แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

“บรรดาผู้อภิบาลจึงต้องพยายามสุดความสามารถในงานอภิบาลทั้งหมด ที่จะให้ผู้มีความเชื่อได้รับการอบรมอย่างเหมาะสม  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความสำคัญอันดับแรกแก่การอบรมเรื่องพิธีกรรม” (SC 14)
    สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ทรงปรารถนาให้สภาสังคายนาเกี่ยวกับการอภิบาล และวาติกันที่ 2 ยังคงรักษาสาระสำคัญของคุณสมบัติประการนี้จนถึงที่สุด บรรดาพระสังฆราชผู้เข้าร่วมประชุมทราบดีถึงสภาพแท้จริงของบรรดาผู้มีความเชื่อในสังฆมณฑลของตน และเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องให้การอบรมด้านพิธีกรรมที่ถูกต้องแก่ประชาชน ในข้อ 14 ถึง 20 ของธรรมนูญ SC บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมจึงเสนอแผนการอบรมด้านพิธีกรรมทั้งสำหรับประชาชนและสำหรับคณะสงฆ์ ซึ่งก็ต้องได้รับการอบรมก่อนที่จะไปอบรมผู้อื่นได้ สภาสังคายนาฯกล่าวไว้ดังนี้ว่า

    “จุดประสงค์นี้จะบรรลุถึงไม่ได้ ถ้าบรรดาผู้อภิบาลเองไม่เป็นคนแรกที่มุ่งมั่นจะซึมซับจิตตารมณ์และพลังของพิธีกรรม และกลับเป็นครูสอนผู้อื่นในเรื่องนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความสำคัญอันดับแรกแก่การอบรมเรื่องพิธีกรรมสำหรับบรรดาบรรพชิต” (SC 14)
    ใครจะเป็นผู้ให้ความรู้แก่บรรดาผู้อภิบาล?
    ดังนั้น สภาสังคายนาจึงกำหนดข้อปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้ (SC 14)
    “บรรดาพระสงฆ์ทั้งที่สังกัดสังฆมณฑลและในสถาบันนักบวช ซึ่งทำงานในสวนองุ่นของพระเจ้าแล้ว ต้องได้รับความช่วยเหลือด้วยวิธีการเหมาะสมทุกอย่างเพื่อจะได้เข้าใจความหมายของพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่เขาประกอบให้สมบูรณ์ยิ่งๆขึ้น เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตตามพิธีกรรมและถ่ายทอดชีวิตนี้แก่บรรดาผู้มีความเชื่อที่เขาได้รับมอบหมายให้ดูแล” (SC 18)
    เรื่องนี้เป็นความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติโดยเร่งด่วนทันที แต่สภาสังคายนาฯ ก็พิจารณาถึงรากของปัญหา นั่นคือการให้การอบรมพิธีกรรมในระดับสามเณราลัย การปฏิรูปพิธีกรรมของวาติกันที่ 2 เป็นโครงการระยะยาว บรรดาพระสงฆ์รุ่นใหม่จะเป็นพลังสำคัญเบื้องหลังการใช้พิธีกรรมเพื่อฟื้นฟูพระศาสนจักร
    “ในสามเณราลัยและบ้านนักบวช บรรดาบรรพชิตจะต้องได้รับการอบรมด้านพิธีกรรมในชีวิตจิต ดังนั้น เขาจะต้องได้รับความรู้อย่างเหมาะสมให้เข้าใจจารีตพิธีเป็นอย่างดี และร่วมพิธีกรรมอย่างสุดจิตใจ เขาจะต้องประกอบพิธีเฉลิมฉลองธรรมล้ำลึกศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจศรัทธาอื่นๆที่ซึมซับจิตตารมณ์ของพิธีกรรม ยิ่งกว่านั้น เขาต้องเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตามกฎพิธีกรรม เพื่อชีวิตในสามเณราลัยและสถาบันนักบวชจะได้ซึมซับจิตตารมณ์พิธีกรรมอย่างลึกซึ้ง” (SC 17)
