แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทที่ 1
วิญญาณข้าพเจ้าโหยหาพระองค์ พระเจ้าข้า
แหล่งที่มา  CCC 26-49

พระเป็นเจ้าเจ้าข้า  เราวอนขอพระองค์โปรดเสด็จมาและเร้าใจเราให้มีความรัก  โปรดทรงเรียกเรากลับไปหาพระองค์  โปรดจุดความรู้สึกนึกฝันอันแรงกล้าของพระองค์ในใจเรา  และให้เราได้เคลิบเคลิ้มไปกับฝันนั้น  โปรดให้เราได้กลิ่นหอมของพระองค์ และได้ลิ้มรสความหวานของพระองค์ โปรดให้เรารักพระองค์และรีบไปอยู่เคียงข้างพระองค์เถิด (นักบุญออกัสติน, Confession 8,4)

ภราดาลุ๊กไม่รู้สึกเสียใจกับสิ่งใดเลย
    เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1996 ฤาษีคณะทรัปปีส 7 รูป จากอารามอัทลาสในประเทศอัลจีเรีย ได้เป็นมรณสักขี ด้วยการถูกประหารชีวิตโดยกลุ่มอิสลามติดอาวุธ(GIA)  พวกเขาได้ออกหนังสือแถลงการณ์ฉบับหนึ่งเพื่อแจ้งว่า “เราได้ตัดคอฤาษี 7 รูป ตามคำมั่นสัญญาที่เราให้ไว้...ขอพระเป็นเจ้าทรงได้รับการสรรเสริญ”
    สามปีก่อนหน้านั้น กลุ่มอิสลามติดอาวุธนี้ได้เตือนบรรดาฤาษีที่อารามอัทลาสแล้วว่า “บรรดาฤาษีผู้ดำเนินชีวิตอยู่กับชนชั้นกรรมกรจะถูกสังหารได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย”  บรรดาฤาษีตั้งใจที่จะอยู่ที่นั่นต่อไป  ท่านแบร์นาโด โอลิเวร่า อธิการเจ้าคณะได้แสดงความคิดเห็นถึงการตัดสินใจของพวกเขาว่า “การตัดสินใจของบรรดาพี่น้องของเรา ที่อัทลาสนี้ มิได้มีความพิเศษมากกว่าคนอื่น ตามประเพณีของฤาษี และนักพรตหญิงของคณะเบเนดิ๊กติน-ซิสเตอร์เซียนนั้นได้ปฏิญาณตนถือ “ความมั่นคง” ซึ่งผูกมัดเราที่อยู่ในหมู่คณะให้อยู่ในสถานที่ซึ่งหมู่คณะตั้งอยู่จนกว่าจะตายจากไป”
    เราจะเข้าใจความลึกซึ้งของคำปฏิญาณนี้ได้อย่างไร?  คุณพ่อคริสเตียน ฤาษีรูปหนึ่งที่อารามอัทลาส ได้อธิบายกับหัวหน้ากลุ่มอิสลามติดอาวุธด้วยคำพูดต่อไปนี้
    “พี่น้อง โปรดให้ข้าพเจ้าได้พูดกับท่านในฐานะมนุษย์กับมนุษย์  ผู้มีความเชื่อกับผู้มีความเชื่อ   ในความขัดแย้งซึ่งประเทศของเรากำลังประสบอยู่ปัจจุบันนี้ ดูเหมือนว่าเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเลือกเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะเราเป็นชาวต่างชาติซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้เลือกข้างได้   ในฐานะที่เราเป็นฤาษีผูกมัดเราให้ต้องเลือกพระเป็นเจ้า ซึ่งสำหรับเรานั้น ก็คือการภาวนา  การดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย  การทำงานที่ต้องใช้กำลัง  การเป็นเจ้าของบ้านที่ดีและการแบ่งปันกับทุก ๆ คนโดยเฉพาะผู้ที่ยากจน  นี่คือเหตุผลที่เราเลือกวิถีชีวิตเช่นนี้ ด้วยความสมัครใจของเราแต่ละคน ซึ่งผูกมัดเราไปจนวันตาย”
