แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

    ในวันอาทิตย์ปัสกาปี ค.ศ. 1966 นิตยสารไทม์ตีพิมพ์หน้าปกเป็นพื้นสีดำ และมีตัวหนังสือสีแดงเด่นชัดเรียงต่อกันเป็นคำถามที่กระตุ้นความคิดว่า “พระเป็นเจ้าตายแล้วหรือ?”   กองบรรณาธิการจงใจเลือกวันฉลองพระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ เป็นวันที่เขาจะนำคริสตชนที่มีความเชื่อมั่นทั้งหลายให้ใส่ใจกับคำถามอันมีพื้นฐานอยู่บนการถกเถียงที่ทันสมัยในปัจจุบันและเกี่ยวกับเทววิทยามูลฐานในประเด็นการสิ้นพระชนม์ของพระเป็นเจ้า

    นิตยสารไทม์ได้ยืมความคิดนี้มาจากนักปรัชญาที่นอกลู่นอกทางชาวเยอรมันคนหนึ่งในศตวรรษที่สิบเก้า ชื่อ ฟรีดรีช นีทซ์เฌอ(Friedrich Nietzsche) เพื่อนำให้บรรดาผู้มีความเชื่อเกิดความรู้สึกโกรธ และอาจเป็นการกระตุ้นให้เกิดการโต้แย้งหาเหตุผลเกี่ยวกับการทำให้วัฒนธรรมและแม้กระทั่งศาสนาเป็นไปตามทางโลก   กระบวนการที่จะทำให้เกิดผลเช่นนั้นก็ยังมีเรื่องเล่าเบาสนองที่เกิดจากจินตนาการให้ได้ขบขันและขบคิดกัน
ลองนึกภาพการสนทนาระหว่างเทวดากาเบรียลกับพระเป็นเจ้าที่เกิดขึ้นในสวรรค์
กาเบรียล    :     พระองค์เคยได้ยินคนในโลกพูดอะไรเกี่ยวกับพระองค์บ้างไหม?
พระเป็นเจ้า    :    ไม่เคย…เขาพูดอะไรกันบ้างล่ะ?
กาเบรียล       :    พวกเขากำลังอ้างว่าพระองค์ตายไปแล้วและพระเยซูเป็นมนุษย์ที่ทำ ประโยชน์เพื่อผู้อื่น
พระเป็นเจ้า    :    ใครเริ่มพูดเรื่องนี้?
กาเบรียล    :    นีทซ์เฌอกับศิษย์หัวสมัยใหม่ของเขาบางคน
พระเป็นเจ้า    :    พวกเขาสอนเรื่องอะไรกันอีกล่ะ?
กาเบรียล       :    พวกเขาเสนอให้เปลี่ยนความคิดเรื่องการอยู่นอกเหนือทุกๆสิ่งตั้งแต่แรกเริ่มของพระองค์ไปเป็นการดำรงอยู่ภายในอย่างเป็นมูลฐาน
พระเป็นเจ้า    :    มันหมายความว่าอย่างไรล่ะ?
กาเบรียล    :    ข้าพเจ้าไม่ทราบ แต่ข้าพเจ้าให้ออกัสตินศึกษาเรื่องนี้อยู่
พระเป็นเจ้า    :    แล้วนีทซ์เฌอกำลังทำอะไรอยู่ในเวลานี้?
