แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

พิธีกรรมประกอบด้วยส่วนที่พระเจ้าทรงกำหนด จึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และประกอบด้วยส่วนที่เปลี่ยนแปลงได้ ส่วนนี้เมื่อเวลาล่วงไปอาจหรือต้องเปลี่ยนแปลง (SC 21)
    เครื่องหมายในพิธีกรรมมิได้ถูกพระเยซูคริสตเจ้าทรงกำหนดไว้ทุกอย่าง เครื่องหมายจำนวนมากถูกเพิ่มเข้ามาตลอดเวลาหลายศตวรรษ และอาจไม่เหมาะกับสมัยของเราแล้วก็เป็นได้ สภาสังคายนาจึงกล่าวว่า
    หลักการทางพิธีกรรมที่ว่า “มีบางอย่างเปลี่ยนแปลงไม่ได้ บางอย่างเปลี่ยนแปลงได้” และ “มีบางอย่างที่จำเป็นต้องปฏิบัติบางอย่างที่เลือกปฏิบัติได้” นับว่าเป็นก้าวสำคัญไปข้างหน้าจากหลักการของสภาสังคายนาที่เมืองเตร็นท์ที่ว่า “ทำได้ – ทำไม่ได้” ที่วางกฎเกณฑ์จารีตของพิธีต่างๆ โดยยึดหลักทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด กำหนดลงไปเลยว่าจารีตพิธีแต่ละอย่างในพิธีกรรม “ทำได้หรือทำไม่ได้” บทภาวนา ท่าทาง ดนตรี ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงได้หรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ถูกกำหนดไว้ในรายละเอียดทุกอย่าง และถ้าผู้ประกอบพิธีเปลี่ยนแปลงอะไรไปก็อาจทำให้การประกอบพิธีนั้น “ไม่ถูกต้อง” หรือ “ทั้งไม่ถูกต้องและเป็นโมฆะ”

