แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

พระศาสนจักร : ภารกิจและธรรมชาติของพระศาสนจักร
177200705 IFheroประชาคม, การบริการ, และคารวะกิจ บรรยายภารกิจของเราจากพระคริสต์ได้อย่างรวบรัด  นี่คือเหตุผลซึ่งองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์ให้สมาชิกแห่งพระกายของพระองค์ทุกคนเป็นผู้สื่อสารข่าวดีด้วยการสร้างประชาคมคริสตชน, การบริการคนอื่น, การกระทำด้วยความยุติธรรม, และการถวายบูชาพระเจ้า  อีกวิธีการหนึ่งที่จะมองดูภาระหน้าที่ของเราคือ การมองผ่านบทบาทของพระสงฆ์, ประกาศก และกษัตริย์  พระศาสนจักรในฐานะหมู่มวลประชากรหนึ่งมีหน้าที่ที่จะดำเนินบทบาทของพระสงฆ์, ประกาศก และกษัตริย์  ที่สันนิษฐานกันว่าเกิดขึ้นโดยพระเยซูเอง   คริสตชนแต่ละคนมีส่วนร่วมในบทบาทเหล่านี้ด้วยสถานการณ์ชีวิตที่พิเศษของเขาหรือเธอ

พระศาสนจักรทำหน้าที่ในฐานะประกาศกได้อย่างไร? CCC 904-906; 942
    ประกาศกคนหนึ่งคือ บุคคลที่พูดพระวาจาของพระเจ้า  สมาชิกทั้งมวลของพระศาสนจักรร่วมในพันธกิจประกาศกของพระเยซู เพราะเราได้รับศีลล้างบาป  พระเยซูทรงขอร้องเราให้เป็นพยานถึงความจริงของพระองค์ด้วยวาจาและการกระทำต่างๆ  “ฆราวาสทั้งหลายยังปฏิบัติภารกิจในการเป็นประกาศกของเขาโดยการประกาศข่าวดี”  กล่าวคือเป็นประกาศกถึงพระคริสต์ด้วยวาจาและการเป็นพยานด้วยชีวิต” (CCC, 905)
บทบาทของพระฐานานุกรมของพระศาสนจักรเป็นอย่างไร? CCC 874-882; 936-939
    ความเป็นผู้นำของพระศาสนจักรยังได้รับอำนาจพร้อมด้วยพระพรเพื่อการประกาศพระวาจา  พระเยซูทรงมอบภาระการประกาศพระวาจาที่แท้จริงอย่างซื่อสัตย์ตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์และในกระบวนการสืบทอดความเชื่อ
    พระศาสนจักรได้รับการนำทางตลอดหลายศตวรรษจากพระจิต  พระจิตทรงช่วยพระศาสนจักรให้ยอมรับสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตคริสตชนอย่างแท้จริงและสืบทอดสิ่งเหล่านั้นต่อไป  พระสันตะปาปา, พระสังฆราชและพระสงฆ์ทั้งหลาย ทำงานศาสนบริการของเปโตรกับบรรดาอัครสาวกผู้ได้รับเลือกจากองค์พระผู้เป็นเจ้าในช่วงที่พระองค์ทรงพระชนม์ เพื่อให้ดำเนินงานของพระองค์บนโลกต่อไปอย่างต่อเนื่อง  ความเป็นผู้นำของพระศาสนจักรช่วยรักษาการสืบทอดความเชื่ออย่างถูกต้องและประกาศพระวรสารที่แท้จริง
    ชาวคาทอลิกเชื่อว่าพระสันตะปาปาทรงเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญเปโตร ในฐานะผู้นำของบรรดาพระสังฆราชซึ่งเป็นผู้สืบตำแหน่งอัครสาวก  พระสันตะปาปาจึงมีความสำคัญเป็นอันดับแรกเหนือพระศาสนจักรทั้งมวล  พระสันตะปาปาและบรรดาพระสังฆราชก่อเกิดเป็นหมู่กลุ่มที่มีเอกลักษณ์หนึ่งเดียว ซึ่งเราเรียกว่าคณะพระสังฆราช(college of bishops)  บรรดาพระสังฆราชเมื่ออยู่รวมกันพรัอมกับพระสันตะปาปาต้องสอนพระวาจาของพระเจ้าอย่างซื่อสัตย์  บทบาทพิเศษของพระสันตะปาปาคือ การเป็นเครื่องหมายหนึ่งที่แสดงถึงเอกภาพเมื่อบรรดาพระสังฆราชพูดในฐานะบุคคลหนึ่ง  พระสันตะปาปาทรงพูดพร้อมกับบรรดาพระสังฆราชในฐานะเสียงของพระคริสต์ผู้มีชีวิตอยู่ในพระศาสนจักร
พระศาสนจักรสอนอย่างไร? CCC 892; 935