กาเบรียล       :    เขากำลังเขียนคำว่า “ข้าพเจ้าผิดไปแล้ว” สามล้านครั้งบนกระดานดำแผ่นใหญ่
    สิบปีต่อมา นิตยสารไทม์ ก็ลงหัวข้อเรื่องหนึ่งในหน้าปกซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “กระบวนการของเยซู”(Jesus Movement) ที่ไม่ได้มีอะไรสำคัญมากนักคือ  เป็นเพียงการรื้อฟื้นศาสนาที่ประกาศคำสอนของพระเยซูและความเชื่อในพระเยซูคริสต์ว่าทรงเป็นพระเป็นเจ้า
    บรรดานักเทศน์และธรรมทูตมีความพยายามอย่างหนักอยู่เสมอที่จะใช้วิธีการสื่อสารต่างๆ  เพื่อบอกพระธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับพระเป็นเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับพระตรีเอกภาพ   นักบุญแพทริกบอกกับชาวไอริชว่า พระตรีเอกภาพก็เปรียบเสมือนต้นแชมรอคต้นหนึ่ง ใบ    3 ใบบนกิ่งเดียวกันของมันนั้น เปรียบได้กับองค์พระผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามในพระเป็นเจ้าพระองค์เดียว    บางคนใช้สีต่าง ๆ ในเปลวเทียนเพื่อสื่อถึงพระบุคคลทั้งสามในความเป็นหนึ่งเดียวของพระเป็นเจ้า คือเปลวเทียนสีแดง, ขาว,และน้ำเงิน ก็เป็นเปลวเทียนหนึ่งเดียว   บางคนก็นำเอาภาพต้นไม้ต้นหนึ่งมาใช้อธิบายโดยเปรียบส่วนประกอบของมันคือ ราก, ลำต้นและผลซึ่งเป็นส่วนที่ต่างกันแต่ก็เป็นของต้นไม้ต้นเดียว   ดังนั้นแม้พระบุคคลสามพระองค์จะมีความแตกต่างกัน  แต่ก็รวมเป็นหนึ่งในความเป็นพระเป็นเจ้าพระองค์เดียว “...เพราะเราเป็นพระเป็นเจ้าไม่ใช่มนุษย์  เราเป็นผู้บริสุทธิ์ท่ามกลางพวกเจ้า...” (ฮชย 11:9)
    หลังจากที่หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกได้ทำให้ลักษณะการเปิดเผยของพระเป็นเจ้าและการตอบรับความเชื่อของเราเป็นที่ยอมรับแล้ว  จึงนำเสนอคำสอนในเรื่องบทข้าพเจ้าเชื่อของอัครสาวก  จากนั้นก็กลับมาอธิบายถึงความหมายของถ้อยคำคือ “ข้าพเจ้าเชื่อในพระเป็นเจ้าหนึ่งเดียว” ที่ทำให้เราคิดถึงพระเป็นเจ้าในฐานะพระบิดาเป็นลำดับแรก แล้วจึงคิดถึงพระองค์ในฐานะพระตรีเอกภาพ
    พระเป็นเจ้าได้ทรงเปิดเผยพระองค์เองในฐานะพระเป็นเจ้าหนึ่งเดียว และเป็นพระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียว  “...เพราะเราเป็นพระเป็นเจ้า และไม่มีอื่นใดอีก!” (อสย 45:22)   ในช่วงต้นของพระคัมภีร์นั้นเล่าเรื่องเทพเจ้ามากมายซึ่งเป็นที่เคารพของชนชาติต่างๆ  พระเป็นเจ้าได้ทรงแสดงให้เห็นชัดว่า บรรดาเทพเจ้าที่ทำด้วยไม้และหิน รวมทั้งเทพเจ้าที่ถูกระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งสร้าง (ดวงอาทิตย์, ดวงจันทร์, ดวงดาว, ต้นไม้, ภูเขา) ล้วนมิใช่พระเป็นเจ้า โดยการเปิดเผยผ่านทางโมเสสและประกาศกทั้งหลาย  มีพระเป็นเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น “ชาวอิสราแอลเอ๋ย จงฟังเถิด พระยาเวห์พระเป็นเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงเป็นพระเป็นเจ้าพระองค์เดียวของเรา พระยาห์มีเพียงพระองค์เดียว” (RSV ฉธบ 6:4)   เราจะกล่าวถึงพระเป็นเจ้าหนึ่งเดียวและเพียงพระองค์เดียวนี้ได้อย่างไรบ้าง?

