แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

จงนมัสการ องค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าองค์เดียวของท่าน
    พระบัญญัติประการนี้สั่งให้คริสตชนกราบนมัสการพระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียวเท่านั้น     เรื่องที่เราต้องพิจารณาก็คือ  ทำไมต้องนมัสการพระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียว    คำตอบคือ เพราะพระองค์ทรงเป็นพระผู้ทรงสรรพานุภาพ เป็นพระผู้สูงสุด ยิ่งใหญ่ที่สุด หามีผู้ใดจะเทียบได้...ทรงเป็นพระผู้สร้าง เป็นพระผู้ดูแล พระผู้ประทานรางวัล ฯลฯ ดังที่เราได้ทราบมาแล้วในภาคที่หนึ่ง เรื่องข้อความเชื่อ (พระสัจธรรม)
    ที่น่าสังเกตอีกประเด็นหนึ่ง คือ คำว่า “นมัสการ” เป็นคำที่มีความหมายสำคัญ คือ หมายถึงการถวายเกียรติแด่พระ เช่น ในพุทธศาสนาก็ใช้คำว่า “นมัสการ” เวลาฆราวาสทักทายกับพระภิกษุด้วย แต่สำหรับเราที่เป็นคาทอลิก เราจะใช้คำนี้สำหรับพระเจ้าเท่านั้น เนื่องจากการนมัสการเป็นการแสดงความเคารพขั้นสูงสุด    จึงสังเกตว่าเราจะไม่ใช้คำนี้กับบรรดานักบุญ แม่พระ หรือผู้หลักผู้ใหญ่หรือ พระสงฆ์ นักบวช เพราะเราสงวนคำ “นมัสการ” ไว้สำหรับพระเป็นเจ้า
    การนมัสการพระผู้เป็นเจ้า เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้า    ดังนั้น จึงต้องเป็นทั้งเรื่องของจิตใจ อันได้แก่ ความเชื่อ ความไว้ใจ ความรัก และความเคารพอย่างสูงสุดต่อพระองค์
    ในเวลาเดียวกัน ต้องแสดงออกภายนอกด้วย อาศัยกริยาต่างๆ ที่พึงปฏิบัติอย่างดีด้วยความสำนึกและรู้ตัวรู้คุณค่าแห่งการกระทำของตนด้วย เช่น การคุกเข่า การกราบ ก้มศีรษะ การไหว้ หรือ แม้กระทั่งรวมไปถึงการสวดมนต์ภาวนาออกเสียง ขับร้อง การรับศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น
    ดังนั้น การร่วมในพิธีกรรม เช่น การร่วมพิธีมิสซา การสวดภาวนา การร่วมกระทำวจนพิธีกรรม การร่วมพิธีแห่แหนในโอกาสต่างๆ จึงต้องกระทำด้วยความเอาใจใส่ สำรวม และตั้งใจกระทำให้ดีที่สุด    นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการแต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เหมาะสมอีกด้วย
    ในพระบัญญัติประการที่ 1 นี้    ห้ามบรรดาคริสตชนหันไปเคารพกราบไหว้หรือ นับถือผู้อื่นเสมอเหมือน หรือ ยิ่งใหญ่เท่าพระเจ้า…    ดังนั้น ใครก็ตามที่ฝ่าฝืนกระทำผิดจะต้องถูกลงโทษจากพระศาสนจักร... เพราะเป็นการขาดความเชื่อ ความไว้ใจ และความรักในพระเป็นเจ้านั่นเอง การกระทำผิดต่อพระบัญญัติประการที่ 1 นี้จึงเห็นได้ในหลายรูปแบบ คือ
    1. การเพิกเฉย    ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ที่จะถวายนมัสการพระเจ้า ตัวอย่างเช่น ไม่สวดภาวนา ไม่รับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ (แก้บาป-รับศีล) ขาดมิสซาโดยไม่มีเหตุผลจำเป็น เฉื่อยชา ขี้เกียจต่อการปฏิบัติกิจศรัทธาต่างๆ