    เราพบความแตกต่างอย่างมากในหนังสือมิสซาใหม่ ที่คำอธิบายพิธี (rubrics) มักจะบอกว่า “ผู้ประกอบพิธี อาจใช้ถ้อยคำเหล่านี้หรือที่คล้ายกันทักทายประชาชน” ฯลฯ ผู้ประกอบพิธีอาจเลือกบทมิสซาหรือบทอ่านแบบต่างๆได้ ฯลฯ ความรับผิดชอบของผู้ประกอบพิธีมิได้อยู่ที่ “การปฏิบัติตามจารีตพิธีที่กำหนดไว้ (ritus servandus) อย่างเคร่งครัด แต่อยู่ที่การประกอบพิธีอย่างที่ผู้ร่วมพิธีได้มีส่วนด้วยเต็มที่จริงๆ (นับได้ว่าเป็น “ศิลปะการประกอบพิธี” หรือ ars celebrandi”) แต่การเดินทางจาก ritus servandus (พิธีที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด) ไปยัง ars celebrandi (ศิลปะการประกอบพิธี) นั้น นับว่าเป็นทางยาวและยากทีเดียว ธรรมนูญ SC กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ไว้สั้นๆ ดังนี้
    “ผู้มีความเชื่อจำเป็นต้องเตรียมจิตใจอย่างเหมาะสมเมื่อมาร่วมพิธีกรรม เพื่อจะได้รับผลอย่างเต็มประสิทธิภาพ จิตใจของเขาจะต้องสอดคล้องกับคำพูด เขาจะต้องร่วมมือกับพระหรรษทานจากเบื้องบน เพื่อจะไม่รับพระหรรษทานนั้นโดยไม่เกิดผล ดังนั้นผู้อภิบาลจึงจำเป็นต้องเอาใจใส่ในการประกอบพิธีกรรม ไม่เพียงแต่ปฏิบัติตามกฎเพื่อให้พิธีกรรมไม่เป็นโมฆะ หรือถูกต้องเท่านั้น แต่ยังต้องเอาใจใส่ให้ผู้มีความเชื่อมีส่วนร่วมในพิธีกรรมโดยมีความรู้ ร่วมพิธีอย่างแข็งขัน เพื่อจะได้รับผลจากพิธีกรรมนั้นด้วย” (SC11)
    จงสังเกตว่าทุกครั้งที่ธรรมนูญ SC กล่าวถึงหน้าที่ของพระสงฆ์ในการอบรมบรรดาผู้มีความเชื่อให้มีจิตตารมณ์พิธีกรรมนั้น เอกสารนี้จะเรียกเขาว่า “ผู้อภิบาล” (shepherds หรือ Pastor) คำแนะนำทั่วไปของหนังสือมิสซาจารีตโรมันยังกล่าวอีกว่า
    “พระสงฆ์ผู้อภิบาลยังต้องสอนอีกว่า ในการแจกจ่ายศีลศักดิ์สิทธิ์ พระศาสนจักรมีอำนาจกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงระเบียบและเงื่อนไข เกี่ยวกับสิ่งของที่ใช้เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่ต่างกันโดยรักษาสาระสำคัญไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ตามที่พระศาสนจักรเห็นว่าจะเหมาะสมยิ่งขึ้นเพื่อแสดงความเคารพต่อศีลศักดิ์สิทธิ์และเป็นประโยชน์มากขึ้นสำหรับผู้รับ พร้อมกันนั้นสัตบุรุษยังต้องได้รับคำแนะนำให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังมากขึ้นกับพิธีกรรม ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นว่าศีลมหาสนิทเป็นงานเลี้ยงจริงๆ” (RM28)
    ในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นว่ามีการโต้เถียง กล่าวหา และแก้ข้อกล่าวหากันต่างๆ ตลอดมา บางคนยังมีความเสียดายคิดถึง “ช่วงเวลาดีๆแต่ก่อนโน้น” เมื่อทุกคนต้องปฏิบัติตาม ritus servandus (จารีตพิธีที่กำหนดไว้ให้ต้องปฏิบัติ) และทุกคนต้องปฏิบัติตามการปฏิบัติแบบเดียวเหมือนกันก็พอแล้วเพื่อสร้างเอกภาพและความกลมกลืน หลังจากวาติกันที่ 2 ความกระตือรือร้นในการปฏิรูปและโอกาสที่จะดัดแปลงจารีตพิธี การเข้าสู่วัฒนธรรม การฟื้นฟูและสร้างสรรค์ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆที่เป็นข้ออ้างได้ง่ายๆ ที่จะกล่าวหาว่า การปฏิรูปพิ ธีกรรมเป็น “การทดลองที่ไร้ระเบียบ” ซึ่งได้ถูกสื่อต่างๆเผยแพร่และขยายความ มักจะถูกใช้บ่อยๆ (และยังถูกใช้อยู่) เพื่อบรรยายถึงสถานการณ์ในท้องถิ่นต่างๆ ในแต่ละที่ ข้อความนี้ก็มีความหมายแตกต่างกัน บางแห่งข้อความนี้อาจหมายถึงการอ่านข้อความโบราณที่อยู่นอกพระคัมภีร์ หรืออาจหมายถึงการใช้ขนมปังมีเชื้อในมิสซา ในอีกที่หนึ่ง การไม่ขับร้องหรือการอ่านบทเพลงเริ่มพิธีก็ถูกเรียกว่า “การทดลองที่ไร้ระเบียบ” แล้ว
    ข้าพเจ้ายังจำได้ว่า ผู้คนรู้สึกสะดุดใจอย่างมากเมื่อวารสารฉบับหนึ่งพิมพ์เผยแพร่รูปภาพแรกๆของผู้คนที่รับศีลมหาสนิทในมือ ไม่ใช่บนลิ้น เหตุการณ์นี้นับว่าเป็นเรื่องสะดุดใจจริงๆ และช่วยให้วารสารนั้นทำเงินได้ไม่น้อยทีเดียว
    ข้าพเจ้าเชื่อว่า การกลับไปอ่านธรรมนูญเรื่องพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ อาจช่วยเราให้แลเห็นเจตนารมณ์ดั้งเดิมของการปฏิรูปและมีความเข้าใจร่วมกันได้ เราอาจไม่เห็นด้วยกับวิธีการที่เจตนาดั้งเดิมนี้ถูกนำมาปฏิบัติในบางกรณี แต่นั่นก็ไม่อาจเป็นเหตุผลถูกต้องที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับการปฏิรูป หรือที่ร้ายกว่านั้นถ้าเราจะปฏิเสธไม่ยอมรับการปฏิรูปตั้งแต่ต้นโดยตัดสินไว้ล่วงหน้าแล้วว่าการปฏิรูปจะก่อให้เกิดการปฏิบัติไม่ถูกต้องต่างๆ
    มีเรื่องหนึ่งที่เราต้องเรียนรู้จากการทดลองนำพิธีกรรมเข้าสู่วัฒนธรรมและการดัดแปลงพิธีกรรม เรื่องนี้เป็นงานที่ยากมากและต้องการความเชี่ยวชาญ ความรู้ทั้งในเรื่องพิธีกรรมและวัฒนธรรม รวมทั้งการสนับสนุนจากชุมชนด้วย ที่สำคัญกว่าหมด ชุมชนท้องถิ่นต้องยอมรับและทำให้การนี้เป็นวิธีการตามธรรมชาติมากเพื่อสื่อคำสอนของพระคริสตเจ้า
    50 ปีนับเป็นเวลาที่สั้นมาก ถ้อยคำของธรรมนูญ SC ยังสดใหม่และเป็นแรงบันดาลใจในเรื่องนี้ ถ้อยคำเหล่านี้แสดงให้เห็นอย่างดีถึงเจตนารมณ์ของการให้อิสระและความนับถือต่อชุมชนท้องถิ่นที่สภาสังคายนาฯต้องการ
    “ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับความเชื่อหรือคุณประโยชน์ส่วนรวมของทั้งชุมชน พระศาสนจักรไม่ปรารถนาที่จะวางข้อบังคับให้ปฏิบัติแบบเดียวกันอย่างเคร่งครัด แม้ในเรื่องพิธีกรรม ยิ่งกว่านั้น พระศาสนจักรยังเคารพและส่งเสริมคุณลักษณะและพรสวรรค์เฉพาะของเชื้อชาติและประชากรต่างๆ สิ่งใดในขนบธรรมเนียมของชนชาติเหล่านี้ที่ไม่ยึดติดกับการถือนอกรีตหรือความหลงผิดอย่างแยกไม่ออก พระศาสนจักรก็ยินดีให้คุณค่าและถ้าทำได้ยังช่วยบำรุงรักษาไว้เป็นอย่างดีด้วย ยิ่งกว่านั้น บางครั้งพระศาสนจักรยังรับเข้ามาใช้ในพิธีกรรม ถ้าขนบธรรมเนียมนั้นประสานกลมกลืนกับจิตตารมณ์แท้จริงของพิธีกรรม” (SC 37)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 18:1-19:42) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ข้ามห้วยขิดโรน ที่นั่นมีสวนแห่งหนึ่ง พระองค์เสด็จเข้าไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ยูดาสผู้ทรยศรู้จักสถานที่นั้นด้วย เพราะพระองค์เคยทรงพบกับบรรดาศิษย์ที่นั่นบ่อยๆ ยูดาสนำกองทหารและยามรักษาพระวิหารที่บรรดาหัวหน้าสมณะ...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:1-15) ก่อนวันฉลองปัสกา พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าถึงเวลาแล้วที่จะทรงจากโลกนี้ไปเฝ้าพระบิดา พระองค์ทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด ระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ ปีศาจดลใจยูดาสอิสคาริโอทบุตรของซีโมนให้ทรยศต่อพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระบิดาประทานทุกสิ่งไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว และทรงทราบว่าพระองค์ทรงมาจากพระเจ้าและกำลังเสด็จกลับไปหาพระเจ้า จึงทรงลุกขึ้นจากโต๊ะ...
วันพุธ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 26:14-25) เวลานั้น คนหนึ่งในบรรดาอัครสาวกสิบสองคน ชื่อ ยูดาส อิสคาริโอท ไปพบบรรดาหัวหน้าสมณะ ถามว่า “ถ้าข้าพเจ้ามอบเขาให้ท่าน ท่านจะให้อะไรแก่ข้าพเจ้า”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลมหาพรตและปัสกา กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ เทศกาลมหาพรตและปัสกา E-book...
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อัครสาวก 12 องค์ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