  • พระเป็นเจ้าคือพระธรรมล้ำลึก ณ พุ่มไม้ที่ลุกเป็นไฟนั้น พระเป็นเจ้าทรงบอกพระนามของพระองค์แก่โมเสสว่า “เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น” พระนามอันลึกล้ำนี้เปิดเผยความจริงหลายประการเกี่ยวกับพระเป็นเจ้า (ก) พระเป็นเจ้าทรงมีชีวิตและความเป็นพระบุคคล  (ข) พระเป็นเจ้าทรงประทับอยู่ใกล้เรา แต่กระนั้นก็เป็นความยากสำหรับเราที่จะเข้าใจพระองค์  (ค) พระเป็นเจ้าทรงติดต่อกับเราผ่านประสบการณ์ของเราเกี่ยวกับสิ่งสร้าง, หรือบุคคลพิเศษ, หรือผ่านเหตุการณ์พิเศษ เช่น การพบกับพระเป็นเจ้าของโมเสส ณ พุ่มไม้ที่ลุกเป็นไฟ  (ง) พระเป็นเจ้าผู้ลี้ลับทรงทำความเป็นจริงที่มองเห็นได้ประการหนึ่งให้ชัดเจนยิ่งขึ้น   การเปิดเผยของพระเป็นเจ้านั้นมีลักษณะลึกลับ หรือเกี่ยวกับพิธีกรรมที่สำคัญในศาสนาคริสต์ ดังที่นักบุญออกัสตินได้เปรียบว่าเป็น “เครื่องหมายหนึ่งที่มองเห็นได้แห่งความเป็นจริงหนึ่งที่มองไม่เห็น”
  • พระเป็นเจ้าคือความจริง ข้อความนี้หมายความว่า พระเป็นเจ้าทรงบอกความจริงที่แท้จริงให้กับเรา และไม่ทรงเคยหลอกลวงเรา  ความจริงเช่นนั้นเป็นมากกว่าความคิดลอย ๆ   ความจริงของพระเป็นเจ้านั้นบอกเป็นนัยถึงการกระทำที่ยึดมั่นในข้อเท็จจริง และความซื่อสัตย์ต่อสิ่งที่พระองค์ทรงสอน   พระเป็นเจ้าทรงเป็นผู้ที่เราเชื่อถือได้เสมอและไม่ทรงเปลี่ยนแปลง อาจกล่าวได้ว่าพระเป็นเจ้าทรงเที่ยงตรงที่สุด  พระองค์จะไม่ทรงทอดทิ้งเราหรือไม่ทรงผิดสัญญาของพระองค์
  • พระเป็นเจ้าคือความรัก  ตามเรื่องราวเกี่ยวกับการช่วยให้รอดพ้นที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์นั้น  ทำให้เราเข้าใจได้ชัดเจนว่าสิ่งที่เป็นเหตุจูงใจให้พระเป็นเจ้าทรงช่วยเรานั้น  ก็คือความรักของพระองค์ที่ทรงมีต่อเราและความกรุณาของพระองค์ต่อบาปของเรา  พระคัมภีร์เปรียบเทียบความรักของพระเป็นเจ้ากับความรักของบิดาที่มีต่อบุตรชายของตน, ความรักของมารดาที่มีต่อบุตรทุกคน, ความรักของเจ้าบ่าวที่มีต่อเจ้าสาว   ความรักของพระเป็นเจ้านั้นแข็งแกร่งกว่าความไม่เที่ยงตรงของเรา   นักบุญยอห์นความจริงในเรื่องนี้ด้วยคำกล่าวยกย่องที่จับใจว่า “…พระเป็นเจ้าทรงเป็นความรัก” (1 ยน 4:8) พระเป็นเจ้าทรงเป็นการแลกเปลี่ยนความรักตลอดนิรันดร ระหว่าง พระบิดา พระบุตร และพระจิต และทรงกำหนดล่วงหน้าให้เรามีส่วนในการแลกเปลี่ยนความรักนี้ด้วย


องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสนิทกับพระเป็นเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ
    เราทุกคนได้รับศีลล้างบาป “ในพระนามของพระบิดา, และพระบุตร, และพระจิต” ความเชื่อของคริสตชนทุกคนยึดเอาพระตรีเอกภาพเป็นหลัก นี่คือพระธรรมล้ำลึกแห่งความเชื่อที่เก่าแก่และลึกซึ้งที่สุดในบรรดาพระธรรมล้ำลึกทั้งหลาย
    พระธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับพระตรีเอกภาพถูกเปิดเผยอย่างไร?
