แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

7 คำถาม 7 ข้อสังเกต 

พิธีกรรมวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

เนื้อหา : คุณพ่ออนุสรณ์ แก้วขจร

 

1. ทำไมจึงกำหนดเวลาเป็น “บ่ายสามโมง” 

ปัจจุบัน ในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ วัดแต่ละแห่งจะมีพิธีกรรมสำคัญในเวลาที่เอื้ออำนวยให้สัตบุรุษมาร่วมได้สะดวก จึงมักเป็นเวลาค่ำ ซึ่งถือเป็นเหตุผลเพื่อการอภิบาลที่เหมาะสม   อย่างไรก็ตาม ที่กรุงโรม จะมีพิธีระลึกถึงพระมหาทรมานนี้ ในเวลา "บ่ายสามโมง"  และบางวัดก็มีพิธีกรรมนี้ เวลา "บ่ายสามโมง"   เช่นกัน   มีคำอธิบายว่า ที่กำหนดเวลา "บ่ายสามโมง"   ก็เพราะเป็นเวลาที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ นักบุญลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร  ได้ระบุเวลาไว้เช่นนั้น  คือเวลาบ่ายสามโมง  (ลก 23:44)  "...ม่านในพระวิหารฉีกขาด...  พระเยซูเจ้าทรงร้องเสียงดัง..... แล้วก็สิ้นพระชนม์"   นี่คือเรื่องราวที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์  แต่บ่อยครั้ง พระคัมภีร์ก็ใช้สัญลักษณ์   เพื่อการอธิบายสิ่งที่ลึกซึ้งกว่า  นั่นก็คือ ทำไมต้องเป็น "บ่ายสามโมง"

ในสมัยของพระเยซู  ที่พระวิหาร  ทุกเย็นจะมีการประกอบศาสนกิจ  มีการสวดและถวายเครื่องบูชายามเย็น ซึ่งมีหลายอย่าง รวมทั้งแกะ    ไม่ไกลจากพระวิหาร มีสถานที่ที่ใช้สำหรับเตรียมเครื่องบูชา คือเตรียม "ฆ่าแกะ"  และเวลาที่เขาจะฆ่าแกะ ก็คือเวลา "บ่ายสามโมง" นักบุญลูกาใช้เวลา "บ่ายสามโมง"  เป็นสัญลักษณ์เพื่อเน้นว่า  พระเยซูเจ้า คือ "ลูกแกะ" ที่ถูกฆ่า ทรงหลั่งโลหิตเพื่อไถ่บาปเรา

 

2. วันนี้ ทำไมพระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีจึงกาสุลาสีแดง

วันนี้ เราระลึกถึงพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า รวมถึงการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ บางคนจึงเรียกกันติดปากว่า วันนี้ คือ  "วันพระตาย"  คริสตชนบางคนจึงมักสวมชุดสีดำมาร่วมพิธีกรรมในวันนี้   แต่เหตุใด ประธานและพระสงฆ์ที่ร่วมประกอบพิธีกรรมจึงสวมอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์  "สีแดง"

หากเราย้อนกลับไปก่อนสังคายนาวาติกันที่ 2 ไม่ใช่แค่สัตบุรุษที่สวมชุดสีดำในวันนี้ เพราะพระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีก็สวมอาภรณ์พิธีกรรมสีดำเช่นกัน   ต่อมาภายหลังคือหลังสังคายนาวาติกันที่ 2  มีการกำหนดสีอาภรณ์พิธีกรรมวันนี้ เป็นสีแดง    ทำให้คิดถึง “ลูกแกะที่ถูกฆ่า”  คิดถึงการมอบชีวิตของบรรดาอัครสาวก และมรณสักขี ซึ่งล้วนได้รับแบบอย่างและแรงบันดาลใจจากองค์พระเยซูเจ้า ผู้ทรงยอมตายเพื่อไถ่บาปเรามนุษย์   

นอกจากนี้ ในทางพิธีกรรม สีของอาภรณ์ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของชาวโรมัน   สีแดงสำหรับชาวโรมัน เป็นสีของ "กษัตริย์"     วันอาทิตย์ใบลาน  พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างสง่าแบบที่ทรงเป็นกษัตริย์   วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน     ด้วยข้อกล่าวหาว่าทรงอ้างตนเป็นกษัตริย์ (ซึ่งพระองค์ก็ทรงเป็นกษัตริย์จริง)  ที่กางเขน จึงมีข้อความติดไว้ว่า “เยซู ชาวนาซาเร็ธ กษัตริย์ของชาวยิว”               

 

3. ทำไมประธานจึงนอนหมอบราบที่หน้าพระแท่น

พิธีกรรมวันนี้  ตอนเริ่มพิธี จะไม่มีเสียงเพลง   แต่จะเริ่มด้วยความเงียบ แล้วประธานจะมานอนหมอบราบที่หน้าพระแท่น (หรืออาจจะคุกเข่าแทนก็ได้) การนอนหมอบราบที่หน้าพระแท่นนี้  หมายถึง "การมอบชีวิตทั้งสิ้นแด่พระเจ้า”  และในวันนี้ พระเยซูเจ้าก็ได้ทรงมอบชีวิตแด่พระบิดาเพื่อไถ่บาปเรา เราจะเห็นการหมอบราบนี้เช่นกันในพิธีบวช ทั้งบวชสังฆานุกร พระสงฆ์   และพระสังฆราช 

 

