แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ศาสนบริการของคริสตชน: ศีลบวชและการบริการ
    บรรดาศิษย์เรียนรู้จากและพยายามเอาอย่างปรมาจารย์ของพวกเขา  ศิษย์ทั้งหลายของพระคริสต์ก็พยายามที่จะเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์ด้วยการรักและรับใช้ผู้อื่นด้วยการเลียนแบบพระองค์
ศาสนบริการคืออะไร?
(CCC 1533; 1544-1545)
    ความรู้สึกที่มีเหมือนกันของคริสตชนทุกคนว่า ในชีวิตต้องทำงานที่พิเศษอย่างหนึ่ง นั่นคือ การทำงานในฐานะพระสงฆ์ ซึ่งหมายถึง การช่วยเหลือผู้อื่นในพระนามของพระคริสตเจ้า  ศาสนบริกร (minister) หมายถึง “บุคคลผู้ช่วยเหลือ” 

ศาสนบริการของคริสตชนหมายถึงการช่วยเหลือผู้อื่นแบบพระคริสตเจ้าและมีพระคริสตเจ้าเป็นต้นเหตุ  ผ่านทางศีลล้างบาป ศีลกำลังและศีลมหาสนิท สมาชิกทุกคนในพระศาสนจักรถูกเรียกร้องให้ช่วยเหลือผู้อื่นโดยการเอาอย่างพระเยซูเจ้า นี่เป็นกระแสเรียกสากลของศิษย์ทุกคน  พระเยซูเจ้าทรงให้อำนาจเราเพื่องานศาสนบริการ โดยส่งพระจิตเจ้ามาประทานพระพรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานของพระเจ้าให้แก่เรา
แนวทางการทำศาสนบริการมีอะไรบ้าง?
(CCC 893; 901-903; 941)
    ศาสนบริการเกี่ยวข้องกับแนวทางช่วยเหลือผู้อื่นที่มีอยู่มากมายต่างๆกันไป  ภาระหน้าที่ของคริสตชนผู้ได้รับศีลล้างบาปทุกคนคือการนำคุณค่าต่างๆของความเป็นคริสตชนไปใช้ในชีวิตประจำวัน  นักบุญพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ได้เตือนคริสตชนทุกคนด้วยคำสอนเกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรมทางสังคมของพระองค์ว่า พวกเขาจำเป็นต้องดำเนินชีวิตเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับคนยากจน  ฆราวาสมีบทบาทในการสร้างสันติภาพและความยุติธรรมให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ชีวิตของพวกเขาได้ดีกว่าบุคคลในฐานะอื่น
    นอกจากการให้ความช่วยเหลือกันในสังคมที่พวกเขาอยู่  คริสตชนคาทอลิกสามารถช่วยเหลือบรรดาสมาชิกของพระศาสจักรซึ่งเป็นเพื่อนๆได้ในหลายวิธี  รายการต่อไปนี้เป็นแนวทางที่ให้โอกาสอันมีความสำคัญสำหรับศาสนบริการ ซึ่งพระศาสนจักรสนับสนุนให้ฆราวาสเป็นผู้รับผิดชอบ ได้แก่
•    นักศาสนศาสตร์, ครูคำสอน, และครูต่างๆ
•    ศาสนบริกรด้านศีลศักดิ์สิทธิ์, ผู้อ่านพระคัมภีร์, ศาสนบริกรด้านดนตรีและศิลปะ, และศาสนบริกรด้านการต้อนรับด้วยความยินดี
•    ศาสนบริกรสำหรับผู้ป่วย, ผู้ป่วยติดบ้าน และผู้ไร้ความสามารถ
•    สมาชิกสภาอภิบาลและที่ปรึกษาด้านการเงินของวัด
•    ศาสนบริกรสำหรับผู้ที่แยกทางกันและหย่าร้างกัน
•    ศาสนบริกรสำหรับคนยากจน
ศาสนบริการของผู้ที่บวชคืออะไร?
