แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ทำไมจึงเรียกพระสงฆ์คาทอลิกว่า “คุณพ่อ” (Father)


selection49

พระเจ้าทรงเป็นจิต ไม่มีเพศ ดังนั้น ตามความเป็นจริง พระเจ้ามิได้เป็นพ่อ มิได้เป็นแม่ แต่โดยการเปรียบเทียบ เราเรียกพระเจ้าว่า “พระบิดา” เหมือนกรณีเรื่องการเป็นมนุษย์ของเรา เราเรียกบุคคลผู้ให้กำเนิดว่า พ่อ ส่วนทางด้านจิตนั้น เราเรียกพระเจ้าว่า “พระบิดา” เนื่องจากว่าพระองค์ทรงประทานชีวิตเหนือธรรมชาติให้แก่เรามนุษย์
พระเจ้ามิเพียงแต่สร้างมนุษย์ขึ้นมาเท่านั้น พระองค์ทรงกระทำมากกว่านั้น เหมือนอย่างพ่อทางฝ่ายโลกมนุษย์เรา พระองค์ทรงทุ่มเท ให้ความรัก ความห่วงใย ความเอาใจใส่ดูแลและชี้นำทางชีวิตให้เรา ดังนั้น พระองค์จึงทรงเป็นมากกว่าพระผู้สร้างเรามา นั่นคือ พระองค์ทรงเป็นพระบิดา

พระเยซูเจ้าเองทรงบอกเราให้เรียกพระเจ้าว่า พระบิดา “เมื่อท่านทั้งหลายอธิษฐานภาวนา จงพูดว่า ข้าแต่พระบิดา พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ” (ลก 11:2) “ท่านจงเป็นคนดีอย่างสมบูรณ์ ดังที่พระบิดาเจ้าสวรรค์ของท่านทรงความดีอย่างสมบูรณ์เถิด” (มธ 5:48)

พระเยซูเจ้าก็มีพ่อของพระองค์เช่นกัน เหมือนอย่างเราเรียกผู้ให้กำเนิดว่า “พ่อ” และเรียกผู้ที่เกิดมาว่า “บุตร” ดังนั้น พระเยซูเจ้าทรงเรียก “พระบิดา” พระบุคคลแรกในพระตรีเอกภาพ ซึ่งกำเนิดตั้งแต่นิรันดรกาล ส่วนพระองค์นั้นเป็นพระบุคคลที่สอง คือ “พระบุตร” “ข้าแต่พระบิดาเจ้า โปรดประทานพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระนามของพระองค์เถิด” (ยน 12:28) “ข้าแต่พระบิดา ถึงเวลาแล้ว โปรดประทานพระสิริรุ่งโรจน์กับพระบุตรของพระองค์เถิด” (ยน 17:1) “พระบิดาเจ้าข้า ข้าพเจ้ามอบจิตของข้าพเจ้าไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์” (ลก 23:46)
ยังเป็นหน้าที่ของพ่อในการสอนและชี้นำบุตรของตน ตามความหมายเดียวกันนี้ที่นักบุญเปาโลเรียกตัวเองว่า “พ่อ” กับคนที่กลับใจเป็นคริสตชน “แม้ว่าท่านจะมีครูพี่เลี้ยงนับหมื่นคนในพระคริสตเจ้า แต่ก็มีบิดาเพียงคนเดียว เพราะข้าพเจ้าให้กำเนิดท่านในพระคริสตเยซู โดยการประกาศข่าวดี”  (1คร  4:15)

คำว่า “ปิตาจารย์ของพระศาสนจักร” (Fathers of the Church) นั้น ตามธรรมเนียมโบราณ หมายถึง นักเทศน์ นักประพันธ์ และนักเทววิทยา ของสมัยหลังพันธสัญญาใหม่ คำสั่งสอนของพวกท่านที่ใกล้เคียงกับยุคสมัยอัครสาวกนั้นทรงคุณค่ายิ่งในพระศาสน-จักร พวกท่านได้ชื่อว่า “ปิตาจารย์” ก็เพราะความอาวุโส ดังนั้น ความอาวุโสจึงให้พวกท่านมีหน้าที่เป็นดังอาจารย์ผู้มีส่วนในสมัยหลังอัครสาวก

