แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการรักษา :
ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงความสำนึกผิดและศีลเจิมคนไข้
    เราทุกคนเป็นคนบาป และเมื่อเราทำบาป ความเข้มแข็งของจิตเราก็ลดลง เรากลายเป็นผู้เหินห่างจากพระเจ้า จากคนอื่นๆ และแม้แต่ตัวตนที่แท้จริงของเรา  แต่บางทีเราไม่สบายกาย  ร่างกายของเราเจ็บป่วยด้วยเชื้อโรค, ความอ่อนแอตามวัย หรือการบาดเจ็บอย่างรุนแรง  พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าของเราทรงมอบเครื่องหมายแห่งความรักของพระองค์ที่ทรงพลังไว้ให้เราถึง 2 อย่างเพื่อช่วยเหลือเราในยามทุกข์ยากเช่นนี้   พระองค์ทรงรับรู้ถึงความเจ็บป่วยทั้งด้านวิญญาณและร่างกายของเรา และพระองค์ทรงมาช่วยฟื้นฟูเราให้แข็งแรง   ทุกวันนี้พระคริสตเจ้ายังทรงทำงานด้านการรักษาของพระองค์ผ่านทางศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงความสำนึกผิดและศีลเจิมคนไข้

อะไรคือรากฐานทางพระคัมภีร์ของศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงความสำนึกผิด?
(CCC 1440-1445)
    พระเยซูเจ้าเสด็จมาเพื่อยกโทษบาปและรักษาความสัมพันธ์ที่บาดเจ็บอันเนื่องมาจากบาป พระองค์ทรงมอบอำนาจให้พระศาสนจักรเพื่อดำเนินงานศาสนบริการของพระองค์ด้านการรักษา, การให้อภัยและการคืนดีเมื่อพระองค์ทรงสั่งบรรดาอัครสาวกให้ยกโทษบาปในพระนามของพระองค์ ดังนี้
        “จงรับพระจิตเจ้าเถิด
        ท่านทั้งหลายอภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ได้รับการอภัย
        ท่านทั้งหลายไม่อภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ไม่ได้รับการอภัยด้วย”
                                    (ยน20:23)

ชื่อเรียกศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ตามที่สืบทอดกันมามีอะไรบ้าง?
(CCC1422-1429; 1486)
    ศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ตามปกติเป็นที่รู้จักในนามของศีลอภัยบาปหรือศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี ชื่อเรียกอย่างธรรมดาทีเดียวก็คือ ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการสารภาพบาป(Confession) เพราะเหตุว่าเราต้องสารภาพบาปของเราในการรับศีลศักดิ์สิทธิ์นี้  เราเรียกว่า ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการการแสดงความสำนึกผิด(Penance) (เป็นคำหนึ่งที่หมายถึง “การกลับใจ”(Conversion) เพราะมันเป็นสิ่งช่วยเหลืออย่างหนึ่งในกระบวนการแสดงความเสียใจต่อสิ่งที่กระทำผิด ซึ่งเริ่มจากการรู้สึกเสียใจที่ได้ทำบาป,และเข้าสู่การยอมรับผิดสำหรับความบาปนั้นอย่างเห็นได้, การกระทำที่เป็นการปรับปรุงความประพฤติ, และการตั้งใจว่าจะไม่ทำบาปอีก  ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี (Reconciliation)หมายถึง “การหันกลับมาหากัน” คำเรียกนี้เน้นถึงความจำเป็นของเราที่จะต้องแก้ไขความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้าและกับบุคคลอื่นที่ได้รับความเสียหายเพราะบาปของเรา  ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการสารภาพบาป (Confession) รับผิดชอบความมุ่งหมาย 2 ส่วนในการฉลองการให้อภัยบาปของเรา นั่นคือเราสารภาพ(ยอมรับ)ความบาปของเรา และสารภาพ(กล่าวว่าเราเชื่อใน) พลังการรักษาจากพระเมตตาของพระเจ้า
องค์ประกอบสำคัญของศีลอภัยบาปคืออะไร?