4. ทำไมจึงอ่านบทพระทรมานตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น

เมื่อวันอาทิตย์ใบลาน วันเริ่มต้นสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์  เราได้รับฟังบทพระทรมานกันแล้ว   วันนี้ เราจะมารับฟังกันอีกครั้ง  แต่จะเป็นบทพระทรมานตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น   ทั้งวันอาทิตย์ใบลาน และวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ ต่างเป็นวันที่ระลึกถึงพระทรมานของพระเยซูเจ้า สำหรับการกำหนดให้วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ อ่านบทพระทรมานที่เฉพาะเจาะจงเป็นของนักบุญยอห์นนั้น ก็เพราะเรื่องราวในพระวรสารของผู้บันทึก 3 ท่าน คือ มัทธิว มาร์โก และลูกา จะคล้าย ๆ กัน  ส่วนของนักบุญยอห์นจะแตกต่างไป  ที่ว่าแตกต่างไปนั้น หากเราฟังอย่างตั้งใจ เราจะพบว่า นักบุญยอห์นมุ่งชี้ให้เรามองเห็นท่าทีอันโลเล หวั่นไหว เพราะตกอยู่ในการผจญทั้งของยูดาส ปิลาต เปโตร ฯลฯ ในขณะที่พระเยซูไม่ทรงหวั่นไหว  นักบุญยอห์นต้องการเน้น "ความเป็นพระเจ้า" (Divinity) ของพระเยซู      เมื่อฟังพระทรมานฯ ตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น  เราจึงทั้งรู้สึกและเข้าใจได้ว่า เรื่องราวบนไม้กางเขนจึงไม่ใช่ความพ่ายแพ้ หากแต่เป็นชัยชนะ   ไม่ใช่เพียงความโศกเศร้าอาดูร แต่เป็นความปลื้มปิติในความรัก ในความยิ่งใหญ่ของพระเยซู  ผู้เป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้.   (พระทรมานฯ ตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว, มาร์โก และลูกา จะอ่านในวันอาทิตย์ใบลาน เรียงกันไปแต่ละปี)

 

5. บทภาวนาเพื่อมวลชนมีความพิเศษอย่างไร

บทภาวนาเพื่อมวลชนในวันนี้มีความพิเศษจริง ๆ   มีหลายข้อ มีทั้งบทสวด และการบอกจุดประสงค์ของแต่ละข้อ  สลับกับการนิ่งเงียบ หรือการคุกเข่า ต้องถือว่านี่คือรูปแบบการภาวนาเพื่อมวลชนของคริสตชนแบบดั้งเดิมที่ยังเก็บรูปแบบการภาวนาแบบนี้ไว้ในวันอันแสนพิเศษ คือในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์     เนื้อหาแต่ละข้อกำหนดไว้ให้เราได้สวด ได้คิดถึงพระศาสนจักรอย่างเฉพาะเจาะจง และยังเพื่อสังคมส่วนรวม อย่างไรก็ตาม สามารถตัด และเพิ่มได้ตามที่เห็นเหมาะสม     มีการหยุดรำพึง เป็นจังหวะ เป็นข้อ ๆ  ให้ที่ชุมนุมได้มีส่วนร่วมในการภาวนานี้ ทั้งด้วยความเงียบ และการคุกเข่า

 

6. ทำไมจึงมีกางเขนเพียงหนึ่งเดียว

หัวใจสำคัญของพิธีในวันนี้ คือการนมัสการกางเขน และเป็นกางเขนที่มีพระเยซูถูกตรึงอยู่  ดังที่หนังสือคู่มือการฉลองพิธีกรรมได้แนะนำไว้ ว่าควรเป็นกางเขนที่มีขนาดใหญ่พอให้ประชาสัตบุรุษมองเห็น และควรมีรูปพระเยซูถูกตรึงอยู่ (Crucifix Cross)  เพื่อเวลาที่เข้ามานมัสการ ประชาสัตบุรุษจะได้สัมผัสพระหัตถ์และพระบาทของพระเยซูเจ้า   พิธีกรรมแนะนำอย่างแข็งขันว่าให้มีกางเขนเดียว เพื่อความเป็นหนึ่ง   :   กางเขนหนึ่งเดียวที่รวมใจสัตบุรุษเป็นหนึ่งเดียวกัน

 

7.วันนี้ไม่มีมิสซาแต่ทำไมยังมีการรับศีลมหาสนิท

ต้องย้อนกลับไปเมื่อวานตอนค่ำ ที่มีมิสซาระลึกถึงการเลี้ยงของพระเยซูเจ้า ซึ่งก็คือการฉลองการตั้งศีลมหาสนิท   เหตุการณ์ที่โต๊ะอาหาร ที่พระองค์ตรัสว่า  "นี่คือกายของเรา นี่คือถ้วยโลหิตของเรา.. ที่จะมอบเพื่อท่าน.." นั้น เชื่อมโยงอย่างแนบแน่น และสมบูรณ์ ด้วยเหตุการณ์บนไม้กางเขน   พิธีกรรมสองวันนี้ จึงต่อเนื่องกันมิสซาคืนวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์

พระสงฆ์จึงเสกแผ่นปังเผื่อไว้สำหรับให้พี่น้องสัตบุรุษได้รับในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์  และการรับศีลหลังการฟังพระทรมาน หลังการนมัสการไม้กางเขนทำให้เรามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดกับธรรมล้ำลึกนี้ คือ  พระองค์ได้มอบชีวิตแก่เรา และเราได้รับพระองค์มาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
18129
13335
61772
174290
306218
35918012
Your IP: 18.221.235.209
2024-04-19 19:19

สถานะการเยี่ยมชม

มี 373 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์