จากพื้นฐานดังกล่าวนี้ เราจึงเข้าใจเหตุผลที่เรียกพระสงฆ์คาทอลิกว่า “คุณพ่อ” เหมือนอย่างนักบุญเปาโลและบรรดาปิตาจารย์ของพระศาสนจักร ท่านทำการประกาศและเทศน์สอนพระวาจาของพระเจ้าเหมือนอย่างนักบุญเปาโล ท่านสามารถพูดกับสัตบุรุษที่ให้บริการว่า “เป็นข้าพเจ้าเองผู้ให้กำเนิดท่านในพระคริสตเยซูโดยการประกาศข่าวดี”

เมื่อนักบุญเปาโลพูดถึงการให้กำเนิดนั้น มีความหมายลึกซึ้งกว่าการนำความรู้เรื่องข่าวดีไปให้กับประชาชน การที่ประชาชนยอมรับข่าวดีนั้นนำพาพวกเขาไปสู่การรับศีลล้างบาป และการเป็นบุตรแบบเหนือธรรมชาติอย่างที่นักบุญเปาโลกล่าวไว้ในบทจดหมายต่างๆ ว่า “ท่านทั้งหลายได้รับจิตการเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งทำให้ท่านร้องออกมาว่า อับบา พ่อจ๋า” (รม 8:14; กท 4:6)

ดังนั้น พระสงฆ์จึงเป็นผู้แทนหรือศาสนบริกรของพระเจ้าที่ให้กำเนิดชีวิตเหนือธรรมชาติแก่สัตบุรุษ โดยการเทศน์สอนพระวาจาของพระเจ้าและโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ดังนั้น พระสงฆ์จึงเป็น “คุณพ่อ” ทางฝ่ายจิตของสัตบุรุษ เนื่องจากท่านมีส่วนร่วมในความเป็นบิดาของพระเจ้า ด้วยการให้กำเนิดชีวิตพระลงในหัวใจของสัตบุรุษ


แต่พระเยซูเจ้าตรัสไว้มิใช่หรือว่า จำต้องวิงวอนขอและไม่มีใครนอกจากพระเจ้าที่สมควรได้ชื่อว่า “พระบิดา” อย่าเรียกผู้ใดว่า “บิดา” เพราะว่าพระบิดาของท่านมีเพียงพระองค์เดียวคือพระบิดาในสวรรค์” (มธ 23:9) ณ ที่นี้ พระเยซูเจ้าตรัสถึงเกียรติ ตำแหน่งและการคารวะที่ให้แก่ฟาริสีและคัมภีราจารย์ โดยเรียกว่าอาจารย์ (รับบี) คุณพ่อ (อับบา) และครู ดังนั้น บรรดาผู้ติดตามพระองค์จึงต้องปฏิเสธยศศักดิ์ต่างๆ เหล่านี้ และดำเนินชีวิตแบบเป็นพี่น้องกัน

อย่างไรก็ตาม มีธรรมเนียมที่จะเรียกพระสงฆ์ว่า “คุณพ่อ” แต่ก็มิใช่ตำแหน่งอันทรงเกียรติเหมือนอย่าง “มองสิญอร์” คำที่เรียกนั้นมีความหมายลึกซึ้งทางด้านจิตใจอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น กระนั้นก็ดี ธรรมเนียมนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:11-18) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี ผู้เลี้ยงแกะย่อมสละชีวิตเพื่อแกะของตน ลูกจ้างที่ไม่ใช่ผู้เลี้ยง และไม่เป็นเจ้าของแกะ เมื่อเห็นสุนัขป่าเข้ามา ก็ละทิ้งบรรดาแกะและหนีไป สุนัขป่าแย่งชิงแกะ...
วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
23769
23407
90819
203337
306218
35947059
Your IP: 18.219.63.90
2024-04-20 18:34

สถานะการเยี่ยมชม

มี 787 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์