(CCC 1450-1460)
    ศีลอภัยบาปเกี่ยวข้องกับการกระทำ 3 อย่างของผู้ที่สำนึกผิด ได้แก่ ความสำนึกผิด(contrition), การสารภาพบาป(confession), และการใช้โทษบาป(penance) รวมกับคำกล่าวอภัยบาปที่พระสงฆ์ประกาศ   ขั้นตอนแรกที่สำคัญมากซึ่งต้องปฏิบัติก่อนเข้าไปรับศีลอภัยบาปคือ การพิจารณาความบาปอย่างดีด้วยมโนธรรมโดยอาศัยพระจิตเจ้าช่วยเปิดเผยความบาปต่างๆในชีวิตของเรา  การทำความเข้าใจข้อความในพระคัมภีร์เช่น บทเทศน์บนภูเขา หรือพระบัญญัติ 10 ประการเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการพิจารณาความบาป
ความสำนึกผิดคืออะไร?
(CCC 1451-1454)
    ความสำนึกผิด คือ “ความเสียใจอย่างจริงใจและเกลียดชังบาปที่ได้กระทำ พร้อมทั้งตั้งใจว่าจะไม่ทำบาปอีก” (กฤษฎีกาเรื่อง การใช้โทษบาป ข้อ 6)  ความสำนึกผิดเป็นหัวใจของการกลับใจ ซึ่งนำเรากลับไปหาพระเจ้าผู้ทรงเป็นบิดาที่รักและให้อภัยเรา  ความสำนึกผิดทำให้เราสามารถรับศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความยินดีและความหวังว่าจะเป็นบุตรของพระเจ้า
ทำไมต้องสารภาพบาป?
(CCC 1455-1458)
    การสารภาพบาปเป็นสัญลักษณ์ภายนอกอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความเสียใจที่อยู่ภายใน  โดยการสารภาพบาป  เราจะพบชุมชนคริสตชนในตัวของพระสงฆ์และเผชิญหน้ากับสภาพที่เป็นบาปของตัวเราเองในสายพระเนตรของพระเจ้า  การสารภาพบาปบังคับให้ต้องเปิดเผยบาปด้วยซึ่งก็เป็นการเน้นถึงลักษณะแท้จริงของการสารภาพบาปที่ต้องเกี่ยวข้องกับสังคม  เราควรสารภาพบาปของเราโดยจดจำพระเมตตาที่เปี่ยมด้วยความรักของพระเป็นเจ้าไว้ในใจ
    พระศาสนจักรเรียกร้องให้เราสารภาพบาปหนักโดยต้องบอกจำนวนครั้งและชนิดของบาปที่ได้กระทำ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง  ศีลอภัยบาปเป็นวิธีการที่เรียบง่ายวิธีเดียวสำหรับคริสตชนคาทอลิกที่สำนึกถึงบาปหนักจะได้กลับคืนดีกับพระเจ้าและพระศาสนจักร  ในศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ พระคริสตเจ้าบอกกับทุกคนเป็นรายบุคคลว่า “เราให้อภัยท่าน จงไปในสันติสุขเถิด”
    พระศาสนจักรไม่ได้บังคับเกี่ยวกับการสารภาพบาปเบา แต่เราก็ควรรับศีลอภัยบาปสำหรับบาปเบาด้วย เพราะการสารภาพบาปในศีลศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้เราสามารถพินิจพิเคราะห์เรื่องบาปของตนได้ดีขึ้น, ทำให้เราเข้ากันได้กับพระคริสตเจ้าและใกล้ชิดกับพระจิตเจ้าผู้ทรงเรียกเรามาสู่ความศักดิ์สิทธิ์ และการขอความช่วยเหลือจากศีลศักดิ์สิทธิ์นี้บ่อยๆ จะช่วยขจัดบาปให้หมดไปจากชีวิตของเราได้ โดยการรับฟังคำแนะนำจากพระสงฆ์ที่เราไปสารภาพบาป
คุณค่าของการกระทำเพื่อใช้โทษบาปคืออะไร?