    ปกติพระสันตะปาปาและบรรดาพระสังฆราชสอนโดยอาศัยอำนาจสั่งสอนปกติ(ordinary magisterium) ของพระศาสนจักร  อำนาจสั่งสอนในพระศาสนจักร(magisterium)สัมพันธ์กับภาระหน้าที่ด้านการสอนในพระศาสนจักรซึ่งองค์พระผู้เป็นเจ้าประทานแก่บรรดาอัครสาวกและผู้สืบตำแหน่งของพวกท่าน  ชาวคาทอลิกสำนึกถึงความสำคัญเป็นอันดับแรกของพระสันตะปาปา, พระสังฆราช, ผู้อภิบาล และพระสงฆ์ในพันธกิจการสอนของพระศาสนจักร
    ภารกิจแห่งอำนาจสั่งสอนของพระศาสนจักรผูกพันอยู่กับลักษณะอันเด็ดขาดของพันธสัญญาซึ่งพระเจ้าทรงวางรากฐานไว้บนประชากรของพระองค์ในพระคริสต์  งานที่สำคัญโดยอำนาจสั่งสอนนี้คือ การปกปักรักษาประชากรของพระเจ้าให้สามารถรักษาคำสอนไว้อย่างเที่ยงตรงและไม่บกพร่อง  อีกทั้งรับรองว่าประชากรของพระเจ้าสามารถประกาศความเชื่อที่ถูกต้องปราศจากความผิดพลาดได้จริงๆ
    -หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก, 890
ความไม่รู้พลั้งคืออะไร? CCC 888-890
    การยึดคำสัญญาขององค์พระผู้เป็นเจ้าของเราที่ว่า พระศาสนจักรจะไม่หลงทางเพราะพระองค์ประทับอยู่ในพระศาสนจักรอย่างต่อเนื่อง  คาทอลิกจึงเชื่อว่าพระศาสนจักรจะไม่ผิดพลาดในเรื่องสาระความเชื่อและศีลธรรมทั้งหลายที่สำคัญ  นี่เป็นความเชื่อว่าคำสอนหนึ่งที่พระศาสนจักรมั่นใจจะปราศจากความผิดพลาด  แต่พระศาสนจักรไม่ค่อยมีคำสอนประเภทนี้และไม่มีรายชื่ออันเป็นการสรุปรวมเอกสารทั้งหมดของพระศาสนจักรซึ่งได้รับการพิจารณาแล้วว่าถูกต้องอย่างสมบูรณ์
ความไม่รู้พลั้งของพระสันตะปาปาคืออะไร? CCC 891
พระสันตะปาปาทรงกล่าวอย่างไม่ผิดพลาด เมื่อพระองค์ทรงสอนภายใต้สถานการณ์ต่อไปนี้
○ในฐานะผู้นำพระศาสนจักรทั้งมวลที่มนุษย์สามารถเห็นได้
○เมื่อตรัสกับคาทอลิกทั้งหมด
○เมื่อเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อหรือศีลธรรม
○กำลังตั้งใจใช้อำนาจเต็มของพระองค์ในการตัดสินใจที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
    ความไม่รู้พลั้งอ้างถึงเพียงอำนาจของพระสันตะปาปาหรือพระพรในฐานะผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญเปโตรเท่านั้น ซึ่งจะมีความสามารถสอนการเปิดเผยของพระคริสต์ได้อย่างถูกต้องโดยเฉพาะเมื่อคำสอนนั้นถูกโจมตีหรือปฏิเสธ และนำไปสู่การปฏิเสธในหมู่ประชากรของพระเจ้า  ความคิดเห็นและความเชื่อส่วนตัวทั้งหลายของพระสันตะปาปาก็เหมือนคนทั่วไปที่อาจผิดพลาดได้ นั่นเป็นเพราะพระสันตะปาปาก็เป็นมนุษย์  พระองค์สามารถทำบาปและสิ่งผิดพลาดแม้ในวิธีการที่พระองค์ปกครองพระศาสนจักร  ความไม่รู้พลั้งก็เหมือนพระพรทั้งหลายของพระจิตซึ่งมีอยู่เพื่อสร้างพระกายของพระคริสต์และให้เราเข้าใจความจริงของพระศาสนจักร
บทบาทของพระศาสนจักรในฐานะสงฆ์เป็นอย่างไร? CCC 893; 901-903; 941
    พระศาสนจักรนำผู้อื่นที่ไม่รู้จักพระเจ้า มาสู่ความศักดิ์สิทธิ์โดยบทบาทของพระศาสนจักรในฐานะสงฆ์   คริสตชนทุกคนมีส่วนในความเป็นสงฆ์ธรรมดาของพระคริสต์ด้วยวิถีทางต่างๆกัน  บางคนถูกเรียกมาให้กระทำตัวเป็นครูที่เป็นทางการ, ส่วนบางคนได้มาเป็นผู้รับผิดชอบที่พระแท่นและเป็นผู้อภัยบาปในนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า  แม้จะมีเพียงบางคนถูกเรียกมารับความเป็นพระสงฆ์ผู้ให้บริการศีลศักดิ์สิทธิ์โดยอาศัยศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการบวช  แต่ทุกคนในพระศาสนจักรไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือฆราวาสก็มีส่วนในกระแสเรียกโดยศีลล้างบาปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า “ความเป็นสงฆ์ของผู้ได้รับการล้างบาป”  การได้เป็นสมาชิกคนหนึ่งในพระศาสนจักรที่มีความเป็นสงฆ์ของผู้ได้รับการล้างบาปเป็นพระพรที่ยิ่งใหญ่  แต่เราควรจำไว้เสมอว่า ในสายพระเนตรของพระเจ้าความยิ่งใหญ่ของแต่ละคนไม่ได้อยู่กับพระพรทั้งหลายที่เราได้รับ แต่ค่อนข้างขึ้นอยู่กับความเอาจริงเอาจังของเราที่จะใช้พระพรเหล่านั้นด้วยความรักของเราต่อพระเจ้าและผู้อื่นมากเพียงใด
ในฐานะพระศาสนจักรเป็นดั่ง “กษัตริย์” เราต้องมีความตั้งใจอย่างไร? CCC 894-896: 908-913; 943
    เมื่อเราคิดถึงกษัตริย์  เราคิดถึงผู้ปกครองที่เป็นแบบผู้มีอำนาจ  พระเยซูทรงเตือนเราว่าอำนาจทั้งปวงเป็นของพระองค์  องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเลือกที่จะแบ่งอำนาจของพระองค์ให้กับบรรดาผู้เลี้ยงแกะในพระศาสนจักร  พระองค์ทรงแบ่งอำนาจการสอนของพระองค์ด้วยวิธีพิเศษให้กับพระสันตะปาปา, บรรดาพระสังฆราช และผู้อภิบาลทั้งหลาย(pastor)   พระองค์ยังทรงแบ่งอำนาจการปกครองของพระองค์ด้วย  สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการใช้อำนาจในพระศาสนจักรประกอบด้วย การเติบโตของความเชื่อและความศักดิ์สิทธิ์ท่ามกลางผู้ที่มีความเชื่อทั้งปวง แต่มีเพียงจุดประสงค์เดียว
    การปกครองของพระศาสนจักร(The Church’s governance) ต้องเป็นไปด้วยความถ่อมตน(humility), ความรัก(love) และความเมตตากรุณา(compassion)  มาตรฐานของพระศาสนจักรต้องเป็นไปตามที่พระคริสต์ทรงกำหนด ไม่ใช่มาตรฐานของผู้ปกครองแบบโลก  รูปแบบของพระศาสนจักรที่เป็นดั่งกษัตริย์ต้องเป็นแบบกษัตริย์ผู้มีใจช่วยเหลือ(serving king) และเพื่อให้มีการเตือนถึงความจริงนี้อย่างต่อเนื่อง  พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 จึงใช้คำขวัญประจำพระองค์ว่า “ผู้รับใช้แห่งผู้รับใช้ทั้งหลายของพระเจ้า”
ลักษณะของพระศาสนจักรเป็นอย่างไร? CCC 811
    ข้อเท็จจริงหรือลักษณะพิเศษสี่อย่างที่ช่วยบ่งบอกลักษณะแท้จริงของพระศาสนจักรมาแต่เดิมคือ หนึ่งเดียว, ศักดิ์สิทธิ์, สากล และสืบจากอัครสาวก  ลักษณะพิเศษเหล่านี้ช่วยทำให้ความเชื่อของชาวคาทอลิกเข้าใจง่ายและเข้มแข็ง  แต่ข้อเท็จจริงทั้งหลายดูเหมือนถูกขัดแย้งด้วยสภาพที่ปรากฏของพระศาสนจักรเอง  เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อ้างถึงการประทับอยู่ของพระเจ้าคือพระคริสต์ และการทำงานของพระจิตในพระศาสนจักร   แต่ในความเป็นจริงพระศาสนจักรยังถูกสร้างด้วยมนุษย์ ผู้ซึ่งบางทีก็ไม่ยอมเป็นสิ่งที่จะแสดงนัยถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า
พระศาสนจักรเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างไร? CCC 812-818; 820-866
    ความเป็นหนึ่งเดียวของพระศาสนจักรเกิดขึ้นได้จากความเป็นหนึ่งของพระตรีเอกภาพ  และพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกมีเอกภาพในสามเรื่องด้วยกันคือ
    ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อความเชื่อ     ข้อความเชื่อหนึ่งเป็นองค์รวมหนึ่งของความเชื่อทั้งหลาย  ข้อความเชื่อหนึ่งถูกสอนอย่างเป็นทางการโดยผู้มีอำนาจสั่งสอนของพระศาสนจักร และคาทอลิกทั้งมวลถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวด้วยความเชื่อของพวกเขา
