แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

003บทที่ 4 : ภาพลักษณ์ของตัวเรากับภาพลักษณ์ของพระเจ้า
    ภาพลักษณ์ของตัวเราเองกับภาพลักษณ์ที่เรามีถึงพระเจ้านั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดมาก ยิ่งเรามีภาพลักษณ์ของตนเองที่สมบูรณ์และชัดเจนมากเพียงไร ภาพลักษณ์ที่เรามีต่อพระเจ้าก็จะสมบูรณ์และชัดเจนมากขึ้นเพียงนั้นด้วย (เทียบ ยรม. 18:1-6) เราเชื่อว่ามนุษย์เจริญชีวิตโดยอาศัยภาพลักษณ์ที่มีต่อตนเอง ต่อโลกและต่อพระเจ้า
    “ภาพลักษณ์” ที่กล่าวมานี้บอกอะไรคุณบ้างไหมเกี่ยวกับสัมพันธภาพของคุณกับพระเจ้า? หรือกับผู้เรียนของคุณ? แน่นอนมันลึกซึ้งยิ่งกว่าความหมายเชิงปรัชญาหรือเชิงเทววิทยาเสียอีก ภาพลักษณ์สามารถทำให้เรามั่งคั่งขึ้นได้จากความรู้สึกที่ลึกๆ และจากความเชื่อมโยงภายในซึ่งแสดงออกมา

การเข้าร่วมในลีลาศฝ่ายจิต
    ภาพลักษณ์เป็นผลผลิตจากจินตนาการ ซึ่งได้มาจากประสบการณ์หลากหลายทั้งด้านสติปัญญาและอารมณ์ คือจากทั้ง “หัว” และ “หัวใจ” ชีวิตของเราจึงต้องการประสบการณ์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้สึก สุนทรียะและการหยั่งรู้ จินตนาการทำให้เรารู้สึกสนุกกับชีวิต

    ในเวลาเดียวกัน เราต้องสร้างสมดุลระหว่างประสบการณ์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเล่น รวมถึงการพักผ่อนด้วย ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจิตเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างขั้วทั้งสองของมนุษย์ (สติปัญญาและน้ำใจ) นี้ว่าการ “ลีลาศ” ของกิจการและการพิศเพ่ง ซึ่งเราไม่สามารถใช้ชีวิตสุดโต่งไปทางขั้วใดขั้วหนึ่งได้เพราะจะสร้างความไม่สมดุลและผลเสียแก่เราอย่างมหาศาล อาจถึงขั้นที่ทำให้หมดความมั่นใจและเกิดความสงสัยในตนเองและผู้อื่นได้ ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจิตและจิตวิทยากล่าวว่า การออกจากสภาพเช่นนี้ได้มีทางเดียวคือ ต้องทำให้ “จินตนาการสั่นสะเทือน” เพราะการเยียวยาด้วยเหตุผลเท่านั้นไม่เพียงพอเสียแล้ว การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นในสมองซีกขวาที่ซึ่งความรู้สึก การหยั่งรู้และจินตนาการของเราสถิตอยู่ อาศัยการพยายามควบคุมทุกอย่างในชีวิตของตนและการเปิดตนต่อธรรมล้ำลึก 
    การเข้าใจสิ่งนี้มีผลต่อการสอนคำสอนของเราอย่างไร... เราต้องทำหน้าที่ครูคำสอนด้วยความกระตือรือร้น มีชีวิตชีวา ต้องพยายามทำให้ความธรรมดาของชีวิตกลายเป็นการเฉลิมฉลอง