    2. การถือผิดๆ จากความเชื่อ    คือ การเชื่อว่ามีบุคคลหรือสรรพสิ่งสรรพสัตว์บางอย่างมีฤทธิ์อำนาจเสมอเหมือนพระเจ้า เช่น เชื่อในหมอดู เชื่อเรื่องบุญกรรมวาสนา เชื่อเครื่องรางของขลัง เชื่อฝัน รวมไปถึงดูฤกษ์ดูยาม และเรื่องราวทำนองคาถาอาคมต่างๆ    ทั้งนี้ เพราะถ้าหากเรามีความเชื่อ ความไว้วางใจในพระเจ้าอย่างแท้จริงแล้ว เราย่อมมั่นใจว่าทุกอย่างนั้นอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ เป็นพระประสงค์ของพระองค์ทั้งสิ้น    ไม่มีฤทธิ์อำนาจใดๆ จะยิ่งใหญ่เท่าพระฤทธานุภาพของพระองค์
    3. นอกจากนั้น การกระทำผิดต่อพระบัญญัติประการนี้ยังรวมไปถึง การทำร้าย หรือ ดูหมิ่นต่อบุคคล สถานที่ หรือ วัตถุที่ได้รับการเสกถวายแด่พระเจ้าแล้วด้วย    ซึ่งเราเรียกว่าการทำทุราจาร    อันได้แก่ พระสงฆ์ นักบวช วัด สุสาน รูปพระ รูปแม่พระ รูปนักบุญต่างๆ เป็นต้น เพราะหมายถึงการขาดความเชื่อความเคารพต่อองค์พระเจ้าด้วยเช่นกัน
    ในชีวิตประจำวันบรรดาคริสตชนมักจะมีความสงสัยกันอยู่เสมอว่า ทำอย่างโน้นบาปไหม? ทำอย่างนี้บาปไหม? เช่น ดูหมอดูบาปหรือไม่? เชื่อฝันผิดไหม? ดูฤกษ์ดูยาม เช่น วันแต่งงาน วันขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ เป็นอย่างไรทำได้ไหม?...    รวมไปถึงการทำบุญในศาสนาอื่นๆ จะบาปไหม? และคำถามทำนองนี้อีกมากมาย
    จึงอยากอธิบายเป็นหลักปฏิบัติกว้างๆ ดังนี้ว่า...    ก่อนอื่นหมดเราจะต้องรู้ตัวของเราก่อนว่า เรามีความเชื่อความศรัทธาและความรักในพระเจ้าอย่างแท้จริงหรือไม่?    แน่นอนสำหรับผู้ที่มีความเชื่อมั่นในพระเจ้า ทุกอย่างจะไม่มีปัญหาใดๆ เพราะเหนือสิ่งอื่นใดคือพระเจ้า
    โดยส่วนใหญ่แล้ว บรรดาคริสตชนจะบอกว่า ตัวเองเชื่อและมั่นใจในพระเจ้า แต่ในทางปฏิบัติและความเป็นจริงในชีวิตประจำวันอาจจะมีเหตุการณ์เรื่องราวบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้อดสงสัยไขว่เขวไปได้เหมือนกัน เช่น เคยเห็นคนเข้าเจ้าเข้าทรง รู้จักหมอดูแม่นๆ คนนี้คนนั้น คนเขารดน้ำหมากราดน้ำมนต์แล้วหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ฯลฯ เป็นต้น
    คำตอบตรงนี้ก็คือ ถ้าเราเชื่อและมั่นใจในพระเจ้า ว่าพระองค์ทรงสร้างเรามาทรงเลี้ยงดูและค้ำชูเราอยู่ตลอด    ทุกสิ่งทุกอย่างมาจากพระองค์และเป็นของพระองค์แล้ว มันจะผิดอะไร ถ้าพระองค์จะทรงให้เราเป็นอย่างนี้เป็นอย่างนั้น มีสุขอย่างนี้มีทุกข์อย่างนั้น... ทำไมจะต้องคิดว่าผู้อื่น สิ่งอื่นสำคัญและช่วยเราได้ดีกว่าพระองค์
    จะแต่งงานก็ต้องหาฤกษ์หายาม วันนี้เหมาะเวลานั้นดี ที่เห็นๆ มีเยอะแยะที่บอกว่าวันดีเวลาเยี่ยม... อยู่กันยังไม่ทันไรก็เลิกกันซะแล้ว หรือ ไปเลือกเอาวันจันทร์เวลา 9.00 น. มันจะดีได้อย่างไร    พอไปแจกการ์ดพรรคพวกเพื่อนฝูงก็ต่อว่าเสียแล้วว่า “ทำไมไม่จัดวันหยุดวะ..ใครเขาจะขาดงานไปได้..” เหล่านี้ เป็นต้น
    ขอพูดถึงเรื่องการทำบุญในศาสนาอื่นๆ อีกนิด    คงจำได้ว่าในอดีตเคร่งมาก ห้ามทำบุญหรือช่วยงานในศาสนาอื่นทุกอย่างๆ... แต่ปัจจุบันพระศาสนจักรอธิบายว่า เราอยู่ในสังคมต้องมีหน้าที่ส่งเสริมกันและกันกระทำในสิ่งที่ดี การทำบุญซองผ้าป่า สร้างอาคารสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นวัดศาลาธรรม ศาลาการเปรียญหรือสาธารณสถานต่างๆ ถือเป็นเรื่องที่ดี...ช่วยสังคม ช่วยคนให้มีสถานที่มีโอกาสได้รับการอบรมบ่มนิสัยให้เป็นคนดีแล้วมันจะผิดได้อย่างไร?
