แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับการเริ่มชีวิตคริสตชน
00b358370ac297d79040bd8bda47fbf2    ศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับการเริ่มชีวิตคริสตชนรวบรวมประชากรของพระเจ้าเข้าไว้ในพระกายของพระคริสตเจ้า ให้เป็นชุมชนของผู้ที่มีความเชื่อ ซึ่งก็คือพระศาสนจักร   หน้าที่ของศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ก็เหมือนศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ คือทำให้ผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงเลือกสรรไว้เป็นเหมือนพระคริสตเจ้าอย่างแน่นอน  ศีลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ให้ชีวิตของพระเยซูเจ้าและมอบพระพรของพระจิตเจ้าแก่ประชากรของพระเจ้า  เพื่อให้พวกเขาสามารถดำเนินภารกิจของพระคริสตเจ้าด้วยถ้อยคำและการกระทำ  เพื่อมนุษยชาติที่กำลังโหยหาความหมายและความรัก

ศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับการเริ่มชีวิตคริสตชนคืออะไร?(CCC 1214-1216; 1277)
    ศีลล้างบาป ศีลกำลังและศีลมหาสนิท เป็นที่รู้จักในฐานะศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับการเริ่มชีวิตคริสตชน  คาทอลิกชาวอเมริกันส่วนใหญ่รับศีลล้างบาปตั้งแต่ยังเป็นเด็กทารก รับศีลมหาสนิทครั้งแรกเมื่อพวกเขาเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษา(เกรด 2 หรือ 3) และรับศีลกำลังเมื่อพวกเขาเรียนอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือมัธยมศึกษาตอนปลาย  ในยุคแรกของศาสนาคริสต์ผู้กลับใจส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ซึ่งจะได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 3 ประการในคราวเดียวกัน  หลังจากที่พวกเขาเข้ามามีส่วนในการอบรมเป็นระยะเวลานาน บ่อยครั้งอาจถึง 3 ปี  เราเรียกระยะเวลานี้ว่า ช่วงของการเป็นคริสตชนสำรอง(catechumenate) ผู้สมัครเป็นคริสตชนเหล่านี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเชื่อของคริสตชน และได้ฝึกฝนในแนวทางชีวิตของคริสตชนด้วยวิธีการภาวนา การอดอาหาร และการปฏิเสธความต้องการของตนเอง โดยความช่วยเหลือและความเป็นเพื่อนของบรรดาพี่เลี้ยง(sponsors)  วิธีการนำผู้ใหญ่เข้าสู่ชุมชนคริสตชนแบบเก่านี้ได้กลับมีชีวิตชีวาในช่วงเวลา 25 ปีสุดท้าย โดยอาศัยพิธีรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน (Rite of Christian Initiation of Adults – RCIA)
RCIA คืออะไร? (CCC 1247-1249)