    ท่านอธิการ โอลิเวร่า ได้เห็นการเชื่อมโยงที่สำคัญประการหนึ่งระหว่างการแสวงหาพระเป็นเจ้าในอาราม กับการเป็นมรณสักขี “จากการเป็นมรณสักขีด้วยการต่อสู้ฝ่ายจิตจนถึงการเป็นมรณสักขีด้วยการหลั่งเลือดนั้น มีเพียงเสียงร้องเดียวซึ่งเรียกให้รักและให้อภัย รวมถึงให้รักศัตรูของตน ชีวิตนั้นแข็งแกร่งกว่าความตาย  ความรักนั้นมีคำสอนสุดท้าย” ความเชื่อของพวกเขาสามารถเอาชนะสัญชาตญาณตามธรรมชาติที่ให้แก้แค้น  พวกเขายึดถือคำสอนของพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริงและให้อภัยศัตรู  ความปรารถนาพระเป็นเจ้าของพวกเขาจบลงในความรักที่สมบรูณ์
    ภราดาลุ๊ก วัย 80 ปี ได้มอบสิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องระลึกถึงชีวิตในอดีตได้อย่างประทับใจที่สุด ก็คือ เท็ปเพลงตลับหนึ่งที่มีเพลงซึ่งท่านหวังไว้ว่าจะมีใครบางคนนำมาเปิดในวันที่ทำพิธีปลงศพของท่าน   นั่นก็คือเพลงที่ขับร้องโดย เอดิธ เปียฟ มีชื่อว่า “ไม่เลย ฉันไม่รู้สึกเสียใจกับสิ่งใดๆที่ผ่านไป”

เราเกิดมาพร้อมกับความปรารถนาพระเป็นเจ้า
    สมณสารของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์นปอลที่ 2 ชื่อ “สู่พันปีที่สาม” เกี่ยวกับการเตรียมฉลองปีปิติมหาการุณย์ ค.ศ. 2000 ให้เราระลึกว่า พระศาสนจักรในสหัสวรรษแรกนั้นถือกำเนิดมาจากโลหิตของบรรดามรณสักขี  พยานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดซึ่งแสดงถึงความปรารถนาพระเป็นเจ้าของบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นก็คือ ความเต็มใจที่จะหลั่งโลหิตของตนแทนความศรัทธานี้   นั่นคือสิ่งที่บรรดาฤาษีแห่งอารามอัทลาสได้กระทำ ความกล้าหาญของพวกเขาทำให้รู้ว่า อะไรคือความจริงของเราแต่ละคน และของทุกครอบครัว มนุษย์แต่ละคนนั้นมีแรงผลักดันภายในที่ทำให้เขามุ่งสู่ความสมบูรณ์ สู่จุดสุดท้าย สู่ความไม่สิ้นสุดซึ่งก็คือพระเป็นเจ้า
    มนุษย์ทั้งชายและหญิงต่างแสวงหาพระเป็นเจ้า
    หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก เปิดประเด็นด้วยความจริงอันลึกซึ้งเกี่ยวกับเราแต่ละคน ตั้งชื่อบทแรกว่า “มนุษย์สามารถที่จะรู้จักพระเป็นเจ้า” พระเป็นเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์เรามาในลักษณะที่มนุษย์จะพบการบรรลุสมความปรารถนา,ความจริง,และความสุขแท้ส่วนตัวได้เฉพาะในพระองค์เท่านั้น   ศักดิ์ศรีของมนุษย์เรานั้นอยู่บนความจริงที่ว่าเราได้ถูกเรียกให้มาสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า  การเชื้อเชิญให้เป็นมิตรกับพระเป็นเจ้านั้นเริ่มขึ้นตั้งแต่เรามีชีวิต  พระเป็นเจ้าทรงสร้างเรามาด้วยกิจการแห่งความรัก และด้วยความรักนี้เราจึงมีชีวิตอยู่
