แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ในพิธีกรรม พระเจ้าทรงได้รับการถวายพระสิริรุ่งโรจน์อย่างสมบูรณ์ และทรงบันดาลความศักดิ์สิทธิ์แก่มนุษย์ (SC7)
    พิธีกรรมมิได้เป็นเพียงคารวกิจต่อพระเจ้า แต่ก่อนอื่นหมด พิธีกรรมเป็นการกระทำของพระเจ้าต่อเรา ผ่านทางพระเยซูคริสตเจ้า พระเจ้าทรงกอบกู้ บันดาลให้เราศักดิ์สิทธิ์และตรัสกับเรา และดังนี้ เราจึงอาจถวายคารวกิจต่อพระเจ้าได้ ในบทขอบพระคุณแบบที่ 2  พระสงฆ์ภาวนาในนามของผู้ร่วมพิธีทุกคน ขอบพระคุณพระเจ้าด้วยถ้อยคำดังนี้ “ข้าแต่พระบิดาเจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลายกำลังระลึกถึงการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า ขอน้อมถวายปังอันบันดาลชีวิต กับถ้วยโลหิตอันบันดาลความรอดนี้แด่พระองค์ ขอขอบพระคุณที่ทรงเลือกสรรข้าพเจ้าทั้งหลาย ให้มารับใช้เฉพาะพระพักตร์พระองค์”