    บ่อยครั้งที่พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมเรียกพระเป็นเจ้าว่า “พระบิดา” สำนวนแห่งความเชื่อนี้กล่าวถึงพระเป็นเจ้าในฐานะเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งและอำนาจของพระเป็นเจ้า   แต่คำนี้ก็ยังแสดงนัยถึงความอ่อนโยนต่อบรรดาบุตรของพระองค์  ยิ่งกว่านั้น ความอ่อนโยนของพระเป็นเจ้าในฐานะผู้ให้กำเนิดนั้นยังเปรียบได้กับความเป็นมารดา(เทียบ อสย 66:13)  สิ่งนี้เน้นถึงความสนิทสนมระหว่างพระผู้สร้างกับสิ่งสร้าง   การใช้ภาพผู้ให้กำเนิดกับพระเป็นเจ้า เป็นประโยชน์ก็จริงแต่ก็มีข้อจำกัด เพราะบิดามารดาสามารถทรยศต่อบทบาทของพวกเขา  แต่พระเป็นเจ้าทรงอยู่เหนือความแตกต่างระหว่างเพศ พระเป็นเจ้าไม่ทรงเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง พระเป็นเจ้าทรงเป็นพระเป็นเจ้าเท่านั้น
    พระเยซูเจ้าทรงเปิดเผยด้วยความรู้สึกใหม่ว่าพระเป็นเจ้าทรงเป็นพระบิดาคือ ไม่ทรงเป็นเพียงพระผู้สร้างดังที่เคยเข้าใจกัน  พระเป็นเจ้าทรงเป็นพระบิดาในความเป็นญาติกันกับพระบุตรพระองค์เดียวของพระองค์  พระบุตรทรงเป็นพระบุตรเพียงองค์เดียวในความเป็นญาติกับพระบิดาของพระองค์   สภาสังคายนาสากลแห่งนิเช (325) ได้ประกาศว่า “พระบุตรทรงมีชีวิตร่วมกับพระบิดา” หมายความว่า พระบุตรทรงมีพระธรรมชาติพระเจ้าเช่นเดียวกับพระบิดา
    พระจิตทรงเปิดเผยพระบิดาและพระบุตร   ก่อนการรับทรมาน พระเยซูเจ้าได้ทรงประกาศถึงการส่งพระจิตลงมา พระจิตนี้เคยทรงทำงานในการเทศน์ของบรรดาประกาศก  บัดนี้พระจิตย่อมจะทรงสอน และทรงชักนำอัครสาวกและศิษย์ทั้งหลายให้ได้เข้าใจความจริงทั้งปวง  พระบิดาทรงส่งพระจิตลงมาในพระนามของพระบุตร และพระบุตรก็ทรงส่งพระจิตมาอีกครั้งหลังจากเสด็จกลับไปหาพระบิดาแล้ว   พระจิตทรงเป็นอีกพระบุคคลหนึ่ง ร่วมกับพระเยซูและพระบิดา  การปรากฏองค์ของพระจิตนั้นเปิดเผยความเป็นจริงและงานของพระบิดาและพระบุตร  “ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระจิตทรงเป็นพระเป็นเจ้าผู้บันดาลชีวิต” (บทข้าพเจ้าเชื่อแห่งนิเช)
    เรากล่าวถึงข้อคำสอนเรื่องพระตรีเอกภาพอย่างชัดเจนได้อย่างไร?
    ความเชื่อในศีลล้างบาปตั้งแต่ยุคสมัยอัครสาวกนั้น ดึงดูดความสนใจไปที่พระธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับพระตรีเอกภาพ   เมื่อเวลาผ่านไป พระศาสนจักรได้พยายามที่จะเข้าใจพระธรรมล้ำลึกให้มากขึ้น โดยเฉพาะในยามที่ต้องต่อสู้กับบรรดาผู้ปฏิเสธความจริง หรือผู้บิดเบือนความจริงเพื่อปกป้องความจริง   พระศาสนจักรได้ขอยืมคำศัพท์สามคำจากปรัชญาเพื่อมาช่วยอธิบายเรื่องพระตรีเอกภาพ  เราใช้คำว่า “พระสภาวะธรรมหรือพระธรรมชาติ” (substance or nature) เพื่อกล่าวถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระเป็นเจ้า  เราใช้คำว่า “พระบุคคล” (person or hypostasis) กับพระบิดา, พระบุตรและพระจิต เพื่อบอกความแตกต่างอย่างแท้จริงระหว่างกันและกัน  เราใช้คำว่า “ความสัมพันธ์” (relation) เพื่อสอนว่าความพิเศษของแต่ละพระบุคคลนั้น เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่แต่ละพระบุคคลมีต่อกัน
ข้อคำสอนเกี่ยวกับพระตรีเอกภาพนั้นยังรวมไปถึงความจริงแห่งความเชื่อสามประการคือ
(1)    พระตรีเอกภาพเป็นหนึ่งเดียว  เราไม่ได้กล่าวถึงพระเจ้าสามพระองค์ แต่ยืนยันถึงพระเป็นเจ้าพระองค์เดียว  แต่ละพระบุคคลเป็นพระเป็นเจ้าครบบริบูรณ์
(2)    พระบุคคลพระเป็นเจ้านั้นแตกต่างจากกันอย่างแท้จริง  พระบิดา, พระบุตรและพระจิต มิได้เป็นเพียงรูปแบบหรือการเป็นอยู่ของพระเป็นเจ้า 3 ลักษณะ   แต่เป็นสามพระบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะตนแท้จริง  พระบิดาไม่ใช่พระบุตร  พระบุตรก็ไม่ใช่พระบิดา  พระจิตนั้นก็ไม่ใช่พระบิดาหรือพระบุตร
(3)    พระบุคคลพระเป็นเจ้านั้นมีความสัมพันธ์ต่อกัน  และเนื่องด้วยลักษณะที่พระบุคคลพระเป็นเจ้ามีความสัมพันธ์ต่อกันนั้นเอง  เราจึงสามารถระบุถึงแต่ละพระบุคคลได้ โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างกันนี้
อะไรคือภาระหน้าที่ของพระบุคคลแห่งพระตรีเอกภาพ?