    ความเป็นหนึ่งเดียวของคำสอนด้านศีลธรรม  ประมวลกฏหมายของพระศาสนจักรอ้างถึงคำสอนด้านศีลธรรมของพระศาสนจักร และการนำเอาคำสอนเหล่านี้ไปสู่การปฎิบัติได้อย่างเหมาะสมกับประเด็นต่างๆในปัจจุบัน  คาทอลิกถูกรวมเป็นหนึ่งด้วยการสืบค้นอย่างต่อเนื่องของพระศาสนจักรเพื่อจะเข้าใจถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงประสงค์ให้กระทำสำหรับปัญหาทางศีลธรรมทั้งหลาย
    ความเป็นหนึ่งเดียวของคารวกิจ  พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ –มิสซา, พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย, การทำวัตรและพิธีอื่นๆ ที่ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งคราว อย่างเช่น การแต่งตั้งพระสังฆราช หรือการเสกอาคารใหม่ของพระศาสนจักร- เป็นแหล่งกำเนิดความเป็นหนึ่งเดียวในเรื่องคารวกิจคาทอลิกที่มีมาหลายศตวรรษ
    ความเป็นหนึ่งเดียว(unity) ไม่จำเป็นต้องหมายถึง การรวมเป็นหนึ่งเดียว(uniformity)  แม้ว่าคาทอลิกทั่วโลกประกอบพิธีกรรมเดียวกัน  ก็ยังเปิดโอกาสให้มีการปรับเข้ากับวัฒนธรรมอยู่ภายในแบบแผนทั้งหลายที่ถูกกำหนดไว้แล้ว
พระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร? CCC 823-829; 867
    พระเจ้าคือแหล่งกำเนิดความศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญกว่าสิ่งใดๆในพระศาสนจักร  และพระเยซูคริสต์ผู้ก่อตั้งพระศาสนจักรเป็นแบบอย่างของเราในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์   ตามหลักแล้วพระเจ้าเท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์  แต่เพราะว่าพระจิตประทับอยู่ในพระศาสนจักร  เราจึงสามารถเรียกพระศาสนจักรว่าศักดิ์สิทธิ์ได้  เรายังพูดได้ว่าพระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ เพราะเราสามารถพบ “ความสมบูรณ์แห่งแนวทางของการช่วยให้รอดพ้น”  หรือกล่าวอีกอย่างได้ว่า ภายในพระศาสนจักร เราสามารถค้นพบทุกสิ่งที่จำเป็นสำหรับเราเพื่อให้สามารถกลายเป็นบุคคลตามที่พระเจ้าทรงสร้างให้เป็นคือ ศักดิ์สิทธิ์และยุติธรรม รวมทั้งเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์
    พระศาสนจักรถือครองวิธีการที่จำเป็นสำหรับการช่วยเราให้บรรลุถึงสภาพบุคคลที่สมบูรณ์ในแนวทางหนึ่งที่พิเศษได้แก่ ในพระวาจาซึ่งเราพบได้ในพระคัมภีร์ไบเบิล;ในการสืบทอดความเชื่อจากอัครสาวก, ข้อเขียนของบรรดาปิตาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ของพระศาสนจักร, นักบุญ และนักเทววิทยา; ในหน้าที่การสอนของพระศาสนจักร; ในชีวิตพิธีกรรมของพระศาสนจักร; และในชีวิตที่อุทิศตนของพระศาสนจักร
พระศาสนจักรเป็นสากลได้อย่างไร? CCC 830-835, 868
    คำว่า “สากล(catholic)”  หมายถึง “มีผลกับคนทั่วโลก”(universal)พระศาสนจักรมีผลกับคนทั้งโลก  เพราะพระคริสต์ผู้เสด็จกลับมาช่วยมวลมนุษยชาติทรงประทับอยู่ในพระศาสนจักร  ดังที่นักบุญอิกญาซีโอแห่งอันทิโอกให้ความเห็นว่า “ที่ใดพระเยซูคริสต์ประทับอยู่ ที่นั่นคือพระศาสนจักรคาทอลิก”  การมีผลกับคนทั้งโลกของพระศาสนจักรปรากฏให้เห็นในสามทาง  แนวทางที่หนึ่งพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ให้ไปสั่งสอนทุกชนชาติ  พระศาสนจักรพยายามชักจูงทุกคนตลอดเวลาในทุกๆที่  แนวทางที่สองพระศาสนจักรเป็นสากลในลักษณะที่พระศาสนจักรยังคงสอนทุกสิ่งตามที่พระคริสต์ทรงสอนอย่างต่อเนื่อง   ในแนวทางสุดท้าย สากลยังหมายถึง ความสมบูรณ์  คือคนคาทอลิกคนหนึ่งได้รับสิทธิ์ที่จะมีความสัมพันธ์ด้วยความเชื่อกับพระเยซูคริสต์อย่างสมบูรณ์