ก่อนที่เราจะมายืนที่พระแท่นเพื่อรับใช้พระเจ้าได้ พระองค์ทรงเลือกสรรและทำให้เราเหมาะสมที่จะรับใช้พระองค์
    การที่ทรงบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ให้เราเป็นพระสิริรุ่งโรจน์ยิ่งใหญ่ที่สุดของพระเจ้า คำว่า “คารวกิจ” หรือ “การนมัสการ” เป็นคำที่ไม่เหมาะนักเพื่อแสดงถึงสาระสำคัญของการนมัสการและถวายคารวะแบบคริสตชนแด่พระเจ้า คำว่า “Liturgy” (ที่เราแปลว่า “พิธีกรรม”) เป็นคำที่เหมาะกว่าเพื่อบรรยายถึง “คารวกิจของคริสตชน” ที่มีลักษณะเป็น “การไหลสองทาง” คือจากพระเจ้าถึงเรา และจากเราไปหาพระเจ้า คำว่า “Liturgy” เป็นคำจากภาษากรีกว่า “leitourgia” ซึ่งแปลว่า “กิจกรรมของประชาชน” จึงอาจหมายถึง ทั้งกิจกรรมที่ทำเพื่อประชาชนหรือทำโดยประชาชน พิธีกรรมจึงมีความหมายทั้ง “งานของพระเจ้าเพื่อบันดาลให้เราศักดิ์สิทธิ์ และ งานของเราเพื่อถวายคารวกิจแด่พระเจ้า”
    พิธีกรรมของคริสตชนจึงมีลักษณะทั้งสองประการนี้ของพระภารกิจกอบกู้ของพระเยซูเจ้า ในพระเยซูเจ้า พระเจ้าตรัสกับเรา และทรงรักเราก่อน และในพระเยซูเจ้าเราสนทนากับพระเจ้าและได้รับความช่วยเหลือให้รักพระเจ้าได้ ตัวอย่างดีที่สุดของเรื่องนี้คือ “วจนพิธีกรรม” ในมิสซา ซึ่งมีโครงสร้างตามแนวทางการสนทนาโต้ตอบกันเช่นนี้ การอ่านพระคัมภีร์ในมิสซาเป็นการที่ผู้มีความเชื่อทำให้การสนทนาโต้ตอบระหว่างพระเจ้าและประชากรของพระองค์ ซึ่งเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ความรอดพ้นที่ยาวนานนี้เป็นปัจจุบันขึ้นมาอีก พระเจ้าตรัสกับที่ประชุมโดยบทอ่านบทแรก และที่ประชุมตอบพระเจ้าโดยเพลงสดุดีตอบรับ ที่ประชุมตอบรับพระวาจาของพระเจ้าที่ประกาศในบทอ่านที่สองโดยขับร้อง “อัลเลลูยา” ที่ในขณะเดียวกัน เป็นการต้อนรับพระวาจาของพระเยซูเจ้าที่บันทึกไว้ในพระวรสาร พระวาจาของพระเยซูเจ้าได้รับการประกาศโดยการอ่านพระวรสารและบทเทศน์อธิบายพระคัมภีร์ (Homily) บท “ข้าพเจ้าเชื่อ” และบทภาวนาของผู้มีความเชื่อเป็นคำตอบของประชากร
    การที่เราจะร่วมมิสซาอย่างแข็งขันและตื่นตัวโดยสนทนาโต้ตอบกับพระเจ้าในพระเยซูเจ้า หรือ การที่เราจะเป็นเพียงผู้รับฟังบทอ่านละคำอธิบายตัวบทโบราณเหล่านี้เท่านั้น... จึงมีความแตกต่างกัน พิธีมิสซาเป็นประสบการณ์ที่งดงาม ลึกซึ้ง มีผลด้านจิตใจและเป็นการเดินทางไปพบพระเจ้าโดยมีพระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้นำ และพระจิตเจ้าทรงคอยช่วยเหลือ แต่ก็อาจเปลี่ยนไปเป็นเพียงความรู้สึกส่วนตัวทางศาสนาถึง “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” อย่างเลือนราง หรือเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงของชั้นเรียนที่น่าเบื่อ การปฏิรูปพิธีกรรมโดยสภาสังคายนาฯ มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงประสบการณ์สุดขั้วทั้งสองนี้ เพื่อจะเข้าใจการปฏิรูปเหล่านี้ได้ จึงจำเป็นต้องเข้าใจก่อนอื่นหมดถึงหลักการทางเทววิทยา ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจบรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมให้ตัดสินใจเรื่องที่ท้าทายนี้อย่างที่ท่านได้ทำ การทำเพียงแต่ปฏิบัติตามจารีตพิธีหรือกฎเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับจารีตพิธีคงจะเป็นเรื่องไร้สาระและผิวเผิน การอบรมบรรดาฆราวาสเกี่ยวกับเรื่องพิธีกรรมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สภาสังคายนาฯจึงกล่าวว่า
    “การปรับปรุงแก้ไขและส่งเสริมพิธีกรรมต้องมีจุดประสงค์ก่อนอื่นหมด ที่จะให้ประชากรทั้งหมดร่วมพิธีกรรมอย่างเต็มที่และอย่างแข็งขัน เพราะพิธีกรรมเป็นบ่อเกิดแรกและจำเป็นที่ผู้มีความเชื่อจะตักตวงชีวิตจิตแบบคริสตชนอย่างแท้จริง ดังนั้น บรรดาผู้อภิบาลจึงต้องพยายามสุดความสามารถในงานอภิบาลทั้งหมด ที่จะให้ผู้มีความเชื่อได้รับการอบรมอย่างเหมาะสม กระนั้นก็ดี จุดประสงค์นี้จะบรรลุถึงไม่ได้ ถ้าบรรดาผู้อภิบาลเองไม่เป็นคนแรกที่มุ่งมั่นจะซึมซับจิตตารมณ์และพลังของพิธีกรรม และกลับเป็นครูสอนผู้อื่นในเรื่องนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความสำคัญอันดับแรกแก่การอบรมเรื่องพิธีกรรมสำหรับบรรดาบรรพชิต ดังนั้น สภาสังคายนาฯจึงกำหนดข้อปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้...(SC14)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:35-40) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “เราเป็นปังแห่งชีวิต ผู้ที่มาหาเราจะไม่หิว และผู้ที่เชื่อในเราจะไม่กระหายอีกเลย เราบอกท่านทั้งหลายแล้วว่า ท่านเห็นเราแล้ว แต่ไม่เชื่อ...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
7544
13335
51187
163705
306218
35907427
Your IP: 3.137.187.233
2024-04-19 09:34

สถานะการเยี่ยมชม

มี 349 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์