(CCC 1468-1570)
    ถ้าเรามีการกลับใจอย่างแท้จริง  เราจะต้องการชดเชยสำหรับบาปของเรา, ปรับปรุงการดำเนินชีวิตของเรา และแก้ไขความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้นจากเรา  พระสงฆ์จะกำหนดการใช้โทษบาปเพื่อช่วยเราแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือเป็นการแก้ไขด้านวิญญาณในส่วนที่เป็นบาปของเรา  เราควรยอมรับและกระทำการใช้โทษบาปเหล่านี้ด้วยความยินดี ตัวอย่างเช่น การภาวนา, การทำกิจการที่ดี, หรือการหาวิธีสานความสัมพันธ์ที่เสียไปให้กลับดีโดยเร็ว เป็นต้น
การอภัยบาปคืออะไร?
(CCC 1449)
    พระสงฆ์ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของพระคริสตเจ้า และประกาศถ้อยคำที่เป็นการอภัยบาปในนามของพระศาสนจักร  เมื่อพระสงฆ์ปกมือเหนือศีรษะของผู้สารภาพบาปและกล่าวข้อความว่า “ข้าพเจ้าอภัยบาปท่านในนามของพระบิดา, และพระบุตรและพระจิต”  นั่นคือองค์พระคริสตเจ้าเองกำลังประทานเครื่องหมายซึ่งเราผู้เป็นมนุษย์ต้องการเพื่อจะได้รู้ว่าเราได้รับการอภัยแล้ว
มโนธรรมแบบคริสตชนเป็นอย่างไร?
(CCC 1776-1782; 1795-1797)
    มโนธรรมเป็นการพิจารณาที่ขึ้นอยู่กับความเป็นจริงที่เกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์ ว่าจะถูกต้องเหมาะสมหรือไม่กับกฎของพระเจ้าที่ถูกจารึกไว้ในหัวใจ” (The Splendor of Truth, ข้อ 59)เป็นวิจารณญาณที่ช่วยให้เรารู้ว่าอะไรที่เราต้องทำหรือไม่ควรทำ เช่น รักและทำสิ่งที่ดี ยิ่งไปกว่านั้นคือหลีกหนีบาป  การพิจารณาด้วยมโนธรรมยังประเมินการกระทำที่ได้ทำไปแล้วด้วย  หลักการสำคัญ 2 ประการ ที่ต้องจำไว้เมื่อเกี่ยวข้องกับการตัดสินความถูกผิดคือ ประการแรกเราต้องสร้างมโนธรรมของเราอย่างถูกต้อง  ประการที่สองเราต้องปฏิบัติตามมโนธรรมของเรา
เราสร้างมโนธรรมของเราให้ถูกต้องได้อย่างไร?