    วัฒนธรรมสมัยใหม่พยายามสอนว่าเราเป็นผู้คนทางโลกอย่างแท้จริง แต่พระเป็นเจ้าทรงสร้างเราให้เป็นคนทางธรรมโดยกำเนิดทีเดียว   แม้ว่าประเทศสหรัฐอเมริกาจะถูกถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่เต็มไปด้วยเรื่องโลกีย์  แต่ก็ยังมีสถานที่สำหรับคารวะกิจต่อจำนวนพลเมืองมากกว่าประเทศอุตสาหกรรมอื่น   ประวัติศาสตร์แสดงให้เราเห็นว่ามนุษย์ได้แสดงออกถึงความเร่าร้อนที่จะมุ่งหาพระเป็นเจ้าของพวกเขาในการภาวนา(prayer)  การถวายบูชา(sacrifice)  พิธีศาสนา(ritual)  โบสถ์(church)  วัด(temple)  ศาลาธรรม(synagogue)  และมัสยิด(mosque)ตลอดมาจวบจนปัจจุบันนี้
    นักบุญเปาโล กล่าวอย่างถูกต้องแล้วเมื่อท่านบอกกับชาวเอเธนส์ว่า “พระองค์ (พระเป็นเจ้า) ทรงทำให้มนุษย์ทุกชาติสืบเชื้อสายมาจากมนุษย์คนเดียว และทรงทำให้เขาทั้งหลายอยู่ทั่วพื้นแผ่นดิน โดยทรงกำหนดช่วงเวลา และขอบเขตให้เขาอยู่ เพื่อให้มนุษย์แสวงหาพระเป็นเจ้า แม้จะต้องคลำหาเขาก็ยังพบพระองค์ได้ เพราะพระองค์ทรงอยู่ไม่ห่างจากเราแต่ละคน ด้วยว่า ‘เรามีชีวิต เคลื่อนไหว และมีความเป็นอยู่ในพระองค์...’ ” (กจ 17:26-28)
    ถ้าสิ่งนี้เป็นความจริง ทำไมคนจำนวนมากจึงไม่สามารถพบพระเป็นเจ้า?
    มีเหตุผลมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ กล่าวคือ การมีสิ่งชั่วร้ายอยู่มากมายในโลกครอบงำคนบางคน   และเป็นสาเหตุให้พวกเขาทรยศต่อความคิดแท้จริงเกี่ยวกับพระเป็นเจ้าผู้ทรงปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเราไม่พบพระเป็นเจ้า   นอกจากนี้ยังมีการไร้การศึกษาเกี่ยวกับศาสนา  และการไม่สนใจศาสนา ซึ่งทำให้คนขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระเป็นเจ้า,  บ่อยครั้งที่ความมั่งมีก็ทำให้คนรวยไข้เขว ไม่เคยคิดถึงพระเป็นเจ้า,  ความประพฤติที่น่าอับอายของผู้มีความเชื่อบางคนผลักให้ผู้แสวงหาด้วยใจจริงออกจากศาสนา,  และสุดท้ายคือความบาปของแต่ละคนโน้มนำคนบาปให้ปฏิเสธเรื่องบาป,  ไม่รับผิดชอบต่อบาปที่ได้ทำ และซ่อนตัวจากพระเป็นเจ้าเช่นเดียวกับที่มีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ว่า  “มนุษย์และภรรยา...จึงหลบไปซ่อนให้พ้นจากพระพักตร์พระยาห์เวห์พระเป็นเจ้าในหมู่ต้นไม้ของสวน” (ปฐก 3:8)
    แล้วเราจะพบพระเป็นเจ้าที่เราปรารถนาได้อย่างไร?
