แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ตอน 3 การปรับปรุงแก้ไขพิธีกรรม
21. เพื่อประชากรคริสตชนจะได้รับพระหรรษทานอย่างอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นจากพิธีกรรม พระศาสนจักร มารดาศักดิ์สิทธิ์ มีความประสงค์ที่จะปรับปรุงแก้ไขพิธีกรรมทั่วไปอย่างจริงจัง พิธีกรรมประกอบด้วยส่วนที่พระเจ้าทรงกำหนดจึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และประกอบด้วยส่วนที่เปลี่ยนแปลงได้ ส่วนนี้เมื่อเวลาล่วงไปอาจหรือต้องเปลี่ยนแปลง ถ้าบังเอิญมีองค์ประกอบที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของพิธีกรรมหรือไม่เหมาะสมอีกต่อไปสอดแทรกเข้ามา
    ในการปรับปรุงแก้ไขนี้ จำเป็นต้องจัดตัวบทและจารีตพิธีใหม่ เพื่อให้แสดงความหมายของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ปรากฏชัดยิ่งขึ้น  เพื่อให้ประชากรคริสตชนเข้าใจความหมายได้ง่ายและสมบูรณ์เท่าที่จะเป็นได้ เขาจะได้ร่วมพิธีอย่างแข็งขันเต็มเปี่ยมร่วมกัน
    ดังนั้น สภาสังคายนา จึงกำหนดกฎเกณฑ์ดังต่อไปนี้
    (ก) กฎเกณฑ์ทั่วไป

การจัดการเรื่องพิธีกรรมเป็นสิทธิของผู้ปกครองพระศาสนจักร
22. 1) การออกกฎข้อบังคับเกี่ยวกับพิธีกรรมเป็นอำนาจของพระศาสนจักรเท่านั้น กล่าวคือ เป็นอำนาจของสันตะสำนัก และเป็นอำนาจของพระสังฆราชตามที่กฎหมายกำหนด
     2) โดยอำนาจตามกฎหมาย การออกข้อบังคับสำหรับพิธีกรรมในบางเรื่องที่เจาะจง ยังขึ้นอยู่กับสภาพระสังฆราชที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รับการแต่งตั้งขึ้นตามเขตต่างๆโดยชอบด้วยกฎหมาย
   3)  ดังนั้น  บุคคลอื่น แม้พระสงฆ์ จะเพิ่ม ตัดออก หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดในพิธีกรรมตามอำเภอใจตนเองไม่ได้เลย
ธรรมประเพณีที่ดีงามและความก้าวหน้าอันชอบธรรม

23. เพื่อรักษาธรรมประเพณีที่ดีงามไว้ และเพื่อเปิดทางสำหรับความก้าวหน้าอันชอบธรรม จะต้องตรวจสอบแต่ละส่วนของพิธีกรรมที่จะต้องแก้ไขนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนเสมอ  ในด้านเทววิทยา ประวัติศาสตร์ และการอภิบาล นอกจากนั้นจะต้องคำนึงถึงทั้งกฎทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างและเจตนารมณ์ของพิธีกรรม รวมทั้งประสบการณ์ที่ได้มาจากการฟื้นฟูพิธีกรรมที่เพิ่งทำไปแล้ว และจากอนุญาตพิเศษที่สันตะสำนักออกให้แก่หลายๆพื้นที่ ในที่สุด อย่าให้มีการริเริ่มใดๆ นอกจากว่าการริเริ่มเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แท้จริงแน่นอนแก่พระศาสนจักร ในกรณีเช่นนี้ จะต้องเอาใจใส่ให้รูปแบบใหม่ๆนี้พัฒนาขึ้นมาอย่างกลมกลืนจากรูปแบบที่มีอยู่แล้ว
    ยังต้องเอาใจใส่หลีกเลี่ยงเท่าที่จะทำได้ มิให้จารีตต่างๆที่ใช้ในเขตใกล้เคียงนั้นแตกต่างกันมากเกินไป