    RCIA คือกระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้ผู้สมัครเรียนคำสอนแต่ละคนได้รับศีลล้างบาปเข้าเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรคาทอลิก ประกอบด้วย 4 ช่วงเวลาสำหรับเตรียมผู้สมัครเรียนคำสอนให้พร้อมสำหรับการเริ่มชีวิตคริสตชน โดยมีการเรียนรู้เกี่ยวกับความเชื่อและอาศัยการภาวนาพร้อมกับการแนะนำด้านจิตวิญญาณ  ความก้าวหน้าจากช่วงเวลาหนึ่งไปยังช่วงเวลาถัดไปถูกกำหนดโดยพิธีกรรมที่เฉพาะ ซึ่งมีพิธีกรรมพื้นฐาน 3 พิธี และพิธีกรรมเล็กน้อยอีกหลายพิธี
•    ระยะที่ 1 : ช่วงเวลาก่อนการเป็นคริสตชนสำรอง(Pre-catechumenate)
กระบวนการพัฒนาสู่การเริ่มต้นชีวิตคริสตชนเริ่มด้วยช่วงเวลาสำหรับการสอบถาม เรียกว่าเป็นช่วงก่อนการเป็นคริสตชนสำรอง ผู้สอบถามแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตกับคริสตชนคาทอลิก, ไตร่ตรองเรื่องราวในพระคัมภีร์, ค้นหาความรู้เกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาแบบคาทอลิกและความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อในศาสนาแบบคาทอลิกกับคริสตชนนิกายอื่น, และเรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูเจ้า
การผ่านจากช่วงเวลานี้ไปสู่ช่วงเวลาถัดไป ถูกแสดงให้เห็นโดยพิธีต้อนรับผู้สมัครเรียนคำสอน (The Rite of Acceptance) ในพิธีกรรมนี้ ผู้สอบถาม(ผู้สมัครเรียนคำสอน)จะขอให้ชุมชนที่มีความเชื่อคาทอลิกรับเขาเข้าร่วมด้วย แล้วเขาจะได้รับการต้อนรับเข้าสู่พระศาสนจักรด้วยความยินดีในฐานะผู้สมัครเข้าเป็นคริสตชน พวกเขาจะได้ชื่อว่า คริสตชนสำรอง(Catechumen)
•    ระยะที่ 2: ช่วงเวลาแห่งการเป็นคริสตชนสำรอง (Catechumenate)
หลังผ่านพิธีต้อนรับผู้สมัครเรียนคำสอนแล้ว คริสตชนสำรองจะเรียนรู้ความเชื่อคริสตชนอย่างลึกซึ้งมากขึ้น (บางครั้งอยู่ภายใต้การแนะนำของพี่เลี้ยง ผู้เป็นแบบอย่างการมีบทบาทดูแลผู้อื่น)  คริสตชนสำรองค่อยๆคุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบคริสตชน, ศึกษาพระคัมภีร์, เข้าร่วมวจนพิธีกรรมภาคบทอ่านจากพระคัมภีร์ในมิสซาวันอาทิตย์อย่างครบถ้วน และเริ่มมีบทบาทอย่างกระตือรือร้นในชีวิตของชุมชนวัด
พิธีเลือกสรร(The Rite of Election) เปลี่ยนคริสตชนสำรอง จากช่วงการเป็นคริสตชนสำรองไปสู่ช่วงการเตรียมตัวรับศีลล้างบาป  พิธีนี้เริ่มด้วยการส่งออกไปจากพิธีมิสซาในวัดและต่อเนื่องไปยังพิธีในระดับสังฆมณฑลซึ่งตามปกติจัดในอาสนวิหาร  พิธีเลือกสรรประกอบด้วยการนำเสนอตัวผู้สมัครเข้าเป็นคริสตชนต่อพระสังฆราชท้องถิ่น  และลงทะเบียนชื่อของผู้สมัครลงในสมุดพิเศษเล่มหนึ่ง ขณะนี้พวกเขาจะได้ชื่อว่าเป็น ผู้รับเลือกสรร(The Elect) เพราะพวกเขาได้รับการเลือกจากพระเจ้าและถูกเรียกจากชุมชนคาทอลิกในท้องถิ่นของพวกเขา ให้กลายเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรอย่างสมบูรณ์
