แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ในพิธีกรรม มนุษย์ได้รับความศักดิ์สิทธิ์อาศัยเครื่องหมายที่ประสาทรับรู้แลเห็นได้ และบังเกิดผลตามความหมายเฉพาะของเครื่องหมายแต่ละประการ
    การประทับอยู่ขององค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ และการทรงปฏิบัติพระพันธกิจสมณะในพิธีกรรม ซึ่งเป็นสาระสำคัญของพิธีกรรมของคริสต์ศาสนา มีจุดหมายเพื่อบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่ผู้มีความเชื่อและเพื่อถวายพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเจ้า บรรดาผู้มีความเชื่อจะรับรู้พระธรรมล้ำลึกที่ซ่อนเร้นอยู่นี้และรับของขวัญที่พระเยซูเจ้าประทานให้นี้ได้อย่างไร?

สภาสังคายนาฯบอกว่า โดยผ่านทางเครื่องหมายที่ประสาทสัมผัสได้ พระเยซูเจ้าทรงปฏิบัติงานผ่านทางเครื่องหมายเหล่านี้แต่ละอย่างและทรงบันดาลให้เกิดผลที่เครื่องหมายนี้หมายถึง และโดยวิธีนี้ จึงทรงทำให้การบันดาลความศักดิ์สิทธิ์แก่เราและการถวายพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเจ้าสำเร็จไป
    น้ำ หมายถึงทั้งความตายและการทำลาย หรือยังหมายถึงชีวิตและการเจริญเติบโตอีกด้วย ผ่านทางน้ำศีลล้างบาป พระเยซูเจ้าทรงส่งพระจิตของพระองค์เพื่อนำเราเข้าสู่พระธรรมล้ำลึกปัสกา การสิ้นพระชนม์และกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ ในน้ำเราจึงมีประสบการณ์การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้าและความตายต่อบาปของเรา ในเวลาเดียวกัน เราก็รับชีวิตใหม่ขององค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ชีวิตของบุตรพระเจ้า ด้วยวิธีนี้เราจึงรับความศักดิ์สิทธิ์และพระเจ้าก็ทรงรับพระสิริรุ่งโรจน์
    ขนมปังและเหล้าองุ่นของงานเลี้ยงปัสกาหมายถึงอิสรภาพจากการเป็นทาสและหมายถึงพันธสัญญากับพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรงทำให้ขนมปังและเหล้าองุ่นบรรลุถึงความหมายอย่างสมบูรณ์ – พระเยซูเจ้าทรงเสกขนมปังกับเหล้าองุ่น และทรงเปลี่ยนให้เป็นพระกายและพระโลหิตของพระองค์ ผู้ที่กินขนมปังและดื่มเหล้าองุ่นนี้ ก็มีส่วนในการถวายบูชาของพระเยซูเจ้าผู้ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน  เขาทั้งหลายกลับเป็นประชากรที่พระเจ้าทรงกระทำพันธสัญญาใหม่นิรันดรด้วย ทั้งยังได้รับอาหารหล่อเลี้ยงสำหรับการเดินทางในโลกนี้ไปสู่สวรรค์ ทั้งการบันดาลความศักดิ์สิทธิ์แก่เราและการถวายพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเจ้าจึงสำเร็จอย่างสมบูรณ์ เราอาจกล่าวเช่นเดียวกันด้วยสำหรับเครื่องหมายของศีลศักดิ์สิทธิ์แต่ละศีล
    ที่ตรงนี้ ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวถึงเหตุผลที่สภาสังคายนาฯให้ไว้ในการปฏิรูปเครื่องหมายบางประการ ดังนี้
    “สภาสังคายนาส่งเสริมอย่างยิ่งให้สัตบุรุษมีส่วนร่วมในมิสซาอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยรับพระวรกายขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ได้เสกในมิสซาเดียวกันเมื่อพระสงฆ์รับศีลแล้ว” (SC 55)
