แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทที่ 4 เรื่องแกะที่พลัดหลงและเรื่องเงินเหรียญที่หายไป (ลก.15.1-10)


    พระวรสารโดยนักบุญลูกาบทที่ 15 มีความไพเราะที่สุดบทหนึ่งในหนังสือพันธสัญญาใหม่  เพราะแสดงถึงพระเมตตากรุณาของพระเยซูคริสตเจ้าที่ทรงมีต่อคนบาป ดูจากเรื่องอุปมา 3 เรื่องในบทนี้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ อุปมาเรื่องแกะที่พลัดหลง อุปมาเรื่องเงินเหรียญที่หายไป และอุปมาเรื่องบิดาผู้ใจดี – พระองค์ทรงเล่า 3 เรื่องอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย  อย่างไรก็ตาม สมควรที่จะแยกสองเรื่องแรกออกจากเรื่องที่สาม เพราะเรื่องที่สามพัฒนาขึ้นมาก จนจบเรื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ขณะที่เรื่องอุปมาสองเรื่องแรกจบด้วยการเลี้ยงฉลอง แต่เรื่องที่สามปล่อยให้เราต้องกลั้นใจทีเดียว เพราะเรื่องไม่ได้บอกเราว่า พี่ชายตัดสินใจที่จะไปร่วมงานเลี้ยงฉลองการกลับมาของน้องชายหรือไม่    หรือเขาจะไปตามทางของเขา

บัดนี้  คนเก็บภาษีและคนบาปทั้งหลายกำลังเข้าไปใกล้เพื่อฟังพระเยซูเจ้า และพวกชาวฟาริสีและคัมภีราจารย์บ่นไม่พอใจว่า “คนนี้ต้อนรับคนบาปและกินอาหารร่วมกับเขา”
    ดังนั้น  พระองค์ตรัสกับเขาด้วยเรื่องอุปมาว่า “คนใดในพวกท่านที่มีแกะหนึ่งร้อยตัว ถ้าตัวหนึ่งพลัดหลงไป  เขาจะไม่ละทิ้งแกะเก้าสิบเก้าตัวไว้ในถิ่นทุรกันดาร และออกไปตามหาแกะที่พลัดหลงจนพบหรือ  เมื่อพบแล้ว เขาจะยกมันใส่บ่าด้วยความยินดี  กลับบ้าน เรียกมิตรสหายและเพื่อนบ้านมา พูดว่า “จงร่วมยินดีกับฉันเถิด ฉันพบแกะตัวที่พลัดหลงนั้นแล้ว”   เราขอบอกท่านทั้งหลายว่าในสวรรค์จะมีความยินดี  หากคนบาปคนหนึ่งกลับใจมากกว่าความยินดีเพราะคนชอบธรรมเก้าสิบเก้าคนที่ไม่จำเป็นต้องกลับใจใหม่”
แล้วหญิงคนใดที่มีเงินสิบเงินเหรียญแล้วทำหายไปหนึ่งเงินเหรียญ จะไม่จุดตะเกียง กวาดบ้าน ค้นหาอย่างถี่ถ้วนจนกว่าจะพบหรือ  เมื่อพบแล้ว นางจะเรียกมิตรสหายและเพื่อนบ้านมาพูดว่า “จงร่วมยินดีกับฉันเถิด ฉันพบเงินเหรียญที่หายไปแล้ว”  เราบอกท่านทั้งหลายว่าทูตสวรรค์ของพระเจ้าจะมีความยินดีเช่นเดียวกัน  เมื่อคนบาปคนหนึ่งกลับใจ’ (ลก.15.1-10)

1. ประเภทต่างๆ ของคนบาป
ในสมัยพระเยซูเจ้า พวกยึดธรรมเนียมปฏิบัติแบ่งคนบาปเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ด้านอุปนิสัย ด้านเชื้อชาติ ด้านร่างกายและด้านจริยธรรม ปรากฏว่า พระเยซูเจ้าทรงติดต่อสัมพันธ์กับคนบาปทั้งสี่ประเภทนี้