พระศาสนจักรสืบทอดจากอัครสาวกอย่างไร? CCC 857-865; 869
    ความเป็นผู้นำในปัจจุบันของพระศาสนจักรคาทอลิกสามารถย้อนกลับไปถึงผู้นำทั้งหลายของคริสตชนยุคแรก คือบรรดาอัครสาวกได้   พระสังฆราชผู้สืบทอดงานต่อจากอัครสาวก โดยร่วมมือกับพระสันตะปาปา ยังคงสอน, ทำให้ศักดิ์สิทธิ์และชี้นำพระศาสนจักรจนถึงเวลาที่พระคริสต์เสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่ง  พระศาสนจักรยังสืบต่อจากอัครสาวกโดยการประกาศยืนยันข้อคำสอนและแนวทางการดำเนินชีวิตคริสตชนอันเดียวกับที่บรรดาอัครสาวกสอน  พระศาสนจักรได้รักษาข่าวดีของพระเยซูและการไถ่กู้ของพระองค์  รวมถึงไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งใดที่เป็นเนื้อแท้ในคำเทศน์สอนของพระคริสต์ หรือคำสอนของบรรดาอัครสาวกที่ใกล้ชิดกับพระคริสต์
ผู้ที่ไม่ใช่คริสตชนจะได้รับการช่วยให้รอดพ้นไหม? CCC 846-848
    ชาวคาทอลิกได้ถูกสอนต่อๆกันมาว่าพระศาสนจักรจำเป็นสำหรับความรอดพ้น  พระเยซูเองทรงสอนถึงความจำเป็นที่จะต้องมีความเชื่อและการล้างบาป  ดังนั้นพระศาสนจักรจึงสอนว่า บุคคลใดที่ได้รู้ว่า “พระศาสนจักรคาทอลิกถูกสร้างขึ้นให้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความรอดพ้นโดยพระเจ้าอาศัยพระเยซูคริสต์และผู้นั้นยังปฏิเสธที่จะเข้าร่วมหรือคงอยู่ในพระศาสนจักร  เขาจะไม่ได้รับการช่วยให้รอดพ้น” (ธรรมนูญเรื่อง พระศาสนจักร, ข้อ 14)
    แล้วบุคคลที่ไม่เคยรู้เรื่องของพระเยซูคริสต์เลยจะเป็นอย่างไร?  พวกเขาจะได้รับการช่วยให้รอดพ้นไหม?  พระศาสนจักรตอบว่าได้  พระอาณาจักรของพระเจ้ารวมเอาบุคคลเหล่านี้ไว้ด้วยอย่างลึกลับโดยอาศัยการทำงานของพระจิตในชีวิตของพวกเขา  กระแสเรียกของพวกเขาคือการแสวงหาพระอาณาจักรของพระเจ้าตามวิธีการที่พวกเขารู้และดำเนินชีวิตด้วยความรักเท่าที่พวกเขาสามารถทำได้

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 18:1-19:42) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ข้ามห้วยขิดโรน ที่นั่นมีสวนแห่งหนึ่ง พระองค์เสด็จเข้าไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ยูดาสผู้ทรยศรู้จักสถานที่นั้นด้วย เพราะพระองค์เคยทรงพบกับบรรดาศิษย์ที่นั่นบ่อยๆ ยูดาสนำกองทหารและยามรักษาพระวิหารที่บรรดาหัวหน้าสมณะ...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:1-15) ก่อนวันฉลองปัสกา พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าถึงเวลาแล้วที่จะทรงจากโลกนี้ไปเฝ้าพระบิดา พระองค์ทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด ระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ ปีศาจดลใจยูดาสอิสคาริโอทบุตรของซีโมนให้ทรยศต่อพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระบิดาประทานทุกสิ่งไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว และทรงทราบว่าพระองค์ทรงมาจากพระเจ้าและกำลังเสด็จกลับไปหาพระเจ้า จึงทรงลุกขึ้นจากโต๊ะ...
