วันพุธ สัปดาห์ที่ 4
พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 6:1-6)
เวลานั้น พระเยซูเจ้าเสด็จออกจากที่นั่นกลับไปยังถิ่นกำเนิดของพระองค์ บรรดาศิษย์ติดตามไปด้วย ครั้นถึงวันสับบาโตพระองค์ทรงเริ่มสั่งสอนในศาลาธรรม ผู้ฟังมากมายต่างประหลาดใจ และพูดว่า “เขาเอาเรื่องทั้งหมดนี้มาจากไหน ปรีชาญาณที่เขาได้รับมานี้คืออะไร อะไรคืออัศจรรย์ที่สำเร็จด้วยมือของเขา คนนี้เป็นช่างไม้ ลูกนางมารีย์ เป็นพี่น้องของยากอบ โยเสท ยูดาและซีโมนไม่ใช่หรือ พี่สาวน้องสาวของเขาก็อยู่ที่นี่กับพวกเรามิใช่หรือ” คนเหล่านั้นรู้สึกสะดุดใจและไม่ยอมรับพระองค์ พระเยซูเจ้าตรัสแก่เขาว่า “ประกาศกย่อมไม่ถูกเหยียดหยามนอกจากในถิ่นกำเนิด ท่ามกลางวงศ์ญาติ และในบ้านของตน” พระองค์ทรงทำอัศจรรย์ที่นั่นไม่ได้ นอกจากทรงปกพระหัตถ์รักษาผู้เจ็บป่วยบางคนให้หายจากโรคภัย พระองค์ทรงแปลกพระทัยที่เขาเหล่านั้นไม่มีความเชื่อ
มก 6:1-6 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พระคริสตเจ้าทรงถูกปฏิเสธเมื่อพระองค์เสด็จกลับไปที่นาซาเร็ธ ผู้คนในเมืองต่างรู้จักพระองค์ว่าเป็นคนธรรมดาของเมืองนั้น ผู้มีอาชีพเป็นช่างไม้ และพวกเขายังไม่พร้อมที่จะยอมรับพระองค์ในฐานะอาจารย์หรือรับบี จนกระทั่งพระองค์ทรงเริ่มต้นพระภารกิจสาธารณะของพระองค์เมื่อพระชนมายุสามสิบปี พระคริสตเจ้าทรงดำเนินชีวิตแบบส่วนตัวและเรียบง่าย ซึ่งพระคัมภีร์ได้สรุปไว้โดยย่อ (เทียบ ลก 2:52) เราสามารถคาดเดาได้ว่าพระคริสตเจ้าทรงทำงานหนักในอาชีพของพระองค์ที่นาซาเร็ธในระหว่างช่วง “ ปีที่ซ่อนเร้น” ในชีวิตของพระองค์ ซึ่งเป็นการรับรองถึงคุณค่าของการแสวงหาความศักดิ์สิทธิ์ ผ่านทางการทำงานและเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา
Day by Day with St. Joseph (วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ)
3 กุมภาพันธ์
พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ท่านจะต้องรักองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญาของท่าน นี่คือบทบัญญัติเอกและเป็นบทบัญญัติแรก” (มธ 22:37-38)
รักองค์พระผู้เป็นเจ้า
บทไตร่ตรอง
พระคริสตเจ้าทรงอ้างอิงข้อความในพันธสัญญาเดิม ที่กล่าวถึง ข้อบังคับพื้นฐานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับประชาชนชาวยิว
ข้อความดังกล่าวมาจากหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ บทที่ 6 ข้อ 4-8 ซึ่งกล่าวถึงบทบัญญัติประการแรกที่สำคัญที่สุด ขึ้นต้นด้วยพระวาจาที่ว่า “อิสราเอลเอ๋ย จงฟังเถิด องค์พระผู้เป็นเจ้า ทรงเป็นพระเจ้าของเรา องค์พระผู้เป็นเจ้า แต่เพียงพระองค์เดียว”
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 4 ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร
พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา (ลก 2:22-32)
