แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

การประกอบพิธีกรรมเป็นการเฉลิมฉลองที่มีระเบียบ
    พระศาสนจักรไม่เป็นเพียงองค์การหนึ่ง พระศาสนจักรเป็นร่างทรงชีวิต เป็นพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า ในฐานะที่เป็นร่างทรงชีวิต ชุมชนพระศาสนจักรจึงมีส่วนประกอบต่างๆที่มีหน้าที่ต่างกัน เพื่อความเป็นอยู่อย่างดีของร่างกายทั้งหมด เป็นพระจิตองค์เดียวกัน คือพระจิตของพระเยซูเจ้าที่ทรงกำหนดของประทานจากพระองค์โดยอิสระเสรี ไม่ใช่เรื่องสำคัญเลยว่าใครเป็นผู้ใหญ่ ใครเป็นผู้น้อยในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ “ศาสนบริการ” ทุกอย่างมีศักดิ์ศรีและบทบาทของตน แต่ละคนจึงจำเป็นต้องให้ความเคารพต่อกัน ร่วมมือกันและปฏิบัติบทบาทเฉพาะของตนเท่านั้น

    “ในพิธีกรรม แต่ละคน ทั้งศาสนบริกรและสัตบุรุษผู้มีหน้าที่ต้องทำเฉพาะหน้าที่นั้นทั้งหมดซึ่งเป็นของตน ตามลักษณะของพิธี และตามกฎของพิธีกรรม” (SC 28)
    สภาสังคายนาฯ ต้องการปฏิรูปอะไรเมื่อกล่าวถ้อยคำเหล่านี้ ในพิธีกรรมสมัยก่อนสภาสังคายนาฯ พิธีกรรมของสังคายนาเมืองเตร็นท์ พระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีต้องอ่านเสียงเบาๆ ทุกสิ่งที่คนอื่นอ่านหรือขับร้องระหว่างมิสซาด้วย คล้ายกับว่าทุกสิ่งจะถูกต้องและไม่เป็นโมฆะด้านพิธีกรรมก็ต่อเมื่อพระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีประทับตราเห็นด้วยเท่านั้น พิธีกรรมนับได้ว่าเป็น “กิจของสงฆ์” จริงๆ ศาสนบริการต่างๆในพิธีกรรมเป็น “การผูกขาด” ของคณะสงฆ์ ฆราวาสไม่มีบทบาทแท้จริงแต่ประการใดในพิธีกรรม คำสอนเรื่อง “สมณภาพของผู้ได้รับศีลล้างบาป” เป็นเรื่องเกือบที่จะไม่เป็นที่รู้จักสำหรับชาวคาทอลิกส่วนใหญ่และความหลากหลายของศาสนบริการด้านพิธีกรรมเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยในสถานที่ประกอบพิธีที่มีเพียงแบบเดียว
    พิธีกรรมคาทอลิกเป็นธุระของคณะสงฆ์เท่านั้นตั้งแต่เมื่อไรและเพราะเหตุใด?
