แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

พระนางพรหมจารีย์มารีย์ (The Vrigin Mary)
รูปภาพที่บ่งบอกถึงความอ่อนโยนเยี่ยงแม่ พระมารดาของพระเจ้า
ทรงนำเราเข้าสู่หัวใจของความรักของพระเจ้า

    มารีย์-มาจากศัพท์ภาษาฮีบรู มีเรียม (myriam) แปลว่า “ผู้ที่พระเจ้าทรงรักโปรดปราน” อัครทูตสวรรค์คาเบรียลแจ้งให้พระนางพรหมจารีมารีย์ทราบว่าจะทรงตั้งครรภ์ มีบุตรเป็นชายซึ่งจะเป็นผู้สืบสกุลของกษัตริย์ดาวิด รัชสมัยของพระองค์จะไม่มีสิ้นสุด ก็เป็นการกำหนดให้ทรงเป็นพระผู้ไถ่ที่อิสราเอลกำลังรอคอย การรับสารมีความสำคัญมากในมรดกวัฒนธรรมของยุโรปและมีการวาดภาพไว้มากมาย เวลาที่พระแม่มารีย์ได้รับเชิญให้เป็นพระมารดาขององค์พระผู้ไถ่ และพระมารดาของเราด้วย ถือว่าเป็นรากฐานของศักดิ์ศรีของพระนาง

