แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ทำไมเราจึงต้องการเครื่องหมายที่แลเห็นได้
    เทววิทยาด้านพิธีกรรมวิเคราะห์เรื่อง “เครื่องหมาย” ในพิธีกรรมและมาถึงจุดที่กล่าวถึง “ปัญหาพิธีกรรม”ที่เป็นพื้นฐานว่า “ทำไมเราจึงต้องการเครื่องหมายที่แลเห็นและประสาทสัมผัสได้ เพื่อจะได้รับความศักดิ์สิทธิ์และถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า?
    เหตุผลมักจะได้มาจากสามแหล่งด้วยกัน
    ก่อนอื่นหมดก็คือเหตุผลทางมนุษยวิทยา มนุษย์เป็นสิ่งที่ประกอบด้วยร่างกายและจิต จิตต้องการร่างกายเพื่อจะสัมผัสกับสภาพแวดล้อมได้ และไม่มีอะไรเข้าถึงจิตได้นอกจากผ่านประสาททั้งห้า

    สำหรับเราคริสตชน ยังมีเหตุผลทางคริสตวิทยาด้วย เราเชื่อว่าพระเจ้าที่เราแลเห็นไม่ได้ทรงแสดงพระองค์ให้เราแลเห็นในมนุษย์ที่ชื่อว่า “เยซู” พระเยซูเจ้าทรงเป็นทั้งมนุษย์และพระเจ้า พระเยซูจ้าทรงเป็นเครื่องหมายยิ่งใหญ่ที่สุดของพระเจ้าที่เราแลไม่เห็นในโลกนี้ พระเยซูเจ้าจึงทรงเป็น “ศีล (เครื่องหมายและเครื่องมือ) ศักดิ์สิทธิ์” พื้นฐาน แบะยังทรงปฏิบัติพระภารกิจเป็น“ศีลศักดิ์สิทธิ์” ในพระศาสนจักรอาศัยเครื่องหมายที่เรามองเห็นได้
    เหตุผลสุดท้ายเป็นเหตุผลด้านพระศาสนจักร พระศาสนจักรเป็นพระกาย(ทิพย์) ของพระเยซูเจ้า “พระศาสนจักรของเราเป็นเครื่องหมายที่ตั้งไว้ให้นานาชาติได้แลเห็นภายใต้เครื่องหมายนี้ บรรดาบุตรของพระเจ้าซึ่งกระจัดกระจายอยู่จะได้มารวมกัน” (SC 2)
    ถ้าไม่มีเครื่องหมายที่แลเห็นได้ พิธีกรรมก็ไม่ใช่กิจกรรมแบบมนุษย์ แบบคริสตชน หรือแบบพระศาสนจักร
    คำพูดก็เป็นเครื่องหมายที่ได้ยินได้ด้วย และมีบทบาทสำคัญในพิธีกรรม พระวาจาของพระเจ้าได้รับการประกาศในพิธีกรรม  และถ้อยคำของบทภาวนาและคำอธิบายยังช่วยอธิบายความหมายของเครื่องหมายที่แลเห็นได้ให้ชัดเจนขึ้นด้วย เครื่องหมายการจุ่มตัวลงในน้ำได้รับคำอธิบายและคำจำกัดความหมายโดยคำว่า “ข้าพเจ้าล้างท่าน...” ในทำนองเดียวกัน ขนมปังและเหล้าองุ่นที่เป็นเครื่องหมายก็รับคำอธิบายและจำกัดความโดยคำว่า “นี่เป็นกายของเราที่มอบเพื่อท่าน” “นี่เป็นโลหิตของเราที่หลั่งเพื่อท่านทั้งหลาย” นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้สภาสังคายนาฯต้องการปฏิรูปพิธีกรรม “เพื่อให้ข้อความและจารีตพิธีปรากฏชัดว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด” ( SC 35) และ “เมื่อสัตบุรุษเข้าใจจารีตพิธีและบทภาวนาเป็นอย่างดี จะได้ร่วมกิจกรรมศักดิ์สิทธิ์อย่างรู้สำนึก” (SC 48)
    เราจงสังเกตว่าสภาสังคายนาฯเอาใจใส่นำ “คำพูดและจารีตพิธี” และ “จารีตพิธีและคำภาวนา” มารวมไว้ด้วยกัน เพื่อจะเน้นความสำคัญของ “คำพูด” (รวมทั้ง “พระวาจา”) ในพิธีกรรม ผู้ร่วมพิธีต้องเข้าใจคำพูดเหล่านี้ ถ้าเราอยากจะให้พิธีกรรมมีความหมาย  ถ้าพิธีกรรมยังคงเป็นจารีตพิธีและคำพูดที่เข้าใจไม่ได้ต่อเนื่องกัน  พิธีกรรมก็อาจเป็นเหมือนกับคาถาหรือมายากล นี่เป็นเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมสภาสังคายนาฯ จึงตัดสินใจอย่างกล้าหาญที่จะนำภาษาของประชาชนท้องถิ่นเข้ามาในพิธีกรรม ประตูใหม่ถูกเปิดแล้ว เป็นเวลาหลายศตวรรษ ภาษาละตินเป็นภาษาของพิธีกรรมจารีตโรมัน เหตุผลที่สภาฯให้ในการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเหตุผลด้านการอภิบาล
    “ให้รักษาการใช้ภาษาละตินไว้ในจารีตละติน เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับสิทธิพิเศษเป็นอย่างอื่น ถึงกระนั้น ทั้งในมิสซา ในการประกอบศีลศักดิ์สิทธิ์ และในส่วนอื่นของพิธีกรรม หลายครั้งการใช้ภาษาท้องถิ่นอาจมีประโยชน์มากแก่ประชาชน ดังนั้น จึงอนุญาตให้ใช้ภาษาท้องถิ่นได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในบทอ่านและคำตักเตือน ในบทภาวนาและบทขับร้องบางบท ทั้งนี้ โดยปฏิบัติตามกฎซึ่งจะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ในบทต่อไปเป็นเรื่องๆ (SC 36 :1,2)