การเฉลิมฉลองสิ่งธรรมดาสามัญ
เรากำลังเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายเหล่านี้อยู่ คือ
1. ความท้าทายที่จะต้องปลุกให้เกิดความพิศวงและชื่นชมในความปกติธรรมดา
เราต้องใส่ “แว่นตาใหม่” ที่ช่วยให้มองกิจกรรมธรรมดาประจำวันด้วยสายตาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทาน – กลายเป็นสิ่งนำความชื่นชอบ  การอาบน้ำ – กลายเป็นความสดชื่นรื่นรมย์  การฟังผู้อื่น – กลายเป็นช่วงเวลาแห่งพระพร  การอยู่บ้านคนเดียว – กลายเป็นการผ่อนคลายได้ทำสิ่งที่ฝัน ได้ฟังดนตรี ฯลฯ กิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นสามารถกลายเป็นแหล่งของการฟื้นฟูตัวเรา บรรยากาศครอบครัว ความมุ่งหวัง และความน่าตื่นเต้นของการค้นพบได้      
2. ความท้าทายที่จะปลุกให้เปิดรับชีวิตที่ปกติธรรมดา 
หากเรามัวแต่สาละวนแสวงหาแต่สิ่งแปลกใหม่น่าตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา เราจะพลาดความวิเศษของชีวิตประจำวัน การเฉลิมฉลองประสบการณ์ประจำวันจะเป็นโอกาสให้เรามีสติในการเจริญชีวิตในแต่ละขณะอย่างสมบูรณ์ได้    
3. ความท้าทายที่จะปลุกให้เกิดการปฏิบัติทักษะด้านการดูแล 
ถ้าเรารู้จักดูแลเอาใจใส่ทุกกิจการในชีวิตประจำวัน เราจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะรู้จักเคารพชีวิต ซึ่งจะนำสู่ความเบิกบานยินดีที่ลึกซึ้ง ที่มีผลต่องานคำสอนทั้งหมดของเรา ความเบิกบานยินดีนั้นแพร่หลายสู่ผู้อื่นได้ง่าย  

การสร้างภาพลักษณ์
เรากำลังเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายเหล่านี้ในตัวผู้เรียนของเราอยู่ คือ
1. ความท้าทายที่จะช่วยผู้เรียนให้เชื่อมั่นในความดีของตนเอง 
งานวิจัยบอกว่า คนรุ่นเยาว์มักจะมีภาพพจน์ของตนเองในเชิงลบ ยิ่งกว่านั้นในสังคมยุคนี้การให้คุณค่าแก่ตนเองมักจะเน้นไปในเรื่องภายนอก เช่น การต้องดูดี สิ่งที่มีและยี่ห้อของสิ่งที่ใช้ 
ครูคำสอนสามารถช่วยผู้เรียนให้มีความมั่นใจอย่างถูกต้องว่า เรามีดีเพราะเราถูกสร้างมาให้เป็นภาพลักษณ์ที่คล้ายกับพระเจ้า ดังที่ น.เปาโลสอนว่า “เราเป็นผลงานของพระองค์ ถูกสร้างมาในพระคริสตเยซูเพื่อให้ประกอบกิจการดี ซึ่งพระเจ้าทรงกำหนดล่วงหน้าให้เราปฏิบัติ” (อฟ. 2:10)
2. ความท้าทายที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความดีของสิ่งสร้างของพระเจ้า 
การสัมผัสถึงความไม่ดีหรือความเสื่อมโทรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมลภาวะในอากาศหรือในน้ำ การทำลายป่า ฆาตกรรมที่เหี้ยมโหดในสังคม สื่อสังคมที่ไม่สร้างสรรค์ ฯลฯ ล้วนเป็นเหตุผลที่ทำให้ครูคำสอนต้องสอนผู้เรียนให้รู้จักดูแลเอาใจใส่และให้ความเคารพต่อสิ่งสร้างของพระเจ้า เมื่อเขาดูแลสิ่งสร้างได้เขาจะดูแลบุคคลอื่นได้ง่ายขึ้นด้วย   
3. ความท้าทายที่จะช่วยผู้เรียนให้เจริญชีวิตในความหวังแห่งอนาคต  
คนรุ่นเยาว์ยังเจริญชีวิตอยู่ในช่วงของความสับสน ความผิดหวัง ของการยังไม่มีวุฒิภาวะเต็มที่ งานคำสอนจึงต้องนำพวกเขาเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงบุคคลที่นำสู่การบรรลุวุฒิภาวะอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังเช่นเมล็ดพันธุ์พืชที่ต้องค่อยๆ เติบโตขึ้นจนกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ที่สมบูรณ์และให้ผลที่ดี  