แผนการช่วยให้รอดพ้นของพระเป็นเจ้านั้นเป็นภาระหน้าที่ร่วมกันของทั้งสามพระบุคคลแห่งพระตรีเอกภาพ   อย่างไรก็ตาม แต่ละพระบุคคลผู้เป็นพระเป็นเจ้าก็ทรงปฏิบัติภาระหน้าที่ร่วมกันนี้ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละพระองค์   นี้จึงเป็นเหตุให้เรากล่าวอย่างชัดเจนถึงพระบิดาในฐานะพระผู้สร้าง, พระบุตรในฐานะพระผู้ไถ่ และพระจิตในฐานะพระผู้บันดาลให้ศักดิ์สิทธิ์  แม้ว่าแท้จริงแล้วทั้งสามพระบุคคลจะร่วมกันปฏิบัติภาระหน้าที่เหล่านี้  เมื่อเราถวายพระเกียรติและสรรเสริญพระบุคคลหนึ่ง จึงเท่ากับสรรเสริญทั้งสามพระบุคคลพร้อมกัน

การไตร่ตรองจากหนังสือคำสอน
1. ความเชื่อเรียกร้องอะไรจากเราในเรื่องพระเป็นเจ้าหนึ่งเดียว?
ความเชื่อของเราเป็นแบบเอกเทวนิยม “ ‘ชาวอิสราเอลเอ๋ย จงฟังเถิด องค์พระผู้เป็นเจ้า พระเป็นเจ้าของเราทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียว’ (ฉธบ 6:4; มก 12:29) …ความเชื่อในพระเป็นเจ้าชักนำเราให้กลับไปหาพระเป็นเจ้าพระองค์เดียว ในฐานะที่ทรงเป็นแหล่งกำเนิดแรกของเรา และจุดหมายปลายทางสุดท้ายของเรา, และทำให้เราไม่พึงพอใจสิ่งใดมากกว่าพระองค์ หรือไม่หาสิ่งใดมาแทนที่พระองค์...แม้เมื่อพระเป็นเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์เอง  พระองค์ก็ยังทรงเป็นพระธรรมล้ำลึกที่ไม่อาจหาคำพรรณนาได้สมบูรณ์...พระเป็นเจ้าแห่งความเชื่อของเราทรงเปิดเผยพระองค์เองในฐานะพระผู้ทรงเป็นอยู่...การเป็นอยู่อย่างแท้จริงของพระองค์ คือ ความจริงและความรัก” (CCC 228-231)
2. เราจะกล่าวถึงพระตรีเอกภาพผู้ศักดิ์สิทธิ์อย่างชัดเจนได้อย่างไร?
พระธรรมล้ำลึกแห่งพระตรีเอกภาพผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด คือ พระธรรมล้ำลึกที่เป็นศูนย์กลางแห่งความเชื่อของคริสตชน และชีวิตคริสตชน พระเป็นเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นทรงสามารถทำให้เรารู้พระธรรมล้ำลึกนั้น โดยการเปิดเผยพระองค์เองในฐานะพระบิดา, พระบุตรและพระจิต” (CCC 261)
3. อะไรคือความสัมพันธ์และภาระหน้าที่ของทั้งสามพระบุคคลผู้ทรงเป็นพระเป็นเจ้า?