พระคัมภีร์และพิธีกรรม
24. พระคัมภีร์มีความสำคัญอย่างยิ่งในการประกอบพิธีกรรม เพราะพระคัมภีร์เป็นที่มาของบทอ่านที่อ่านและอธิบายในบทเทศน์  และของเพลงสดุดีที่ใช้ขับร้อง คำอธิษฐานภาวนา บทวอนขอ และบทเพลงสรรเสริญในพิธีกรรม ล้วนได้รับแรงบันดาลใจและเจตนารมณ์จากพระคัมภีร์ทั้งสิ้น กิจกรรมและสัญลักษณ์ต่างๆในพิธีกรรมก็ได้รับความหมายมาจากพระคัมภีร์ด้วย ดังนั้น เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงแก้ไข ความก้าวหน้า และการดัดแปลงพิธีกรรม จำเป็นต้องส่งเสริมให้มีความรักซาบซึ้งและแข็งขันต่อพระคัมภีร์ ซึ่งธรรมประเพณีน่าเคารพของจารีตทั้งตะวันออกและตะวันตกเป็นพยานยืนยันอยู่แล้ว

การตรวจชำระหนังสือพิธีกรรม
25. หนังสือพิธีกรรมจะต้องได้รับการตรวจชำระโดยเร็วที่สุด โดยผู้เชี่ยวชาญ หลังจากปรึกษากับบรรดาพระสังฆราชท้องถิ่นต่างๆ ทั่วโลกแล้ว
    (ข) กฎเกณฑ์จากลักษณะของพิธีกรรมที่เป็นกิจการมีลำดับขั้นและเป็นกิจการของทุกคนที่ร่วมพิธี
26. พิธีกรรมไม่ใช่กิจการของแต่ละคนเป็นส่วนตัว แต่เป็นการเฉลิมฉลองของพระศาสนจักร ซึ่งเป็น “เครื่องหมายแสดงเอกภาพ” กล่าวคือ ประชากรศักดิ์สิทธิ์ที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว และอยู่ใต้ปกครองของบรรดาพระสังฆราช
    ดังนั้น พิธีกรรมจึงเป็นกิจกรรมของพระศาสนจักรทั้งหมดที่รวมกันเป็นพระกายทิพย์ แสดงให้เห็นและก่อให้เกิดพระกายนี้ แต่สมาชิกแต่ละคนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนี้โดยวิธีการ สถานภาพ หน้าที่ และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในรูปแบบต่างๆ
ควรประกอบพิธีกรรมร่วมกันดีกว่าประกอบส่วนตัว
27. ทุกครั้งที่พิธีต่างๆ ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละพิธี เรียกร้องให้มีการเฉลิมฉลองส่วนรวม โดยที่สัตบุรุษทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน จึงต้องย้ำเท่าที่ทำได้ว่า การฉลองแบบนี้ดีกว่าการเฉลิมฉลองเป็นเอกเทศซึ่งเป็นกิจกรรมส่วนตัว
    ควรปฏิบัติเช่นนี้โดยเฉพาะเมื่อประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ แม้ว่าทุกมิสซาในตัวเองมีลักษณะเป็นส่วนรวมของสังคมอยู่แล้วก็ตาม และควรปฏิบัติเช่นนี้เมื่อโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ด้วย

การประกอบพิธีกรรมอย่างมีศักดิ์ศรี
28. ในพิธีกรรม แต่ละคน ทั้งศาสนบริกรและสัตบุรุษผู้มีหน้าที่ต้องทำเฉพาะหน้าที่นั้นทั้งหมดซึ่งเป็นของตน ตามลักษณะของพิธีและตามกฎของพิธีกรรม
การอบรมให้มีจิตตารมณ์พิธีกรรม
29. ผู้ช่วยพิธี ผู้อ่าน ผู้อธิบายพิธี และคณะนักขับร้อง ต่างมีส่วนในพิธีกรรมอย่างแท้จริง ดังนั้น เขาควรทำหน้าที่ของตนด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างจริงใจและด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย สมกับศาสนบริกรที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ และสมกับที่ประชากรของพระเจ้ามีสิทธิที่จะเรียกร้องให้เขาปฏิบัติ
    ดังนั้น บุคคลเหล่านี้ต้องได้รับการอบรมให้มีจิตตารมณ์ของพิธีกรรมตามส่วนที่เหมาะกับตน และเขาต้องได้รับการอบรมให้ทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องตามกฎและมีระเบียบ