    ผู้เรียนคำสอนต้องสัมผัสถึงความรักที่ไร้เงื่อนไขของครูคำสอน โดยก่อนอื่นใดหมดเราต้องพัฒนาชีวิตฝ่ายจิตของเราให้บรรลุวุฒิภาวะที่สมบูรณ์เสียก่อน ต้องรู้จักมองไปยังระดับที่อยู่เหนือสิ่งมองเห็นด้วยสายตาหรือการเห็นแค่เพียงตัวบุคคลกับงานที่ต้องทำเท่านั้น แต่ต้องสามารถดำเนินชีวิตด้วยการมอบความรัก ความจริงและความยุติธรรมให้แก่พวกเขา เราได้รับพระพรอันประเสริฐนี้มาจึงต้องรู้จักแบ่งปันแก่ทุกคน เพื่อจะติดปีกให้สามารถบินได้
    บรรยากาศเช่นนี้ จะช่วยให้ทั้งครูคำสอนและผู้เรียนสามารถสร้างภาพลักษณ์ของตนให้คล้ายคลึงกับภาพลักษณ์ของพระเจ้าได้ง่ายยิ่งขึ้น

เรื่องเปรียบเทียบ
    การเล่าเรื่องเปรียบเทียบนั้นมีหลายแบบ แต่ทุกแบบล้วนบอกถึงความหมายเดียวกัน เรื่องที่จะเล่านี้จะช่วยให้ท่านไตร่ตรองถึงการสอนของท่านได้  
    ชาวไร่คนหนึ่งเก็บไข่ของนกอินทรีทองมาได้ เขาจึงเอาไปฟักโดยให้แม่ไก่กก ไม่นานลูกนกอินทรีทองก็ออกมาดูโลกพร้อมกับลูกไก่ตัวอื่น มันเจริญชีวิตด้วยการทำทุกอย่างเหมือนลูกไก่ โดยคิดว่าลูกไก่เหล่านั้นคือพี่น้องของมัน ทั้งไก่และลูกนกอินทรีพยายามหัดบินแต่ก็ไปได้ไม่สูงนักเพราะไก่บินได้เพียงเตี้ยๆ เท่านั้น
    เมื่อลูกนกอินทรีเติบใหญ่ ขณะที่เดินคุ้ยเขี่ยอาหาร มันเหลือบไปเห็นนกตัวใหญ่บินร่อนถลาลมอยู่บนท้องฟ้า เห็นปีกของนกใหญ่ที่กางออกนั้นเป็นสีทองมีประกายเจิดจ้าน่าประทับใจยิ่งนัก มันจึงร้องถามว่านั่นคือนกอะไร คำตอบที่ได้คือพญานกอินทรีทอง เจ้าแห่งเวหา
    ไก่ตัวอื่นจึงเตือนมันว่า อย่าคิดโบยบินอย่างนกอินทรีทองนั้นเลยเพราะพวกมันเป็นเพียงไก่ที่มีสิทธิ์เพียงเดินดินเท่านั้น ลูกนกอินทรีทองจึงได้แต่เจริญชีวิตเยี่ยงไก่ และสุดท้ายก็ตายไปอย่างไก่ ด้วยความคิดที่ว่าตนเป็นเพียงไก่ตัวหนึ่งเท่านั้น (Antony De Mello, Song of the Bird)

เรื่องเปรียบเทียบนี้บอกอะไรแก่ท่านบ้าง?

คำถามเพื่อการไตร่ตรอง
สิ่งเหล่านี้อาจใช้สำหรับเป็นภาพลักษณ์ของการเป็นครูคำสอนได้ เช่น
+ ช่างปั้นหม้อ
+ ผู้หว่าน
+ พยาบาลผดุงครรภ์

ภาพลักษณ์เหล่านี้ใช้อธิบายถึงประสบการณ์ที่คุณสัมผัสเกี่ยวกับงานคำสอนของคุณได้หรือไม่? เพราะเหตุใด?
+ คุณสามารถคิดถึงภาพลักษณ์อื่นๆ ที่ช่วยธิบายถึงบทบาทหน้าที่ของคุณได้หรือไม่? เพราะเหตุใด?
+คุณคิดว่าการเตือนตนเองให้ตระหนักถึงภาพลักษณ์ต่างๆ ในขณะที่คุณเตรียมตัวที่จะพบปะกับผู้เรียนคำสอนของคุณนั้นเป็นประโยชน์หรือไม่?