คนบาปประเภทแรกคือด้าน “ร่างกาย”  เนื่องจากความคิดรวบยอดที่ว่าความบกพร่องทางด้านร่างกายถูกเชื่อมโยงกับบาป พวกเขาเห็นความเจ็บป่วยเป็นผลที่ตามมาของบาป และไม่ใช่จากสภาพตามธรรมชาติ เมื่อพระเยซูเจ้าทรงรักษาชายตาบอดแต่กำเนิดคนหนึ่ง ศิษย์ของพระองค์ทูลถามพระองค์ว่า ความบกพร่องทางสายตาเกี่ยวโยงกับบาปของคนตาบอดหรือกับบาปของบิดามารดาของเขา (เกิดมาในบาปทั้งตัว) หรือไม่ (ยน.9.1-2)  นอกจากความคิดเชื่อมโยงระหว่างบาปกับความเจ็บป่วยแล้ว ยังมีความคิดที่แพร่หลายในชาวปาเลสไตน์ในเวลานั้นว่า พระเจ้าเท่านั้นที่สามารถยกบาปได้ ดังนั้น ตราบใดที่เครื่องหมายอัศจรรย์เกิดขึ้น  ก็จะมีการชดเชยบาปด้วยการชำระมลทินในพระวิหาร พระเยซูเจ้าทรงอ้างสิทธิที่จะชำระคนพิการจากบาปมลทินด้วยพระองค์เอง ขณะที่มีกรณีของคนอัมพาตที่มีคนนำเขามาทางหลังคา (มก.2.3-12)  คนที่รวมกันในที่ประชุมบางคนรู้สึกเห็นการยกบาปของพระองค์ว่าเป็นการหมิ่นพระเจ้า ทำให้พวกเขารู้สึกเกลียดชังพระองค์
คนบาปประเภทที่ 2 ด้านเชื้อชาติ ชาวยิวพิจารณาว่า คนต่างชาติ (ไม่ใช่เชื้อสายของชาติอิสราเอล) พวกเขาเป็นคนบาปเพราะพวกเขาไม่ได้ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของโมเสสตามธรรมเนียมชาวยิว คนบาปประเภทนี้ ได้แก่ ชาวสะมาเรียและชาวต่างศาสนาที่อาศัยในปาเลสไตน์ พวกเขาต้องยอมปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของโมเสส จึงเป็นอิสระจากบาปประเภทนี้ ตามพื้นฐานเรื่องเชื้อชาติ, คนต่างศาสนา (Gentiles) จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในพระวิหารกรุงเยรูซาเล็ม และจะถูกบังคับให้เคารพแต่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ภายใต้กฎแห่งการทุ่มหินใส่    หากถ้าพวกเขาทำให้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นมลทิน
นอกจากนี้ ความสำคัญทางเชื้อชาติสำหรับคำ “คนบาป”  ยังมีความสำคัญทางสังคมที่ประยุกต์กับคนเก็บภาษีที่ทำงานผิดกฎหมาย ซึ่งรับสัมปทานในการเก็บภาษีตามอำนาจของจักรวรรดิโรมัน ไม่เหมือนคนออกเงินกู้ทั่วไป เพราะคนเก็บภาษีดำเนินชีวิตด้วยการขู่กรรโชกให้ได้เงินมากกว่าจำนวนหนี้และเขาจะเก็บเงินส่วนต่างไว้ ในบรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงเลือกเลวี บุตรของอัลเฟอัส โดยเชิญให้เขาติดตามพระองค์ขณะที่เขากำลังเก็บภาษีในที่ทำงานของเขา (ดู มก.2.14)  มีการประเมินการฟื้นฟูคนบาปกลุ่มนี้ต่ำเกินไป  พระเยซูเจ้าจึงทรงเล่าเรื่องอุปมาคนเก็บภาษีกับชาวฟาริสีในพระวิหาร (ลก.18.9-14) ซึ่งจะอภิปรายต่อไป
คนบาปประเภทสุดท้ายเป็นเรื่องศีลธรรมและรวมถึงพวกเจ้าหนี้ นายทุนและหญิงล่วงประเวณี คิดว่าหญิงที่เช็ดพระบาทของพระเยซูเจ้าในบ้านของซีโมนชาวชาวฟาริสี จัดอยู่ในประเภทนี้ด้วย ตัวอย่างอื่น คือ หญิงชาวสะมาเรียที่พระเยซูเจ้าทรงหยุดพักเพื่อสนทนากับนางที่บ่อน้ำ ที่มีสามี 5 คนและอยู่กินกับชายที่ไม่ได้เป็นสามีของนาง (ดู ยน. 4.7-30)
