การอบรมเณรให้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์
พระสงฆ์สึก เพราะขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์
บทสัมภาษณ์พระสังฆราชโฮเฆ่  มารีอา  ยานกูอัส (Jose Maria Yanguas)
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2011 สำนักพิมพ์ ZENIT
โดยการ์เมน   เอเลน่า   วิลล่า (By Carmen Elena Villa) 

โรม    23 กุมภาพันธ์, 2011 (Zenit.org) .
     หลักสูตรล่าสุดเกี่ยวกับการอบรมจิตวิญญาณในเณราลัย (seminaries) เป็นประเด็นขึ้นมา เพราะเกี่ยวกับวุฒิภาวะด้านร่างกายและอารมณ์ของผู้สมัครเป็นพระสงฆ์ และความสำคัญของการแนะแนวด้านจิตวิญญาณ

           สำนักพิมพ์ซีนิท สัมภาษณ์กับพระสังฆราชโฮเฆ่ แห่งกูเอนกา ( Cuenca) ประเทศสเปน ที่นำเสนอหัวข้อของความเปราะบางทางอารมณ์ แก่ผู้เข้าร่วมประชุม ในการอบรมระหว่างวันที่ 7-11 กุมภาพันธ์ จัดโดยศูนย์อบรมพระสงฆ์  มหาวิทยาลัยสันตะสำนักซานตา  ครอเช. สัปดาห์แห่งการอบรมใช้หัวข้อ “การอบรมจิตวิญญาณส่วนบุคคลในสามเณราลัย”
+
ซีนิท: วิญญาณรักษ์มีบทบาทอะไรในการอบรมเณร
พระสังฆราชโฆ่เซ
     แน่นอน เป็นบทบาทสำคัญ แง่หนึ่ง วิญญาณรักษ์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตและการอบรมจิตวิญญาณของเณร ด้วยวิธีสนทนา การฟื้นฟูจิตใจ การพิศเพ่งระพึง การอ่านหนังสือด้วยกันในกลุ่ม
        อีกแง่หนึ่ง วิญญาณรักษ์คือ ผู้ชี้นำด้านจิตวิญญาณของผู้สมัครเป็นพระสงฆ์    วิญญาณรักษ์เปิดวิญญาณแก่พวกเขา ทำให้เขามีส่วนร่วมในชีวิตภายใน (ฝ่ายจิต) ของเณร  เพื่อให้เขาสามารถชี้แนะ สร้างความเข้าใจ แก้ไขปรับปรุง เปิดมุมมองโลก  ชี้แจงข้อสงสัย เสนอเป้าหมาย  หลายครั้ง  ให้บริการที่เน้นคุณภาพ  จึงเป็นงานที่สัมผัสกับทุกแง่มุมที่ใกล้ชิดที่สุดส่วนบุคคลของเณรแต่ละคน
       ดังนั้น การเป็นวิญญาณรักษ์เป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนมาก เพื่อให้ผู้สมัครเป็นพระสงฆ์เป็นที่ยอมรับ  เข้าใจ และน่าชื่นชม. จึงเรียกร้องให้พวกเขามีความอ่อนน้อมถ่อมตนและรักพระศาสนจักร เพื่อไม่ให้พวกเขาเลียนแบบภาพลักษณ์ของคนอื่นและเหมือนกันไปหมด  เรียกร้องให้เณรเคารพในอัตลักษณ์ของแต่ละคนด้วยความเชื่อมั่นว่า     ไม่มีสองวิญญาณที่เหมือนกัน และไม่มีสูตรเดียวกันที่ปรับใช้กับทุกคน    เณรจึงต้องเข้มแข็งเพื่อสามารถแก้ไขปรับปรุงตัวได้เมื่อจำเป็น. 
วิญญาณรักษ์ต้องมีปรีชาญาณที่เปี่ยมคุณธรรมและความรู้เกี่ยวกับชีวิตจิตวิญญาณ  สนใจสิ่งที่พระเจ้าทรงพระประสงค์จากผู้สมัครเป็นพระสงฆ์    เพื่อดูแลและอำนวยการให้เขามีความจริงใจ รอบคอบที่จะชี้นำเณรให้ตรงกับเกณฑ์ที่พึงประสงค์ และอดทนในการสนับสนุนจังหวะของการเจริญเติบโตของเณรแต่ละคน ที่หลายครั้งแตกต่างกันมาก
+
ซีนิท:จากงานวิชาการที่มหาวิทยาลัยซานตาโครเชจัดขึ้น มีความเปราะบางทางอารมณ์แบบใดบ้าง?
