แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า


ประวัติเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า
candleAdventus ในภาษาละติน หมายถึงการเสด็จมาเยี่ยมเยียนประจำปีของเทพเจ้าที่วัดของพระองค์ เพื่อทรงเยี่ยมประชากรของพระองค์
ในศตวรรษที่ 3-4 คำนี้ถูกใช้ในความหมายถึง บุตรพระเจ้ากำลังเสด็จมารับเอากายและประทับอยู่ท่ามกลางประชากรของพระองค์
ใน Sacramentary โรมันฉบับเก่าแก่เน้นทั้งสองอย่าง คือ 1. การรับเอากายของพระคริสตเจ้า 2. การเสด็จมาครั้งที่ 2 ของพระองค์ โดยให้ความหมายว่า การรับเอากายของพระคริสตเจ้าเป็นการเริ่มความรอดพ้นของเรา และสิ่งนี้สมบูรณ์ในการเสด็จมาครั้งที่สองของพระองค์
ปลายศตวรรษที่ 4 ในพระศาสนจักรตะวันออก เริ่มมี 3 สัปดาห์เพื่อเตรียม Epiphany
ที่ Gaul และสเปน เน้นเรื่องการพลีกรรม จำศีล ไม่มีพิธีกรรมอะไรเป็นพิเศษ ดูเหมือนเป็นช่วงเตรียมคริสตังสำรองเพื่อรับศีลล้างบาป (ตามธรรมเนียมของจารีตตะวันออกจะมีการโปรดศีลล้างบาปในวันพระคริสต์แสดงองค์)

ศตวรรษที่ 5 ใน Gaul เริ่มเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าหลังวันฉลองนักบุญมาร์ติน (Lent of St. Martin) (56 วัน 8 สัปดาห์ / ตะวันออกอดอาหาร 5 วันต่อสัปดาห์ จึงเท่ากับอดอาหาร 40 วันพอดี)
ในโรมไม่มีธรรมเนียมล้างบาปในวันพระคริสต์แสดงองค์ และไม่มีการเอ่ยถึงธรรมเนียมเตรียมคริสต์มาสจนถึงครึ่งหลังศตวรรษที่ 6
พระสันตะปาปา Gregory the Great (เป็นพระสันตะปาปาระหว่างปี ค.ศ. 590-604) พูดถึงเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าว่ามี 4 สัปดาห์ (ที่โรมเน้นเตรียมการบังเกิดของพระเยซูเจ้า)
ธรรมเนียมการใช้โทษบาปเพื่อเตรียมการเสด็จมาครั้งที่ 2 ของพระเยซูเจ้าเริ่มขึ้นที่  Gaul (โดยได้รับอิทธิพลจากมิชชันนารีชาวไอริช นักบุญ Columbanus ปี 530-615 เน้นการเสด็จมาครั้งที่สอง การตัดสินของพระเจ้า จึงต้องมีการใช้โทษบาป ในพิธีกรรมไม่ร้องกลอรีอา อัลเลลูยา ไม่ขับร้องเตเดอุม และอาภรณ์ของพระสงฆ์เป็นสีม่วง) และมาถึงโรมในศตวรรษที่ 12
เราเห็นได้ชัดในศตวรรษที่ 12 ที่โรม งดขับกลอรีอา และกาซูลาของพระสงฆ์ในมิสซาเป็นสีม่วง แต่อย่างไรก็ดี การใช้โทษบาปในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าไม่ได้เน้นที่การใช้โทษบาปอย่างเข้มข้น แต่มีลักษณะที่ยินดีกว่าเทศกาลมหาพรต คือ ยังมีการขับร้องบทเพลงอัลเลลูยาในพิธีมิสซา (จะเห็นว่าในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าไม่มีวันบังคับให้อดอาหาร)
และการงดขับร้องบทพระสิริรุ่งโรจน์ ไม่ได้เป็นการงดโดยมีเหตุผลเดียวกับการงดขับร้องบทเพลงนี้ในเทศกาลมหาพรต แต่เป็นการงดเพื่อให้การขับร้องบทพระสิริรุ่งโรจน์ในคืนคริสต์มาสเป็นแบบ newness อย่างแท้จริง  (คำแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับปีพิธีกรรม)
ปัจจุบันเทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ มี 4 สัปดาห์ แต่ก่อน กษัตริย์ Pepin และ Charlemagne กำหนดให้ในดินแดนของพวกฟรังอาจจะเป็นระยะเวลา 4 5 หรือ 6 สัปดาห์ (ในมิลานยังคงเป็น 6 สัปดาห์)
วันพระเจ้าสัปดาห์แรกในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า อยู่ในระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม (ถ้าวันพระคริสตสมภพตรงกับวันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม วันพระเจ้าสัปดาห์แรกในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าจะตรงกับวันที่27พฤศจิกายน)
เทศกาลเตรียมรับเสด็จเริ่มที่วัตรเย็นที่ 1 ของวันพระเจ้าสัปดาห์แรกในเทศกาลเตรียมรับเสด็จ และจบก่อนวัตรเย็นที่ 1 ของคริสตสมภพ
ต้องทำมิสซาของวันพระเจ้าสัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ แม้มันจะตรงกับวันที่ 24 ธันวาคมก็ตาม

พิธีกรรมของเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าโดยทั่วไป
คำแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับปีพิธีกรรม ข้อ 39 บอกว่าเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้ามี 2 ลักษณะ คือ 1. เป็นการเตรียมฉลองคริสตสมภพการเสด็จมาครั้งแรก 2. เป็นการเตรียมใจรับเสด็จพระเยซูเจ้าที่จะเสด็จมาครั้งที่ 2
ดังนั้นเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าจึงเป็น festive commemoration of incarnation และ การรอคอยการเสด็จมาครั้งที่ 2 ของพระองค์ (เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าไม่ได้เน้นเรื่องการใช้โทษบาปมากเท่ากับเทศกาลมหาพรต แต่เพราะเราระลึกถึงการรับเอากายของพระคริสตเจ้า เราจึงทำกิจศรัทธารวมทั้งการใช้โทษบาปเพื่อรอคอยการเสด็จมาอีกครั้งหนึ่งของพระองค์ด้วยความชื่นชมยินดี)
พระศาสนจักรเสนอรูปแบบของบุคคลสามคนที่นำเราไปพบปะกับพระคริสตเจ้าในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า คือ 1) ประกาศกอิสยาห์ ประกาศกผู้ประกาศ “ความหวัง” ให้กับอิสราเอล ผู้ปลุกการรอคอยด้วยการประกาศว่า ความรอดพ้นใกล้จะมาถึงแล้ว 2) ยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง ประกาศกผู้ประกาศ “การกลับใจ” ผู้ปลุกเร้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การหลุดพ้นจากโลกของตัวเอง เพื่อออกไปพบพระคริสตเจ้าในการเปลี่ยนแปลง ในความใหม่ของชีวิต 3) พระนางมารีอา สตรีผู้เป็นแบบอย่างของ “ความพร้อมสรรพ” ในการตอบรับต่อแผนการของพระเจ้า และตื่นเฝ้าเสมอในการภาวนา ด้วยจิตใจที่ยินดีในการสรรเสริญ ขณะรอคอยการพบปะกับพระมหาไถ่
ด้วยการนำของบุคคลเหล่านี้     เราจะมีท่าทีที่เหมาะสมในการเตรียมรับการเสด็จมาของพระคริสตเจ้า ท่าทีเหล่านั้น คือ
1)     ท่าทีของ “การตื่นเฝ้า” ด้วยความเชื่อ การภาวนา และความพร้อมที่จะรับรู้ถึง “เครื่องหมาย” ของการเสด็จมาของพระเยซูเจ้าในสถานการณ์จริงของชีวิต
2)     ท่าทีของ “การเดิน” ตามหนทางที่พระเจ้าทรงให้ไว้ เป็นหนทางของการ  “กลับใจ” เพื่อติดตามพระเยซูสู่อาณาจักรของพระบิดา
3)     ท่าทีของ “ความยินดี” ที่นำเราไปหาพระเยซูเจ้า ซึ่งแสดงออกมาในความรักและความเพียรต่อผู้อื่น ท่าทีของการเปิดใจรับการริเริ่มใด ๆ ก็ตามในทางสร้างสรรค์ต่อการเสริมสร้างอาณาจักรของพระเจ้า
4)     ท่าทีของ “ความยากจน” ในจิตใจ และการทำใจให้ว่างเหมือนกับโยเซฟ พระนางมารีอา ยอห์น บัปติสต์ และ “คนจนของพระวรสาร” เพื่อจะรู้จักเห็นพระเยซู ผู้เสด็จมาแบบที่เราไม่คาดคิด

