แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

จงชื่นชมยินดีเถิด
f1    สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสได้ทรงออกสมณลิขิตเตือนใจชื่อ จงชื่นชมยินดีเถิด (มธ 5:12) Gaudete et Exultate เรื่อง การเรียกสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในโลกปัจจุบัน เผยแพร่เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2018 หกภาษา คือ เยอรมัน อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส อิตาเลี่ยน และโปร์ตุเกส ไม่ใช่เอกสารแบบวิชาการ หรือ ข้อความเชื่อ เป้าหมายคือ เสนอการเรียกสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในแง่ปฏิบัติสำหรับยุคของเรานี้ มี 5 บท คือ

1. การเรียกสู่ความศักดิ์สิทธิ์ (ข้อ 3-34)
นักบุญ (ผู้ศักดิ์สิทธิ์) มีหลายแบบ กล่าวคือ นอกจากที่พระศาสนจักรรับรองเป็นทางการแล้ว ยังมีประชาชนธรรมดามากมายในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง รวมทั้งบรรดาคริสตชนที่เป็นมรณสักขี ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ถูกทอดทิ้ง คนจน มีความรักที่เสียสละตนเอง เพื่อสร้างอาณาจักรแห่งความยุติธรรม ความรัก และสันติสากล ทั้งสัตบุรุษ พระสงฆ์ และนักบวช

2. ศัตรู 2 ประการของความศักดิ์สิทธิ์ (ข้อ 35-62)
Gnosticism ลัทธินอสติก และ Pelagianism เป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ถูกต้อง คือ ลัทธินอสติกคิดว่าความครบครันวัดกันด้วยกิจเมตตา ไม่ใช่การให้ข้อมูลหรือความรู้ การแยกสติปัญญาจากเนื้อหนัง เป็นการลดคำสอนของพระเยซูเจ้าที่ถูกต้อง คือ ปรีชาญาณคริสตชนแท้ต้องมีกิจเมตตาด้วย Pelagianism เน้นเจตนาของมนุษย์ แต่ชีวิตจริงมนุษย์ก็อ่อนแอ เรามีพระหรรษทานช่วยเหลือด้วย

3. ในแสงสว่างของพระอาจารย์ (ข้อ 63-109)
ความสุขแท้ (The Beatitudes) ของพระเยซูเจ้าเป็นหนทาง 8 ประการสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในชีวิตประจำวัน คือ
• ผู้มีใจยากจน​• ผู้มีใจอ่อนโยน​• ผู้ร่วมทุกข์กับผู้อื่น • ผู้หิวกระหายความชอบธรรม​• ผู้เห็นและปฏิบัติความเมตตา • ผู้รักษาหัวใจให้อิสระจากสิ่งที่ทำให้ความรักเสื่อมเสีย​• ผู้หว่านสันติรอบตัวเรา​ • ผู้ยอมรับวิถีทางแห่งพระวรสารแม้ทำให้เกิดปัญหา (เทียบ มธ 5:3-10)
เราต้องปฏิบัติกิจเมตตา (ตาม มธ 25:31-46) ต้องไม่ใช่แบบผิวเผิน แบบโลกียะ เราต้องปกป้องเด็กที่ยังมิได้เกิด เขามีศักดิ์ศรีมนุษย์ คนชรา ผู้ป่วย ตลอดจนเหยื่อของการค้ามนุษย์ และรูปแบบใหม่ของการค้าทาส

4. เครื่องหมายของความศักดิ์สิทธิ์ในโลกปัจจุบัน (ข้อ 110-157)
1. ความเพียร ความอดทน และความอ่อนโยน เป็นพละกำลังภายใน โดยมีพระเจ้าเป็นหลัก ให้กระทำดีอย่างสม่ำเสมอ ต่อสู้ความรุนแรง ทางคำพูดในอินเตอร์เน็ต และสื่อสารดิจิตัล อย่าโกหก หยาบคายต่อใคร อย่าตัดสิน อย่าดูถูกคน
2. ชื่นชมยินดีและมีอารมณ์ดี มองโลกแง่ดี ความเศร้าเป็นเครื่องหมายของความอกตัญญูต่อพระพรที่พระเจ้าทรงมอบให้
3. ความกล้าและความกระตือรือร้นในการประกาศข่าวดี กล้าออกไปที่ชายขอบ ผู้ที่กำลังเดือดร้อน และสิ้นหวัง ไม่ใช่ทำตามหน้าที่ พระศาสนจักรต้องการธรรมทูตที่กระตือรือร้น
4. ในชุมชน ความศักดิ์สิทธิ์เป็นการก้าวเดินที่มีชีวิต เติบโตออกผลในชุมชน ในพิธีบูชาขอบพระคุณ มีมิตรภาพ และเป็นชุมชนธรรมทูต สนใจติดตามผู้หลงทาง
5. อธิษฐานสม่ำเสมอ มีเวลากับพระอาจารย์ ฟังพระวาจาและเรียนรู้จากพระองค์เสมอ ภาวนาวอนขอเพื่อเพื่อนบ้านด้วยความไว้วางใจ
6. การต่อสู้ด้านจิตวิญญาณ เราต้องตื่นเฝ้าและรู้จักไตร่ตรองแยกแยะ (ข้อ 158-177)

    ความชั่วร้ายมีอยู่ในพระคัมภีร์หน้าแรกก็บอกเรา ฉะนั้นเราต้องต่อสู้กับมันโดยอาศัยการอธิษฐานภาวนา พระวาจาของพระเจ้า การร่วมมิสซา การรับศีลอภัยบาป กิจเมตตา ฯลฯ
    การดำเนินชีวิตสู่ความศักดิ์สิทธิ์จะทำให้เกิดสันติสุขและความปีติยินดีในพระจิตเจ้า เราต้องฝึกไตร่ตรองแยกแยะ รู้จักฟังพระเจ้า ฟังผู้อื่น พ่อขอให้สำรวจมโนธรรมทุกวัน ด้วยความจริงใจกับพระเจ้า เชื่อฟังพระวรสารและคำสอนของพระศาสนจักร เช่นนี้เราจึงแบ่งปันความสุขที่โลกไม่สามารถพรากจากเราได้

โรม 19 มีนาคม ค.ศ. 2018

พระสังฆราช วีระ อาภรณ์รัตน์
11 เมษายน ค.ศ. 2018