•    ระยะที่ 3 : ช่วงเวลาแห่งการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ (Purification and Enlightenment)
ในช่วงเวลานี้ ผู้รับเลือกสรรถูกเรียกร้องให้เตรียมตัวเองสำหรับพิธีล้างบาป และการรับเข้าสู่ชุมชนคาทอลิกอย่างสมบูรณ์  สิ่งสำคัญที่พวกเขาต้องทำขณะนี้คือการสวดภาวนา การอดอาหารและการฝึกฝนจิตวิญญาณแบบอื่นๆอีก ในช่วงเทศกาลมหาพรต
ในวันอาทิตย์เทศกาลมหาพรต ยังมีพิธีพิเศษเล็กๆ และการภาวนาให้กับผู้รับเลือกสรร การไตร่ตรองบทอ่านประจำวันอาทิตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพระวรสารโดยนักบุญยอห์น ช่วยพวกเขาในตัดสินใจเลือกพระเยซูเจ้าและพระอาณาจักรของพระองค์แทนที่จะเลือกหนทางของปีศาจและความมืด  ผู้รับเลือกสรรต้องเรียนเกี่ยวกับหลักความเชื่อคริสตชนและบทภาวนาขององค์พระผู้เป็นเจ้า  อาทิ บทสรุปพื้นฐานเกี่ยวกับความเชื่อคริสตชนและบทภาวนาต่างๆ ของผู้ที่ติดตามพระคริสต์ ในขณะที่ผู้รับเลือกสรรเตรียมตัวสำหรับการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน  ชุมชนทั้งหมดก็มุ่งภาวนาและให้ความช่วยเหลือพวกเขา
ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มชีวิตคริสตชนถูกจัดขึ้นระหว่างเทศกาลปัสกา ในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ก่อนวันอาทิตย์ปัสกา  ผู้รับเลือกสรรจะได้รับศีลล้างบาป ศีลกำลัง และรับศีลมหาสนิทครั้งแรกในฐานะสมาชิกสมบูรณ์แห่งพระกายของพระคริสตเจ้า  ศีลล้างบาป(Baptism)ประกอบด้วยบทร่ำวิงวอนนักบุญทั้งหลาย, บทภาวนาเสกน้ำล้างบาป, พิธีล้างบาป, การสวมเสื้อขาว, และการมอบเทียนที่จุดต่อจากเทียนปัสกา  ศีลกำลัง(Confirmation)ประกอบด้วยบทอัญเชิญพระจิต, การปกมือเหนือศีรษะ, และการเจิมน้ำมันคริสมาที่หน้าผาก
•    ระยะที่ 4 : ช่วงเวลาแห่งการเป็นคริสตชนใหม่
ช่วงเวลาหลายสัปดาห์หรืออาจจะหลายเดือนหลังวันอาทิตย์ปัสกา คริสตชนคาทอลิกใหม่ต้องมาพบปะพูดคุยกันเพื่อไตร่ตรองถึงความหมายของเหตุการณ์สำคัญๆของชีวิตที่ผ่านไปไม่นานนี้  พวกเขาได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนผ่านทางการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นในเรื่องธรรมล้ำลึกแห่งความเชื่อ, เครื่องหมายต่างๆที่แสดงถึงความรักของพระเจ้าภายในชีวิตของพระศาสนจักรและในชีวิตของคริสตชนทุกคน
ศีลล้างบาปคืออะไร? (CCC 1214-1228; 1277)
    พระศาสนจักรทำพิธีล้างบาปเพราะพระคริสตเจ้าเองทรงสั่งให้ทำ:“ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา ทำพิธีล้างบาปให้เขาเดชะพระนามพระบิดา พระบุตรและพระจิต” (มธ28:19)