(CCC 874-879)
    ศาสนบริกรผู้ได้รับการบวชรับภาระในศาสนบริการหนึ่งที่เป็นแบบแผนของพระศาสนจักร  พวกเขาได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้นำพระศาสนจักรโดยอาศัยศาสนบริการที่พิเศษประการหนึ่งอันเป็นการบริการชุมชนคริสตชนและเกี่ยวข้องกับทั่วโลก  ศาสนบริกรผู้ได้รับศีลบวชประกอบด้วย พระสังฆราช, พระสงฆ์, และสังฆานุกร   บทบาทพิเศษของพวกเขาคือการประกาศพระวาจาของพระเจ้าแก่มวลมนุษย์,  เป็นผู้นำชุมชนคริสตชนในการทำคารวะกิจ, และเป็นตัวอย่างในเรื่องกระแสเรียกสากลของคริสตชนให้บริการรับใช้ในแนวทางหนึ่งที่พิเศษ
ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเข้าร่วมในฐานันดรสงฆ์(ศีลบวช)คืออะไร?
(CCC 1536-1538; 1548-1553; 1591-1592)
    ศีลบวชสามารถเรียกได้ว่าเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศาสนบริการของคริสตชน  โดยการปกมือของพระสังฆราชผู้เป็นประธานและการภาวนาเพื่อการถวายตัว  ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเข้าร่วมในฐานันดรสงฆ์ให้บทบาทที่พิเศษในการรับใช้ภายในชุมชนคริสตชนแก่ผู้ชายบางคน  ศีลบวชทำให้ชีวิตของพระเยซูเจ้าในผู้ชายเหล่านี้ที่ถูกเรียกให้มารับใช้พระองค์และพระศาสนจักรของพระองค์เข้มแข็งขึ้น   ศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ยังมอบพระหรรษทานแท้จริงนั่นคือความช่วยเหลือจากพระเจ้า ซึ่งให้สติปัญญาและความอดทนอันจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตนักบวชแก่เขา  ในที่สุดพระศาสนจักรสอนว่า ศีลบวชก็เหมือนกับศีลล้างบาปและศีลกำลัง ให้ “สัญลักษณ์”ที่เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งทำเครื่องหมายถาวรแก่ผู้ได้รับการบวชในฐานะสังฆานุกร, พระสงฆ์, หรือพระสังฆราช ที่ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์อันมีชีวิต ซึ่งแสดงให้เห็นพระเยซูเจ้าและการกลับมาของพระองค์
บทบาทของสังฆภาพโดยศีลบวชในปัจจุบันคืออะไร?
(CCC 1546-1547)
    สังฆภาพโดยศีลบวชถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ของสงฆ์, ประกาศก, และกษัตริย์ ซึ่งเป็นบทบาทที่พระเยซูเจ้าทรงทำให้สมบูรณ์  ศาสนบริกรผู้ได้รับศีลบวชมีกระแสเรียกพิเศษให้รวบรวมและนำประชากรซึ่งเป็นเหมือนสงฆ์ของพระเจ้าในการทำคารวะกิจ(พระสงฆ์), ประกาศพระวาจาของพระเจ้า(ประกาศก), และเลียนแบบชีวิตที่ทำการช่วยเหลือด้วยความเมตตาของพระเยซูเจ้า โดยช่วยเหลือประชากรของพระเจ้าและปฏิบัติตนเป็นเครื่องหมายหนึ่งของพระคริสตเจ้าที่อยู่ในโลก(กษัตริย์)
สังฆภาพโดยศีลบวชไม่ได้มีภาระเพียงแค่การเป็นตัวแทนของพระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นศีรษะของพระศาสนจักร ต่อหน้าที่ประชุมของสัตบุรุษเท่านั้น แต่ยังปฏิบัติหน้าที่ในนามของพระศาสนจักรทั้งมวลเมื่อนำเสนอการอธิษฐานของพระศาสนจักรแด่พระเจ้า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถวายบูชามิสซา
                          -หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก, ข้อ 1552
พระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกรมีหน้าที่อะไร?