พระเยซูเจ้าทรงยืนยันว่า พระบิดาเจ้าทรงส่งพระองค์มาเพื่อรักษาแผลของคนบาปทุกคนโดยไม่เลือกหน้า อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงถูกกล่าวหาว่าเป็นคนบาปเสียเอง เพราะพระองค์ทรงคลุกคลีกับคนบาป (ดู ยน. 9.24) แต่เครื่องหมายอัศจรรย์ของพระองค์พิสูจน์ว่า ข้อกล่าวหาเหล่านี้ผิด เนื่องจากคนบาปไม่อาจกระทำเครื่องหมายอัศจรรย์ได้  เรื่องอุปมาช่วยอธิบายเหตุผลที่พระองค์ประทับอยู่กับคนบาป

2. คนเลี้ยงแกะและแกะที่ได้รับการช่วยชีวิตให้รอดพ้นจากความตาย
พระเยซูเจ้าไม่ใช่บุคคลแรกที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนเลี้ยงแกะและแกะ และใช้ความสัมพันธ์นี้เป็นการเปรียบเทียบ ประกาศกเอเสเคียลเล่าเรื่องอุปมาขนาดยาวเพื่อต่อต้านคนเลี้ยงแกะของอิสราเอล (บรรดากษัตริย์)  ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจแก่เรื่องอุปมาของพระเยซูเจ้า “เราเองจะเป็นผู้เลี้ยงแกะของเรา เราจะให้เขานอนพัก – พระยาห์เวห์องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัส – เราจะตามหาแกะที่สูญหายไป เราจะนำแกะที่หลงทางกลับมา เราจะพันแผลของแกะที่บาดเจ็บ เราจะเสริมกำลังแกะที่อ่อนเพลีย เราจะดูแลแกะที่อ้วนและแข็งแรง เราจะเลี้ยงเขาอย่างยุติธรรม” (อสค.34.15-16)
    อย่างไรก็ตาม เรื่องอุปมาของพระเยซูเจ้า เป็นความจริงที่ขัดแย้งกัน เราเห็นคนเลี้ยงแกะ100 ตัว,แกะ 99 ตัว กับแกะตัวเดียวที่หลงทาง  คนเลี้ยงแกะทิ้งแกะ 99 ตัวไว้ในที่เปลี่ยว แล้วไปหาแกะที่หลงทาง  เมื่อเขาพบแกะที่พลัดหลง เขาเอาแกะใส่บ่าและเดินกลับบ้าน  เรียกเพื่อนๆมารวมตัวกันและขอให้พวกเขาร่วมยินดีกับเขา ดูเหมือน เราพบคำถามของพระเยซูเจ้าในความจริงที่ขัดแย้งกันนี้ เพื่อบรรยายถึงการตัดสินใจเลือกของคนเลี้ยงแกะ ในแง่ของคนที่เลือกเช่นนั้น  ไม่มีใครทอดทิ้งแกะ 99 ตัวจริงๆไว้ในที่เปลี่ยว  เพื่อไปค้นหาแกะที่พลัดหลงเพียงตัวเดียว  เพราะเขาเสี่ยงที่จะสูญเสียแกะ 99 ตัวในที่เปลี่ยว โดยปราศจากความมั่นใจว่าจะพบแกะที่พลัดหลงด้วย
    ท่าทีที่ดูเหมือนขัดแย้งกันของคนเลี้ยงแกะอธิบายการเข้าถึงพระเยซูเจ้า นั่นคือ คนที่คิดว่าพวกเขาที่ปราศจากบาปเหมือนกับแกะ 99 ตัวที่อยู่ตามลำพังโดยไม่มีคนเลี้ยงแกะ ความจริง แกะ 99 ตัวเสี่ยงภัยในที่เปลี่ยวเช่นเดียวกับแกะที่พลัดหลงตัวเดียว แต่ด้วยความแตกต่างที่เป็นสาระว่า แกะที่พลัดหลงต้องการความปลอดภัย ขณะที่แกะ 99 ตัวคิดว่าพวกมันปลอดภัยแล้ว