การมีส่วนร่วมพิธีอย่างแข็งขัน
30. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมพิธีกรรมอย่างแข็งขัน ควรเอาใจใส่ให้สัตบุรุษมีส่วนในการร้องรับ การตอบ การขับร้องเพลงสดุดี บทสร้อย บทเพลงสรรเสริญต่างๆ รวมทั้งกิจการอากัปกิริยาและอิริยาบถของร่างกาย ให้ทุกคนเงียบสงบด้วยความเคารพในเวลาที่เหมาะสมด้วย
31. ในการตรวจชำระหนังสือพิธีกรรม ให้เอาใจใส่กวดขันให้มีกฎจารีตกำหนดบทบาทของสัตบุรุษไว้ด้วย

พิธีกรรมและสถานะทางสังคม
32. ในพิธีกรรมต้องไม่มีการให้เกียรติแก่บุคคลใดเป็นพิเศษตามสถานภาพส่วนตัวหรือในสังคม ทั้งในการประกอบพิธีและในการตกแต่งอย่างสง่างามภายนอก เว้นแต่ในกรณีความแตกต่างตามบทบาทหน้าที่ในพิธีกรรมและจากขั้นต่างๆ ของศีลบวช รวมทั้งเกียรติที่กฎพิธีกรรมกำหนดไว้สำหรับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
 (ค.) กฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นตามลักษณะของพิธีกรรมในด้านการอบรมและการอภิบาล
33. แม้พิธีกรรมเป็นการนมัสการพระเดชานุภาพของพระเจ้าโดยเฉพาะ แต่ก็ยังมีคุณค่ายิ่งใหญ่ในการอบรมประชากรผู้มีความเชื่ออีกด้วย ในพิธีกรรมพระเจ้าตรัสกับประชากรของพระองค์ พระคริสตเจ้ายังทรงประกาศข่าวดี ประชากรก็ยังตอบพระเจ้าด้วยการขับร้องและอธิษฐานภาวนา
    ยิ่งกว่านั้น คำอธิษฐานภาวนาที่พระสงฆ์ผู้เป็นประธานของผู้ชุมนุมในฐานะที่เป็นองค์พระคริสตเจ้าทูลถวายแด่พระเจ้านั้น กล่าวในนามของประชากรศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด และในนามของผู้ที่ร่วมชุมนุมทุกคน ในที่สุด เครื่องหมายที่แลเห็นได้ซึ่งพิธีกรรมใช้เพื่อหมายถึงสิ่งที่แลเห็นไม่ได้ของพระเจ้านั้น ก็เป็นเครื่องหมายที่พระคริสตเจ้าทรงเลือกหรือพระศาสนจักรเลือก ดังนั้น มิใช่เฉพาะเมื่อเราอ่าน “สิ่งที่เขียนไว้สำหรับสั่งสอนเรา” (รม.15:4) เท่านั้น แต่เมื่อพระศาสนจักรอธิษฐานภาวนา ขับร้อง หรือประกอบกิจกรรม ความเชื่อของบรรดาผู้ที่มาร่วมพิธีก็ได้รับการหล่อเลี้ยง จิตใจของเขาถูกยกขึ้นไปหาพระเจ้าเพื่อถวายคารวกิจฝ่ายจิต และได้รับพระหรรษทานของพระองค์อย่างอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
    ดังนั้น เมื่อจะปรับปรุงแก้ไขพิธีกรรม ให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทั่วไปดังต่อไปนี้