    เราได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าพระตรีเอกภาพทั้งครบประทับอยู่กับพระแม่มารีย์ในโอกาสของการแจ้งสารของอัครทูตสวรรค์คาเบรียล พระบิดาทรงส่งมาในฐานะผู้แจ้งสารการรับเอาสภาพมนุษย์ของพระบุตรซึ่งจะเกิดขึ้น ด้วยเดชะพระจิตเจ้า แผนการไถ่กู้ของพระเจ้านี้เป็นจริงอย่างเร้นลับจากการตอบรับของข้าทาสหญิงผู้ต่ำต้อยแห่งนาซาแร็ท พระนางทรงยินยอมด้วยคำว่า Fiat “ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าขอให้เป็นไป (fiat) (ภาพภาษาละติน) กับข้าพเจ้าตามวาทะของท่านเถิด” (ลก.1:38)
    พระแม่มารีย์ทรงให้กำเนิดพระกุมารเยซูที่เมืองเบธเลเฮม     สี่สิบวันต่อมาแม่พระถวายพระองค์ในพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม บรรดาโหราจารย์จากทิศตะวันออกมาถวายนมัสการแด่พระองค์ ความอิจฉาของกษัตริย์เฮโรดทำให้ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ต้องไปหลบซ่อนที่ประเทศอียิปต์ชั่วระยะหนึ่ง หลังจากกษัตริย์เฮโรดสิ้นพระชนม์แล้ว นักบุญโยเซฟ พระแม่มารีย์ และพระเยซู ได้กลับมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เมืองนาซาเร็ธ ตลอดเวลายี่สิบปีที่ต่อมานั้นพระเยซูทรงเจริญวัยอย่างซ่อนเร้น
    พระแม่มารีย์ทรงมีบทบาทที่ค่อนข้างเจียมตัวในพันธสัญญาใหม่ นอกจากนักบุญมัทธิวและนักบุญลูกากล่าวถึงวัยเด็กของพระเยซูแล้ว ที่กล่าวถึงอย่างมาก ได้แก่ การแต่งงานที่เมืองคานา พระองค์ทรงเปลี่ยนน้ำเป็นเหล้าองุ่นเพราะคำแนะนำของพระมารดาของพระองค์ อัศจรรย์นี้ถือว่าเป็นการเริ่มต้นพระชนม์ชีพเปิดเผยของพระองค์ (๑) เราเห็นพระแม่มารีย์อีกครั้งขณะประทับยืนอยู่แทบเชิงกางเขน ก่อนที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ทรงมอบนักบุญยอห์น “ศิษย์ที่ทรงรัก” แก่พระนางพลางตรัสว่า “คุณแม่ นี่คือลูกของท่าน” แล้วนั้น ทรงยืนยันเรื่องนี้อีกทีเมื่อตรัสกับศิษย์คนนั้นว่า “นี่คือแม่ของเจ้า” (๒)เหตุการณ์นี้ชี้ให้เราเห็นว่าในขณะที่พระเยซูกำลังจะสิ้นพระชนม์อยู่นั้น พระองค์ทรงมอบพระมารดาของพระองค์แก่เรา เจ็ดสัปดาห์ต่อมา ขณะที่กำลังรอคอยการเสด็จมาของพระจิต พระแม่มารีย์ทรงภาวนาอย่างเร่าร้อนพร้อมกับบรรดาอัครสาวกและทรงประทับท่ามกลางพวกเขาขณะที่พระจิตเสด็จลงมาในสัณฐานของลิ้นไฟ(๓)
    ดังนั้น พระแม่มารีย์ทรงอยู่ในเหตุการณ์ที่สำคัญๆของการบังเกิด การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูและในการสถาปนาพระศาสนจักรด้วย พระสังคายนาแรกๆของพระศาสนจักรที่ยังมิได้แตกแยกกันได้กล่าวถึงฐานะที่ถ่อมตัวแต่มีความสำคัญยิ่งของพระนางในแผนการของการไถ่บาป ทรงเป็นหัวใจของบท Credo บทประกาศความเชื่อ “พระองค์ทรงรับเอากายจากพระนางมารีย์ พรหมจารีด้วยพระอานุภาพของพระจิตมาบังเกิดเป็นมนุษย์” พระแม่มารีย์ไม่ได้เป็นพระหญิง เป็นข้าทาสผู้ต่ำต้อยของพระเจ้า แต่เป็นพระมารดาของพระองค์ตามธรรมชาติมนุษย์ พระแม่ประทานส่วนที่เป็นมนุษย์ให้แก่พระคริสต์ดังที่พระบิดาทรงประทานส่วนที่เป็นเทวภาพพระองค์ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นการง่ายที่จะเข้าใจถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งของพระนางกับพระบิดาและพระบุตรพร้อมทั้งพระจิตผู้ทรงบันดาลให้พระนางทรงครรภ์ จึงกล่าวได้ว่าพระแม่มารีย์ทรงเป็นการเปิดเผยฐานะที่เป็นมนุษย์ถึงความอ่อนโยนเยี่ยงแม่ของพระเจ้า