    เรื่องนี้พัฒนาขึ้นในยุโรปในสมัยกลาง มาถูกท้าทายอย่างฉับพลันโดยการปฏิรูปทางศาสนาของลัทธิโปรเตสแตนท์ และถูกตราขึ้นเป็นกฎหมายโดยสภาสังคายนาที่เมืองเตร็นท์เป็นการแก้ไขสถานการณ์ต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนาดังกล่าว
    การที่พิธีกรรมเป็นธุระของคณะสงฆ์เท่านั้น เห็นได้ชัดที่สุดในประวัติสถาปัตยกรรมของโบสถ์ในยุคต่างๆที่ผ่านมา สถาปัตยกรรมคาทอลิกเป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนเทววิทยาของสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี อาสนวิหารที่งดงามเหล่านั้น ซึ่งเป็นงานชิ้นเอกที่แสดงความคิดสร้างสรรค์และความคิดใหม่ๆนั้น ซึ่งมักจะถูกสร้างขึ้นโดยคนยากจนในสถานที่นั้น ทุกวันนี้ยังคงเป็นพยานของความเชื่อและความงดงามได้อย่างน่าประทับใจ แน่ทีเดียว บรรยากาศของความเงียบอย่างลึกซึ้ง แสงสว่างสลัวๆที่ส่องผ่านกระจกสีต่างๆ เสียงดนตรีจากออร์แกนลมและทำนองเพลงประสานหลายเสียง บทเพลงเกรโกเรียน ... คณะสงฆ์ที่สวมอาภรณ์อย่างสวยงามพร้อมกับบรรดาผู้ช่วยพิธี คณะนักขับร้อง ... ภาษาละติน ภาษาของคณะสงฆ์และผู้ได้รับการศึกษา... ทุกสิ่งเหล่านี้ล้วนเพิ่มบรรยากาศเหนือความเป็นจริงให้มากขึ้น
    เมื่อได้กล่าวเช่นนี้แล้ว เราอาจจะถามว่า “แล้วที่อยู่และบทบาทของประชาชนในอาสนวิหารเหล่านี้อยู่ตรงไหนกัน” คณะสงฆ์เป็นผู้ประกอบพิธี ส่วนประชาชนก็เป็นเพียง “ผู้ดู” อย่างเงียบๆ และโดยทั่วไป เขาก็มีความสุขแล้วที่เป็นอย่างนั้น เขาเหล่านั้นก็สวดบทภาวนาส่วนตัวของตน มีกิจศรัทธาเฉพาะของตน ฟังบทเทศน์ของพระสงฆ์ เขามีประสบการณ์ถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระธรรมล้ำลึก และสิ่งที่เป็นโลกุตระเหนือธรรมชาติ นานๆทีเขาจึงรับศีลมหาสนิทสักครั้งหนึ่ง แต่เขาก็ได้รับเครื่องหล่อเลี้ยงเพียงพอสำหรับชีวิตความศรัทธาของตน
    เวลาผ่านไปหลายศตวรรษ สังคมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ระดับการศึกษาของประชาชนได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การศึกษาไม่ถูกผูกขาดอยู่ในหมู่คณะสงฆ์เท่านั้น การศึกษาเป็นเรื่องทางโลกของคนทั่วไปด้วย ภาษาประจำชาติต่างๆได้เติบโตขึ้นในยุโรป ภาษาละตินไม่ได้เป็นภาษาที่ใช้พูดจาสนทนากันอีกต่อไป ตำแหน่งของคณะสงฆ์ในสังคมก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก บทบาทของฆราวาสถูกมองในมุมมองใหม่ ขบวนการด้านพิธีกรรมได้ปฏิบัติงานอย่างน่าพิศวงในการอบรมฆราวาส สภาสังคายนาฯ รู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องปฏิรูปพิธีกรรมเพื่อให้ประชาชนได้สำนึกถึงศักดิ์ศรี บทบาท พันธกิจ และหน้าที่ของตน
    “พิธีกรรมไม่ใช่กิจการของแต่ละคนเป็นส่วนตัว แต่เป็นการเฉลิมฉลองของพระศาสนจักร ซึ่งเป็น “เครื่องหมายแสดงเอกภาพ” กล่าวคือ ประชากรศักดิ์สิทธิ์ที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว และอยู่ใต้ปกครองของบรรดาพระสังฆราช ดังนั้น พิธีกรรมจึงเป็นกิจกรรมของพระศาสนจักรทั้งหมดที่รวมกันเป็นพระกายทิพย์  แสดงให้เห็นและก่อให้เกิดพระกายนี้ แต่สมาชิกแต่ละคนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนี้โดยวิธีการ สถานภาพ หน้าที่ และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในรูปแบบต่างๆ” (SC 26)
    ถ้อยคำเหล้านี้อธิบายเทววิทยาใหม่ของพิธีกรรม พิธีกรรมของคริสตศาสนาไม่ใช่จารีตพิธีที่สมาชิกบางคนของพระศาสนจักรเป็นผู้ประกอบ แต่เป็นกิจกรรมของพระศาสนจักรทั้งหมด การนี้นับว่าเป็นการปฏิวัติแท้จริงที่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงจิตใจและท่าทีใหม่จากสมาชิกแต่ละคนขององค์การ เราปฏิรูปพิธีกรรม แต่พิธีกรรมก็จะปฏิรูปเราและปั้นเราให้เป็นประชากรของพระเจ้าซึ่งเฉลิมฉลองพระธรรมล้ำลึกของพระเจ้า ทุกวันนี้เราพูดบ่อยๆว่า “พระสงฆ์หันหน้าหาประชาชน” หรือ “ประชาชนอยู่ด้านหลังหรือข้างพระสงฆ์...” หรือ ทุกคนกำลังมองไปข้างหน้าในทิศทางเดียวกัน” ฯลฯ ข้อความเหล่านี้ไม่ได้ตอบคำถามพื้นฐานที่ว่า “ใครคือประชาชนที่ยืนอยู่ข้างหน้า ข้างหลัง หรือข้างพระสงฆ์ และอะไรคือบทบาทของเขาในพิธีกรรม?”