เมื่อครบกำหนดเวลาที่มารดาและบุตรจะต้องทำพิธีชำระมลทิน ตามธรรมบัญญัติของโมเสส โยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์นำพระกุมารไปที่กรุงเยรูซาเล็มเพื่อถวายแด่พระเจ้า มีเขียนไว้ในธรรมบัญญัติขององค์พระผู้เป็นเจ้าว่า จะต้องถวายบุตรชายคนแรกแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า และถวายเครื่องบูชาคือนกเขาหนึ่งคู่หรือนกพิราบสองตัวตามที่มีกำหนดไว้ในธรรมบัญญัติของพระเจ้า เวลานั้น ที่กรุงเยรูซาเล็ม ชายผู้หนึ่งชื่อสิเมโอน เป็นคนชอบธรรมและยำเกรงพระเจ้า เขารอคอยความรอดพ้นของอิสราเอล พระจิตเจ้าสถิตอยู่กับเขา และทรงเปิดเผยให้เขารู้ว่า เขาจะไม่ตายก่อนที่จะได้เห็นพระคริสต์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า พระจิตเจ้าทรงนำสิเมโอนเข้าไปในพระวิหาร ขณะที่โยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์นำพระกุมารเข้ามาปฏิบัติตามที่ธรรมบัญญัติกำหนดไว้ สิเมโอนรับพระกุมารมาอุ้มไว้ และกล่าวถวายพระพรแด่พระเจ้าว่า
“ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า บัดนี้ พระองค์ทรงปล่อยผู้รับใช้ของพระองค์ไปเป็นสุข ตามพระดำรัสของพระองค์ เพราะนัยน์ตาของข้าพเจ้าได้เห็นองค์พระผู้ช่วยให้รอดพ้น ผู้ที่พระองค์ทรงจัดเตรียมไว้สำหรับนานาประชาชาติ เป็นแสงสว่างเปิดเผยให้คนต่างชาติรู้จักพระองค์ และเป็นสิริรุ่งโรจน์สำหรับอิสราเอลประชากรของพระองค์”
ลก 2:21-24 พระคริสตเจ้า ทรงรับพิธีเข้าสุหนัตในวันที่แปดหลังการบังเกิดของพระองค์ เป็นเหตุการณ์ที่เฉลิมฉลองในปฏิทินพิธีกรรมของอัฐมวารคริสต์มาส คือในวันที่ 1 มกราคม การเข้าสุหนัตเป็นเครื่องหมายของการเข้าร่วมพันธสัญญาของอิสราเอลในฐานะลูกหลานของอับราฮัม (เทียบ ลก 1: 59–66) ในทำนองเดียวกัน ตามกฎหมายของชาวยิว บิดามารดาของพระคริสตเจ้าได้นำพระองค์ไปที่พระวิหารหลังจากที่พระองค์บังเกิดได้สี่สิบวัน เพื่อทำพิธีชำระมลทินและการถวายบุตรหัวปี การชำระมลทินของหญิงหลังจากการคลอดบุตรนั้น เป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่นางจะไปนมัสการในพระวิหารหรือแตะต้องสิ่งของศักดิ์สิทธิ์อีกครั้งหนึ่ง ต้องมีการถวายเครื่องบูชาด้วยลูกแกะ นกเขาหนึ่งคู่หรือนกพิราบสองตัว ที่จริงแล้วในกรณีของการปฏิสนธิของพระนางมารีย์และการประสูติของพระคริสตเจ้า มิได้ทำให้พระนางมีมลทินภายใต้ธรรมบัญญัติ แต่พระนางก็ได้ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ พิธีถวายบุตรชายคนแรกนั้นเป็น “การไถ่กู้เชิงสาธารณะ” ที่จำเป็นสำหรับบุตรชายหัวปีของชนทุกเผ่า นอกเหนือจากเผ่าเลวี บิดามารดาจะถวายลูกชายของตนแด่พระเจ้าในเชิงสัญลักษณ์ และซื้อบุตรคืนด้วยการถวายเงินเล็กน้อย การถวายพระคริสตเจ้าในพระวิหารเป็นข้อรำพึงที่สี่ในพระธรรมล้ำลึกแห่งความปิติยินดีของการสวดสายประคำ และมีการเฉลิมฉลองตามปฏิทินพิธีกรรมในวันที่สี่สิบหลังจากวันคริสต์มาส คือในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ การฉลองนี้เรียกอีกอย่างว่า การเสกเทียน (“ มิสซาเสกเทียน”) เพื่อเน้นว่าพระคริสตเจ้าทรงเป็นแสงสว่างของโลก ตามคำทำนายของซิเมโอน ด้วยเหตุนี้เทียนที่ได้รับการเสกในวันนี้จึงมีการนำไปใช้ตลอดทั้งปี
Day by Day with St. Joseph (วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ)