    พระเป็นเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์เองในสามทาง คือ
    (1) สิ่งสร้าง: นักบุญ เปาโล บอกว่าเราสามารถรู้จักพระผู้สร้างได้โดยอาศัยสิ่งที่ทรงสร้าง นักบุญออกัสติน กล่าวถึงความจริงข้อนี้อย่างน่าทึ่งยิ่งกว่าว่า “จงถามความงามของแผ่นดิน ถามความงามของท้องทะเล...ถามความงามของท้องฟ้า…ทั้งหมดจะตอบว่า ‘ดูสิ เรานี้งดงาม’ ความงามของสิ่งเหล่านี้เป็นการประกาศยืนยันอย่างหนึ่ง  ความงามเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลง ใครเป็นผู้ทำความงามเหล่านี้ได้เล่า หากมิใช่องค์แห่งความงาม ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่การเปลี่ยนแปลง?” (sermon 241,2)
(2) ตัวบุคคลมนุษย์: ถ้าเราคิดว่าเราเหมือนกับอะไร  นั่นคือเราพบว่าเราต้องการที่จะรู้ความจริงและสัมผัสความงามที่สมบูรณ์  เราถูกดึงดูดเข้าสู่คุณความดีทางศีลธรรม  เราชื่นชมในอิสรภาพของเราและดิ้นรนที่จะรักษามันไว้  เราตระหนักถึงเสียงของมโนธรรม และพยายามที่จะดำเนินชีวิตตามนั้น  เรามิได้กระหายหาอะไรอื่นนอกจากความสุขอันสมบูรณ์และไร้ขอบเขต ประสบการณ์ต่างๆ นี้ ช่วยให้เราตระหนักถึงวิญญาณและธรรมชาติฝ่ายจิตของเรา  ยิ่งเราตระหนักถึงความจริงเกี่ยวกับตัวเราเองมากเท่าใด เราก็ยิ่งถูกดึงเข้าสู่ความจริงของพระเป็นเจ้ามากเท่านั้น
    (3) การเปิดเผย(ความจริง)โดยตรง: โลกและตัวบุคคลมนุษย์นั้นเป็นดั่งต้นตอที่นำไปสู่การรู้จักพระเป็นเจ้าที่สำคัญเพียงใด  ความหมายที่คลุมเครือของเครื่องหมายต่าง ๆอันเกิดจากบาปของมนุษย์นั้นก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการเปิดเผยโดยตรงอย่างชัดเจนและมั่นใจจากพระเป็นเจ้าเกี่ยวกับความรักของพระองค์ที่ทรงมีต่อเรา  เกี่ยวกับแผนการช่วยเราให้รอดพ้น และเกี่ยวกับชีวิตภายในของพระองค์   ในพระคัมภีร์ไบเบิลอันศักดิ์สิทธิ์นี้เอง เราได้มีแนวทางที่เชื่อถือได้และแน่นอนอันจะนำไปสู่ความมั่งคั่งเป็นพิเศษของพระเป็นเจ้าโดยอาศัยความเข้าใจภายใต้ความเชื่อของพระศาสนจักร  เรื่องราวส่วนใหญ่ที่เรากำลังจะศึกษาจากหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกก็มีที่มาจากพระคัมภีร์ เหมือนกับบทภาวนาในพิธีกรรม  ซึ่งถูกถ่ายทอดมายังเราโดยพระศาสนจักร  การสืบทอดคริสตธรรมของอัครสาวก(the Apostolic Tradition)และผู้มีอำนาจสั่งสอน(ในพระศาสนจักร)(Magisterium)
    ในแต่ละบทเรียน จะมีส่วนหนึ่งที่เป็นการไตร่ตรอง  ที่ประกอบด้วยคำถามต่างๆ  พร้อมกับคำตอบก็ถูกนำมาจากหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก  ยิ่งกว่านั้นเราได้ให้ประเด็นปัญหาอันเป็นข้อคิดเพื่อที่จะนำเอาเนื้อหาในแต่ละบทไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว  ตามด้วยคำเชิญชวนให้ภาวนา และอรรถาธิบายคำโดยสรุป

การไตร่ตรองจากหนังสือคำสอน
    1. เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราเป็นสัตว์โลกที่มีธรรมโดยธรรมชาติ?