    ที่ตรงนี้ สภาสังคายนาฯกำลังมองดูสภาพน่าเศร้าก่อนวาติกันที่ 2 เมื่อชาวคาทอลิกจำนวนมากที่มาร่วมมิสซาเพียงโดยมาอยู่ที่นั่นเท่านั้น ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมมิสซาของเขามีอยู่น้อยนิดเดียว พวกเราหลายคนที่มีอายุสักหน่อยยังระลึกถึงวันเหล่านั้นได้ ในจำนวนผู้ที่มาร่วมมิสซา มีคนจำนวนน้อยมากรับศีลมหาสนิท และผู้ที่รับศีลมหาสนิทก็รับเมื่อไรก็ได้ เช่น ก่อนมิสซา (จากศีลที่เสกในมิสซาอื่นและเก็บไว้ในตู้ศีล) หรือแม้กระทั่งในเวลาที่ไม่มีการถวายมิสซาใดๆเลย สำหรับเขาเหล่านี้ มิสซาเป็นเวลาที่เขาจะสวดบทภาวนากิจศรัทธาต่างๆของตน การรับศีลมหาสนิทไม่ได้ถูกมองว่าเป็นวิธีการสมบูรณ์ที่สุดของการมีส่วนร่วมพิธีบูชาของพระเยซูเจ้า บิดามารดาของข้าพเจ้าเป็นเช่นนี้ แต่ข้าพเจ้าก็คิดว่าก็คิดว่าท่านมีความเชื่อและความศรัทธาสูงมาก ข้าพเจ้ากำลังไม่กล่าวคำพิพากษาตัดสินผู้ใด ข้าพเจ้าเพียงแต่พยายามเข้าใจให้ดีขึ้นถึงการปฏิรูปพิธีกรรมของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2
    ขบวนการพิธีกรรมได้ปฏิบัติงานวิเศษสุดในการให้การอบรมผู้มีความเชื่อและบรรดาบรรพชิต (clergy) ถ้อยคำของสภาฯสะท้อนความเชื่อเก่าแก่ของพระศาสนจักรไว้อย่างชัดเจน ธรรมนูญข้อ 55 ให้ตัวอย่างที่สองแก่เราดังนี้
    “ข้อกำหนดทางคำสอนของสภาสังคายนาที่เมืองเตร็นท์ยังมีผลบังคับในกรณีที่สันตะสำนักกำหนดไว้ และตามคำตัดสินของพระสังฆราช อาจอนุญาตให้บรรพชิต นักบวช ตลอดจนฆราวาสรับศีลมหาสนิทในรูปปรากฏทั้งสองได้ เช่น ผู้บวชใหม่ในมิสซาที่เขารับศีลบวช ผู้ปฏิญาณถวายตนในมิสซาที่เขาปฏิญาณตน และผู้รับศีลล้างบาปในมิสซาที่ต่อจากพิธีล้างบาป” (sc55)
    ข้อความนี้ทำให้ข้าพเจ้าคิดถึงวิธีการที่บ่อยๆ เราถกเถียงหรือกระทั่งทะเลาะกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ บ่อยๆ เรากล่าวถึงพิธีกรรมและศีลศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะว่า เป็นภาชนะบรรจุพระหรรษทาน เหมือนกับถ้วยที่พระเจ้าทรงเทพระหรรษทานไว้ในถ้วยนั้น ไม่ว่าเราจะถ้วยใบไหน เราก็รับพระหรรษทานของพระเจ้าเสมอ เกี่ยวกับศีลมหาสนิท เรามักจะพูดว่า “ถ้าพระเยซูเจ้าทั้งองค์ประทับอยู่ในรูปปรากฏของขนมปังและเหล้าองุ่น (ซึ่งก็เป็นความจริงและเป็นสัจธรรมคาทอลิก) ทำไมจึงต้องวุ่นวายที่จะรับศีลในรูปปรากฏทั้งสอง ในเมื่อรูปปรากฏเดียวก็เพียงพอแล้ว?” แต่ตรรกะเช่นนี้มีจุดอ่อนอย่างมาก ศีลศักดิ์สิทธิ์ของพระคริสตเจ้าเป็นเครื่องหมาย และเครื่องหมายหมายถึงพระหรรษทานที่ซ่อนอยู่ในเครื่องหมายนั้น ถ้าเครื่องหมาย (ศีลศักดิ์สิทธิ์) ให้ความหมายดีกว่าหรือมากกว่า ชุมชนก็จะมีส่วนร่วมในศีลศักดิ์สิทธิ์นั้นดีขึ้นและรับพระหรรษทานได้มากขึ้น ตามคำแนะนำทั่วไปของหนังสือมิสซาจารีตโรมัน (ที่สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงประกาศใช้ในเดือนมีนาคม ค.ศ.2002) เป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ คำแนะนำนี้ เน้นความหมายของศีลมหาสนิทที่ช่วยให้บรรดาผู้มีความเชื่อมีส่วนร่วมพระธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และให้ข้อสรุปทางปฏิบัติดังนี้