2 กุมภาพันธ์
“ท่านเป็นสมณะตลอดนิรันดร ตามแบบอย่างของเมลคีเซเดค” (ฮบ 5:6)
สงฆ์นิรันดร
บทไตร่ตรอง
ตรงกับวันนี้ เมื่อกว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว ในอาสนวิหารแม่พระปฏิสนธินิรมล ที่เมืองซีราคิวส์ บิชอปได้ทำพิธีบวชพระสงฆ์สิบสององค์ “เราแต่ละคนได้คุกเข่าต่อหน้าบิชอป ขณะที่ท่านได้ปกมือเหนือศีรษะของเรา เจิมมือของเราด้วยน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และยื่นถ้วยกาลิกส์กับจานรองแผ่นปัง เพื่อให้เราได้สัมผัส”
“อีกครั้งหนึ่ง ในตอนท้ายพิธี เราแต่ละคนคุกเข่าลงต่อหน้าบิชอป พร้อมกับสัญญาที่จะนอบน้อมต่อท่านและผู้สืบตำแหน่งต่อจากท่านด้วย”
วันที่ 2 กุมภาพันธ์
ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร
(The Presentation of the Lord, feast)
ภายใต้กฎหมายของโมเสส หญิงที่คลอดบุตรจะถือว่า "มีมลทิน" เป็นเวลา 40 วันหลังการให้กำเนิดบุตร และเธอจะต้องมาแสดงตนต่อพระสงฆ์ที่พระวิหารเพื่อถวายบูชาเป็นการชำระมลทินให้บริสุทธิ์ และทำการไถ่บุตรของเธอคืนมา ถ้าไม่ทำเช่นนี้บุคคลนั้นจะถูกขับออกจากการกราบไหว้นมัสการแบบชาวยิวโดยอัตโนมัติ ที่น่าสังเกต พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ กฎหมายนี้ย่อมจะไม่ต้องผูกมัดพระนางมารีย์ แต่ด้วยความนอบน้อมให้สอดคล้องกับกฎหมาย พระนางมารีย์จึงทรงยอมรับพิธีกรรมนี้อย่างสุภาพ และได้ถวายบุตรชายคนแรกแด่พระเจ้า โดยถวายเครื่องบูชาคือนกเขาหนึ่งคู่ หรือนกพิราบสองตัว (เพื่อไถ่บุตรคืนมา) ทั้งนี้ทำตามสถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นการถวายของคนจน (ถ้าเป็นคนรวยจะถวายลูกแกะ)
คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก CCC ข้อ 678 ในการเทศน์สอนประชาชน พระเยซูเจ้าทรงประกาศถึงการพิพากษาในวาระสุดท้ายตามแบบของบรรดาประกาศก และยอห์นผู้ประกอบพิธีล้าง ในเวลานั้นวิธีดำเนินชีวิตของแต่ละคนและความลับในใจจะถูกเปิดเผยแจ้งชัด เวลานั้น ความไม่เชื่ออย่างผิดๆ ที่คิดว่าพระหรรษทานที่พระเจ้าประทานให้นั้นไม่มีค่าอะไรจะถูกพิพากษาลงโทษ ท่าทีของเราต่อพี่น้องเพื่อนมนุษย์จะเปิดเผยให้เห็นว่าเรารับหรือผลักไสไม่ยอมรับพระหรรษทานและความรักของพระเจ้า ในวันสุดท้าย พระเยซูเจ้าจะตรัสว่า “ท่านทำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา” (มธ 25:40)
วันจันทร์ สัปดาห์ที่ 4
พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 5:1-20)
เวลานั้น พระเยซูเจ้าและบรรดาศิษย์ข้ามทะเลสาบมาถึงดินแดนของชาวเกราซา ครั้นพระองค์เสด็จขึ้นจากเรือ ชายคนหนึ่งซึ่งถูกปีศาจสิงออกมาจากบริเวณหลุมศพ เข้ามาเฝ้าพระองค์ทันที ชายคนนี้อาศัยอยู่ตามหลุมศพ ไม่มีใครล่ามเขาไว้ได้ แม้จะใช้โซ่ล่ามก็ตาม มีผู้ใช้โซ่ตรวนล่ามเขาหลายครั้ง เขาก็หักโซ่ตรวน ไม่มีใครทำให้เขาสยบได้ เขาอยู่ตามหลุมศพและตามภูเขาตลอดวันตลอดคืน ส่งเสียงร้องเอ็ดอึงและใช้หินทุบตีตนเอง เมื่อเห็นพระเยซูเจ้าแต่ไกล เขาก็วิ่งเข้ามากราบเฉพาะพระพักตร์ ร้องเสียงดังว่า “ข้าแต่พระเยซูบุตรของพระเจ้าผู้สูงสุด