    “ผู้ได้รับมอบหมายให้สอนพิธีกรรมในสามเณราลัย สำนักศึกษาของนักบวช และคณะเทววิทยาของมหาวิทยาลัย ต้องได้รับการอบรมเป็นพิเศษในวิชานี้ เพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างดีในสถาบันที่ได้รับมอบหมายให้สอน” (SC 15)
    “วิชาพิธีกรรมในสามเณราลัยและในสำนักศึกษาของนักบวช ต้องถือว่าเป็นวิชาหนึ่งในกลุ่มวิชาที่จำเป็นและมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ส่วนในคณะเทววิทยาของมหาวิทยาลัย ต้องถือว่าเป็นวิชาเอกวิชาหนึ่ง ที่จะต้องสอนทั้งในด้านเทววิทยาและประวัติศาสตร์ ทั้งด้านชีวิตจิต ด้านการอภิบาลและด้านกฎหมาย ยิ่งกว่านั้น อาจารย์ที่สอนวิชาอื่นๆ โดยเฉพาะเทววิทยาด้านพระสัจธรรม พระคัมภีร์ เทววิทยาด้านชีวิตจิต และการอภิบาล ต้องพยายามอธิบายพระธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าและประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นตามทัศนะเฉพาะของแต่ละวิชา ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาที่ตนสอนกับพิธีกรรม และดังนี้เอกภาพของการอบรมพระสงฆ์จะปรากฏแจ้งชัด” (SC 16)
    บรรดาพระสังฆราชผู้เข้าร่วมประชุมก้าวหน้าลึกลงไปอีกก้าว หนึ่งในวิธีการให้การอบรมด้านพิธีกรรม โดยยืนยันถึงหลักการให้การอบรมที่สำคัญยิ่งข้อหนึ่งว่า “ครูสอนที่ให้การอบรมเรื่องพิธีกรรมได้ดีที่สุดก็คือพิธีกรรมเอง”
    “แม้พิธีกรรมเป็นการนมัสการพระเดชานุภาพของพระเจ้าโดยเฉพาะ แต่ก็ยังมีคุณค่ายิ่งใหญ่ในการอบรมประชากรผู้มีความเชื่ออีกด้วย ในพิธีกรรม พระเจ้าตรัสกับประชากรของพระองค์ พระคริสตเจ้ายังทรงประกาศข่าวดี ประชากรก็ยังตอบพระเต้าด้วยการขับร้องและอธิษฐานภาวนา ยิ่งกว่านั้น คำอธิษฐานภาวนาที่พระสงฆ์ผู้เป็นประธานของผู้ชุมนุมในฐานะที่เป็นองค์พระคริสตเจ้าทูลถวายแด่พระเจ้านั้น กล่าวในนามของประชากรศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด และในนามของผู้ที่ร่วมชุมนุมทุกคน ในที่สุด เครื่องหมายที่แลเห็นได้ซึ่งพิธีกรรมใช้เพื่อหมายถึงสิ่งที่แลเห็นไม่ได้ของพระเจ้านั้น ก็เป็นเครื่องหมายที่พระคริสตเจ้าทรงเลือกหรือพระศาสนจักรเลือก ดังนั้น มิใช่เฉพาะเมื่อเราอ่าน “สิ่งที่เขียนไว้สำหรับสั่งสอนเรา” (รม 15:4) เท่านั้น แต่เมื่อพระศาสนจักรอธิษฐานภาวนา ขับร้อง หรือประกอบกิจกรรม ความเชื่อของบรรดาผู้ที่มาร่วมพิธีก็ได้รับการหล่อเลี้ยง จิตใจของเขาถูกยกขึ้นไปหาพระเจ้าเพื่อถวายคารวกิจฝ่ายจิต และได้รับพระหรรษทานของพระองค์อย่างอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น”  (SC 33)
    การประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ก็มีการสั่งสอนสำหรับผู้ร่วมพิธีได้อย่างมากด้วย จุดประสงค์ของศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ก็คือเพื่อบันดาลความศักดิ์สิทธิ์แก่เราและเพื่อถวายเกียรติแด่พระเจ้า แต่ว่า “ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายยังมีจุดประสงค์เพื่อให้การสั่งสอนอบรมด้วย ผู้รับศีลต้องมีความเชื่ออยู่ก่อนแล้ว แต่ถ้อยคำและจารีตพิธีของศีลศักดิ์สิทธิ์ก็ยังหล่อเลี้ยง  เสริมพลังและแสดงความเชื่อให้ปรากฏด้วย เพราะเหตุนี้ ศีลศักดิ์สิทธิ์จึงได้ชื่อว่า “ศีลแห่งความเชื่อ” (SC 59)
    สภาสังคายนาฯ ยังเสนอการปรับปรุงที่มีเจตนาด้านอภิบาล เพื่อหล่อเลี้ยงการที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันและได้รับการอบรมด้านพิธีกรรมอีกด้วย
    “ควรใช้วิธีการต่างๆ ให้การอบรมสัตบุรุษเกี่ยวกับพิธีกรรมโดยเฉพาะ และถ้าจำเป็น พระสงฆ์หรือศาสน บริกรที่มีความรู้อาจให้คำอธิบายสั้นๆ ในเวลาที่เหมาะสมระหว่างการประกอบพิธีก็ได้ แต่จะต้องใช้ถ้อยคำที่กำหนดไว้แล้วหรือที่คล้ายกัน”  (SC 35,3)
    ที่นี่น่าสังเกตข้อความที่ถูกใช้บ่อยๆ ในหนังสือพิธีกรรมฉบับใหม่ คือข้อความที่ว่า “โดยใช้ถ้อยคำที่กำหนดไว้หรือที่คล้ายกัน” ซึ่งหมายความว่า พระสงฆ์หรือศาสนบริกรเฉพาะอาจอ่านถ้อยคำที่พิมพ์ไว้ในหนังสือ หรืออาจใช้คำพูดของตนเองกล่าวแสดงความคิดเดียวกัน
    อันที่จริง เจตนาของการปฏิรูปพิธีกรรมของสภาสังคายนาที่เมืองเตร็นท์ก็คือ เพื่อทำให้จารีตพิธีเรียบง่ายและชัดเจนจนสอนผู้ร่วมพิธีได้
    “จารีตพิธีต้องมีลักษณะสง่างามและเรียบง่ายน่าเลื่อมใสและกะทัดรัด ชัดเจนและไม่ซ้ำซากโดยไร้ประโยชน์ จารีตพิธีจะต้องปรับให้เหมาะกับความเข้าใจของสัตบุรุษ และโดยทั่วไปไม่ต้องการคำอธิบายมากนัก” (SC 34)
    “บรรดาผู้อภิบาลต้องมีความกระตือรือร้นและพากเพียรที่จะให้การอบรมด้านพิธีกรรมแก่ผู้มีความเชื่อ เพื่อเขาจะร่วมพิธีกรรมได้อย่างแข็งขันทั้งในด้านจิตใจและภายนอก โดยคำนึงถึงอายุ สภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต และระดับความรู้ทางศาสนาของผู้ได้รับการอบรม ถ้าบรรดาผู้อภิบาลทำเช่นนี้ได้  เขาก็จะปฏิบัติหน้าที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งให้สำเร็จในฐานะเป็นผู้แจกจ่ายธรรมล้ำลึกของพระเจ้าอย่างซื่อสัตย์ ในเรื่องนี้เขาจะต้องนำประชากรที่เขาอภิบาลดูแล ไม่ใช่ด้วยคำพูดเท่านั้น แต่โดยแบบอย่างที่ดีด้วย” (SC 19)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
15535
13335
59178
171696
306218
35915418
Your IP: 3.17.150.89
2024-04-19 16:57

สถานะการเยี่ยมชม

มี 837 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์