พระวาจาของพระเจ้าในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า
-    ในวันพระเจ้า
บทอ่านที่   1:  เป็นบทอ่านจากหนังสือประกาศก (เป็นต้นจากอิสยาห์)
บทอ่านที่  2: เป็นบทอ่านจากจดหมายอัครสาวก    (จากนักบุญเปาโลเป็นส่วนใหญ่)    ซึ่งสาระสำคัญเป็นการสอนและการตักเตือนให้เฝ้าระวังและดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม
พระวรสาร : เป็นบทอ่านที่กำหนดหัวข้อของการฉลองในแต่ละอาทิตย์ และมีทางเดินดังนี้
สัปดาห์ที่ 1: เป็นหัวข้อเกี่ยวกับ “วาระสุดท้าย”
สัปดาห์ที่ 2 และ 3 : เกี่ยวกับ “ผู้นำหน้าพระองค์ คือ ยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง”
สัปดาห์ที่ 4 : เหตุการณ์ก่อนการประสูติของพระองค์
ปี A : การแจ้งธรรมล้ำลึกเรื่องการบังเกิดแก่โยเซฟ
ปี B : ทูตสวรรค์แจ้งสารแด่พระนางมารีอา
ปี C : แม่พระเสด็จเยี่ยมนางเอลีซาเบธ

-    ในวันธรรมดา
สำหรับบทอ่านที่ 1 ใน  11 วันแรกของเทศกาลฯ เป็นบทอ่านจากหนังสือประกาศกอิสยาห์ (พระวรสารเริ่มกล่าวถึงยอห์นตั้งแต่วันพฤหัสสัปดาห์ที่สอง)
ในวันธรรมดาบทอ่านเหมือนกันทุกปี ตั้งแต่อาทิตย์แรก-16 ธันวาคม เน้นการเสด็จมาครั้งที่ 2 วันที่ 17-24 ธันวาคม เน้นที่การมาครั้งที่ 1 (พระวรสารจาก ลก และ มธ บทที่ 1)  บทภาวนาของประธาน พูดถึงทั้งการเสด็จมาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
มีบทนำขอบพระคุณ 2 แบบ แบบที่หนึ่ง สวดในวันที่ 1-16 ธันวาคม แบบที่สอง สวดในวันที่ 17-24 ธันวาคม (มิสซาของปีโอที่ 5 ไม่มีบทนำขอบพระคุณในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า)

ที่มา: เอกสารสอนปีพิธีกรรม (คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:1-6) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย ในบ้านพระบิดาของเรา มีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มี...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 12:44-50) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสเสียงดังว่า “ผู้ที่เชื่อในเรา ไม่ได้เชื่อในเราเท่านั้น แต่ยังเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามาด้วย ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา เราเข้ามาในโลกเป็นแสงสว่าง...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
14955
12206
68319
277852
306218
36021574
Your IP: 3.137.164.241
2024-04-25 23:04

สถานะการเยี่ยมชม

มี 318 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์