โป๊ปทรงปฏิรูปขั้นตอนการขอโมฆะต่อการแต่งงาน
สมณกฤษฎีกา 2 ฉบับ ชื่อ“พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้พิพากษาที่ทรงอ่อนโยน” (“Mitis Iudex Dominus Iesus” และ “พระเยซูเจ้าผู้ทรงอ่อนโยนและทรงพระเมตตา” (“Mitis et misericors Iesus”
นครรัฐวาติกัน 8 กันยายน 2015 (VIS)


สมเด็จพระสันตะปาปาทรงปฎิรูปกระบวนการของประมวลกฎหมายพระศาสนจักรเพื่อทำให้การแต่งงานเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรโรมันและประมวลกฎหมายพระศาสนจักรตะวันออก (the Code of Canon Law (CIC) and the Code of Canons of the Eastern Churches (CCEO)) ด้วยสมณลิขิตส่วนพระองค์ 2 ฉบับ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวันนี้
               พระสมณกฤษฎีกาฉบับแรก ชื่อ“พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นผู้พิพากษาที่อ่อนโยน” (“Mitis Iudex Dominus Iesus”
สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสว่า “พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นผู้พิพากษาที่ทรงพระเมตตา,นายชุมพาบาลสำหรับวิญญาณของเรา ทรงมอบอำนาจแห่งกุญแจ เพื่อเติมเต็มงานยุติธรรมและความจริงแก่อัครสาวกเปโตรและผู้สืบตำแหน่ง   อำนาจสากลสูงสุดที่ผูกมัดและสิ้นสุดที่นี่ เมื่อโลกยืนยัน,ร่วมมือและอธิบายว่า “นายชุมพาบาลของพระศาสนจักรท้องถิ่น,โดยพวกเขามีสิทธิอันศักดิ์สิทธิ์ทำหน้าที่ตัดสินผู้อยู่ใต้การปกครอง เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า”
            พระองค์ตรัสต่อไปว่า "ตลอดหลายศตวรรษ สำหรับพระศาสนจักร เรื่องการแต่งงานนั้น เราต้องตระหนักอย่างชัดเจนเกี่ยวกับพระวาจาของพระคริสตเจ้า,ต้องทำความเข้าใจและอธิบายข้อความเชื่อเกี่ยวกับการประกาศโมฆะแห่งพันธะที่ศักดิ์สิทธิ์ระหว่างคู่สมรสในเชิงลึก, พัฒนาระบบเพื่อประกาศการลดขั้นตอนการทำเรื่องขอโมฆะกรรมการแต่งงาน,มีระเบียบข้อบังคับและกระบวนการพระศาสนจักร ที่เข้ากับความจริงของการยืนยันความเชื่อ”
              "เราทำทั้งหมดนี้กับกฎหมายสูงสุดแห่งความรอดของวิญญาณ   จึงเป็นแนวทาง ... ตระหนักถึงข้อความข้างต้น,ข้าพเจ้าต้องปฏิรูปกระบวนการประกาศโมฆะของการแต่งงานและเพื่อจุดประสงค์นี้ ข้าพเจ้าตั้งกลุ่มคนที่มีชื่อเสียง มีความสามารถในข้อความเชื่อทางกฎหมาย,ความสุขุมรอบคอบเชิงอภิบาลและประสบการณ์ทางศาล, ภายใต้คำแนะของอธิการบดีแห่งRoman Rota , ร่างแผนเพื่อปฏิรูป,โดยปราศจากอคติต่อหลักการของการประกาศโมฆะพันธะการแต่งงาน....กลุ่มนี้ได้มีการพัฒนากรอบงานสำหรับการปฏิรูปหลังจากพิจารณารอบคอบ ด้วยความช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ,  ที่ได้ให้พื้นฐานสำหรับสมณกฤษฎีกา
           การขับเคลื่อนที่จะจุดไฟให้กับปฏิรูป โดยสัตบุรษจำนวนมาก ที่หวังความสงบและมโนธรรมของพวกเขา บ่อยครั้ง ถูกแยกจากโครงสร้างทางกฎหมายของหลายคริสตจักร เนื่องจากห่างไกลด้านศีลธรรมและร่างกาย นั่นคือ เมตตาธรรมและเมตตากรุณา ต้องการพระศาสนจักรเดิม ที่มีฐานะที่เป็นมารดา ใกล้ชิดกับบุตรหลาน”
“แนวทางมาจากการออกเสียงของส่วนใหญของบรรดาพระสังฆราช,ในการประชุมสมัชชาสภาพระสังฆราช สมัยวิสามัญที่เรียกร้องกระบวนการที่เข้าถึงง่ายขึ้น.ผสานกลมกลืนกับความปรารถนาของข้าพเจ้าที่จะอ้างถึงสมณกฤษฎีกา พวกเขาไม่ชอบการลดขั้นตอนการทำเรื่องขอโมฆะการแต่งงาน แต่ชอบเร่งความเร็วของขั้นตอน,พร้อมกับความเรียบง่าย เพื่อว่าหัวใจของสัตบุรุษที่รอการสร้างความกระจ่างของสถานะของพวกเขา ไม่ตกอยู่ในความมืดมนแห่งความสงสัย เนื่องจากการรอคอยบทสรุปที่ยืดเยื้อ”
              "ข้าพเจ้าขอดำเนินตามรอยเท้าของผู้ที่ข้าพเจ้าสืบตำแหน่ง,ที่ต้องการคะแนนเสียงส่วนใหญ่ของพี่น้องในสภาพระสังฆราช,ในการทำเรื่องขอโมฆะการแต่งงาน เพื่อผ่านกระบวนการศาลมากกว่าวิธีการบริหาร,ไม่ใช่เพราะลักษณะของสาระเรื่องนี้ แต่เพราะต้องปกป้องการขยายความจริงของพันธะอันศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นไปได้,และนี่คือมั่นใจในการรับรองของระเบียบศาล”.
