แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

การมีส่วนร่วมการประกอบพิธีกรรมอย่างแข็งขันของประชาชน
    การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันเป็นเสียงเรียกร้องของขบวนการพิธีกรรมในยุโรป ขบวนการพิธีกรรมแนะนำให้ประชาชนใช้หนังสือมิสซาเป็นเครื่องมือทางปฏิบัติเพื่อช่วยให้ประชาชนอ่านข้อความที่พระสงฆ์กำลังกล่าวหรืออ่านเป็นภาษาละตินจากหนังสือมิสซาเป็นภาษาของตน เรื่องนี้นับได้ว่าเป็นก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าวแล้ว แต่ก็ยังไม่ใช่การมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง

    เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ.1904 สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 10 ในพระสมณสาสน์ ‘TRA LE SOLLECITUDINI’ ทรงคิดประดิษฐ์วลีหนึ่งที่ดึงดูดอย่างมาก เพื่อหมายถึงการที่สัตบุรุษมีส่วนร่วมในพิธีกรรมคือวลีว่า ‘actuosa partecipatio’  หรือ “การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน” ขบวนการพิธีกรรมได้รับเอาวลีนี้มาเป็นธงของขบวนการ บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมสภาสังคายนาฯ ได้รับวลีนี้ และวลีนี้ก็ได้เป็นความคิดที่พบได้ตลอดเวลาในธรรมนูญเรื่องพิธีกรรม ความคิดนี้ได้รับการกล่าวถึงโดยใช้วิธีพูดต่างๆที่หลากหลาย เช่น “บรรดาผู้มีความเชื่อจะมีส่วนร่วมประกอบพิธีกรรมอย่างเต็มที่และอย่างแข็งขัน” (sc 14) , จะได้ร่วมกิจกรรมศักดิ์สิทธิ์อย่างรู้สำนึก อย่างเลื่อมใสศรัทธาและแข็งขัน” (SC 48), ทั้งในด้านจิตใจและภายนอก (SC 19) ฯลฯ
    สภาสังคายนาฯ ให้ความสำคัญอย่างมากแก่การที่ประชาชนมีส่วนร่วมพิธีกรรมอย่างแข็งขันจนเรื่องนี้กลายเป็นมาตรการของการปฏิรูปพิธีกรรม
    “การปรับปรุงแก้ไขและส่งเสริมพิธีกรรมต้องมีจุดประสงค์ก่อนอื่นหมด ที่จะให้ประชากรทั้งหมดร่วมพิธีกรรมอย่างเต็มที่และอย่างแข็งขัน เพราะพิธีกรรมเป็นบ่อเกิดแรกและจำเป็นที่ผู้มีความเชื่อจะตักตวงชีวิตจิตแบบคริสตชนอย่างแท้จริง ดังนั้น บรรดาผู้อภิบาลจึงต้องพยายามสุดความสามารถในงานอภิบาลทั้งหมด ที่จะให้ผู้มีความเชื่อได้รับการอบรมอย่างเหมาะสม” (SC 14)
    งานอภิบาลที่จำเป็นเพื่อให้สัตบุรุษมีส่วนร่วมมิสซาอย่างแข็งขัน นับเป็นงานที่เรียกร้องอย่างต่อเนื่อง พิธีกรรมของคริสต์ศาสนาไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติตามลำดับของบทภาวนาและท่าทางต่างๆ ที่กำหนดไว้ และไม่เป็นเพียงการฝึกหัดคณะนักขับร้องให้รู้จักขับร้องบทเพลงเกรโกเรียนเท่านั้น หน้าที่แรกของบรรดาพระสงฆ์ก็คือการเตรียมประชาชนไว้สำหรับการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันและมีประสิทธิผล
    “บรรดาผู้อภิบาลต้องมีความกระตือรือร้นและพากเพียรที่จะให้การอบรมด้านพิธีกรรมแก่ผู้มีความเชื่อ เพื่อเขาจะร่วมพิธีกรรมได้อย่างแข็งขันทั้งในด้านจิตใจและภายนอก โดยคำนึงถึงอายุ สภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต และระดับความรู้ทางศาสนาของผู้ได้รับการอบรม ถ้าบรรดาผู้อภิบาลทำเช่นนี้ได้ เขาก็จะปฏิบัติหน้าที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งให้สำเร็จในฐานะเป็นผู้แจกจ่ายธรรมล้ำลึกของพระเจ้าอย่างซื่อสัตย์ ในเรื่องนี้เขาจะต้องนำประชากรที่เขาอภิบาลดูแล ไม่ใช่ด้วยคำพูดเท่านั้น แต่โดยแบบอย่างที่ดีด้วย” (SC 19)
    บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมสภาฯ เป็นผู้อภิบาลประชากร ซึ่งเป็นประดุจฝูงแกะที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงมอบหมายไว้แก่ท่าน (เราอย่าลืมว่าบรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมสภาฯ ส่วนใหญ่เป็นพระสังฆราชประจำสังฆมณฑล ซึ่งต่างก็มีสังฆมณฑลที่ต้องปฏิบัติงานรับใช้จริงๆ) รู้ดีถึงปัญหาแท้จริงด้านงานอภิบาลในเขตวัดต่างๆ จึงแสดงให้เห็นจิตตารมณ์ด้านการอภิบาลไว้บ่อยมากในเอกสารที่ออกมา พร้อมทั้งเสนอแนะวิธีการทางปฏิบัติเพื่อให้การปฏิรูปได้บรรลุผลด้วย