(CCC 1783-1789; 1798; 1802)
    หน้าที่ที่จะต้องเชื่อฟังมโนธรรมของคนคนหนึ่ง เน้นย้ำความจำเป็นที่ต้องสร้างมันอย่างถูกต้อง  เราทุกคนทำผิดและบางครั้งเราก็ตั้งใจที่จะไม่เลือกสิ่งที่ดี  ความเขลาซึ่งก็คือการไม่รู้จักสิ่งดีที่ควรทำและสิ่งไม่ดีที่ควรหลีกเลี่ยงอาจเป็นสาเหตุทำให้เราสร้างวิจารณญาณที่ผิด  อารมณ์ต่างๆ สามารถทำให้มโนธรรมมืดมัว(มีปัญหา) เพราะมันจะยั่วยวนให้เราทำสิ่งต่างๆตามอารมณ์ที่เราชอบ  และถ้าสิ่งที่เราคิดจะทำสอดคล้องกับสิ่งที่คนอื่นกำลังทำก็อาจทำให้การตัดสินใจของเราสับสนได้  การระมัดระวังในการพัฒนามโนธรรมให้เข้มแข็งจำเป็นต้องดำเนินชีวิตตามศีลธรรม
ขั้นตอนต่างๆ ในการสร้างมโนธรรมที่ดี
1.    ค้นหาความจริง   เรื่องราวเป็นอย่างไรมีใครบ้างที่เกี่ยวข้อง ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร
2.    ตรวจสอบแรงจูงใจของคุณ   ทำไมคุณถึงต้องการทำสิ่งนั้น
3.    คิดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น   สิ่งที่ทำ(หรือไม่ได้ทำ)จะมีผลกระทบอย่างไรกับคุณ, คนอื่นๆ,  หรือสังคมโดยส่วนรวม  แล้วถ้าทุกคนทำสิ่งนี้จะมีผลอย่างไร
4.    พิจารณาทางเลือก   เลือกทำแบบอื่นได้หรือไม่
5.    กฎหมายมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร   พิจารณาทั้งกฎหมายพระศาสนจักรและกฎหมายบ้านเมือง  กฎหมายไม่คัดค้านมโนธรรม และในความเป็นจริงกฎหมายช่วยสร้างมโนธรรมได้อย่างดีเยี่ยม  วิธีหนึ่งที่จะเข้าใจกฎหมายก็คือ การฟังผลลัพธ์ที่ได้จากการทำความเข้าใจเรื่องความถูกผิด หรือความเห็นในเรื่องความถูกผิดของคนกลุ่มหนึ่ง(มโนธรรมของกลุ่ม)
6.    มีเหตุผลอะไรในการทำ   เพราะเราเป็นคนที่มีสติปัญญา เราต้องใช้มันในการตัดสินใจทำสิ่งที่ถูกต้อง ถามตัวคุณเองว่ามีเหตุผลอะไรในการตัดสินใจทำ
7.    จากประสบการณ์ของคุณและของคนอื่นๆ มีความคิดเห็นอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้
8.    พระเยซูเจ้าจะทำอย่างไรในเรื่องนี้   สิ่งที่กระทำนี้เป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับมาตรฐานความรักของพระเยซูเจ้า  พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่มีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร  พระเยซูเจ้าทรงเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในเรื่องการเชื่อฟังพระเจ้า  จงค้นหาความปรารถนาของพระองค์และแบบอย่างของพระองค์ก่อนการตัดสินใจในเรื่องใด
9.    อะไรคือคำสอนพระศาสนจักร   คาทอลิกที่จริงใจจะคิดว่าการขอคำปรึกษาและการติดตามคำสอนที่เชื่อถือได้ในเรื่องศีลธรรมเป็นความรับผิดชอบสำคัญเช่นเดียวกับการเรียนจากนักเทววิทยาผู้เชี่ยวชาญและคุณครูอื่นๆในพระศาสนจักร  มีข้อคำสอนด้านศีลธรรมที่เป็นประโยชน์มากมาย นอกเหนือจากที่ปรากฏชัดเจนในข้อกำหนดทางกฎหมายของพระศาสนจักร ซึ่งสามารถช่วยคุณให้เข้าใจเรื่องราวของมโนธรรมได้ง่ายขึ้น
10.    ภาวนาเพื่อขอคำแนะนำ   พระเจ้าจะทรงช่วยคุณถ้าคุณขอร้อง
11.    ยอมรับว่าในบางครั้งคุณก็ทำบาปและอาจเป็นผู้ผิด
12.    ปฏิบัติตามมโนธรรมของคุณ   มันมักจะเป็นความผิดเสมอ เมื่อกระทำในลักษณะที่ขัดแย้งกับมโนธรรมซึ่งได้ถูกสร้างมาอย่างดี
บาปคืออะไร?