    ความชื่นชมยินดีในตอนท้ายของเรื่องอุปมาเป็นจริงสำหรับชีวิต การพบแกะที่พลัดหลงคือ ความชื่นชมยินดีของคนเลี้ยงแกะ...และของพระเจ้าที่ทรงความชื่นชมยินดีที่เห็นคนบาปกลับใจมากกว่าเห็นคนชอบธรรม 99 คนที่ไม่ต้องการกลับใจ  (หรือหลอกตัวเองว่าพวกเขาเป็นคนชอบธรรม)  วิธีที่พระเยซูเจ้าทอดพระเนตรคนกลับใจ ก่อให้เกิดความคิดว่า ไม่ใช่เป็นผลของคนที่กลับใจได้รับ แต่เป็นผลของการกระทำของพระเจ้าที่ทรงแสวงหาคนที่หลงทาง การกลับใจมักจะเป็นการกระทำของพระหรรษทานที่ประทานโดย พระองค์ผู้ทรงแบกแกะที่พลัดหลงไว้บนบ่าของพระองค์และพากลับบ้าน และเนื่องจากการกลับใจเกิดจากพระหรรษทาน  ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องแบ่งปัน พวกชาวฟาริสีมีทางเลือก  พวกเขาสามารถแบ่งปันความชื่นชมยินดีแห่งการกลับใจที่ประทานแก่คนเก็บภาษีและคนบาปหรือพวกเขาสามารถต่อต้านที่จะไม่รับความชื่นชมยินดีนั้น  พวกเขาพลาดที่ทึกทักเอาเองว่า ตนปลอดภัยในที่เปลี่ยวแล้ว   แท้จริงแล้ว พวกเขาเหมือนฝูงแกะที่อยู่บนเส้นทางที่มีภัยเพราะไม่มีคนเลี้ยงคอยดูแลพวกเขา
    องค์ประกอบแห่งการกลับใจของมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะคนไม่ใช่ผู้ร้องทุกข์เหมือนแกะ  อย่างไรก็ตาม เรื่องอุปมาไม่ได้นำเสนอด้านจริยธรรมเกี่ยวกับแกะ 99 ตัว หรือแกะที่รอดตาย อีกแง่หนึ่ง พูดอีกแบบหนึ่ง  บุคคลคนหนึ่งไม่จำเป็นต้องพลัดหลง เพื่อจะได้ถูกตามหาให้พบ หรือไม่ได้ต้องถูกทิ้งในที่เปลี่ยว แล้วจะหมายความว่า พระเจ้าจะไม่เสาะแสวงหาเขา การกระทำทั้งหมดเป็นเรื่องของคนเลี้ยงแกะไม่ใช่เป็นเรื่องของแกะ  การเพิ่มเรื่องอุปมาเงินเหรียญถัดจากเรื่องอุปมาแกะที่พลัดหลง เพื่อจุดประเด็นว่าการกลับใจเริ่มมาจากพระเจ้าโดยแท้

3. แม่บ้านและเงินเหรียญที่หาจนพบ
แม่บ้านที่ทำเงินเหรียญหาย และทำทุกสิ่งเท่าที่เธอจะสามารถเพื่อค้นหาเงินเหรียญนั้นให้พบ  ทำให้สถานการณ์เหมือนกับเรื่องอุปมาคนเลี้ยงแกะและแกะของเขา นั่นคือ เป็นสิ่งที่ยากจะจินตนาการว่าจะเป็นจริงได้ ครั้นเมื่อแม่บ้านหาเงินเหรียญจนเจอแล้ว เธอก็รวบรวมเพื่อนและเพื่อนบ้านของเธอ และขอให้พวกเขามาร่วมยินดีกับเธอ เพราะเธอพบเงินเหรียญที่หาย บทสรุปของเรื่องอุปมามีลักษณะเหมือนกับเรื่องอุปมาแกะที่พลัดหลง คือ มีความชื่นชมยินดีต่อหน้าทูตสวรรค์ของพระเจ้าเพราะคนบาปคนเดียวที่กลับใจ 
ในบทแรก ดูเหมือนว่า เนื้อหาของเรื่องอุปมา 2 เรื่องคล้ายคลึงกัน แกะ 100 ตัวคล้ายกับเงินเหรียญ 10 เหรียญ  ขณะที่แกะพลัดหลงคล้ายกับเงินเหรียญที่หาย ความจริง ความสนใจในเรื่องอุปมาถูกมุ่งเน้นที่ความผูกมัดของหญิงที่จะหาเงินเหรียญที่หาย ซึ่งมีค่าน้อยกว่าแกะตัวหนึ่งมากนัก ในสมัยพระเยซูเจ้า เงินเหรียญดรักมามีค่าประมาณ 1 เดนาริอัน ซึ่งเท่ากับค่าแรงหนึ่งวัน