    “ผู้ช่วยพิธี ผู้อ่าน ผู้อธิบายพิธี และคณะนักขับร้อง ต่างมีส่วนในพิธีกรรมอย่างแท้จริง ดังนั้น เขาควรทำหน้าที่ของตนด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างจริงใจ และด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยสมกับศาสนบริการยิ่งใหญ่เช่นนี้ และสมกับที่ประชากรของพระเจ้ามีสิทธิที่จะเรียกร้องให้เขาปฏิบัติดังนั้น บุคคลเหล่านี้ต้องได้รับการอบรมให้มีจิตตารมณ์ของพิธีกรรมตามส่วนที่เหมาะกับตน และเขาต้องได้รับการอบรมให้ทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องตามกฎและมีระเบียบ” (SC 29)
    ศาสนบริกรฆราวาสไม่ใช่คณะสงฆ์ระดับต่ำกว่าหรือเป็นผู้ช่วยของพระสงฆ์ (ในภาษาอิตาเลียน ที่หมายถึงผู้ช่วยมิสซาคือคำว่า ‘chierichetti’ ซึ่งแปลตามตัวอักษรได้ว่า “คณะสงฆ์เล็กๆ) เขาเหล่านี้มีบทบาทที่ต้องปฏิบัติเพื่อการบันดาลความศักดิ์สิทธิ์แก่ทุกคนและการถวายพระเกียรติแด่พะเจ้า เขาปฏิบัติหน้าที่จริงๆด้านพิธีกรรม เมื่อมีการอ่านพระคัมภีร์ ความสนใจของทุกคนที่มาชุมนุมกัน รวมทั้งพระสงฆ์ มุ่งไปสู่บรรณฐาน (ambo) เมื่อนักขับร้องกำลังขับร้อง เขาก็ปฏิบัติบทบาทด้านพิธีกรรมโดยแท้จริง ... น่าสังเกตอีกครั้งหนึ่งว่า รายการของศาสนบริกรด้านพิธีกรรมที่กล่าวถึงในบทความนี้ไม่ต้องการจะเป็นรายการที่มีผลบังคับด้านกฎหมายอย่างเด็ดขาด สภาสังคายนาฯ ต้องการเปิดประตูให้มีศาสนบริการอื่นๆของฆราวาสอีกในการประกอบพิธีกรรม
    อาจเป็นการออกนอกเรื่องที่จะคิดว่า เนื่องจากบริกรแจกศีลมหาสนิทหรือบริกรอื่นที่พระศาสนจักรรับรองในภายหลังไม่ได้ถูกกล่าวถึงไว้ในรายการ จึงหมายความว่า สภาสังคายนาฯไม่ได้ถือว่าคนเหล่านี้เป็นศาสนบริกรด้านพิธีกรรม คงจะมีประโยชน์มากกว่ามากสำหรับทุกคนที่จะใช้เวลาของเราทำให้การปฏิรูปนี้สำเร็จไปในมิสซาวันอาทิตย์ของเรา การอบรมด้านพิธีกรรมของผู้ช่วยพิธี ผู้อ่าน ผู้อธิบายพิธี นักขับร้อง บริกรแจกศีลมหาสนิท ฯลฯ มีจุดประสงค์เพื่อจะให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้ “ดื่มด่ำอย่างลึกซึ้งด้วยจิตตารมณ์พิธีกรรมแต่ละคนตามความสามารถ และเขาต้องได้รับการฝึกให้ปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยถูกต้องและอย่างมีระเบียบ”
    ใครมีอำนาจกำหนดให้มีการประกอบพิธีอย่างมีระเบียบ?