    ศีลล้างบาป(Baptism)คือ เครื่องหมายแสดงความรักของพระเจ้าสำหรับเรา  เราเข้าร่วมในพระธรรมล้ำลึกที่ประกอบด้วยการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าโดยทางศีลล้างบาป  พระศาสนจักรเรียกร้องให้เราหยุดทำบาปและยอมรับชีวิตใหม่จากการไถ่ของพระเยซูเจ้า  ศีลล้างบาปนำเราเข้าสู่พระกายของพระคริสต์  ศีลล้างบาปอภัยบาปทั้งหมดของเราและเสนอความช่วยเหลือจากชุมชนคริสตชนแก่เรา ขณะที่เราเติบโตเป็นเหมือนพระคริสต์มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุว่าศีลล้างบาปประทับตราฝ่ายจิตที่คงอยู่ถาวร เราจึงไม่สามารถรับศีลนี้ซ้ำได้
พิธีศีลล้างบาปสำหรับเด็กมีขั้นตอนอย่างไร? (CCC 1229-1231; 1234-1243;1250-1252)
    เมื่อบิดามารดานำบุตรของพวกเขามาเพื่อรับศีลล้างบาป  พวกเขาสัญญาว่าจะตั้งใจอบรมสั่งสอนบุตรให้ดำเนินชีวิตตามคุณค่าในพระวรสาร  พ่อแม่ทูนหัวและบุคคลที่อยู่ในชุมชนวัดสัญญาว่าจะให้การสนับสนุนบิดามารดาให้สามารถทำตามคำสัญญาของพวกเขา  พิธีล้างบาปควรจัดอย่างเหมาะสมในพิธีกรรมวันอาทิตย์ และควรจัดในที่ประชุมของคริสตชนเสมอ
    พิธีกรรมเริ่มต้นด้วยการทักทายจากพระสงฆ์ประธานในพิธี จากนั้นก็จะต้อนรับเด็กด้วยการทำเครื่องหมายกางเขนที่หน้าผากของเด็ก แล้วเชิญบิดามารดาและพ่อแม่ทูนหัวให้ทำเช่นเดียวกัน หลังจบวจนพิธีกรรม(liturgy of the Word)  พระสงฆ์ก็จะเสกน้ำล้างบาปในกรณีที่ยังไม่ได้เสก แล้วกล่าวเชิญให้บิดามารดา พ่อแม่ทูนหัว และคริสตชนทุกท่านที่ร่วมอยู่ในพิธีร่วมใจกันประกาศยืนยันความเชื่อ ด้วยการรื้อฟื้นคำปฏิญาณแห่งศีลล้างบาป
    พระสงฆ์เทน้ำลงบนศีรษะของเด็ก (หรือจุ่มเด็กลงในน้ำ) พร้อมกับกล่าวถ้อยคำต่อไปนี้
        “ข้าพเจ้าล้างท่าน เดชะพระนามพระบิดา และพระบุตร และพระจิต”
    หลังการล้างบาป พระสงฆ์ก็เจิมน้ำมันลงบนหน้าผากของเด็ก สวมเสื้อขาวให้เด็ก และมอบเทียนที่จุดต่อจากเทียนปัสกาให้กับเด็กโดยพ่อแม่หรือพ่อแม่ทูนหัวเป็นผู้รับแทน ทุกคนที่มาชุมนุมร่วมกันสวดบทข้าแต่พระบิดา  หลังจากนั้นประธานปิดพิธีด้วยการอวยพรพ่อแม่ของเด็ก แล้วจึงอวยพรทุกคนที่อยู่ ณ ที่นั้น
เครื่องหมายต่างๆ ที่ใช้ในพิธีล้างบาปหมายถึงอะไรบ้าง? (CCC 1231-1243)
•    น้ำ  การล้างบาป หมายถึง “การตกลงในน้ำหรือการจุ่มลงไปในน้ำ”  น้ำเป็นสัญลักษณ์แทนชีวิต, การทำให้บริสุทธิ์และความตาย  น้ำล้างบาปหมายความถึงการสิ้นสุดลงของวิถีทางชีวิตอย่างเก่าในโลกนี้ และเริ่มชีวิตใหม่ในวิถีทางใหม่กับพระเยซูคริสต์ผู้เป็นหลักยึดเหนี่ยวและความช่วยเหลือถาวรของคนคนหนึ่ง  บาปกำเนิดถูกชำระออกไปและเราก็ได้ชีวิตนิรันดรเป็นมรดกในฐานะบุตรบุญธรรมของพระเจ้า
•    น้ำมัน  การเจิมด้วยน้ำมันศักดิ์สิทธิ์หรือน้ำมันคริสมาเตือนเราว่าพระคริสตเจ้าได้ไถ่บาปเราและส่งพระจิตเจ้ามาคุ้มครองเราและทำให้เราเข้มแข็ง  ความหมายดั้งเดิมของคำว่า คริสต์(Christ) คือ “ผู้รับการเจิม”  น้ำมันแห่งศีลล้างบาปเป็นสัญลักษณ์แสดงว่าเรา “ได้รับพิธีล้างบาป”(Christened)  เรากลายเป็นผู้ได้รับการเจิมจากผู้รับการเจิมที่สามารถเยียวยาและทำให้แข็งแกร่งได้ เหมือนดังเช่นยาน้ำมันที่ช่วยรักษาบาดแผล