(CCC 1846-1853; 1870-1873)
    บาป คือ ความล้มเหลวในการรักตัวเอง ผู้อื่นและพระเจ้า  มันเป็นการทำลายความรักตามพันธสัญญา  หากไม่มีความคิดที่มีเหตุผลเรื่องบาปแล้ว มนุษย์ก็ดูเหมือนมีความจำเป็นน้อยมากที่จะต้องมีพระเยซูเจ้าผู้ไถ่เราจากบาป  เราพูดถึงบาปเพื่อเน้นถึงความเชื่อมั่นของเราว่า พระเจ้าทรงให้อภัยบาปเราและพระเยซูเจ้าเองได้ทรงช่วยเราให้พ้นจากผลของมัน
บาปกำเนิดคืออะไร?
(CCC 190; 197; 416-417)
    บาปกำเนิด หมายถึง สภาพการแตกแยกที่มนุษย์ทุกคนได้รับมาตั้งแต่เกิด  ประสบการณ์ของมนุษย์โดยทั่วไปดูเหมือนจะยืนยันคำสอนคาทอลิกว่าเราเกิดมาในสภาพที่มีบาป  นั่นคือการอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ และถ้าถูกปล่อยไว้โดยไม่มีการรักษา ก็จะนำไปสู่บาปส่วนตัวได้  ศีลล้างบาปแก้ไขสถานการณ์นี้โดยรวมเราเข้ากับพระคริสตเจ้าและกับพระศาสนจักรของพระองค์ เพื่อเราจะได้คืนดีกับพระเจ้า
บาปส่วนตัวคืออะไร?
(CCC 1854)
    บาปส่วนตัวหรือบาปแท้ คือ การกระทำ, คำพูด, ความคิด, หรือความต้องการใดๆที่เกิดขึ้นโดยเสรีและรู้ตัว ซึ่งเป็นเหตุให้เราห่างจากบัญญัติแห่งความรักของพระเจ้า  มันอาจถูกมองเป็นการทำให้ความสัมพันธ์ที่เป็นความรักของเรากับพระบิดาอ่อนแอลงและถูกตัดขาด  บาปทำลายภาระหน้าที่จากศีลล้างบาปของเราที่ต้องทำให้แผ่นดินของพระเจ้าเกิดขึ้นในโลกนี้ เพราะเป็นข้อผูกพันที่เรามีต่อพระเจ้าและต่อคนอื่น
บาปเบาคืออะไร?
(CCC 1862-1866;1865-1876)
    ตามความเชื่อที่สืบต่อกันมา บาปเบา หมายถึงการกระทำและทัศนคติใดๆ ที่ไม่ได้ช่วยเราให้มีความสัมพันธ์ในความรักของเรากับพระเจ้ามากขึ้น แต่อาจทำให้ความสัมพันธ์นั้นอ่อนแอลง  จุดหมายของเราคือการได้อยู่ร่วมกับพระเจ้าอย่างสมบูรณ์  โดยที่ทิศทางของเราควรเป็นแบบมีความใกล้ชิดกับพระเจ้ามากขึ้นในทุกๆ วัน  บาปเบาเกี่ยวพันกับเรื่องราวที่มีความร้ายแรงน้อยกว่าบาปหนัก  หรือเกิดขึ้นเมื่อบุคคลไม่ไตร่ตรองอย่างรอบคอบหรือยินยอมในสิ่งที่เขาหรือเธอกำลังทำอยู่  บาปทุกชนิดมีผลทางสังคมตามมาคือ มักจะมีผู้คนได้รับผลกระทบจากสิ่งที่เราทำอยู่เสมอ

บาปหนักคืออะไร?