    “ในประวัติศาสตร์แห่งมนุษย์ชาติ และแม้กระทั่งปัจจุบัน มนุษย์ได้แสดงออกถึงการแสวงหาพระเป็นเจ้าด้วยวิธีการที่หลากหลายมากมาย โดยอาศัยความเชื่อ และการบำเพ็ญปฏิบัติทางศาสนาของตน เช่น การภาวนา  การถวายบูชา  พิธีศาสนา  การรำพึง ฯลฯ รูปแบบการแสดงออกที่เป็นธรรมเหล่านี้  แม้ว่าอาจจะก่อให้เกิดเงื่อนงำกำกวมอยู่บ้าง แต่ก็มีลักษณะเป็นสากลเสียจนกระทั่งการแสดงออกแต่ละอย่างนั้นอาจบอกเราได้ว่า มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่มีธรรมโดยธรรมชาติ...” (เทียบ กจ 17: 26 -28) (CCC 28)
    2. ทำไมเราจึงสูญเสียความรู้สึกที่ว่าโดยพื้นฐานมนุษย์เป็นผู้มีธรรม?
    “แต่การติดต่อสัมพันธ์อย่างชิดสนิทและสำคัญเท่าชีวิต ซึ่งรวมมนุษย์เข้าเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า” (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 19.1) นี้ อาจถูกลืม ถูกเข้าใจผิด และกระทั่งถูกสลัดทิ้งอย่างเห็นชัดโดยมนุษย์ ทัศนคติแบบนี้อาจมีบ่อเกิดที่หลากหลายต่าง ๆ กันออกไปมากมาย เช่น ความรู้สึกกระด้างกระเดื่องต่อการมีความชั่วร้ายอยู่ในโลก  ความไม่รู้เรื่องราวที่เป็นธรรมหรือความเฉยเมยต่อธรรม  ความกังวลและความมั่งคั่งของมนุษย์โลก  แบบอย่างที่เลวของผู้มีความเชื่อ  กระแสความคิดที่เป็นอริต่อศาสนา  และท้ายที่สุด ทัศนคติของมนุษย์ผู้เป็นคนบาป ซึ่ง-ด้วยความกลัว-จึงซ่อนตัวเสียจากพระพักตร์พระเป็นเจ้า และหลบหนีไปเมื่อพระองค์ตรัสเรียก” (เทียบพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ 19-21; มธ 13:22; ปฐก 3:8-10, ยน 1:13) (CCC 29)
    3. เรามีอะไรเป็นเครื่องช่วยตามธรรมชาติเพื่อการรู้จักพระเป็นเจ้า?