ถึงแม้เงินเหรียญมีค่าเล็กน้อย แม่บ้านก็ทุ่มเทอย่างสิ้นสุดจิตใจในการค้นหาเงินเหรียญนั้น เรื่องอุปมาไม่ได้บ่งชี้ฐานะทางสังคมของหญิงคนนั้น  แต่ในกรณีนี้ ความยากจนอาจอธิบายความพยายามที่เข้มข้นเมื่อต้องค้นหาเงินเหรียญที่หายไป  การมุ่งเน้นอยู่ที่ค้นหาเงินเหรียญที่หายไปอย่างละเอียด และความชื่นชมยินดีร่วมกันเมื่อพบเงินเหรียญ การอุทิศตนและความชื่นชมยินดีของเธอ  แท้จริง ไม่ใช่ค่าเล็กน้อยของเงินเหรียญนั้น แต่เน้นที่คุณค่าที่แท้จริงของเงินเหรียญต่างหาก
เงินเหรียญหนึ่งไม่น่าจะมีความสำคัญ ซึ่งถูกประเมินค่าต่ำกว่าการกลับใจนั้น  ไม่คิดว่าเท่ากับการตอบสนองของมนุษย์ ความจริง เป็นการกระทำของพระหรรษทานของพระเจ้า เรื่องอุปมาสั้นๆนี้เกี่ยวกับพระเมตตากรุณาไม่ได้เชื่อมโยงระหว่างเงินเหรียญที่หายกับเงินเหรียญอื่นๆไม่เหมือนแกะที่พลัดหลงที่เชื่อมโยงกับแกะ 99 ตัว  แม่บ้านค้นหาเงินเหรียญเพียงเหรียญเดียว เพราะมันมีค่าสำหรับนางเธอ และไม่ใช่เพราะมันมีค่าเหมือนกับเงินเหรียญดรักมาเหรียญอื่นๆ ถ้ามีคนบาปเพียงคนเดียว  ก็น่าจะคุ้มที่จะฝ่าฟันความยากลำบากที่จะค้นหาเขา และจะมีความชื่นชมยินดีเมื่อพบเขา

4. พระเยซูเจ้าและชุมชนกับโฉมหน้าของคนเลี้ยงแกะ
ในคำว่า “คนเลี้ยงแกะและแกะ”, โฉมหน้าใหม่ของความสัมพันธ์นั้นเกิดขึ้นในพระวรสารโดยนักบุญยอห์นและพระวรสารโดยนักบุญมัทธิว ในพระวรสารนักบุญยอห์น 10.1-16 พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องเกี่ยวกับความคล้ายคลึงระหว่างพระองค์เองกับคนเลี้ยงแกะที่ดี ซึ่งสามารถตีความคำ ผู้เลี้ยงแกะ “แสนดี” – ที่พระองค์ทรงระบุว่าเป็นสิ่งเดียวกัน  พระองค์ทรงเป็นคนเลี้ยงแกะแสนดี เพราะพระองค์ทรงรู้จักแกะของพระองค์ตามชื่อของแกะแต่ละตัวและสละชีวิตของพระองค์เพื่อพวกมันได้ ในการดูแลเอาใจใส่แกะ คนเลี้ยงแกะไม่เหมือนลูกจ้างและขโมย ขณะที่ลูกจ้างสนใจแต่ค่าแรงของเขา, คนเลี้ยงแกะสละชีวิตของตนเพื่อแกะโดยไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนหรือเวลาที่จำเป็นแก่ฝูงแกะเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับแกะ และในขณะที่ขโมยลักแกะไป คนเลี้ยงแกะที่อยู่เพื่อแกะ จึงยอมสละชีวิตเพื่อแกะ