•    เสื้อขาว  ในพระศาสนจักรสมัยแรกเริ่ม คริสตชนจะใส่เสื้อคลุมสีขาวขณะที่เขาออกจากสระล้างบาป  ในปัจจุบัน ผู้ที่จะรับศีลล้างบาปแสดงความตั้งใจที่จะดำเนินชีวิตใหม่เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า โดยการสวมใส่เสื้อขาวอันเป็นสัญลักษณ์แสดงความบริสุทธิ์, ความรื่นเริงยินดีและเอกลักษณ์ใหม่
•    แสงสว่าง  ขั้นตอนที่มีความงดงามในพิธีศีลล้างบาปก็คือ การมอบแสงสว่างของพระคริสตเจ้าแก่ผู้ที่เพิ่งรับศีลล้างบาป  ผู้ประกอบพิธีจุดเทียนจากเทียนปัสกาแล้วมอบให้เด็ก โดยปกติพ่อแม่ทูนหัวจะเป็นผู้รับเทียนแทนเด็ก  การประกอบพิธีกรรมแบบเรียบง่ายนี้เรียกร้องให้ทุกคนที่อยู่ ณ ที่นั้นเป็นแสงสว่างของพระคริสตเจ้า โดยการดำเนินชีวิตด้วยความรักผู้อื่น จนทำให้คนอื่นสามารถเห็นว่าพระคริสตเจ้าทรงกำลังทำงานอยู่ในโลก
•    บทสูตรพระตรีเอกภาพ  พระศาสนจักรล้างบาปเราในพระนามของพระตรีเอกภาพผู้ศักดิ์สิทธิ์, พระบิดา, พระบุตร, และพระจิต อันเป็นการแสดงถึงการรับเข้าสู่ครอบครัวของพระเจ้า  ในพิธีล้างบาป ผู้ประกอบพิธีถามถึงชื่อของผู้สมัครรับศีลล้างบาป  โดยปกติคริสตชนจะเลือกใช้ชื่อของนักบุญองค์ใดองค์หนึ่ง การพึ่งพานักบุญด้วยหวังแรงบันดาลใจและการช่วยเหลือแสดงถึงความเชื่อของเราในเรื่องสหพันธ์นักบุญ(the Communion of Saint)
จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ที่ไม่ได้รับศีลล้างบาป? (CCC 1257- 1261; 1281; 1283)
    พระศาสนจักรสอนว่า มีรูปแบบบางอย่างของศีลล้างบาปในพระนามของพระเยซูคริสต์จำเป็นสำหรับการไถ่บาป  พระศาสนจักรสอนต่อกันมาว่าศีลล้างบาปมี 3 รูปแบบ ได้แก่ การล้างบาปด้วยน้ำ (โดยทางพิธีกรรม), การล้างบาปด้วยเลือด (ความตายของมรณสักขี) และการล้างบาปด้วยความปรารถนา  การล้างบาปด้วยความปรารถนาเกิดขึ้นได้กับบุคคลใดก็ตามที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้รับศีลล้างบาป  แต่การดำเนินชีวิตของเขาแสดงให้เห็นว่าเขายอมรับพระเยซูเจ้าทุกครั้งถ้าเขามีโอกาส
บรรดาผู้ที่ตายเพราะความเชื่อ, บรรดาผู้เตรียมเป็นคริสตชนและมนุษย์ทุกคนที่แสวงหาพระเจ้าด้วยความจริงใจภายใต้พระหรรษทานที่ให้แรงบันดาลใจ โดยไม่รู้จักพระศาสนจักร และมีความพยายามที่จะทำตามน้ำพระทัยของพระเจ้า ก็ได้รับความรอดพ้นแม้พวกเขายังไม่ได้รับศีลล้างบาป
                            -หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก, ข้อ 1281
ศีลกำลังคืออะไร?  (CCC 1285-1292; 1302-1305; 1316-1318)