จารีตพิธีต้องสง่างามและเรียบง่าย
34. จารีตพิธีต้องมีลักษณะสง่างามและเรียบง่าย น่าเลื่อมใสและกะทัดรัด ชัดเจนและไม่ซ้ำซากโดยไร้ประโยชน์ จารีตพิธีจะต้องปรับให้เหมาะกับความเข้าใจของสัตบุรุษ และโดยทั่วไปไม่ต้องการคำอธิบายมากนัก
พระคัมภีร์ การเทศน์อธิบายพระคัมภีร์และการสอนเรื่องพิธีกรรม
35. เพื่อให้ข้อความและจารีตพิธีปรากฏชัดว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
    1) ในการประกอบพิธีกรรมจะต้องรื้อฟื้นให้มีการอ่านพระคัมภีร์มากขึ้น มีความหลากหลายและสอดคล้องกับโอกาสมากยิ่งขึ้น
    2) เนื่องด้วยการเทศน์เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม คำอธิบายพิธีกรรมจึงต้องกำหนดว่าเวลาใดเหมาะที่สุดสำหรับการเทศน์ เท่าที่พิธีกรรมจะอำนวย การเทศน์เป็นศาสนบริการที่จะต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องและซื่อสัตย์ที่สุด นอกจากนั้น เนื้อหาคำเทศน์ส่วนใหญ่จะต้องเอามาจากพระคัมภีร์และพิธีกรรม เป็นการประกาศพระราชกิจน่าพิศวงของพระเจ้าในประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น คือ พระธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้า ซึ่งยังเป็นปัจจุบันและทำงานในตัวเราอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประกอบพิธีกรรม
    3) ควรใช้วิธีการต่างๆให้การอบรมสัตบุรุษเกี่ยวกับพิธีกรรมโดยเฉพาะ และถ้าจำเป็น พระสงฆ์หรือศาสนบริกรที่มีความรู้อาจให้คำอธิบายสั้นๆ ในเวลาที่เหมาะสมระหว่างการประกอบพิธีก็ได้ แต่จะต้องใช้ถ้อยคำที่กำหนดไว้แล้วหรือที่คล้ายกัน
    4) ควรสนับสนุนให้มีวจนพิธีกรรม ในพิธีเตรียมฉลองวันสมโภชในวันธรรมดาบางวันของเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าและมหาพรต ในวันอาทิตย์และวันฉลองต่างๆ ควรใช้พิธีนี้โดยเฉพาะในสถานที่ที่ไม่มีพระสงฆ์ ในกรณีเช่นนี้ให้สังฆานุกรหรือผู้ได้รับอำนาจจากพระสังฆราชเป็นประธานวจนพิธีกรรม

ภาษาละตินและภาษาท้องถิ่นในพิธีกรรม
36. 1) ให้รักษาการใช้ภาษาละตินไว้ในจารีตละติน เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับสิทธิพิเศษเป็นอย่างอื่น
      2) ถึงกระนั้น ทั้งในมิสซา ในการประกอบศีลศักดิ์สิทธิ์ และในส่วนอื่นของพิธีกรรม หลายครั้งการใช้ภาษาท้องถิ่นอาจมีประโยชน์มากแก่ประชาชน ดังนั้น จึงอนุญาตให้ใช้ภาษาท้องถิ่นได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในบทอ่านและคำตักเตือน ในบทภาวนาและบทขับร้องบางบท ทั้งนี้ โดยปฏิบัติตามกฎซึ่งจะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ในบทต่อไป เป็นเรื่องๆ
      3) ในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้ เป็นหน้าที่ของผู้มีอำนาจปกครองพระศาสนจักรท้องถิ่นตามที่กล่าวไว้ในข้อ 22 # 2 ที่จะกำหนดว่าจะใช้ภาษาท้องถิ่นหรือไม่ และจะใช้มากน้อยเพียงไร โดยปรึกษาพระสังฆราชของสังฆมณฑลใกล้เคียงที่ใช้ภาษาเดียวกันถ้าจำเป็น ข้อตกลงดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบหรือการรับรองจากสันตะสำนักเสียก่อน 
     4) คำแปลตัวบทภาษาละตินเป็นภาษาท้องถิ่นสำหรับใช้ในพิธีกรรม ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจปกครองพระศาสนจักรท้องถิ่นตามที่กล่าวไว้แล้วข้างบนนี้