สิ่งที่แยกแยะลูกจ้างและขโมยจากคนเลี้ยงแกะ คืออันตรายที่เกิดขึ้น เมื่อลูกจ้างเห็นสุนัขป่า เขาจะทิ้งแกะและหนีไปเพราะเขาไม่สนใจแกะ คนเลี้ยงแกะที่แท้จริงมีเอกลักษณ์ตายตัว ไม่ใช่สักแต่ถือเป็นหน้าที่เท่านั้น  แต่ยินดีเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายและอันตราย – ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเขาต้องตัดสินใจว่า จะหนีเพื่อรักษาชีวิตของเขาเอง  หรืออยู่และสละชีวิตเพื่อแกะของเขา พระเยซูเจ้าประทานของขวัญแห่งตัวตนทั้งหมดนี้ พระองค์มุ่งสู่การสิ้นพระชนม์เพราะทรงเป็นคนเลี้ยงแกะแสนดี เป็นความงดงามที่ไม่ได้มาจากวิธีที่เขามอง แต่มาจากการอยู่กับแกะของเขาเวลามีภัย   
ในบทเทศน์เกี่ยวกับคนเลี้ยงแกะที่แสนดี พระเยซูเจ้าทรงมีเอกลักษณ์ในการสละชีวิตพระองค์เองถึงกับหลั่งพระโลหิต,แต่พระเยซูเจ้าในพระวรสารโดยนักบุญมัทธิว เพิ่มมิติแก่ความสัมพันธ์ระหว่างคนเลี้ยงแกะกับแกะ มธ.18.12-14 และอุปมาเรื่องแกะที่พลัดหลงใน ลก. 15.3-7  แต่บริบทแตกต่างกันเพราะเป็นวาทกรรมเกี่ยวกับพระศาสนจักรช่วงแรกถูกอุทิศแก่ “คนต่ำต้อย” ที่ชุมชนคริสตชนจำเป็นต้องต้อนรับและจบลงด้วยเรื่องอุปมาคนเลี้ยงแกะที่ดีบริบทต่างไป  ณ ที่นี้ เน้นความสนใจแรงผลักดันของเรื่องอุปมาว่า “พระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ก็เช่นกัน ไม่ทรงปรารถนาให้คนธรรมดาๆ เหล่านี้แม้เพียงผู้เดียวต้องพินาศไป” (มธ.18.14) พระศาสนจักรเกี่ยวข้องกับเรื่องอุปมานี้โดยส่วนบุคคล เพราะวางใจในพระประสงค์ของพระบิดาเจ้า ไม่ใช่ปล่อยให้คนต่ำต้อยเหล่านี้พินาศไป
พระศาสนจักรเปรียบเสมือนคล้ายกับพระบิดาเจ้าสวรรค์ที่ทรงพระเมตตากรุณา เมื่อแสดงองค์เป็นมารดาที่ค้นหาแกะที่พลัดหลง และไม่ลืมแกะ 99 ตัวที่อยู่บนภูเขา แต่ชื่นชมกับแกะตัวเดียวที่หาพบ  เป็นการง่ายที่จะเห็นเรื่องอุปมาคนเลี้ยงแกะที่ดีเกี่ยวข้องกับพระศาสนจักรและแกะของพระศาสนจักร คนต่ำต้อยที่ไม่อาจมีที่ในสังคม ต้องการสิทธิพลเมืองในชุมชนคริสตชน คนต่ำต้อยไม่เพียงต้องการการต้อนรับ  แต่ยังถูกค้นพบ  แม้มีความเสี่ยงที่พระศาสนจักรอาจหาคนต่ำต้อยไม่พบก็ตาม พระเยซูเจ้าตรัสเป็นนัยถึงความขัดแย้งระหว่างพระศาสนจักรที่เข้ามาอยู่บนเส้นทางแห่งศีลธรรมหรือความสามารถในการทำงานที่ใช้เวลา  และพระศาสนจักรที่ถือว่าบรรดาคนต่ำต้อยเป็นศูนย์กลางของพระศาสนจักร ถ้าพระศาสนจักรมีอยู่ในทุกแห่งที่มีคนสองหรือสามคนมาประชุมกันในพระนามของพระเยซูเจ้า,พระพักตร์ของพระคริสตเจ้าในพระศาสนจักรก็คือใบหน้าของคนต่ำต้อยเหล่านี้นั่นเอง