    ศีลกำลัง(Confirmation)เป็นหนึ่งในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มชีวิตคริสตชน นำไปสู่การเป็นคริสตชนอย่างสมบูรณ์  โดยการรื้อฟื้นคำสัญญาของศีลล้างบาป, การปกมือเหนือศีรษะ, และการเจิมด้วยน้ำมันคริสมา  ศีลกำลังมอบพระพรของพระจิตเจ้าให้มาบังเกิดผลในชีวิตของผู้ที่รับศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ อีกทั้งยังทำให้ความรับผิดชอบต่อความเชื่อและความเป็นศิษย์พระเยซูคริสต์ของพวกเขามั่นคงและเข้มแข็ง   เมื่อผู้ใหญ่หรือเด็กที่มีอายุเหมาะสม (ประมาณ 7 ปี) ได้เข้าเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรโดยอาศัยศีลล้างบาป เขาหรือเธอจะได้รับศีลกำลังต่อทันที  ดังที่มีกล่าวไว้แล้วในเรื่อง RCIA   โดยปกติพิธีศีลล้างบาปและพิธีศีลกำลังจะจัดขึ้นช่วงปัสกา คือในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์  และอีกวันที่เหมาะสำหรับจัดพิธีศีลกำลังให้กับผู้ใหญ่หรือเด็กโต ได้แก่วันพระจิตเจ้าเสด็จลงมา(Pentecost)  แม้วันอื่นๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน   ส่วนเด็กเล็กที่รับศีลล้างบาปตั้งแต่ยังเป็นทารก ตามปกติจะรับศีลกำลังหลังจากนั้นหลายปี
พิธีรับศีลกำลังมีขั้นตอนอย่างไร? (CCC 1298-1301; 1320-1321)
    เมื่อพิธีศีลกำลังถูกจัดแยกจากพิธีศีลล้างบาปนั้น ปกติจะเป็นช่วงระหว่างพิธีมิสซาที่ถูกจัดขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพิธีกรรมศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้นชีวิตคริสตชนต้องมีการจัดลำดับคือ ศีลล้างบาป ศีลกำลัง และศีลมหาสนิท   หลังจบภาควจนพิธีกรรมก็จะเป็นการแสดงตัวของผู้สมัครเป็นคริสตชนและการเทศน์หรือการกล่าวนำแบบสั้นๆ  แล้วพระสังฆราชผู้เป็นศาสนบริกรปกติของศีลศักดิ์สิทธิ์นี้กับพระสงฆ์ที่เป็นประธานร่วมในพิธี ยื่นมือออกไปเหนือผู้สมัครเข้าเป็นคริสตชนในขณะที่พระสังฆราชอ้อนวอนขอพระพรของพระจิต   ในบางสังฆมณฑล พระสังฆราชจะมอบให้พระสงฆ์ทำหน้าที่โปรดศีลกำลังแทนในเขตวัดของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเทศกาลปัสกา
    ผู้สมัครแต่ละคนออกมายืนต่อหน้าพระสังฆราช (หรือพระสงฆ์ผู้เป็นประธานในพิธี)ผู้เจิมน้ำมันคริสมาเป็นรูปกางเขนที่หน้าผากของพวกเขา พระสังฆราชจะเอ่ยนามของแต่ละคน โดยกล่าวว่า “...ชื่อนักบุญ/ชื่อ... จงรับเครื่องหมายพระจิตเจ้า ซึ่งพระบิดาประทานให้”  จากนั้นมีการอวยพรให้พบสันติสุข  และปิดท้ายด้วยบทภาวนาเพื่อมวลชนก่อนเข้าสู่ขั้นตอนปกติของพิธีมิสซา