    ในช่วงเวลาก่อนวาติกันที่ 2 สมแด็จพระสันตะปาปาทรงมีอำนาจเด็ดขาดเพียงพระองค์เดียวที่จะวางกฎเกณฑ์ด้านพิธีกรรมซึ่งมีผลใช้บังคับโดยแท้จริงได้ ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ปี ค.ศ.1917 กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า ในพระศาสนจักรละติน ผู้มีอำนาจเด็ดขาดแต่ผู้เดียวที่จะกำหนดเรื่องพิธีกรรมคือสมเด็จพระสันตะปาปา บรรดาพระสังฆราชมีอำนาจเพียงแต่จัดการเรื่อง “กิจศรัทธาแบบชาวบ้าน” ของท้องถิ่นเท่านั้น พระสังฆราชไม่มีอำนาจจัดพิมพ์หนังสือพิธีกรรมจริงๆได้เลย เนื่องจากว่าตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรฉบับเก่า ไมได้มีการแยกแยะชัดเจนระหว่างเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้และเรื่องที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ กฎจารีตพิธี (rubrics) ทุกข้อจึงมีผลบังคับเท่าๆกัน และไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ ขบวนการพิธีกรรมได้เน้นการศึกษาถึงอำนาจของพระสังฆราชในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับพิธีกรรม ในช่วงเวลาการถกเถียงเตรียมการประชุมสำหรับสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้มีผู้สนับสนุนสองความเห็นด้วยกัน ธรรมนูญ SC จึงแสดงให้เห็นการประนีประนอมในแบบหนึ่ง   ในด้านหนึ่งธรรมนูญนี้ยืนยันว่า
    “การออกกฎข้อบังคับกี่ยวกับพิธีกรรมเป็นอำนาจของพระศาสนจักรเท่านั้น กล่าวคือ เป็นอำนาจของสันตะสำนัก และเป็นอำนาจของพระสังฆราชตามที่กฎหมายกำหนด” (SC 22.1) แต่เมื่อกำหนดว่าพระสังฆราชมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับพิธีกรรมในเรื่องใดบ้าง ธรรมนูญก็กล่าวเพียงว่า
    “กิจศรัทธาที่ประชากรคริสตชนนิยมปฏิบัตินั้น ควรได้รับการส่งเสริมอย่างมาก เพียงแต่ต้องสอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนดของพระศาสนจักร” (SC 13)
    ในกรณีนี้ พระสังฆราชไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องพิธีกรรมโดยตรง แต่เกี่ยวกับ “กิจศรัทธาเฉพาะของพระศาสนจักรท้องถิ่นแต่ละแห่ง” เราต้องจำไว้ว่าธรรมนูญเรื่องพิธีกรรมเป็นเอกสารฉบับแรกที่ได้รับการพิจารณาของบรรดาพระสังฆราชผู้เข้าร่วมประชุม เทววิทยาที่พัฒนามากขึ้นเกี่ยวกับพระศาสนจักรท้องถิ่นจะปรากฏชัดเจนในธรรมนูญเกี่ยวกับพระศาสนจักร ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรปี ค.ศ.1983 จะสะท้อนมุมมองที่พัฒนาขึ้นแล้วนี้เมื่อกล่าวว่า
    “แนวทางของพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ขึ้นต่ออำนาจปกครองของพระศาสนจักรที่มีอยู่กับสันตะสำนัก และพระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลมีหน้าที่ต้องกำหนดกฎระเบียบด้านพิธีกรรมในพระศาสนจักรที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน กฎระเบียบเหล่านี้มีผลบังคับทุกคน” (มาตรา 838.1,4)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
9573
23407
76623
189141
306218
35932863
Your IP: 3.140.242.165
2024-04-20 08:19

สถานะการเยี่ยมชม

มี 408 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์