วันพุธ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 26:14-25) เวลานั้น คนหนึ่งในบรรดาอัครสาวกสิบสองคน ชื่อ ยูดาส อิสคาริโอท ไปพบบรรดาหัวหน้าสมณะ ถามว่า “ถ้าข้าพเจ้ามอบเขาให้ท่าน ท่านจะให้อะไรแก่ข้าพเจ้า”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลมหาพรตและปัสกา กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ เทศกาลมหาพรตและปัสกา E-book...
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อัครสาวก 12 องค์ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

212. มื้ออาหารของพระเยซูเจ้ากับเรามีชื่อว่าอะไรบ้าง และหมายความว่าอะไร มีชื่อแตกต่างกันที่ชี้บอกถึงความมั่งคั่งอย่างไม่อาจหยั่งถึงได้ของธรรมล้ำลึกนี้ คือ การบูชาศักดิ์สิทธิ์ มิสซา เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชาขอบพระคุณ อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า การบิปัง การชุมนุมศีลมหาสนิท การรำลึกถึงพระทรมาน...
211. ศีลมหาสนิทสำคัญอย่างไรสำหรับพระศาสนจักร การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท เป็นหัวใจของชุมชนคริสตชน ในศีลมหาสนิทพระศาสนจักรกลายเป็นพระศาสนจักร (1325) เราไม่ได้เป็นพระศาสนจักรเพราะเรากลมเกลียวกัน หรือเป็นเพราะเราสิ้นสุดในชุมชนวัดเดียวกัน แต่เนื่องจากในศีลมหาสนิทเราได้รับพระกายของพระคริสตเจ้า และเราถูกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นในพระกายของพระคริสตเจ้า 126,217 ในศีลมหาสนิทเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเหมือนกับอาหารเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย...
210. พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทอย่างไร “ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนั้นต่อให้ท่าน คือในคืนที่ทรงถูกทรยศนั้นเอง พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงหยิบปัง ขอบพระคุณ แล้วทรงบิออก ตรัสว่า “นี่คือกายของเราเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” เช่นเดียวกัน...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา เรื่อง การดูหมิ่น พระคัมภีร์ โรม 12:16 ภาพรวม เด็กๆ สร้างคนด้วยไม้จิ้มฟัน และเรียนรู้ว่า การดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดอย่างไร อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ปากกาเส้นใหญ่ กาว และแถบกาว ประสบการณ์ แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 คน แจกไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
🤖 TRV. Innovation Fair 2023 🤖 วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสไปออกร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ และออกบูธจัดกิจกรรมคำสอน ร่วมกับฝ่ายจิตตาภิบาล โรงเรียนไตรราชวิทยา ในโครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม ประธานในพิธี บาทหลวงเอกรัตน์...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)
วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
10463
15753
64319
259589
326718
35697093
Your IP: 35.172.193.238
2024-03-29 08:32

สถานะการเยี่ยมชม

มี 648 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์