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 18:1-19:42) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ข้ามห้วยขิดโรน ที่นั่นมีสวนแห่งหนึ่ง พระองค์เสด็จเข้าไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ยูดาสผู้ทรยศรู้จักสถานที่นั้นด้วย เพราะพระองค์เคยทรงพบกับบรรดาศิษย์ที่นั่นบ่อยๆ ยูดาสนำกองทหารและยามรักษาพระวิหารที่บรรดาหัวหน้าสมณะ...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:1-15) ก่อนวันฉลองปัสกา พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าถึงเวลาแล้วที่จะทรงจากโลกนี้ไปเฝ้าพระบิดา พระองค์ทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด ระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ ปีศาจดลใจยูดาสอิสคาริโอทบุตรของซีโมนให้ทรยศต่อพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระบิดาประทานทุกสิ่งไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว และทรงทราบว่าพระองค์ทรงมาจากพระเจ้าและกำลังเสด็จกลับไปหาพระเจ้า จึงทรงลุกขึ้นจากโต๊ะ...
วันพุธ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 26:14-25) เวลานั้น คนหนึ่งในบรรดาอัครสาวกสิบสองคน ชื่อ ยูดาส อิสคาริโอท ไปพบบรรดาหัวหน้าสมณะ ถามว่า “ถ้าข้าพเจ้ามอบเขาให้ท่าน ท่านจะให้อะไรแก่ข้าพเจ้า”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลมหาพรตและปัสกา กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ เทศกาลมหาพรตและปัสกา E-book...
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อัครสาวก 12 องค์ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

212. มื้ออาหารของพระเยซูเจ้ากับเรามีชื่อว่าอะไรบ้าง และหมายความว่าอะไร มีชื่อแตกต่างกันที่ชี้บอกถึงความมั่งคั่งอย่างไม่อาจหยั่งถึงได้ของธรรมล้ำลึกนี้ คือ การบูชาศักดิ์สิทธิ์ มิสซา เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชาขอบพระคุณ อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า การบิปัง การชุมนุมศีลมหาสนิท การรำลึกถึงพระทรมาน...
211. ศีลมหาสนิทสำคัญอย่างไรสำหรับพระศาสนจักร การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท เป็นหัวใจของชุมชนคริสตชน ในศีลมหาสนิทพระศาสนจักรกลายเป็นพระศาสนจักร (1325) เราไม่ได้เป็นพระศาสนจักรเพราะเรากลมเกลียวกัน หรือเป็นเพราะเราสิ้นสุดในชุมชนวัดเดียวกัน แต่เนื่องจากในศีลมหาสนิทเราได้รับพระกายของพระคริสตเจ้า และเราถูกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นในพระกายของพระคริสตเจ้า 126,217 ในศีลมหาสนิทเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเหมือนกับอาหารเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย...
210. พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทอย่างไร “ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนั้นต่อให้ท่าน คือในคืนที่ทรงถูกทรยศนั้นเอง พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงหยิบปัง ขอบพระคุณ แล้วทรงบิออก ตรัสว่า “นี่คือกายของเราเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” เช่นเดียวกัน...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา เรื่อง การดูหมิ่น พระคัมภีร์ โรม 12:16 ภาพรวม เด็กๆ สร้างคนด้วยไม้จิ้มฟัน และเรียนรู้ว่า การดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดอย่างไร อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ปากกาเส้นใหญ่ กาว และแถบกาว ประสบการณ์ แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 คน แจกไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
🤖 TRV. Innovation Fair 2023 🤖 วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสไปออกร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ และออกบูธจัดกิจกรรมคำสอน ร่วมกับฝ่ายจิตตาภิบาล โรงเรียนไตรราชวิทยา ในโครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม ประธานในพิธี บาทหลวงเอกรัตน์...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)
วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
11235
15812
49338
244608
326718
35682112
Your IP: 54.144.81.21
2024-03-28 20:44

สถานะการเยี่ยมชม

มี 470 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์