    การเจิมด้วยน้ำมันคริสมา ที่ได้จากการผสมน้ำมันมะกอกกับน้ำหอมซึ่งพระสังฆราชทำพิธีเสกในวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่าคุณความดีของผู้รับศีลกำลังใหม่ต้องปรากฏเป็นประจักษ์พยานในโลก  น้ำมันอันเป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็ง ก็เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความศักดิ์สิทธิ์ของผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกสรร  การเจิมน้ำมันเป็นรูปกางเขนบนหน้าผากเน้นว่าเขาควรมีความคล้ายคลึงกับพระคริสตเจ้า และเป็นพยานยืนยันถึงพระองค์อย่างกล้าหาญเพียงใด
ผลจากศีลกำลังที่สำคัญคืออะไร? (CCC 1302-1305)
1.    ศีลกำลังมอบและประทับตราความสมบูรณ์จากพระจิตเจ้า
การถูกประทับตราหรือการถูกเจิมหมายถึง การถูกทำให้มีความแตกต่างอย่างพิเศษออกไป กลายเป็นสิ่งของของบางคนหรือเข้าไปมีบทบาทหน้าที่พิเศษบางอย่าง  ในพิธีศีลกำลัง เรากลายเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของพระคริสตเจ้า, ได้รับมอบอำนาจจากพระจิตเจ้า, และปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระคริสตเจ้าอย่างครบถ้วนยิ่งขึ้น  ศีลกำลังประทับตราฝ่ายจิตที่คงอยู่ถาวร  ด้วยเหตุนี้เราจึงรับศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ได้เพียงครั้งเดียว
2.    ศีลกำลังทำให้เราเข้มแข็งในการดำเนินชีวิตคริสตชน
การทำให้มั่นคง(confirm) หมายถึง “การยืนยัน”(ratify) และ “การทำให้เข้มแข็ง”(strengthen)   ศีลกำลัง(confermation)ทำให้เรามีทักษะในการดำเนินชีวิตแบบคริสตชนอันเกิดจากศีลล้างบาปสมบูรณ์ และสอนเราให้เข้าใจเอกลักษณ์ของเราในฐานะบุตรของพระเจ้าลึกซึ้งยิ่งขึ้น  บ่อยครั้งที่ศีลกำลังถูกจัดขึ้นสำหรับวัยรุ่นที่กำลังจะเป็นผู้ใหญ่  เพราะเหตุนี้จึงสามารถเรียกได้ว่าเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ที่แสดงถึงการเจริญเติบโตเต็มที่  พระเป็นเจ้าทรงเรียกเราทุกคนให้มาเป็นพยานยืนยันถึงพระคริสตเจ้าอย่างกล้าหาญ และศีลกำลังได้ยืนยันการเรียกนี้ พร้อมกับทำให้เราเข้มแข็งในการดำเนินชีวิตแบบพระคริสต์
3.    ศีลกำลังทำให้พลังแห่งพระพรทั้งหลายที่ได้รับในศีลล้างบาปเพิ่มมากขึ้น
พระจิตเจ้ามอบพระพรที่ทำให้เราเข้มแข็ง และช่วยเราให้สามารถปฏิบัติภารกิจของพระคริสตเจ้าได้

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:11-18) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี ผู้เลี้ยงแกะย่อมสละชีวิตเพื่อแกะของตน ลูกจ้างที่ไม่ใช่ผู้เลี้ยง และไม่เป็นเจ้าของแกะ เมื่อเห็นสุนัขป่าเข้ามา ก็ละทิ้งบรรดาแกะและหนีไป สุนัขป่าแย่งชิงแกะ...
วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
19564
23407
86614
199132
306218
35942854
Your IP: 3.146.35.203
2024-04-20 15:34

สถานะการเยี่ยมชม

มี 520 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์