212. มื้ออาหารของพระเยซูเจ้ากับเรามีชื่อว่าอะไรบ้าง และหมายความว่าอะไร มีชื่อแตกต่างกันที่ชี้บอกถึงความมั่งคั่งอย่างไม่อาจหยั่งถึงได้ของธรรมล้ำลึกนี้ คือ การบูชาศักดิ์สิทธิ์ มิสซา เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชาขอบพระคุณ อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า การบิปัง การชุมนุมศีลมหาสนิท การรำลึกถึงพระทรมาน...
211. ศีลมหาสนิทสำคัญอย่างไรสำหรับพระศาสนจักร การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท เป็นหัวใจของชุมชนคริสตชน ในศีลมหาสนิทพระศาสนจักรกลายเป็นพระศาสนจักร (1325) เราไม่ได้เป็นพระศาสนจักรเพราะเรากลมเกลียวกัน หรือเป็นเพราะเราสิ้นสุดในชุมชนวัดเดียวกัน แต่เนื่องจากในศีลมหาสนิทเราได้รับพระกายของพระคริสตเจ้า และเราถูกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นในพระกายของพระคริสตเจ้า 126,217 ในศีลมหาสนิทเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเหมือนกับอาหารเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย...
210. พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทอย่างไร “ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนั้นต่อให้ท่าน คือในคืนที่ทรงถูกทรยศนั้นเอง พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงหยิบปัง ขอบพระคุณ แล้วทรงบิออก ตรัสว่า “นี่คือกายของเราเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” เช่นเดียวกัน...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา เรื่อง การดูหมิ่น พระคัมภีร์ โรม 12:16 ภาพรวม เด็กๆ สร้างคนด้วยไม้จิ้มฟัน และเรียนรู้ว่า การดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดอย่างไร อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ปากกาเส้นใหญ่ กาว และแถบกาว ประสบการณ์ แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 คน แจกไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
🤖 TRV. Innovation Fair 2023 🤖 วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสไปออกร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ และออกบูธจัดกิจกรรมคำสอน ร่วมกับฝ่ายจิตตาภิบาล โรงเรียนไตรราชวิทยา ในโครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม ประธานในพิธี บาทหลวงเอกรัตน์...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)
วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
7479
15812
45582
240852
326718
35678356
Your IP: 54.166.170.195
2024-03-28 18:16

สถานะการเยี่ยมชม

มี 584 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์