(CCC 1855-1861; 1874)
    บาปหนัก คือการเก็บเอาทัศนคติที่ไม่ดีหรือการกระทำบางอย่างที่ร้ายแรง ซึ่งทำลายความสัมพันธ์แห่งความรักระหว่างพระเจ้ากับผู้กระทำบาปไว้กับตัว  ในบาปหนัก คนคนหนึ่งปฏิเสธพระเจ้า, พระบัญญัติของพระเจ้า และพันธสัญญาแห่งความรักที่พระเจ้าทรงมอบให้โดยเสรีและรู้ตัว  แต่รักตนเองหรือความเป็นจริงบางอย่างที่ถูกสร้างขึ้นอย่างขัดแย้งกับพระประสงค์ของพระเจ้า
    การกระทำของบุคคลหนึ่งจะได้ชื่อว่าบาปหนัก เพราะมีปัจจัยครบ 3 ประการคือ  ประการแรกการกระทำหรือทัศนคติต้องเกี่ยวข้องกับความรุนแรง เช่น การฆาตกรรม การละทิ้งศาสนา หรือการมีชู้   ประการที่สองบุคคลต้องรู้ตัวดีว่าสิ่งที่เขาหรือเธอทำนั้นเป็นบาป   เราจะไม่มีความผิดในขั้นบาปหนักสำหรับการทำบางอย่างที่เราไม่รู้ว่ามันผิด   ประการที่สามสำหรับบาปหนักคือ บุคคลหนึ่งมีเจตนายอมรับความชั่วร้ายนั้น  จิตวิทยาสมัยใหม่บอกเราว่า มีอำนาจและแรงผลักดันอยู่มากมายที่จะจำกัดเสรีภาพของเรา  อย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็ยังมีเสรีภาพอยู่บ้างและสามารถกระทำความผิดที่ร้ายแรงและโดยเจตนา  หน้าที่ของเราคือหลีกเลี่ยงสถานการณ์เหล่านั้น ซึ่งอาจจะจำกัดเสรีภาพของเราและกั้นเราไม่ให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง
อะไรคือบทบาทของการคืนดี?
(CCC 1468-1470; 1496)
    ตั้งแต่โบราณเราเรียกผู้ที่หันหลังให้กับความรักของพระเจ้าและตัดขาดความสัมพันธ์กับพระองค์ว่า “ผู้อยู่ในบาปหนัก”  ผู้ที่ทำบาปต้องสำนึกผิดเพื่อแก้ไขสถานการณ์ โดยการกลับมาหาพระเจ้า, ยอมรับความบกพร่องของเขาหรือเธอ, และยอมรับว่าจำเป็นต้องได้รับการอภัย
    คาทอลิกฉลองศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี โดยถือว่าศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ได้ให้ความรักของพระเจ้าที่ให้อภัยโทษและรักษาเรา   จุดประสงค์ของนิทานเปรียบเทียบของพระเยซูเจ้าเรื่อง ลูกล้างผลาญ (ลก 15:11-31) แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าเราจะทำอะไรหรือเราทำบ่อยแค่ไหน   ความรักของพระเจ้าสำหรับเรามีอยู่ในศีลศักดิ์สิทธิ์นี้เสมอ ขอเพียงเราสำนึกผิด นั่นคือหันกลับมาหาพระเจ้าและยอมรับความรักของพระองค์  สิ่งที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดในหลักศีลธรรมของคริสตชนก็คือ ตอบรับต่อความรักของพระเจ้า, ให้ความรักนั้นฉายแสงอยู่เหนือเราและดำเนินชีวิตเป็นดั่งแสงที่ส่องไปยังผู้อื่น
อะไรคือรากฐานทางพระคัมภีร์ของศีลเจิมคนไข้?