    เป็นเวลาหลายศตวรรษที่ชาวคาทอลิกและชาวออร์ธอดอกซ์มีความศรัทธาต่อพระแม่มารีย์ ซึ่งนับวันจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ส่วนพวกปฏิรูปนั้นคิดว่าการที่มนุษย์เคารพพระนางพรหมจารีนั้น ซึ่งบางครั้งเลยเถิด จึงผิดต่อบทบาทของการเป็นคนกลางแต่ผู้เดียวของพระคริสต์ พระศาสนจักรคาทอลิกเชื่อว่าพระแม่มารีย์ทรงมีอิทธิพลของการเป็นคนกลางในฐานะเป็นมารดากับพระบุตรของพระนาง ธรรมประเพณีดั้งเดิมจึงถวายนามแด่พระนางว่า Omnipotentia supplex (ผู้วิงวอนที่สรรพานุภาพ) พระกฤษฎีกาว่าด้วย
    พระศาสนจักรของพระสังคายนาวาติกันที่ 2 สอนว่า “หน้าที่ของพระนางมารีย์ในฐานะที่เป็นพระมารดาของมนุษย์ไม่ได้ปิดบังหรือทำให้การเป็นคนกลางของพระคริสต์ลดลงแม้แต่น้อย แต่กลับแสดงพลังเสียอีก” (ข้อ 60) พระแม่มารีย์ทรงเป็นพระมารดาของพระเจ้าและพระมารดาของพระศาสนจักรแต่ก็ไม่ได้เหนือพระเจ้าหรือเหนือพระศาสนจักร “ทรงได้รับเกียรติให้เป็นสมาชิกที่โดดเด่นและพิเศษสุดของพระศาสนจักร” (ข้อ 53)ในภาพของพระกายทิพย์ของพระคริสต์นั้นพระนางมิได้ทรงเป็นศีรษะแต่ทรงเป็นคอ ซึ่งอิทธิพลของพระนางไหลผ่านทางนี้ พระศาสนจักรเจ้าสาวของพระเจ้าทรงเป็นทั้งพรหมจารีและมารดา
    ปฏิทินพิธีกรรมแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพระแม่มารีย์ในชีวิตคริสตชนตามลำดับของชีวิตของพระนาง วันฉลองพระนางเริ่มด้วยวันสมโภชการปฏิสนธินิรมล ในวันที่ 8 ธันวาคม ข้อความเชื่อนี้ได้รับการยืนยันโดยพระสันตะปาปาปีอุสที่ 9 ในปีค.ศ.1854 ประกาศว่าพระนางพรหมจารีได้รับการยกเว้นจากบาปกำเนิดอันเป็นชิมลางล่วงหน้าของการไถ่บาป
    อีกเก้าเดือน ต่อมาในวันที่ 8 กันยายน เป็นวันฉลองการบังเกิดของพระนาง และการถวายองค์ในพระวิหารก็ได้รับการระลึกถึงในวันที่ 21 พฤศจิกายน วันที่ 25 มีนาคม (เก้าเดือนก่อนวันพระคริสตสมภพ) เป็นวันแม่พระรับสาร วันที่ 31 พฤษภาคมฉลองแม่พระเสด็จเยี่ยมนางเอลีซาเบธผู้เป็นญาติของพระนาง
    วันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันสมโภชการเป็นพระชนนีของพระเจ้า การถวายพระกุมารในพระวิหารหรือวันเสกเทียนคือวันที่ 2 กุมภาพันธ์ แม่พระมหาทุกข์ระลึกถึงในวันที่ 15 กันยายน และการสมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ในวันที่ 15 สิงหาคม (ข้อความเชื่อข้อนี้ได้รับการประกาศโดยพระสันตะปาปาปีอุสที่ 12 ในปี 1950) วันที่ 7 ตุลาคมเป็นวันฉลองแม่พระสายประคำศักดิ์สิทธิ์ แทบจะไม่มีเดือนไหนเลยที่ไม่มีวันฉลองแม่พระ นี่ยังไม่พูดถึงการฉลองท้องถิ่นและการแสวงบุญที่นับไม่ถ้วนของพระนางพรหมจารีมารีย์
    สายประคำศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นการสวด “บทวันทามารีอา” ร้อยห้าสิบครั้งพร้อมทั้งรำพึงถึงธรรมล้ำลึกของภาคชื่นชมยินดีห้าสิบบท ภาคเศร้าโศกห้าสิบบทและภาคสิริมงคลห้าสิบบท เรียกกันว่าเป็น “เพลงสดุดีของคนจน” เราสวดกัน 150 บทอันเป็นจำนวนของบทเพลงสดุดี ด้วยการสวดซ้ำไปซ้ำมา เป็นบทภาวนาง่ายๆ ซึ่งมีกันในแทบทุกศาสนา (เช่น “บทสวดของพระเยซู” ของชาวออร์ธอดอกซ์) สายประคำทำให้เราสามารถเข้ามีส่วนร่วมกับพระแม่มารีย์ในธรรมล้ำลึกแห่งการไถ่กู้

                ***************************************
(๑)    ยน.2:1-12
(๒)    ยน.19:26-27   
(๓)    กจ.1:14;2:1-4

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
8293
23407
75343
187861
306218
35931583
Your IP: 3.135.217.228
2024-04-20 07:10

สถานะการเยี่ยมชม

มี 384 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์