พระบุคคลพระเป็นเจ้าทั้งสามนั้น ไม่สามารถแยกจากกันได้ในสิ่งที่ทุกพระองค์ทรงเป็นและในสิ่งที่ทุกพระองค์ทรงกระทำ  “แต่ในกิจการหนึ่งของพระเป็นเจ้า แต่ละพระบุคคลก็ทรงแสดงสิ่งที่เป็นหน้าที่ของพระองค์ภายในพระตรีเอกภาพออกมาให้เห็น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาระหน้าที่ทั้งหลายของพระเป็นเจ้าในส่วนของการบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระบุตร และในพระพรของพระจิตที่ทรงประทานแก่มนุษย์ผู้ซึ่งพระจิตทรงเห็นว่าเหมาะสม” (CCC 267)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 18:1-19:42) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ข้ามห้วยขิดโรน ที่นั่นมีสวนแห่งหนึ่ง พระองค์เสด็จเข้าไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ยูดาสผู้ทรยศรู้จักสถานที่นั้นด้วย เพราะพระองค์เคยทรงพบกับบรรดาศิษย์ที่นั่นบ่อยๆ ยูดาสนำกองทหารและยามรักษาพระวิหารที่บรรดาหัวหน้าสมณะ...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:1-15) ก่อนวันฉลองปัสกา พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าถึงเวลาแล้วที่จะทรงจากโลกนี้ไปเฝ้าพระบิดา พระองค์ทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด ระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ ปีศาจดลใจยูดาสอิสคาริโอทบุตรของซีโมนให้ทรยศต่อพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระบิดาประทานทุกสิ่งไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว และทรงทราบว่าพระองค์ทรงมาจากพระเจ้าและกำลังเสด็จกลับไปหาพระเจ้า จึงทรงลุกขึ้นจากโต๊ะ...
วันพุธ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 26:14-25) เวลานั้น คนหนึ่งในบรรดาอัครสาวกสิบสองคน ชื่อ ยูดาส อิสคาริโอท ไปพบบรรดาหัวหน้าสมณะ ถามว่า “ถ้าข้าพเจ้ามอบเขาให้ท่าน ท่านจะให้อะไรแก่ข้าพเจ้า”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลมหาพรตและปัสกา กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ เทศกาลมหาพรตและปัสกา E-book...
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อัครสาวก 12 องค์ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

212. มื้ออาหารของพระเยซูเจ้ากับเรามีชื่อว่าอะไรบ้าง และหมายความว่าอะไร มีชื่อแตกต่างกันที่ชี้บอกถึงความมั่งคั่งอย่างไม่อาจหยั่งถึงได้ของธรรมล้ำลึกนี้ คือ การบูชาศักดิ์สิทธิ์ มิสซา เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชาขอบพระคุณ อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า การบิปัง การชุมนุมศีลมหาสนิท การรำลึกถึงพระทรมาน...
211. ศีลมหาสนิทสำคัญอย่างไรสำหรับพระศาสนจักร การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท เป็นหัวใจของชุมชนคริสตชน ในศีลมหาสนิทพระศาสนจักรกลายเป็นพระศาสนจักร (1325) เราไม่ได้เป็นพระศาสนจักรเพราะเรากลมเกลียวกัน หรือเป็นเพราะเราสิ้นสุดในชุมชนวัดเดียวกัน แต่เนื่องจากในศีลมหาสนิทเราได้รับพระกายของพระคริสตเจ้า และเราถูกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นในพระกายของพระคริสตเจ้า 126,217 ในศีลมหาสนิทเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเหมือนกับอาหารเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย...
210. พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทอย่างไร “ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนั้นต่อให้ท่าน คือในคืนที่ทรงถูกทรยศนั้นเอง พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงหยิบปัง ขอบพระคุณ แล้วทรงบิออก ตรัสว่า “นี่คือกายของเราเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” เช่นเดียวกัน...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา เรื่อง การดูหมิ่น พระคัมภีร์ โรม 12:16 ภาพรวม เด็กๆ สร้างคนด้วยไม้จิ้มฟัน และเรียนรู้ว่า การดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดอย่างไร อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ปากกาเส้นใหญ่ กาว และแถบกาว ประสบการณ์ แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 คน แจกไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
🤖 TRV. Innovation Fair 2023 🤖 วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสไปออกร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ และออกบูธจัดกิจกรรมคำสอน ร่วมกับฝ่ายจิตตาภิบาล โรงเรียนไตรราชวิทยา ในโครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม ประธานในพิธี บาทหลวงเอกรัตน์...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)
วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
11522
15812
49625
244895
326718
35682399
Your IP: 54.205.238.173
2024-03-28 20:56

สถานะการเยี่ยมชม

มี 393 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์