(ง) กฎเกณฑ์สำหรับปรับปรุงพิธีกรรมให้เข้ากับวัฒนธรรมและประเพณีของชนชาติต่างๆ
37. ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับความเชื่อหรือคุณประโยชน์ส่วนรวมของทั้งชุมชน พระศาสนจักรไม่ปรารถนาที่จะวางข้อบังคับให้ปฏิบัติแบบเดียวกันอย่างเคร่งครัด แม้ในเรื่องพิธีกรรม ยิ่งกว่านั้น พระศาสนจักรยังเคารพและส่งเสริมคุณลักษณะและพรสวรรค์เฉพาะของเชื้อชาติและประชากรต่างๆ สิ่งใดในขนบธรรมเนียมของชนชาติเหล่านี้ที่ไม่ยึดติดกับการถือนอกรีตหรือความหลงผิดอย่างแยกไม่ออก พระศาสนจักรก็ยินดีให้คุณค่า และถ้าทำได้ ยังช่วยบำรุงรักษาไว้เป็นอย่างดีด้วย ยิ่งกว่านั้น บางครั้งพระศาสนจักรยังรับเข้ามาใช้ในพิธีกรรม ถ้าขนบธรรมเนียมนั้นประสานกลมกลืนกับจิตตารมณ์แท้จริงของพิธีกรรม
38. เมื่อมีการตรวจชำระหนังสือพิธีกรรม อนุญาตให้มีความหลากหลายอันชอบธรรมในการปรับปรุงให้เหมาะกับชุมชนท้องถิ่นและประชากรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดนมิสซัง  โดยยังรักษาเอกภาพแท้จริงของจารีตโรมันไว้ ควรคำนึงถึงหลักการนี้ในการจัดวางโครงสร้างของจารีตพิธีและในการกำหนดคำแนะนำหารประกอบพิธีด้วย
39. ภายในขอบเขตที่มีกำหนดไว้ในหนังสือพิธีกรรมฉบับมาตรฐานให้เป็นหน้าที่ของผู้มีอำนาจปกครองพระศาสนจักรท้องถิ่น ตามที่กล่าวถึงในข้อ 22 # 2 ที่จะกำหนดขอบเขตการปรับปรุงโดยเฉพาะการประกอบศีลศักดิ์สิทธิ์ สิ่งคล้ายศีล การแห่ ภาษาที่ใช้ในพิธีกรรม ดนตรีและศิลปะศักดิ์สิทธิ์ ทั้งนี้ โดยปฏิบัติตามกฎเกณฑ์พื้นฐานที่กำหนดไว้ในธรรมนูญนี้ 

การปรับปรุงพิธีกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป
40. เนื่องจากในบางสถานที่และบางสถานการณ์ จำเป็นเร่งด่วนกว่าปกติที่จะต้องปรับปรุงพิธีกรรมอย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากมากขึ้น จึงขอให้ปฏิบัติดังนี้
1) ผู้มีอำนาจปกครองพระศาสนจักรท้องถิ่นตามที่กล่าวไว้ข้อ 22 # 2 จะต้องพิจารณาอย่างเอาใจใส่และรอบคอบ ดูว่ามีสิ่งใดในประเพณีและวัฒนธรรมของชนแต่ละชาติ ที่จะนำมาใช้ในคารวกิจต่อพระเจ้าได้บ้าง การปรับปรุงใดๆที่เห็นว่ามีประโยชน์หรือจำเป็นจะต้องเสนอให้สันตะสำนักอนุมัติเห็นชอบก่อน จึงจะใช้ได้
2) เพื่อให้การปรับปรุงนี้ดำเนินไปด้วยความรอบคอบเท่าที่ควร สันตะสำนักจึงให้อำนาจแก่ผู้ปกครองพระศาสนจักรท้องถิ่น ที่จะอนุญาตและควบคุมการทดลองเบื้องต้นถ้าจำเป็น ในบางกลุ่มที่มีความพร้อม ภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ได้
3) เนื่องจากว่า การปรับปรุงกฎพิธีกรรมมักประสบความยุ่งยากพิเศษหลายประการ โดยเฉพาะในดินแดนมิสซัง ดังนั้น จึงต้องมีการปรึกษาบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์เรื่องพิธีกรรม

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 12:44-50) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสเสียงดังว่า “ผู้ที่เชื่อในเรา ไม่ได้เชื่อในเราเท่านั้น แต่ยังเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามาด้วย ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา เราเข้ามาในโลกเป็นแสงสว่าง...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:22-30) เวลานั้นเป็นเทศกาลฉลองพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม และเป็นฤดูหนาว พระเยซูเจ้าทรงพระดำเนินอยู่ในพระวิหารที่เฉลียงซาโลมอน ชาวยิวมาล้อมพระองค์ไว้ ทูลว่า “ท่านจะปล่อยให้ใจของพวกเราสงสัยอยู่นานเท่าใด ถ้าท่านเป็นพระคริสตเจ้า ก็จงบอกพวกเราให้ชัดเจนเถิด”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
7252
9039
48410
257943
306218
36001665
Your IP: 13.58.252.8
2024-04-24 15:07

สถานะการเยี่ยมชม

มี 284 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์