    ข้อสำคัญที่ต้องคำนึง คือ เราจะประกอบพิธีกรรมในศาสนาอื่นๆ คงผิดแน่นอน    เพราะผู้ที่จะประกอบพิธีกรรมจะต้องเป็นศาสนิกที่มีความเชื่อความศรัทธาในศาสนานั้นๆ เท่านั้น จึงจะมีความหมาย    ตัวอย่างที่ชัดเจน อีกอย่างก็คือ ถ้าตัวเรามีสามีหรือภรรยาที่เป็นศาสนาอื่น เราที่เป็นคาทอลิกมีหน้าที่ที่จะต้องส่งเสริมเขาให้เป็นศาสนิกที่ดีตามความเชื่อถือของเขาด้วย เช่น การที่จะไปทำบุญตักบาตร ภรรยาที่เป็นตริสต์ย่อมมีหน้าที่ที่จะเตรียมอาหารไปให้เขาไปทำบุญตักบาตร แต่ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องไปตักบาตรกับเขา ดังนี้ เป็นต้น
    ดังนั้น เราจะต้องมั่นใจในความเชื่อความศรัทธาของเราจริงๆ และพร้อมที่จะแสดงตนยืนยันว่า เราเป็นคริสตชน เวลาไปร่วมพิธีในศาสนาอื่น    ต้องชัดเจนว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ และเช่นกันเราก็ต้องเคารพในความเชื่อถือความศรัทธาของผู้อื่นที่เขามีความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาของเขา อย่าไปโจมตีหรือว่ากล่าวเขาเป็นอันขาด พูดตรงๆ ก็คือเราต้องเคร่งครัดในศาสนาของเรา แต่อย่าคลั่งจนไม่เคารพผู้อื่น
    ในพระบัญญัติประการที่หนึ่งนี้ยังส่งเสริมให้เราให้ความเคารพต่อพระแม่มารีย์และบรรดานักบุญ (ผู้ศักดิ์สิทธิ์) ทั้งหลายด้วย    เราจึงสามารถวอนขอต่อพระเป็นเจ้าโดยผ่านทางคำเสนอวิงวอนของพระแม่มารีย์และบรรดานักบุญด้วย ซึ่งการกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นการขาดความเคารพหรือความเชื่อความวางใจต่อพระเจ้าแต่ประการใด    เพราะเรายังคงกราบนมัสการพระเจ้าแต่ผู้เดียวอยู่ เพียงแต่โดยผ่านทางพระแม่มารีย์ และบรรดานักบุญเท่านั้นเอง

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 12:44-50) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสเสียงดังว่า “ผู้ที่เชื่อในเรา ไม่ได้เชื่อในเราเท่านั้น แต่ยังเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามาด้วย ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา เราเข้ามาในโลกเป็นแสงสว่าง...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:22-30) เวลานั้นเป็นเทศกาลฉลองพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม และเป็นฤดูหนาว พระเยซูเจ้าทรงพระดำเนินอยู่ในพระวิหารที่เฉลียงซาโลมอน ชาวยิวมาล้อมพระองค์ไว้ ทูลว่า “ท่านจะปล่อยให้ใจของพวกเราสงสัยอยู่นานเท่าใด ถ้าท่านเป็นพระคริสตเจ้า ก็จงบอกพวกเราให้ชัดเจนเถิด”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
10474
9039
51632
261165
306218
36004887
Your IP: 3.133.141.6
2024-04-24 20:57

สถานะการเยี่ยมชม

มี 251 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์