อเลซซานโดร มานโซนี (Alessandro   Manzoni) ได้เขียนเรื่องอุปมาแกะที่รอดชีวิตไว้อย่างปราดเปรื่อง เมื่อเขาบอกเกี่ยวกับการพบปะของตัวละครที่ไม่มีใครรู้จักชื่อ ลูซี่ (Lucy)   กับพระคาร์ดินัลเฟรเดอริค   บอโรเมโอ (Cardinal Frederick Borromeo) เราไม่สามารถอยู่ ณ ที่นี่ในบทที่ 21 และบทที่ 23 ของนวนิยายอิตาเลียนยอดนิยม (The Betrothed- นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1827 (I   promiessi   sposi)  แต่แนะนำให้อ่านความไพเราะของทั้งสองบทนี้ เพราะไพเราะมาก ให้เราเพียงแต่พูดว่า ลองครุ่นคิดในสิ่งที่ลูซีพูดในบทเหล่านี้เมื่อเธอพบกับชายแปลกหน้าคนหนึ่ง “พระเจ้าประทานอภัยด้วยกิจการหลากหลายเพื่อแสดงพระเมตตากรุณาสักครั้งหนึ่ง”. (Alessandro Manzoni, The Bethothed (CreateSpace   Independent   Publishing  Platform, 2013), p. 105). คำกล่าวของเธอป้องกันคนแปลกหน้าจากการฆ่าตัวตายในคืนที่เจ็บปวด, และวันต่อมา เขาพบกับพระคาร์ดินัล บอร์โรเมโอ พระคาร์ดินัลกลับยอมรับผิดและตำหนิตัวเอง ที่มองข้ามคนแปลกหน้าที่รอคอยให้มาเยี่ยมพระคาร์ดินัลและนี่คือการเขียนเรื่องอุปมาใหม่ในถ้อยคำของมานโซนี (Manzoni)  ตามถ้อยคำของพระคาร์ดินัลที่ว่า “เราจะทิ้งแกะ 99 ตัวไว้ตามลำพัง... พวกมันจะปลอดภัยบนภูเขา  บัดนี้ ข้าพเจ้าต้องอยู่กับแกะที่พลัดหลง คนเหล่านี้ (ที่กำลังรอพระสังฆราช) บัดนี้ บางที พวกเขารู้สึกพอใจมากกว่า ถ้าพวกเขามีพระสังฆราชที่ยากจนอยู่กับพวกเขา  บางทีพระเจ้า จะเสด็จเยือนท่านด้วยสิ่งมหัศจรรย์มากมายและประทานความมั่งคั่งแห่งพระหรรษทาน  บัดนี้ พระหรรษทานกำลังเติมเต็มในหัวใจของพวกเขาด้วยความชื่นชมยินดี ซึ่งช่วยทำให้พวกเขาศักดิ์สิทธิ์ได้ ไม่ใช่มาจากความดีของพวกเขาเอง” (Alessandro   Manzoni, The   Betrothed  (CreateSpace  Independent  Publishing  Platform, 2013), p. 113)yy

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 18:1-19:42) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ข้ามห้วยขิดโรน ที่นั่นมีสวนแห่งหนึ่ง พระองค์เสด็จเข้าไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ยูดาสผู้ทรยศรู้จักสถานที่นั้นด้วย เพราะพระองค์เคยทรงพบกับบรรดาศิษย์ที่นั่นบ่อยๆ ยูดาสนำกองทหารและยามรักษาพระวิหารที่บรรดาหัวหน้าสมณะ...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:1-15) ก่อนวันฉลองปัสกา พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าถึงเวลาแล้วที่จะทรงจากโลกนี้ไปเฝ้าพระบิดา พระองค์ทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด ระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ ปีศาจดลใจยูดาสอิสคาริโอทบุตรของซีโมนให้ทรยศต่อพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระบิดาประทานทุกสิ่งไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว และทรงทราบว่าพระองค์ทรงมาจากพระเจ้าและกำลังเสด็จกลับไปหาพระเจ้า จึงทรงลุกขึ้นจากโต๊ะ...