ท่านมายุ่งเกี่ยวกับข้าพเจ้าทำไม ข้าพเจ้าวอนขอท่านในพระนามของพระเจ้า อย่าทรมานข้าพเจ้าเลย” ทั้งนี้เพราะพระเยซูเจ้าตรัสสั่งปีศาจว่า “เจ้าปีศาจ จงออกจากชายผู้นี้” แล้วพระองค์ทรงถามว่า “เจ้าชื่ออะไร” มันตอบว่า “ชื่อกองพล เพราะเราอยู่กันจำนวนมาก” และมันพร่ำวอนพระองค์มิให้ขับไล่มันออกจากบริเวณนั้น หมูฝูงใหญ่กำลังหากินอยู่บนเนินเขาที่นั่น พวกปีศาจจึงอ้อนวอนพระองค์ว่า “ขอได้โปรดส่งพวกเราเข้าไปในหมูฝูงนั้นเถิด” พระองค์ก็ทรงอนุญาต พวกปีศาจจึงออกไปสิงอยู่ในร่างหมู หมูฝูงนั้นซึ่งมีประมาณสองพันตัวก็พากันวิ่งกระโจนจากหน้าผาลงไปในทะเลสาบ และจมน้ำตายทั้งหมด คนเลี้ยงหมูต่างวิ่งหนีไปเล่าเรื่องนี้ตามเมืองและตามชนบท ประชาชนออกมาดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเขาเข้ามาใกล้พระเยซูเจ้า ก็แลเห็นคนที่เคยถูกปีศาจกองพลสิงนั่งอยู่ สวมเสื้อผ้า มีสติดี พวกเขาต่างมีความกลัว ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ก็เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ถูกปีศาจสิงและเล่าเรื่องหมูให้ฟัง ประชาชนจึงขอร้องพระเยซูเจ้าให้เสด็จออกไปจากเขตแดนของเขา เมื่อพระองค์เสด็จลงเรือ ผู้ที่เคยถูกปีศาจสิงขออนุญาตตามเสด็จด้วย แต่พระองค์ไม่ทรงอนุญาต ตรัสว่า “จงกลับบ้าน ไปหาญาติพี่น้องของท่าน เล่าให้เขาฟังถึงเหตุการณ์ที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงกระทำและแสดงพระเมตตาต่อท่าน” ชายนั้นจากไป เริ่มประกาศในแคว้นทศบุรีถึงเหตุการณ์ที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำต่อตน ทุกคนที่ได้ฟังต่างประหลาดใจ
มก 5:1-20 พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองเกราซาเป็นที่อาศัยของคนต่างศาสนา ชายที่ถูกปีศาจสิงไม่เพียงแต่เป็นชาวต่างชาติแต่ยังมีมลทินอีกด้วย เขาอาศัยอยู่ตามหลุมศพและในฝูงสุกร พันธกิจแห่งการไถ่กู้ของพระคริสตเจ้านั้นมีไว้เพื่อมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าเป็นชาวยิวหรือชาวต่างชาติ การขับไล่ปีศาจแสดงให้เห็นถึงพระอาณาจักรของพระเจ้าและการพ่ายแพ้ของซาตานในตอนสุดท้าย
Day by Day with St. Joseph (วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ)
1 กุมภาพันธ์
“คนที่กล่าวแก่เราว่า ‘พระเจ้าข้า พระเจ้าข้า’ นั้นมิใช่ทุกคนจะได้เข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ แต่ผู้ที่ปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระบิดาของเรา ผู้สถิตในสวรรค์นั่นแหละจะเข้าสู่สวรรค์ได้” (มธ 7:21)
พระประสงค์ของพระบิดา
บทไตร่ตรอง
พระวรสารโดยนักบุญลูกา (6:46) นำเสนอสารจากพระคริสตเจ้าที่คล้ายคลึงกันกับของนักบุญมัทธิว คือ “ทำไมท่านจึงเรียกเราว่า “ข้าแต่พระเจ้า ข้าแต่พระเจ้า และไม่ปฏิบัติตามที่เราบอกเล่า”
ในช่วงเดือนมกราคม เราได้ไตร่ตรองเกี่ยวกับนักบุญโยเซฟในฐานะที่ท่านเป็นแบบอย่าง ผู้ช่วยเหลือ องค์อุปถัมภ์ของผู้ใกล้ตาย และผู้ปกป้องพระศาสนจักร ในสัปดาห์ต่อจากนี้ไปเราจะมาเรียนรู้ให้เข้าใจว่าอะไรคือพระประสงค์ของพระบิดาเจ้าสวรรค์ของพระคริสตเจ้าที่เราต้องปฏิบัติตาม
วันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 4
พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 1:21-28)
เวลานั้น พระเยซูเจ้าเสด็จมาถึงเมืองคาเปอรนาอุมพร้อมกับบรรดาศิษย์ เมื่อถึงวันสับบาโต พระองค์เสด็จเข้าไปในศาลาธรรม และทรงเริ่มสั่งสอน คำสั่งสอนของพระองค์ทำให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจอย่างมาก เพราะทรงสอนเขาอย่างทรงอำนาจไม่เหมือนกับบรรดาธรรมาจารย์
ทันใดนั้น ในศาลาธรรมชายคนหนึ่งซึ่งปิศาจสิงอยู่ ร้องตะโกนว่า ‘ท่านมายุ่งกับเราทำไม เยซู ชาวนาซาเร็ธ? ท่านมาทำลายเราใช่ไหม? เรารู้ว่าท่านเป็นใคร ท่านคือองค์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรงดุมันและทรงสั่งว่า ‘จงเงียบ! ออกไปจากผู้นี้!’ เมื่อปิศาจทำให้คนนั้นชักและร้องเสียงดังแล้ว มันก็ออกไปจากเขา ทุกคนต่างประหลาดใจจึงถามกันว่า “นี่มันเรื่องอะไร เป็นคำสั่งสอนแบบใหม่ที่มีอำนาจ เขาสั่งแม้กระทั่งปิศาจและมันก็เชื่อฟัง’ แล้วกิตติศัพท์ของพระองค์ก็เลื่องลือไปทุกแห่งตลอดทั่วแคว้นกาลิลีทันที
มก 1:21-22 เมื่อถึงวันสับบาโต พระองค์เสด็จเข้าไปในศาลาธรรม: ถึงแม้ว่าพระองค์จะถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎของวันสับบาโต (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการห้ามทำงานในวันสับบาโต) พระคริสตเจ้าไม่เพียงแต่ปฏิบัติตามกฎของโมเสสเพียงเท่านั้น แต่พระองค์ยังทรงเติมเต็มกฎนั้นให้มีความหมายครบถ้วนที่สุดด้วย
Day by Day with St. Joseph (วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ)
31 มกราคม
“ร่างกายที่ปราศจากวิญญาณย่อมตายแล้วฉันใด ความเชื่อที่ไม่มีการกระทำก็ย่อมตายแล้วฉันนั้น” (ยก 2:26)
ความเชื่อที่ปราศจากการกระทำ
บทไตร่ตรอง
เมื่อเราสามารถรับความรอดพ้นอาศัยความเชื่อในพระเยซูเจ้าได้ ความเชื่อนั้นต้องเปี่ยมล้นด้วยกิจการดี การงานและกิจการที่ดีย่อมเกิดจากการอุทิศตนเอง การรักผู้อื่น และหัวใจที่เสียสละ
บางทีคำสั่งที่เรียกร้องมากที่สุดขององค์พระผู้เป็นเจ้านั้นได้ปรากฏให้เราเห็นในเรื่องของแพะและแกะ ดังที่พระองค์ตรัสไว้ในพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิวในบทที่ 25 ว่า “ท่านไม่ได้ทำสิ่งใดต่อผู้ต่ำต้อยของเราคนหนึ่ง ท่านก็ไม่ได้ทำสิ่งนั้นต่อเรา”
ข้อคิดข้อรำพึง
อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา ปี B
เพราะทรงสอนเขาอย่างทรงอำนาจ
กษัตริย์แห่งซีเรีย พระนามว่า อันติโอคุส เอปิฟาเนส ทรงอยากครอบครองดินแดนอียิปต์ พระองค์ทรงรวบรวมกองทัพและยกไปรุกรานในปี 168 ก่อนคริสตศักราช แต่ในขณะนั้นจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจอยู่ และได้หยามกษัตริย์แห่งซีเรียด้วยการออกคำสั่งให้ยกทัพกลับบ้านไป โดยการสั่งการเช่นนี้ กรุงโรมไม่ได้ส่งกองทัพมาขู่ด้วย เพราะผู้เรืองอำนาจในขณะนั้นไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น พวกเขาเพียงแต่ส่งสมาชิกสภาที่ชื่อว่า โปปิลิอุส เลนา มากับคณะเล็กๆ ที่ไม่ติดอาวุธ โปปิลิอุส กับกษัตริย์อันติโอคุส มาพบกันที่เขตแดนประเทศอียิปต์ ทั้งสองสนทนากัน ต่างรู้จักโรมดี และมีความเป็นมิตรต่อกัน ก่อนจากกัน โปปิลิอุสได้บอกกับอันติโอคุสอย่างอ่อนโยนว่า ทางโรมไม่ต้องการให้เดินทัพเข้าไปในประเทศอียิปต์ แต่ต้องการให้ยกทัพกลับบ้าน อันติโอคุสบอกว่าจะขอพิจารณาดูก่อน แต่โปปิลิอุสเรียกคนของเขามาล้อมรอบอันติโอคุสแล้วกล่าวว่า “จงพิจารณาเดี๋ยวนี้ ให้ตอบเรามาว่าท่านตัดสินใจอย่างไรก่อนออกไปจากวงล้อมของเรา” อันติโอคุสใช้เวลาคิดเพียงเล็กน้อย และตระหนักว่าการจะขัดแย้งต่อโรมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จึงตอบว่า “เราจะกลับบ้าน” แม้ว่าจะรู้สึกว่าถูกหยามพระเกียรติอย่างยิ่งในฐานะทรงเป็นกษัตริย์ แต่ในเวลาเดียวกันก็ต้องถือว่านี่เป็นการแสดงออกถึงคำสั่งที่ทรงอำนาจของซีซาร์แห่งจักรวรรดิโรมัน
การทำแท้งในมุมมองของพระศาสนจักรคาทอลิก
จากประเด็นร้อนที่เกิดขึ้น เรื่องการแก้ไขกฎหมายอาญาว่าด้วยการทำแท้ง ซึ่งเป็นประเด็นทางศีลธรรมที่มีความละเอียดอ่อน และส่งผลกระทบโดยตรงต่อหลักคำสอนคาทอลิกของเรา บทความนี้จึงขอนำเสนอสาระสำคัญของกฎหมายมาตรา 301 และ 305 และจุดยืนของพระศาสนจักรในเรื่องของการทำแท้ง
1. สรุปสาระสำคัญของกฎหมายมาตรา 301 และ 305
มาตรา 301
หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ขณะมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สรุป มาตรา 301 เอาผิดผู้หญิงที่ทำแท้งเฉพาะในอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์
วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3
พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 4:35-41)
เย็นวันเดียวกันนั้น พระเยซูเจ้าตรัสสั่งบรรดาศิษย์ว่า “เราจงข้ามไปทะเลสาบฝั่งโน้นกันเถิด” บรรดาศิษย์จึงละประชาชนไว้ และออกเรือที่พระองค์ประทับอยู่นั้นไป มีเรือลำอื่น ๆ ติดตามไปด้วย ขณะนั้นเกิดพายุแรงกล้า คลื่นซัดเข้าเรือจนน้ำเกือบจะเต็มเรืออยู่แล้ว พระองค์บรรทมหลับหนุนหมอนอยู่ที่ท้ายเรือ บรรดาศิษย์จึงปลุกพระองค์ ทูลถามว่า “พระอาจารย์ พระองค์ไม่สนพระทัยที่พวกเรากำลังจะตายอยู่แล้วหรือ” พระองค์จึงทรงลุกขึ้น บังคับลม ตรัสสั่งทะเลว่า “เงียบซิ จงสงบลงเถิด” ลมก็หยุด ท้องทะเลราบเรียบอย่างยิ่ง แล้วพระองค์ตรัสถามเขาว่า “ตกใจกลัวเช่นนี้ทำไม ท่านยังไม่มีความเชื่อหรือ” เขาเหล่านั้นกลัวมาก พูดกันว่า “ท่านผู้นี้เป็นใครหนอ ลมและทะเลจึงยอมเชื่อฟังเช่นนี้”
มก 4:35-41 ตกใจกลัวเช่นนี้ทำไม ท่านยังไม่มีความเชื่อหรือ: คำสอนพื้นฐานจากเรื่องนี้คือการเปิดเผยว่าพระคริสตเจ้าทรงเป็นพระเจ้าและมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทั้งสองธรรมชาติผู้ทรงสามารถเอาชนะอุปสรรคทั้งมวลได้
แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
122/8 อาคารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ซ.นนทรี 14 ถ.นนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
โทร. 095-953-3070, 02-681-3850 Email: ccbkk@catholic.or.th Line_ID: kamsonbkk