    “การรับศีลมหาสนิทย่อมมีรูปแบบเป็นเครื่องหมายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ถ้ารับภายใต้รูปปรากฏทั้งของปังและเหล้าองุ่น เพราะในการรับศีลมหาสนิทแบบนี้ เราเห็นเครื่องหมายว่าการรับศีลมหาสนิทเป็นงานเลี้ยงได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และยังแสดงให้เห็นชัดยิ่งขึ้นว่าพระเจ้าทรงปรารถนารับรองพันธสัญญาใหม่นิรันดรในโลหิตขององค์พระผู้เป็นเจ้า และเห็นด้วยว่างานเลี้ยงศีลมหาสนิทมีความสัมพันธ์กับงานเลี้ยงในวาระสุดท้ายในพระอาณาจักรของพระบิดา” ( RM 281)
    ตามเหตุผลจากหลักการทางเทววิทยานี้ สภาสังคายนาฯได้เปิดประตูให้ฆราวาสรับศีลมหาสนิทภายใต้รูปปรากฏทั้งสองได้ด้วย อาจเป็นการไม่เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้แนวคิดทางกฎหมายเท่านั้น เพื่ออธิบายความหมายของธรรมนูญ SC และกำหนดโอกาสที่อาจให้ฆราวาสรับศีลมหาสนิทภายใต้รูปปรากฏทั้งสองได้ ธรรมนูญ SC มักจะเพิ่มวลีว่า “ตัวอย่างเช่น” (SC 55) ไว้ด้วยเสมอ รายการกรณีที่อาจปฏิบัติได้จึงได้เพิ่มขึ้นยาวกว่ามากใน “คำแนะนำทั่วไป” ของหนังสือมิสซาจารีตโรมัน
    “พระสังฆราชประจำสังฆมณฑลอาจกำหนดระเบียบสำหรับสังฆมณฑล เกี่ยวกับการรับศีลมหาสนิทภายใต้รูปปรากฏทั้งสอง ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามแม้ในวัดของนักพรตและกลุ่มชนเล็กๆที่มาชุมนุมกันด้วย พระสังฆราชประจำสังฆมณฑลยังมีอำนาจอนุญาตให้รับศีลมหาสนิทภายใต้รูปปรากฏทั้งสองทุกครั้งที่พระสงฆ์ผู้ถวายบูชาเห็นสมควร โดยมีเงื่อนไขว่าสัตบุรุษได้รับการสอนดีแล้ว และไม่มีอันตรายที่จะมีการดูหมิ่นศีลศักดิ์สิทธิ์ หรือที่การรับศีลเช่นนี้ปฏิบัติได้ลำบากเพราะมีผู้รับศีลจำนวนมากหรือเพราะเหตุผลอื่น (RM 283)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:1-6) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย ในบ้านพระบิดาของเรา มีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มี...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 12:44-50) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสเสียงดังว่า “ผู้ที่เชื่อในเรา ไม่ได้เชื่อในเราเท่านั้น แต่ยังเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามาด้วย ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา เราเข้ามาในโลกเป็นแสงสว่าง...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
10049
12206
63413
272946
306218
36016668
Your IP: 18.191.181.231
2024-04-25 16:59

สถานะการเยี่ยมชม

มี 226 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์