แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ประชาคมกรีก
ประชาคมคริสต์แรกได้ก่อตั้งขึ้นที่กรุงเยรูซาเล็ม  ประกอบด้วยชาวยิวเป็นส่วนใหญ่แม้ชาวยิวที่กระจัดระจายอยู่ที่ต่างๆ ก็ถือว่าตนสังกัดประชาคมนี้ ต่อเมื่อปัญหาความขัดแย้งทางวัฒนธรรมและความเชื่อสามารถทำความเข้าใจกันได้จึงมีการออกไปประกาศพระวรสารให้กับคนต่างชาติ ซึ่งเริ่มต้นอย่างจริงจังโดยมีเซนต์ปอลเป็นผู้นำ โดยมุ่งที่ชาวกรีกเป็นอันดับแรก
ประชาคมใหม่ที่กรีกมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอันติโอค  สมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวกรีกและคนต่างชาติอื่นๆ  ที่ไม่ใช่ยิว  ที่นี่เองที่ผู้เชื่อในพระเยซูได้รับชื่อว่า “ชาวคริสต์”  เพราะชาวยิวไม่เคยเรียกพระเยซูว่าพระคริสต์  ซึ่งในภาษากรีกเรียกว่า  Christos มีความหมายเดียวกับคำว่า  Messiah   ซึ่งเป็นภาษาฮีบรูแปลว่า “ผู้ที่ได้รับการเจิมด้วยน้ำมัน”  หมายความว่าได้รับการเลือกสรรจากพระเจ้าให้ทำหน้าที่สำคัญ
นอกจากนี้ประชาคมที่เมืองอันติโอค  ยังมีกลุ่มชาวคริสต์อื่นๆ  ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป  จากบันทึกในหนังสือกิจการอัครสาวกและจากจดหมายที่เซนต์ปอลเขียนไว้แสดงว่ามีกลุ่มชาวคริสต์อื่นๆ อยู่ตามหัวเมืองและในแคว้นต่างๆ เช่น โครินธ์ เอเฟซัส ฟิลิปปี โคโลสี เธสะโลนิกา กาลาเทียและมาซิโดเนีย  เป็นต้น  ส่วนที่กรุงเอเธนส์ซึ่งเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางอารยธรรมกรีกนั้นไม่ปรากฏว่ามีประชาคมคริสต์อยู่  แม้ว่าปอลจะเคยไปเทศนาที่นั่นและมีบางคนติดตามท่านไปก็ตาม ปอลได้กล่าวต่อบรรดานักปรัชญาและผู้ทรงภูมิปัญญาแห่งเอเธนส์  ซึ่งสนใจมาฟัง “ความคิดใหม่ๆ” ว่า
“ชาวเอเธนส์ทั้งหลาย! ข้าพเจ้าพบว่าท่านมีความเลื่อมใสในศาสนามากจริงๆ เมื่อข้าพเจ้าเดินชมเมืองสังเกตเห็นปูชนียวัตถุต่างๆ ของท่าน พบแท่นบูชาหนึ่งมีคำจารึกว่า “แด่พระเจ้าที่ไม่รู้จัก” ข้าพเจ้ามาประกาศให้ท่านรู้จักพระเจ้าที่ท่านเคารพทั้งๆ ที่ไม่รู้จักองค์นี้ พระองค์คือพระเจ้าผู้ทรงสร้างโลกและทรงสร้างทุกสิ่งที่อยู่ในโลก พระองค์ทรงเป็นเจ้านายของสวรรค์และแผ่นดิน พระองค์ไม่ทรงสถิตในวิหารที่มือมนุษย์สร้างขึ้น  พระองค์ไม่ทรงต้องการการปรนนิบัติจากมือมนุษย์  ประหนึ่งว่าพระองค์ทรงขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้ประทานชีวิต ลมหายใจและทุกสิ่งให้แก่มนุษย์ทุกคน   พระองค์ทรงทำให้มนุษย์ทุกชาติสืบเชื้อสายมาจากมนุษย์คนเดียว และทรงทำให้เขาทั้งหลายอยู่ทั่วพื้นแผ่นดินโดยทรงกำหนดช่วงเวลาและขอบเขตให้เขาได้อยู่  พระเจ้าทรงกระทำดังนี้ เพื่อให้มนุษย์แสวงหาพระเจ้าแม้จะต้องคลำหา เขาก็ยังพบพระองค์ได้ เพราะพระองค์ทรงอยู่ไม่ห่างจากเราแต่ละคน  เรามีชีวิตเคลื่อนไหวและมีความเป็นอยู่ในพระองค์ ดังที่กวีบางคนของท่านกล่าวไว้ว่า “พวกเราเป็นบุตรของพระองค์” เมื่อเราเป็นบุตรของพระเจ้า เราจึงไม่ควรคิดว่า พระเจ้าทรงเป็นเหมือนรูปทองคำ เงินหรือหิน-ซึ่งแกะสลักอย่างมีศิลปะตามจินตนาการของมนุษย์” (กจ 17:22-29) 