(CCC 1554-1571; 1594)
    พระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร คือสามตำแหน่งในงานศาสนบริการของผู้ได้รับศีลบวชของพระศาสนจักร  เราพูดถึงพระสังฆราชว่าเป็นผู้สืบตำแหน่งอัครสาวก  พระสังฆราชท้องถิ่น(เป็นที่รู้จักในฐานะ “สมณประมุข” ของสังฆมณฑล) เป็นผู้ตรวจตราดูแลชุมชนของพระศาสนจักรท้องถิ่น และเป็นสัญลักษณ์ความเป็นหนึ่งเดียวของพระศาสนจักร  การอภิเษกพระสังฆราชให้เกียรติท่านอย่างเป็นทางการว่าได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเข้าร่วมฐานันดรสงฆ์อย่างสมบูรณ์ คือมีหน้าที่รับผิดชอบการสั่งสอน, การปกครอง, และการประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์อย่างเต็มที่   ความรับผิดชอบหลักของพระสังฆราชคือ การเทศน์สอนพระวรสาร, ตรวจสอบการจัดการเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์, และให้ความช่วยเหลือผู้ขัดสนในสังฆมณฑลของท่าน  บ่อยครั้งที่ประมุขหรือผู้นำของสังฆมณฑลจะมีพระสังฆราชผู้ช่วย เพื่อช่วยเหลือท่านในการปฏิบัติภารกิจของท่านให้ลุล่วง
    พระสังฆราชบวชพระสงฆ์เพื่อให้ช่วยทำงานของท่านให้สำเร็จ ทั้งในด้านการเทศน์สอนพระวรสาร,  การดูแลอภิบาลสัตบุรุษ, และการประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์  สังฆานุกรร่วมงานกับพระสังฆราชและพระสงฆ์ในการประกอบพิธีกรรม, การส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวกัน, การเทศน์สอนพระวรสาร, การล้างบาป, การเป็นพยานและการอวยพรคู่บ่าวสาวในพิธีสมรส, การเป็นประธานในพิธีปลงศพ และงานด้านสังคมของพระศาสนจักร
การประกอบพิธีศีลบวชมีขั้นตอนอย่างไร?
(CCC 1572-1574; 1597)
    การประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเข้าร่วมฐานันดรสงฆ์มี 3 รูปแบบ คือ การประกอบพิธีเพื่อบวชพระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร  รูปแบบพิธีทั้งสามมีลักษณะคล้ายกันมาก   โดยปกติการบวชจะมีขึ้นในระหว่างพิธีมิสซา โดยมีพระสังฆราชองค์เดียวหรือหลายองค์เป็นผู้ประกอบพิธี   ส่วนผู้ร่วมพิธีก็คือ ประชากรของพระเจ้าซึ่งศาสนบริกรผู้ได้รับศีลบวชถูกเรียกมาเพื่อให้ทำหน้าที่ช่วยเหลือกลุ่มคริสตชนและมนุษย์ทั้งมวลในทุกที่
    ในการบวชพระสงฆ์ ผู้สมัครจะถูกเรียกชื่อให้มายังหน้าพระแท่นหลังจบภาควจนพิธีกรรม  พระสังฆราชจะสอบถามเกี่ยวกับความตั้งใจของพวกเขาในการให้ความร่วมมือดูแลประชากรของพระเจ้า โดยการประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์, การเทศน์สอนพระวรสาร, และในการอุทิศชีวิตเพื่อพระอาณาจักรของพระเจ้า  เครื่องหมายที่มองเห็นได้ที่แสดงถึงการบวชคือ การปกมือเหนือผู้รับศีลบวชโดยพระสังฆราชผู้ท่องบทภาวนาสำหรับการเสก เพื่อวอนขอพระเจ้าให้ประทานพระจิตเจ้าและพระพรต่างๆ สำหรับศาสนบริการในฐานะสงฆ์
    มือของพระสงฆ์ผู้ได้รับการบวชใหม่ถูกเจิมด้วยน้ำมัน และได้รับมอบเครื่องหมายที่แสดงถึงภาระหน้าที่ของสงฆ์ (ได้แก่ เสื้อกาซูลา ถ้วยกาลิกษ์ที่บรรจุน้ำและเหล้าองุ่น และจานรองที่มีแผ่นปังซึ่งจะต้องเสกวางอยู่) มีการแลกเปลี่ยนเครื่องหมายที่แสดงถึงสันติ  พิธีดำเนินต่อไปโดยพระสงฆ์ใหม่ประกอบพิธีร่วมกับพระสังฆราชและพระสงฆ์ที่เป็นเพื่อนของท่าน
อะไรคือเหตุผลสำหรับการถือโสดของพระสงฆ์?