วันพุธ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 26:14-25) เวลานั้น คนหนึ่งในบรรดาอัครสาวกสิบสองคน ชื่อ ยูดาส อิสคาริโอท ไปพบบรรดาหัวหน้าสมณะ ถามว่า “ถ้าข้าพเจ้ามอบเขาให้ท่าน ท่านจะให้อะไรแก่ข้าพเจ้า”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลมหาพรตและปัสกา กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ เทศกาลมหาพรตและปัสกา E-book...
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อัครสาวก 12 องค์ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

212. มื้ออาหารของพระเยซูเจ้ากับเรามีชื่อว่าอะไรบ้าง และหมายความว่าอะไร มีชื่อแตกต่างกันที่ชี้บอกถึงความมั่งคั่งอย่างไม่อาจหยั่งถึงได้ของธรรมล้ำลึกนี้ คือ การบูชาศักดิ์สิทธิ์ มิสซา เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชาขอบพระคุณ อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า การบิปัง การชุมนุมศีลมหาสนิท การรำลึกถึงพระทรมาน...
211. ศีลมหาสนิทสำคัญอย่างไรสำหรับพระศาสนจักร การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท เป็นหัวใจของชุมชนคริสตชน ในศีลมหาสนิทพระศาสนจักรกลายเป็นพระศาสนจักร (1325) เราไม่ได้เป็นพระศาสนจักรเพราะเรากลมเกลียวกัน หรือเป็นเพราะเราสิ้นสุดในชุมชนวัดเดียวกัน แต่เนื่องจากในศีลมหาสนิทเราได้รับพระกายของพระคริสตเจ้า และเราถูกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นในพระกายของพระคริสตเจ้า 126,217 ในศีลมหาสนิทเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเหมือนกับอาหารเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย...
210. พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทอย่างไร “ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนั้นต่อให้ท่าน คือในคืนที่ทรงถูกทรยศนั้นเอง พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงหยิบปัง ขอบพระคุณ แล้วทรงบิออก ตรัสว่า “นี่คือกายของเราเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” เช่นเดียวกัน...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา เรื่อง การดูหมิ่น พระคัมภีร์ โรม 12:16 ภาพรวม เด็กๆ สร้างคนด้วยไม้จิ้มฟัน และเรียนรู้ว่า การดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดอย่างไร อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ปากกาเส้นใหญ่ กาว และแถบกาว ประสบการณ์ แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 คน แจกไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
🤖 TRV. Innovation Fair 2023 🤖 วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสไปออกร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ และออกบูธจัดกิจกรรมคำสอน ร่วมกับฝ่ายจิตตาภิบาล โรงเรียนไตรราชวิทยา ในโครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม ประธานในพิธี บาทหลวงเอกรัตน์...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)
วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
6993
15812
45096
240366
326718
35677870
Your IP: 3.235.243.45
2024-03-28 17:53

สถานะการเยี่ยมชม

มี 548 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์