(CCC 1499-1510; 1526)
    พระเยซูคริสต์ทรงเป็นผู้รักษา พระองค์ทอดพระเนตรผู้เจ็บป่วยท่ามกลางหมู่กลุ่มของพระองค์ และช่วยเหลือเขาอย่างครบถ้วนทั้งร่างกายและจิตใจ  การรักษาเป็นเครื่องหมายสำคัญอย่างหนึ่งของการเริ่มต้นอาณาจักรพระเจ้า  งานบริการด้านการรักษาของพระเยซูเจ้าควรได้รับการพิจารณาเพื่อจะได้เข้าใจเรื่องการให้อภัยบาปของพระองค์ รวมถึงการประกาศของพระองค์เกี่ยวกับพระอาณาจักรของพระเจ้าและความจำเป็นที่จะต้องกลับใจ
    พระเยซูเจ้าทรงสั่งให้บรรดาอัครสาวกส่งข่าวสารของพระองค์และปฏิบัติพันธกิจของพระองค์ต่อไป ดังนั้น พระศาสนจักรในยุคแรกจึงฉลองและประกาศข่าวดีเรื่องการช่วยให้รอดพ้นโดยดำเนินงานบริการด้านการรักษาของพระเยซูเจ้าต่อมา  จดหมายของนักบุญยากอบให้รากฐานทางพระคัมภีร์สำหรับศีลเจิมคนไข้ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงความรัก ดังนี้
ท่านใดเจ็บป่วย จงเชิญบรรดาผู้อาวุโสของพระศาสนจักรให้มาอธิษฐานภาวนาเพื่อผู้ป่วย เจิมน้ำมันผู้นั้นในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า คำอธิษฐานภาวนาด้วยความเชื่อจะช่วยผู้ป่วยให้รอดชีวิต องค์พระผู้เป็นเจ้าจะทรงโปรดให้ผู้ป่วยลุกขึ้น และถ้าเขาเคยกระทำบาป เขาก็จะได้รับการอภัย ดังนั้นจงสารภาพบาปแก่กัน และจงอธิษฐานให้กันเพื่อท่านจะหายจากโรค
                                        ยก5:14-16
การประกอบพิธีศีลเจิมคนไข้ทำอย่างไร?
(CCC 1517-1519)
    ปัจจุบันพิธีศีลเจิมคนไข้ไม่ได้มีขึ้นสำหรับคนที่กำลังจะตายเท่านั้น แต่สำหรับผู้ที่กำลังเจ็บป่วยด้วย  ในการประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ได้มีความพยายามให้ชุมชนคริสตชนช่วยภาวนาอย่างจริงจังด้วย (อาทิเช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง และชุมชนวัดของผู้ป่วย) ยังแนะนำให้มีการปกมือ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางพระคัมภีร์ที่หมายถึงการสัมผัสของพระเยซูเจ้า และการประทานความเข้มแข็ง, ความรักและการให้อภัยของพระจิตเจ้า
    พิธีการเน้นย้ำความจำเป็นที่ผู้ป่วยต้องเอาชนะความอ้างว้าง อันเนื่องมาจากความเจ็บไข้และความทุกข์ทรมาน  พิธีการในปัจจุบันยังกระตุ้นให้ตัวผู้ป่วยเองมีบทบาทมากขึ้น โดยการขอศีลศักดิ์สิทธิ์ด้วยตัวเอง ไม่ต้องให้ผู้อื่นขอให้  ในความหมายนี้ ศีลเจิมคนไข้จึงมีความเกี่ยวข้องกับกระแสเรียกของคริสตชนให้เป็นพยานยืนยันถึงพระเจ้า นั่นคือคนไข้บอกกับคริสตชนในชุมชนว่าเขาหรือเธอยังต้องไว้ใจในความรักและความช่วยเหลือจากพระเจ้า
อะไรคือผลของศีลเจิมคนไข้?
(CCC 1520-1523; 1527; 1532)
    ความเจ็บปวดและความทุกข์ยากอาจทำให้เราเดือดร้อนและทำให้ความเชื่อในพระเจ้าผู้ทรงรักและห่วงใยอ่อนแอลง  พระเจ้าทรงทำให้เรามั่นใจในการดูแลและความเอาใจใส่ของพระองค์ ด้วยการใช้ศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ท่ามกลางชุมชนคริสตชน  พระองค์ทรงหยิบยื่นการอภัยโทษของพระองค์และทำให้ผู้ป่วยเข้มแข็งขึ้นด้วยการรักษาวิญญาณ และบางครั้งก็เป็นการรักษาร่างกาย และโดยศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ พระเยซูเจ้าทรงเชื้อเชิญเราให้รวมความเจ็บป่วยซึ่งอาจถึงความตายไว้กับธรรมล้ำลึกแห่งความทรมาน, ความตาย และการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ ซึ่งก็คือธรรมล้ำลึกปัสกาที่ได้รับชัยชนะเพื่อเป็นความรอดพ้นตลอดนิรันดรสำหรับเรา  ศีลศักดิ์สิทธิ์นี้เตือนชุมชนด้วยว่า พวกเขาต้องคอยสนับสนุนและสนใจบรรดาพี่น้องชายหญิงในทุกเวลาที่มีความจำเป็น
ศีลเจิมคนไข้มีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร?