    “เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมพิธีกรรมอย่างแข็งขัน ควรเอาใจใส่ให้สัตบุรุษมีส่วนในการขับร้องต้อนรับ การตอบรับ การขับร้องเพลงสดุดี บทสร้อย บทเพลงสรรเสริญต่างๆ รวมทั้งกิจการ อากัปกิริยาและอิริยาบถของร่างกาย ให้ทุกคนเงียบสงบด้วยความเคารพในเวลาที่เหมาะสมด้วย”  (SC 30)
    เป็นเวลาหลายศตวรรษ ทั้งในยุโรปและในที่อื่นๆของโลกที่ซึ่งมิชชันนารีชาวยุโรปนำประเพณีจากบ้านของตนไปให้ บรรดาสัตบุรุษเป็นเพียงผู้เฝ้าดู ผู้รับฟังเท่านั้นในมิสซา การปฏิรูปใหม่ต้องนับว่าเป็นการท้าทายใหญ่ยิ่งสำหรับบรรดาสัตบุรุษที่ยินดีไปโบสถ์ในวันอาทิตย์ เพื่อมีเวลาเงียบสงบหลังจากอาทิตย์หนึ่งของชีวิตที่มีแต่การงาน เขาย่อมรู้สึกว่ามิสซาแบบใหม่นี้เรียกร้องมากเกินไป เขารู้สึกทั้งไม่สบายใจและวอกแวกเมื่อต้องขับร้องเพลงพร้อมกันเป็นภาษาของชาวบ้าน ฟังพระวาจาของพระเจ้าพร้อมกัน เขารู้สึกว่าตนถูกบังคับให้ออกจากมุมส่วนตัวของตน และถูกโยนเข้าไปชุมชนพร้อมกับความรับผิดชอบร่วมกัน เป็นเวลาหลายสิบปี พวกเขาได้มาร่วมมิสซาด้วยกันแต่ก็ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันเป็นชุมชน การ “ฟังมิสซา” ได้กลายเป็นการเฉลิมฉลองส่วนรวมไปในทันทีทันใด จำเป็นต้องมีความรู้ด้านชีวิตจิตแบบใหม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้การอบรมใหม่ด้านพิธีกรรมเพื่อช่วยประชาชนให้รับบทบาทของตนในชุมชนที่กำลังประกอบพิธีกรรมให้เป็นการเฉลิมฉลองได้
    น่าจะกล่าวที่นี่ถึงกระบวนการยากลำบากที่ธรรมนูญเรื่องพิธีกรรมต้องผ่านในการถกเถียงกันอย่างร้อนแรงทั้งในระดับคณะกรรมาธิการและในการประชุมใหญ่ของบรรดาพระสังฆราชที่ร่วมประชุม ให้เรามาดูวิธีการที่สภาสังคายนาฯ ลงคะแนนเกี่ยวกับบทที่ 2 (เรื่องการปฏิรูปมิสซา) และบทที่ 3 (เรื่องการปฏิรูปศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆและสิ่งคล้ายศีล) ซึ่งต้องการคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของที่ประชุม
    บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมอาจลงคะแนน “เห็นด้วย” (placet) หรือ “เห็นด้วยโดยมีข้อแม้” (placet iuxta modum) หรือ “ไม่เห็นด้วย” (non placet) ในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ.1963 พระสังฆราชที่ร่วมประชุมต้องลงคะแนนสำหรับบทที่ 2 มีพระสังฆราชเข้าประชุม 2,242 องค์อยู่ในที่ประชุม จึงต้องการคะแนน “เห็นด้วย”  จำนวน 1,495 คะแนน ผลการลงคะแนนออกมาดังนี้ “เห็นด้วย” จำนวน 1,417 คะแนน “เห็นด้วยโดยมีข้อแม้” 781 คะแนน “ไม่เห็นด้วย”36 คะแนน และมีคะแนนเสีย 8 คะแนน คะแนน “เห็นด้วย” ไม่ถึงจำนวน 2 ใน 3 ของที่ประชุม บทที่ 2 งต้องเขียนขึ้นใหม่และมีการถกเถียงกันอีก การลงคะแนนสำหรับบทที่ 3 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ.1963 คือ 1,130 “เห็นด้วย” 1,054 “เห็นด้วยโดยมีข้อแม้” 30 “ไม่เห็นด้วย” และ 3 คะแนนเสีย คะแนนจำนวนไม่ถึง 2 ใน 3 ของจำนวนพระสังฆราช 2,242 องค์ที่ลงคะแนน บทที่ 3 ก็ไม่ได้รับการรับรองและต้องถกเถียงกันอีกเช่นเดียวกันการลงคะแนนครั้งสุดท้ายสำหรับธรรมนูญเรื่องพิธีกรรมเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ.1963 คือ 2,147 “เห็นด้วย” 4 “ไม่เห็นด้วย” นี่จึงเป็นตัวอย่างน่าประทับใจของการทำงานร่วมกันเป็นคณะ (collegiality) โดยแท้จริง เมื่อบรรดาพระสังฆราชจากทั่วโลกมาชุมนุมพร้อมกันกับสมเด็จพระสันตะปาปา พระสังฆราชแห่งโรม สามารถมีความเห็นร่วมกันในที่สุดเพื่อลงคะแนนรับรองธรรมนูญเรื่องพิธีกรรม ซึ่งกลายเป็นแผนแม่บทของการศึกษาพิธีกรรมและเป็นแรงผลักดันสำคัญของการปฏิรูปพิธีกรรมจารีตโรมัน

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
13883
13335
57526
170044
306218
35913766
Your IP: 18.189.2.122
2024-04-19 15:24

สถานะการเยี่ยมชม

มี 592 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์