สายประคำ (Rosary)   

    เป็นการสวดภาวนาที่พระนางพรหมจารีย์ทรงสอนให้นักบุญแบร์นาแด็ทสวดในการประจักษ์มาที่เมืองลูร์ด ประเทศฝรั่งเศส  และสอนให้นักบุญลูซีอา นักบุญยาชินทา และนักบุญฟรังซิสโกสวดในการประจักษ์มาที่ฟาติมา
วิธีการสวดสายประคำ เป็นการสวดบทข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย บทวันทามารีอา และบทสิริพึงมี สลับกับการรำพึงถึงชีวประวัติของพระเยซูเจ้าและพระนางพรหมจารีมารีย์
วิธีการ / ขั้นตอน
1.การสวดสายประคำแม่พระ
    ขั้นที่ 1       ทำสำคัญมหากางเขนและสวดบท "ข้าพเจ้าเชื่อถึงพระเจ้า" เมื่อจับกางเขน
    ขั้นที่  2     สวดบท "ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย"  ที่เม็ดแรก สวดบท "วันทามารีอา" ที่ 3 เม็ดถัดมา
    ขั้นที่ 3         บอกข้อรำพึงทุกครั้งเมื่อจบสิริพึงมี  แล้วสวดบท "ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย"
    ขั้นที่  4     ต่อด้วยการสวดบท "วันทามารีอา" 10 บท (เม็ดละ 1 บท)  สายละ 50 เม็ด
 (ต่อจากประตูสวรรค์)
    ขั้นที่  5      สวด บท "สิริพึงมี"   ข้อรำพึงข้อต่อไป
ในหนังสือ Enchiridon of Indulgences กล่าวว่า (ข้อ 48) “หากผู้ใดสวดสายประคำในวัด สวดพร้อมกันในครอบครัว ในหมู่คณะ นักพรต ฯลฯ  จะได้รับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์  ส่วนการสวดในสภาพแวดล้อมอื่น จะได้รับพระคุณการุณย์ไม่ครบบริบูรณ์ สวดห้าทศติดต่อกัน  สวดออกเสียงโดยรำพึงอย่างศรัทธาถึงธรรมล้ำลึก”
    พระสันตะปาปา ปอลที่ 6 สารประคำเป็นคู่มือที่เราใช้รำพึงตามธรรมล้ำลึกของชีวิตพระคริสตเจ้า เป็น "วิธีที่พระวาจาของพระเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของมนุษย์โดยการไถ่กู้"
    พระสันตะปาปา ปีโอที่ 12 เห็นว่า สายประคำเป็น "บทสรุปของพระวรสารทั้งหมด" พระวรสาร (ข่าวดี) คือ พระวจนาตถ์เสด็จมารับเอากายเป็นมนุษย์เพื่อไถ่กู้โลก และทรงรวบรวมครอบครัวมนุษย์ทั้งหมดให้เข้าสู่ความรักของพระบิดา
    เมื่อพระแม่มารีย์ประจักษ์มาครั้งแรก ทรงถือสายประคำ เป็นบทเรียนแรกที่นำมนุษย์ไปสู่ชีวิตจิต  พระนางสวดสายประคำพร้อมกับนักบุญแบร์นาแด๊ทเพื่อสรรเสริญพระตรีเอกภาพ และพระนางตรัสกับนักบุญ 3 องค์ที่ฟาติมาว่า "ฉันคือพระมารดาแห่งสายประคำ พวกเธอจะยอมทนทุกข์ยากลำบากเพื่อให้คนบาปกลับใจได้ไหม"
    นักบุญเยโรมเรียกข้อรำพึง 3 ภาคว่า เป็น "น้ำพุ 3 สายของพระศาสนจักรที่พระนางสอนให้เราสวด "เพื่อสรรเสริญพระคริสตเจ้าอย่างไม่หยุดหย่อน"   นำเราไปสู่ชีวิตภายในแห่งพระตรีเอกภาพ
ในหนังสือ Enchiridon of Indulgences กล่าวว่า (ข้อ 48) “หากผู้ใดสวดสายประคำในวัด สวดพร้อมกันในครอบครัว ในหมู่คณะ นักพรต ฯลฯ   จะได้รับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์  ส่วนการสวดในสภาพแวดล้อมอื่น จะได้รับพระคุณการุณย์ไม่ครบบริบูรณ์ สวดห้าทศติดต่อกัน  สวดออกเสียงโดยรำพึงอย่างศรัทธาถึงธรรมล้ำลึก