(CCC 1513; 1517-1519; 1524-1525)
    โดยแบบแผนทั่วไป การประกอบพิธีศีลเจิมคนไข้ถูกจัดขึ้นเพื่อบุคคลคนหนึ่ง ในช่วงที่ป่วยหนักหรือก่อนเข้ารับการผ่าตัดที่เสี่ยงอันตรายมาก  ถ้าเป็นไปได้ ครอบครัวและญาติมิตรควรจะอยู่ด้วย และยังมีแนวโน้มที่จะประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ภายในพิธีมิสซา
    พิธีศีลเจิมคนไข้เริ่มด้วยการกล่าวทักทาย, การพรมน้ำเสก, พิธีการสารภาพความผิด และวจนพิธีกรรมภาคบทอ่านจากพระคัมภีร์ ซึ่งเป็นการระลึกถึงอำนาจการรักษาขององค์พระผู้เป็นเจ้า ทุกคนที่อยู่ ณ ที่นั้นร่วมกันสวดบทเร้าวิงวอนเพื่อผู้ป่วย หลังจากที่พระสงฆ์วางมือบนผู้ป่วยที่จะรับการเจิม  ท่านจะเสกน้ำมันแล้วเจิมที่หน้าผากและที่มือทั้งสองข้างของผู้ป่วย พระสงฆ์กล่าวว่า :
โดยอาศัยการเจิมอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เปี่ยมด้วยความรักและความกรุณา ทรงช่วยท่านด้วยพระหรรษทานของพระจิต อาเมน  ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงปล่อยท่านให้เป็นอิสระจากบาป ทรงช่วยให้ปลอดภัยและเข้มแข็งขึ้น อาเมน
    หลังจากนั้นต่อด้วยบทภาวนาหลังการเจิม และบทข้าแต่พระบิดา การมอบศีลมหาสนิท แล้วจบพิธีด้วยการอวยพรสุดท้าย

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:35-40) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “เราเป็นปังแห่งชีวิต ผู้ที่มาหาเราจะไม่หิว และผู้ที่เชื่อในเราจะไม่กระหายอีกเลย เราบอกท่านทั้งหลายแล้วว่า ท่านเห็นเราแล้ว แต่ไม่เชื่อ...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:30-35) เวลานั้น ประชาชนจึงทูลถามพระเยซูเจ้าว่า “ท่านทำเครื่องหมายอัศจรรย์ใดเพื่อพวกเราจะได้เห็น และจะได้เชื่อในท่าน ท่านทำอะไร บรรพบุรุษของเราได้กินมานนาในถิ่นทุรกันดาร ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า พระองค์ประทานขนมปังจากสวรรค์ให้เขากิน”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...
215. ใครเป็นหัวหน้าของพิธีมิสซาขอบพระคุณ ตามความเป็นจริงองค์พระคริสตเจ้าเองทรงปฏิบัติการในทุกพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ พระสังฆราช หรือพระสงฆ์ พูดแทนพระองค์ (1348) เป็นความเชื่อของพระศาสนจักร ว่าผู้ประกอบพิธีที่ยืนอยู่บนพระแท่นปฏิบัติหน้าที่ in persona Christi...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
2926
11164
33234
145752
306218
35889474
Your IP: 3.16.76.43
2024-04-18 07:23

สถานะการเยี่ยมชม

มี 262 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์