    “เมื่อมนุษย์สดับฟังสารจากบรรดาสิ่งสร้าง และเสียงมโนธรรมแห่งตน  มนุษย์ก็สามารถบรรลุถึงความมั่นใจในการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าผู้เป็นต้นเหตุ  และจุดหมายสุดท้ายของทุกสิ่ง” (CCC 46)

การเชื่อมโยงกับครอบครัว
    เรื่องที่ว่า สังคมนั้นปฏิบัติต่อมนุษย์เราเหมือนเป็นแค่เพียงผู้คนทางโลกเท่านั้น ไม่มีธรรมชาติทางธรรม   ดนตรี,ภาพยนตร์มากมาย,และการแสดงทางโทรทัศน์ทั้งหลายอันเป็นที่นิยมโจมตีเราและลูกหลานของเราด้วยสิ่งเร่งเร้านับพันประการ ซึ่งดึงดูดความต้องการที่เห็นแก่ตัวของเรา   หนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆ ทางโลกดูถูกอำนาจทางธรรมและเน้นหนักที่จุดอ่อนและเรื่องที่น่าอับอายทั้งหลายของบรรดาผู้มีความเชื่อ  เราจึงต้องย้ำเตือนตัวเราเองเสมอว่า พระเป็นเจ้าทรงสร้างเรามาเพื่อพระองค์  และจิตใจของเราจะพบความสุขแท้จริงได้เฉพาะในพระองค์เท่านั้น   เราควรมองดูความงามของโลกและคิดถึงพระผู้สร้าง  เราต้องให้คุณค่ากับความเงียบ การภาวนา และความเชื่อ   คุณแม่เทเรซาบรรยายถึงความสำคัญในเรื่องไว้ว่า
ความเงียบนำไปสู่การภาวนา
การภาวนานำไปสู่ความเชื่อ
ความเชื่อนำไปสู่ความรัก
ความรักนำไปสู่การบริการรับใช้
การบริการรับใช้นำไปสู่สันติสุข
    1. การสอนให้รู้ว่าโดยพื้นฐานมนุษย์เป็นผู้มีธรรมมาแต่กำเนิดนั้นสามารถช่วยเยาวชนของเราให้บำรุงรักษาความสัมพันธ์ของเขากับพระเป็นเจ้าไว้ได้อย่างไร?
    2. ในข้อ ที่ 29 ของหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก กล่าวถึงท่าทีหกอย่างที่ทำให้มนุษย์เราหลงลืมเอกลักษณ์ทางธรรมของตน ท่านเห็นว่ามีท่าทีใดบ้างที่เกิดขึ้นในชีวิตครอบครัวของท่าน? ท่านควรจะแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างไร?
    3. พัฒนาการแห่ง “ความสำนึกทางศีลธรรม” ที่ถูกตรงในเรื่องหนึ่ง จะช่วยให้เราเปิดใจของเราต่อพระเป็นเจ้าอย่างตรงไปตรงมามากขึ้นได้อย่างไร?

คำภาวนาของครอบครัว
    เยซู มารีอา และโยเซฟมีความผูกพันกันเป็นครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ได้ก็เพราะการภาวนา ความเชื่อ และความรัก  เราหวังว่าชีวิตครอบครัวของเราจะถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานชีวิตฝ่ายจิตอันมั่นคงเช่นนี้ด้วย   ขณะที่เราก้าวเดินไปด้วยกันบนเส้นทางชีวิตแห่งความเชื่อนี้  เราวอนขอให้ความช่วยเหลือ และความรักของพระองค์อยู่กับเรา  เราหวังว่าจะรักษาความซื่อสัตย์ต่อกระแสเรียกของเราตราบจนวันที่เราจะได้อยู่กับพระองค์ในสวรรค์ ด้วยความชื่นชมยินดีตลอดนิรันดร

อรรถาธิบายคำ
    ธรรมมนุษย์(Religious Man): มีที่มาจากหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ที่สอนให้รู้ว่ามนุษย์ชายหญิงทุกๆ คน เกิดมาพร้อมกับมีธรรมเป็นแรงดลใจ และผลักดันไปหาพระเป็นเจ้า
    สิ่งสร้างและมโนธรรม(Creation and Conscience): คือ สองทางที่วิจารณญาณสามารถเข้าไปรู้จักพระเป็นเจ้าได้

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:11-18) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี ผู้เลี้ยงแกะย่อมสละชีวิตเพื่อแกะของตน ลูกจ้างที่ไม่ใช่ผู้เลี้ยง และไม่เป็นเจ้าของแกะ เมื่อเห็นสุนัขป่าเข้ามา ก็ละทิ้งบรรดาแกะและหนีไป สุนัขป่าแย่งชิงแกะ...
วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
25525
23407
92575
205093
306218
35948815
Your IP: 18.223.111.48
2024-04-20 19:47

สถานะการเยี่ยมชม

มี 390 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์