พระสังฆราช: เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเฉพาะเจาะจงของการอบรมพระสงฆ์. ความเปราะบาง  ขาดวุฒิภาวะ, ความไม่อยู่กับร่องกับรอยด้านจิตวิญญาณ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในคนหนุ่มสาวและวัยรุ่นจำนวนมาก.  เป็นที่ประจักษ์ว่า ขาดความกลมกลืนระหว่างเรื่องสติปัญญา  เรื่องความตั้งใจและเรื่องอารมณ์ เจตจำนง และอารมณ์ของแต่ละบุคคล, ในการสร้างความไม่มั่นคง  เปลี่ยนใจบ่อย  พฤติกรรมที่ถูก "ความปรารถนา" ชี้นำ, 
-    ล้มเหลวในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย, 
-     ความผิดหวังหลังจากที่กระตือรือร้นที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน,
-    เกิดภาวะซึมเศร้าโดยไม่มีเหตุผล เพราะความล้มเหลวเพียงเล็กน้อยและหลีกเลี่ยงไม่ได้ 
-    พบแต่ความล้มเหลว จนไม่สามารถที่ดำเนินชีวิตต่อไปได้
-     ล้มเหลวในการเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ,
-    ความยากลำบากในการตัดสินใจที่แท้จริง
      วิญญาณรักษ์ต้องสนใจคนที่เปราะบางด้านอารมณ์มากที่สุด   เพื่อให้เขาเป็นที่ยอมรับและได้รับความเคารพ. พวกเขาสับสนระหว่างความรู้สึกกับความรักที่แท้จริงได้อย่างง่ายดาย
+
ซีนิท: เป็นเพียงปัญหาเกี่ยวกับความรู้สึกต่างๆหรือไม่?
พระสังฆราช: ไม่แน่  เรื่องนี้เป็นการบูรณาการที่ไม่เพียงพอของแดนอารมณ์สำหรับการเป็นบุคคลที่สมบูรณ์  เพราะวุฒิภาวะส่วนบุคคล เป็นผลของการพัฒนาความกลมกลืนของสมรรถนะมนุษย์.
        การขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ไม่เพียงเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์ความรู้สึก; แน่นอน มันเป็นนัยยะถึงการไม่บรรลุนิติภาวะทางปัญญาและเจตจำนง
            ถ้าเณรสับสนเรื่องแดนความรู้สึกและอารมณ์บ่อยครั้ง  แล้วมีอิทธิพลเหนือปัญญาและเจตจำนง,ที่เราจะต้องกล่าวถึงอารมณ์ราคะ (sentimentalism), ใช้ความรู้สึกในการตัดสินใจเกี่ยวกับความจริงหรือความผิดพลาด และทำให้พวกเขาเป็นเพียงเครื่องกลในการการกระทำสิ่งต่างๆ. นี่เป็นสาเหตุทำให้สูญเสียความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะ,  และทำให้เจตจำนงอ่อนแอ.
       ดังนั้น ชีวิตของบุคคล ที่อยู่ในอำนาจของตัวแปร,    ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงเสมอ,       จะกลายเป็นคนผิวเผิน หยิบโหย่ง  เมื่อเป็นเช่นนั้น  พวกเขาต้องใช้สติปัญญาและเจตจำนงกำกับควบคุมมากขึ้น
          หากแนวคิดความรู้สึกนึกคิด (sentimentalism) ก้าวก่ายเข้าไปในชีวิตของความเชื่อแล้วละก็,เจตจำนงจะมีความเสี่ยงมากที่จะอยู่ใต้อิทธิพลของความรู้สึก,ประสบการณ์ และความรักใคร่ ในที่สุด ความเชื่อไม่อาจสนับสนุน และ “ไม่มีความเชื่อ” อีกต่อไป
+
ซีนิท: วิญญาณรักษ์ต้องพยายามทำให้ผู้สมัครมีวุฒิภาวะด้านอารมณ์ สิ่งนี้มีลักษณะอะไร?
