้วยความเชื่อ และพระนางมารีย์ “ทรงเก็บเรื่องทั้งหมดเหล่านี้ไว้ในพระทัย” ตลอดช่วงเวลาหลายปีที่พระเยซูเจ้าทรงดำเนินพระชนมชีพซ่อนเร้นอย่างเงียบๆ ตามปรกติเหมือนคนทั่วไป

CCC ข้อ 583 เช่นเดียวกับบรรดาประกาศกที่มาก่อนหน้าพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงแสดงความเคารพอย่างลึกซึ้งต่อพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม ที่นั่นโยเซฟและพระนางมารีย์นำพระองค์ไปถวายหลังจากทรงสมภพได้สี่สิบวัน เมื่อทรงพระชนมายุสิบสองพรรษาพระองค์ทรงตัดสินพระทัยค้างอยู่ในพระวิหารเพื่อทรงเตือนบิดามารดาให้ระลึกว่าพระองค์จำเป็นต้องทำธุรกิจของ พระบิดา ทุกปีในช่วงเวลาที่ทรงพระชนมชีพซ่อนเร้น พระองค์เสด็จขึ้นไปที่นั่นอย่างน้อยในเทศกาลปัสกา ช่วงเวลาที่ทรงเทศน์สอนประชาชนดูเหมือนจะถูกกำหนดโดยช่วงเวลาที่เสด็จขึ้นไปกรุงเยรูซาเล็มในโอกาสฉลองสำคัญของชาวยิว

CCC ข้อ 2599  เมื่อพระบุตรของพระเจ้าทรงเป็นพระบุตรของพระนางพรหมจารีแล้วยังทรงเรียนรู้ที่จะอธิษฐานภาวนาตามพระทัยมนุษย์ของพระองค์ด้วย พระองค์ทรงเรียนรู้สูตรการอธิษฐานภาวนาจากพระมารดาของพระองค์ที่ทรงเก็บ “กิจการยิ่งใหญ่” ทั้งหมดของพระผู้ทรงสรรพานุภาพไว้ในพระทัยของพระนาง พระองค์ทรงอธิษฐานภาวนาโดยถ้อยคำและตามจังหวะการอธิษฐานภาวนาของประชากรของพระองค์ในศาลาธรรมที่เมืองนาซาเร็ธและในพระวิหาร แต่การอธิษฐานภาวนาของพระองค์ออกมาจากบ่อเกิดที่ลึกซึ้งกว่านั้น ดังที่เมื่อทรงพระชนมายุสิบสองพรรษาทรงเผยให้เรารู้สึกได้ “ลูกต้องทำธุรกิจของพระบิดาของลูก” (หรือ “ลูกต้องอยู่ในบ้านของพระบิดาของลูก”) (ลก 2:49) ที่นี่ความใหม่ของการอธิษฐานภาวนาเมื่อเวลาที่กำหนดมาถึงแล้วเริ่มได้รับการเปิดเผย นั่นคือ การอธิษฐานภาวนาในแบบของบุตร ที่พระบิดาทรงรอคอยจะได้รับจากบรรดาบุตรของพระองค์ และในที่สุดพระบุตรเพียงพระองค์เดียวในพระธรรมชาติมนุษย์จะทรงทำให้เป็นชีวิตแท้จริงพร้อมกับมวลมนุษย์และเพื่อมวลมนุษย์

(จากหนังสือ THE DIDACHE BIBLE with commentaries based on the Catechism of the Catholic Church, Ignatius Bible Edition)