    ในเวลาเดียวกัน สภาฯก็ยังสำนึกว่าการอธิฐานภาวนาต้องการความเงียบด้วย บทอ่านและคำอธิบายจำนวนมากเกินไป (โดยเฉพาะในโบสถ์สมัยปัจจุบันที่ระบบเสียงอาจขยายเสียงได้จนบางครั้งอยู่ในระดับสูงหรือมีรูปแบบของเสียงเพี้ยนไปจนไม่น่าฟัง) อาจก่อให้เกิดบรรยากาศที่อึดอัดขึ้นได้ นี่จึงเป็นคำแนะนำของสภาฯ
    “เพื่อส่งเสริมการมีร่วมพิธีกรรมอย่างแข็งขัน ควรเอาใจใส่ให้สัตบุรุษมีส่วนในการร้องรับ การตอบ การขับร้องบทเพลงสดุดี บทสร้อย บทเพลงสรรเสริญต่างๆ รวมทั้งกิจการ อากัปกิริยา และอิริยาบถของร่างกาย ให้ทุกคนเงียบสงบด้วยความเครารพในเวลาที่เหมาะสมด้วย” (SC 30)
    เมื่อกล่าวว่า “เงียบสงบด้วยความเคารพ” สภาสังคายนาฯ หมายถึง ความเงียบร่วมกันในพิธีกรรม เป็นความเงียบที่ทุกคนต้องรักษา (รวมทั้งพระสงฆ์ผู้เป็นประธาน) เป็นเหมือนการหยุดพักในดนตรีบทหนึ่ง เมื่อนักขับร้องเงียบอยู่ช่วงเวลาหนึ่งงก่อนจะขับร้องต่อไป ความเงียบต้องเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม และเป็นเครื่องหมายว่า พระเยซูเจ้าประทับอยู่ในหมู่ผู้ร่วมพิธี ความเงียบนี้ไม่เหมือนกับความเงียบที่ผู้ร่วมพิธีต้องมีในมิสซาของสภาสังคายนาแห่งเมืองเตร็นท์ ที่ผู้ร่วมพิธีต้องเงียบขณะที่พระสงฆ์สวดบทขอบพระคุณเสียงต่ำๆในนามของสัตบุรุษ “ความเงียบด้วยความเคารพ” ที่สภาสังคายนาฯกล่าวถึงนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเสวนาระหว่างพระเจ้ากับบรรดาบุตรของพระองค์
    “ในพิธีกรรม  พระเจ้าตรัสกับประชากรของพระองค์ พระคริสตเจ้ายังทรงประกาศข่าวดี ประชากรก็ยังตอบพระเจ้าด้วยการขับร้องและอธิษฐานภาวนา” (SC 33)
    ความเงียบเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนานี้ ต่อไปนี้คือข้อความที่ “คำแนะนำทั่วไป” ของหนังสือมิสซาจารีตโรมันอธิบายความหมายของความเงียบที่ต้องมีในช่วงเวลาของวจนพิธีกรรม
    “ภาควจนพิธีกรรมต้องจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการรำพึงภาวนา ดังนั้นจึงต้องหลีกเลี่ยงรูปแบบความรีบร้อนทุกอย่างที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการสำรวมจิตใจ ในวจนพิธีกรรมจึงควรมี ช่วงเวลาสั้นๆ ให้ทุกคนเงียบสงบหลายๆครั้ง เหมาะกับกลุ่มชนที่มาชุมนุม ในช่วงเวลาเช่นนี้ พระจิตเจ้าจะทรงช่วยเหลือเขาให้รับพระวาจาเข้ามาในใจและเตรียมคำตอบด้วยการภาวนา ช่วงเวลาเงียบสงบนี้อาจจัดให้มีหลังบทอ่านบทแรกและบทอ่านที่สอง และหลังการเทศน์ด้วย” (RM 56)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:35-40) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “เราเป็นปังแห่งชีวิต ผู้ที่มาหาเราจะไม่หิว และผู้ที่เชื่อในเราจะไม่กระหายอีกเลย เราบอกท่านทั้งหลายแล้วว่า ท่านเห็นเราแล้ว แต่ไม่เชื่อ...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...
215. ใครเป็นหัวหน้าของพิธีมิสซาขอบพระคุณ ตามความเป็นจริงองค์พระคริสตเจ้าเองทรงปฏิบัติการในทุกพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ พระสังฆราช หรือพระสงฆ์ พูดแทนพระองค์ (1348) เป็นความเชื่อของพระศาสนจักร ว่าผู้ประกอบพิธีที่ยืนอยู่บนพระแท่นปฏิบัติหน้าที่ in persona Christi...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
563
13335
44206
156724
306218
35900446
Your IP: 3.145.183.127
2024-04-19 00:51

สถานะการเยี่ยมชม

มี 275 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์