พระสังฆราช: วุฒิภาวะด้านอารมณ์เรียกร้องให้ชายคนหนึ่งมีวิสัยทัศน์ ที่จะตอบสนองต่อความจริงโดยไม่ใช้ความคิดว่า สิ่งที่ซับซ้อนถูกอธิบายได้ด้วยส่วนย่อยๆที่ไม่ซับซ้อน (reductionisms), ความคิดทวินิยม( dualisms ) เชื่อว่าจิตและกายแยกออกจากกันเป็นสอง คือ จิตหนึ่ง และกายหนึ่ง ร่างกายเป็นเพียงเครื่องจักร มีจิตทำหน้าที่รับรู้และสั่งการ. ซึ่งเป็นเพียงวิสัยทัศน์บางส่วนเท่านั้น. 
       เณรต้องมีความรู้เรื่อง “ระเบียบของความรัก”" (“ordo amoris” [order of love]ที่แท้จริง, เกี่ยวกับขีดคั่นของสิ่งดีๆที่เขาควรได้รับความรัก. แต่ยังต้องมีความเข้มแข็ง  พลังจิต, สมรรถนะที่สามารถปฏิบัติตามและทำให้ระเบียบแห่งรักมีบทบาท
เซนิท: อะไรคือปัจจัยที่เป็นผลดีของวุฒิภาวะทางอารมณ์?
พระสังฆราช : สภาพแวดล้อมที่น่าชื่นชม  การไม่ปฏิเสธความจริงสูงสุด, ค่านิยมที่แข็งแกร่ง  และรูปแบบพฤติกรรม, 
           วัฒนธรรมชี้ความแตกต่างระหว่างความดีและความชั่วที่ไม่มีความแน่นอน  เพราะเณรอาจสับสนเรื่องความจริง ที่จะนำไปปฏิบัติ ซึ่ง “ทุกสิ่งเป็นสีสรรของแก้ว ที่เราเห็น” สิ่งนี้ทำให้เป็นการศึกษาที่แท้จริง หรือทำให้การอบรมเป็นไปไม่ได้.  ไม่มีต้นแบบ ไม่มีความคิดที่ถูกต้องที่ทำให้เกิด “ความเป็นมนุษย์ (ผู้มีจิตใจสูง)
        ความยากลำบากจะน้อยลงเมื่อใช้ความพยายาม    มุ่งมั่นและเสียสละที่ตอบสนองการศึกษาทั้งหมด  ไม่หลงระเริงไปกับชื่อเสียงดีเพราะความสุข จนกลายเป็นเป้าหมายของการดำรงอยู่. การแสวงหาความสุขชั่วแล่น ทำให้เขาปรากฏตัวเป็นมนุษย์-สัตว์ที่นักบุญเปาโลกล่าวถึง. เขาไม่สามารถเข้าใจเรื่องต่างๆ ของพระเจ้าได้ เขาจึงเป็นทาสแห่งราคะตัณหาของเขา
+
ซีนิท: ปัจจัยนี้เป็นการท้าทายสำหรับการอบรมเณรใช่ไหม?
พระสังฆราช: แท้จริง นั่นคือเหตุผลที่จำเป็นที่จะนำเสนอ ที่มีผลต่อผู้สมัครที่จะรับศีลบวชพระสงฆ์ ซึ่งเป็นรูปแบบของพระคริสตเจ้า  ผู้ทรงเป็นพระชุมพาบาลแสนดี  เพื่อกระตุ้นให้พวกเขามีภาพนี้  ต้องเข้าใจงานอบรมที่มีความสำคัญทั้งหมด  รวมทั้งรู้จักบุคลิกภาพปลอมของตัวเอง.
              "ระเบียบแห่งรัก”  จะแสดงอย่างชัดเจน  เป็นระเบียบของสิ่งดีๆที่ได้รับความรักและตระหนักถึง. จะต้องสร้างความเข้มแข็ง  ทำให้เจตจำนงของผู้สมัครแกร่งขึ้น  เพื่อปฏิบัติการด้วย  "ความอดทน",ในสมรรถนะที่จะทนทุกข์ต่อสิ่งที่เรารัก ซึ่งใช้มุ่งมั่นและความเสียสละของเรา
           ผู้สมัครเป็นพระสงฆ์ควรติดต่อกับบุคคลที่มีศักดิ์สงฆ์ที่แท้จริง และเกิดอุดมการณ์แห่งรักเยี่ยงสงฆ์ และถวายตนเองแด่พระเจ้า,มีความหวังและมองโลกในแง่ดี, วิญญาณมีสุขารมณ์ และมีวิสัยทัศน์เชิงบวกแห่งความเชื่อ