ผู้ฟังส่วนใหญ่เดินหนีไป  ทั้งนี้เพราะสำหรับนักปรัชญากรีกและชาวกรีกและชาวกรุงเอเธนส์ ผู้รักในความรู้   ศาสนากับปรัชญาเป็นเรื่องที่แตกต่างกันและไม่นำมาปะปนกันจึงไม่อาจจะรับฟังความคิดของปอล  ซึ่งเชื่อมโยงความเชื่อในพระเจ้ากับแนวคิดที่ตนมี  ผู้ที่ยอมรับคำสอนของปอลและเป็นคริสต์จึงเป็น “ชาวบ้าน” ตามหัวเมือง ซึ่งยังมีโลกทัศน์ที่เป็นเอกภาพและมีความเรียบง่าย  ปัญหาสำคัญไม่ได้อยู่ที่ชาวกรีก แต่เป็นความขัดแย้งใหม่ที่เกิดขึ้นกับชาวยิวที่เป็นคริสต์
แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า การรับคนต่างชาติมาเป็นสมาชิกของประชาคมใหม่เป็นสิ่งที่ชอบธรรม แต่ชาวยิวก็ยังเห็นว่า เขาเหล่านั้นจำต้องปฏิบัติตามกฎหมายตามประเพณีของตน เช่น จะต้องเข้าพิธีสุหนัตและปฏิบัติตามกฎของโมเสส ด้วยเหตุนี้ปอลจึงจำต้องไปที่กรุงเยรูซาเล็มพร้อมกับเพื่อนร่วมงานอีกผู้หนึ่งชื่อบาร์นาบัส บรรดาสาวกได้ประชุมกันพิจารณาเรื่องนี้ การประชุมครั้งนี้ถือว่าเป็น “สังคายนา” (Council) ครั้งแรก (กจ 15)  ซึ่งบรรดาสาวกลงความเห็นว่า  เป็นเรื่องชอบธรรมที่คนต่างชาติไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของชาวยิวแต่กระนั้นก็ขอเพียงแต่ “คืองดเว้นการกินเนื้อสัตว์ที่ถวายแก่รูปปฏิมาแล้ว งดเว้นการกินเลือดและเนื้อสัตว์ที่ถูกรัดคอตาย และงดเว้นการแต่งงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย” (กจ 15:29)  การตัดสินความขัดแย้งเช่นนี้ถือเป็นความพยายามที่จะประนีประนอมระหว่างทั้งสองฝ่าย  โดยยังขอร้องให้คนต่างชาติยอมในบางเรื่อง เช่นการรับประทานเลือดหรือเนื้อสัตว์ที่ถูกฆ่าโดยการรัดคอ เพราะชาวยิวถือว่าเลือดเป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิต  (ซึ่งประกอบด้วยเลือด – เนื้อ)  พระเจ้าประทานมา จึงมีกฎหมายห้ามนับแต่สมัยของโมเสสแล้ว
อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ  ชาวยิวก็ยังไม่อาจปรับตัวและยอมรับการตัดสินนี้ และยังคงกีดกันคนต่างชาติไม่ให้เข้าร่วมพิธีกรรม  กิจกรรมและการรับประทานอาหารกับพวกตน  แม้แต่ปิเตอร์เองก็ยังลังเล จนถูกปอลต่อว่า (ดู กท 2:11) ปอลได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“เราเกิดมาเป็นชาวยิว ไม่ใช่เป็นคนบาปต่างศาสนา แต่เราทราบว่า มนุษย์มิได้เป็นผู้ชอบธรรมจากการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ แต่เป็นผู้ชอบธรรมจากความเชื่อในพระคริสตเยซูเท่านั้น เราเองมีความเชื่อในพระคริสตเยซูเพื่อจะได้เป็นผู้ชอบธรรมโดยอาศัยความเชื่อในพระคริสตเจ้า มิใช่จากการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ เพราะไม่มีมนุษย์คนใดเป็นผู้ชอบธรรมได้จากการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ” (กท 2:15-16)
จดหมายถึงกาลาเทียทั้งฉบับดูจะเป็นการชี้ให้เห็นความคิดของปอลในเรื่องนี้และประเด็น “กฎหมาย” และ “กฎบัญญัติ” จะได้รับการกล่าวถึงอีกมาก เป็นการชี้จุดยืนที่หนักแน่นของปอลว่า  ไม่มีอะไรสำคัญเท่าความเชื่อศรัทธาในพระเยซู สิ่งนี้เท่านั้นทำให้เราสามารถรอดได้ ปอลต้องการจะบอกว่า กฎหมายของพันธสัญญาเดิมนั้นทำให้  “ตาย”  หมายความว่าทำให้รู้ดีรู้ชั่วและทำให้เป็น  “คนดี” ได้ แต่กฎของพระเยซูคริสต์ทำให้  “มีชีวิต” หากใครเพียงแต่ปฏิบัติตามกฎหมายแบบประเพณีเท่านั้นก็จะ “ตาย”  คือทำความดีได้ แต่ไม่เพียงพอ จะต้องทำตามกฎแห่ง “ชีวิต” จึงจะได้ชื่อว่ามีเสรีภาพที่แท้จริง  เสรีภาพของการเป็นบุตรของพระเจ้า  นี่คือกฎของพระคริสต์ที่ปอลเห็นว่าต้องทดแทนกฎของโมเสส ท่านกล่าวว่า  “ธรรมบัญญัติทั้งหมดสรุปได้เป็นข้อเดียวว่า จงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง” (กท 5:14)  กฎของพระคริสต์เป็นพระจิตของพระเจ้า (หรือพระวิญญาณ) “จงดำเนินตามพระจิตเจ้า และอย่าตอบสนองความปรารถนาตามธรรมชาติ เพราะธรรมชาติมนุษย์มีความปรารถนาตรงกันข้ามกับพระจิตเจ้า… ผู้ที่เป็นของพระคริสตเยซู ก็ตรึงธรรมชาติของตนพร้อมกับกิเลสตัณหาไว้กับไม้กางเขนแล้ว”  (กท  5:16-17,24)  ความพยายามของปอลได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งนำไปสู่การยอมรับวัฒนธรรมของคนต่างชาติรวมทั้งประเพณีต่างๆ  ประยุกต์เข้าสู่ศาสนาคริสต์

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 12:44-50) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสเสียงดังว่า “ผู้ที่เชื่อในเรา ไม่ได้เชื่อในเราเท่านั้น แต่ยังเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามาด้วย ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา เราเข้ามาในโลกเป็นแสงสว่าง...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:22-30) เวลานั้นเป็นเทศกาลฉลองพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม และเป็นฤดูหนาว พระเยซูเจ้าทรงพระดำเนินอยู่ในพระวิหารที่เฉลียงซาโลมอน ชาวยิวมาล้อมพระองค์ไว้ ทูลว่า “ท่านจะปล่อยให้ใจของพวกเราสงสัยอยู่นานเท่าใด ถ้าท่านเป็นพระคริสตเจ้า ก็จงบอกพวกเราให้ชัดเจนเถิด”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
6127
9039
47285
256818
306218
36000540
Your IP: 18.223.172.252
2024-04-24 13:20

สถานะการเยี่ยมชม

มี 158 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์