(CCC 1579-1580; 1599)
    กฎหมายพระศาสนจักรเรียกร้องให้พระสงฆ์และพระสังฆราชของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกไม่แต่งงาน ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อการถือโสด   พระสงฆ์สัญญาที่จะทำตามระเบียบนี้อย่างอิสระเพื่อแสดงถึงความเต็มใจรับใช้ทั้งพระเจ้าและประชากรของพระองค์
การได้รับเรียกให้อุทิศตนด้วยหัวใจที่ไม่แบ่งแยกแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าและ “การงานขององค์พระผู้เป็นเจ้า”  พวกเขาก็มอบตนเองอย่างครบถ้วนแด่พระเจ้าและมวลมนุษย์  การถือโสดคือเครื่องหมายแสดงถึงชีวิตใหม่เพื่อการรับใช้ซึ่งเป็นสิ่งที่ศาสนบริกรของพระศาสนจักรได้รับการเสก และการถือโสดด้วยการยอมรับจากใจที่ยินดีก็ประกาศพระอาณาจักรของพระเจ้าอย่างสง่างาม
                            -หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก, ข้อ 1579
กระแสเรียกนักบวชคืออะไร?
(CCC 914-933)
    กระแสเรียก(vocation) หมายถึง “การเรียก”(calling) เป็นการเชื้อเชิญจากพระเจ้าให้มารับหน้าที่รับใช้ในลักษณะพิเศษแบบหนึ่ง  บางคนถูกเรียกให้รับใช้พระเจ้าในฐานะบุคคลที่แต่งงาน, คนโสด, พระสงฆ์, หรือนักบวช   สำหรับส่วนที่สำคัญสุดในประวัติศาสตร์ศาสนาคริสต์ก็คือ ผู้ชายบางคน (นักบวชชายหรือพระสงฆ์ของคณะนักบวช) และผู้หญิง (นักบวชหญิงหรือนักพรต) ได้ถวายตัวเองแด่พระเจ้า และงานแห่งพระอาณาจักรของพระเจ้า โดยการให้คำสัญญาว่าจะถือความยากจน, ความบริสุทธิ์, และความนบนอบ
    จากการสัญญาว่าจะถือความยากจน ผู้ที่ดำเนินชีวิตนักบวชก็พยายามทำตัวให้เป็นอิสระจากสิ่งของของโลก เพื่อพวกเขาจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลที่มีความสำคัญอย่างแท้จริง นั่นคือพระเยซูเจ้า โดยการสัญญาว่าจะถือความบริสุทธิ์ เพื่อเป็นเกียรติแก่พระวรสาร  นักบวชจึงกลายเป็นเครื่องหมายให้โลกได้เห็นว่า พวกเขาเป็นทั้งของพระเจ้าและของมวลมนุษย์ในเวลาเดียวกัน  โดยทางการปฏิญาณถือความนบนอบ นักบวชยอมมอบตัวเองให้รับใช้หมู่คณะของตน ซึ่งต่อมาก็คือการอุทิศตัวให้กับการรับใช้กลุ่มคริสตชน  การให้คำสัญญาในสามเรื่องนี้เป็นวิธีการที่ดีซึ่งช่วยให้ผู้ปฏิบัติตามคำสัญญานี้มีเวลาสำหรับการใช้ชีวิตที่กระตือรือร้นในการภาวนาและการรับใช้ในพระศาสนจักรของพระเจ้ามากขึ้น

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
19159
13335
62802
175320
306218
35919042
Your IP: 3.141.47.221
2024-04-19 20:13

สถานะการเยี่ยมชม

มี 377 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์