                  สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสถึงมาตรการพื้นฐานที่เป็นแนวทางในการปฏิรูป
 "1.การบริหารจัดการให้มีการตัดสินคราวเดียว เรื่องการขอโมฆะการแต่งงาน: โดยไม่ต้องตัดสิน 2 ครั้งเพื่อประกาศการลด ขั้นตอนการทำเรื่องขอโมฆะกรรมการแต่งงาน  เพื่อทำให้คู่กรณีทำสัญญาแต่งงานที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักร,
จึงควรพิจารณาถึงจริยธรรมที่พอเพียงจากการตัดสินครั้งแรกตามกฎระเบียบก็เพียงพอแล้ว.
2. การตัดสินครั้งเดียวอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของพระสังฆราช: ผู้ตัดสินอาจเป็นผู้ได้รับศีลบวช พระสังฆราชรับผิดชอบด้านอภิบาลเป็นเบื้องต้น,ที่ใช้อำนาจตุลาการของเขาได้ จะต้องให้แน่ใจว่า การตัดสินครั้งก่อนไม่ได้อยู่ในรูปแบบของความหย่อนยานใดๆ
3. พระสังฆราชคนเดิมเป็นผู้พิพากษา ... พระสังฆราชในศาสนจักรของพระองค์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นประมุขและนายชุมพาบาลของข้าพเจ้า ด้วยเหตุนี้ ผู้พิพากษาต้องซื่อสัตย์ต่อคนที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล
                   ดังนั้น หวังว่าในสังฆมณฑลทั้งใหญ่น้อย พระสังฆราชคนเดิมจะเป็นสัญญาณของการกลับใจของโครงสร้างของพระศาสนจักร, ดีกว่าการมอบหน้าที่ตัดสินคดีกรณีแต่งงานแก่สำนักงานของคูเรีย. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรลดขั้นตอน ที่ทำให้แก้ปัญหาคดีการขอโมฆะเห็นได้ชัดเจนที่สุด "
4. การลดขั้นตอน: อันที่จริง นอกเหนือจากกระบวนการสำหรับการขอโมฆะที่กระชับแล้ว, ต้องกำหนดเป็นรูปแบบของกระบวนการที่สั้นกว่า - นอกเหนือไปจากขั้นตอนด้านเอกสารเช่นในปัจจุบัน – เพื่อนำมาใช้ในกรณีของบุคคลที่ขอให้การแต่งงานเป็นโมฆะ โดยได้รับการสนับสนุนจากการอภิปรายและการชี้แจงที่ชัดเจน”.
สมเด็จพระสันตะปาปาประทานข้อสังเกตว่า  "ขั้นตอนที่สั้นกว่าที่อาจเป็นอันตรายต่อหลักการขอโมฆะแก่การแต่งงาน, เพราะเหตุผลนี้ ข้าพเจ้าต้องการกระบวนการที่มีผู้พิพากษาที่เป็นพระสังฆราชเอง เนื่องจากเป็นงานอภิบาลของเขา ที่รับมาจากนักบุญเปโตร ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเอกภาพคาทอลิกในในความเชื่อและในระเบียบวินัย "
5. การอุทธรณ์ต่อผู้แทนระดับมหานคร (Metropolitan See) ต้องฟื้นฟูคณะผู้ปฏิบัติงาน สำหรับอุทธรณ์ผู้แทนระดับมหานคร,เนื่องจากเป็นตำแหน่งประมุขระดับแขวงของพระศาสนจักร (รวมหลายสังฆมณฑล),มีความมั่นคงมาหลายศตวรรษแล้ว, เป็นสัญญาณที่โดดเด่นของสมัชชาสภาพระสังฆราชของพระศาสนจักร
6. เหนือสิ่งอื่นใด ความสามารถของสมัชชาสภาพระสังฆราช: ซึ่งจะต้องขับเคลื่อนด้วยความปรารถนาการแพร่ธรรม เพื่อเข้าถึงสัตบุรุษที่หลงทาง,พวกเขาจะตระหนักถึงหน้าที่อย่างแรงกล้าที่จะมีส่วนร่วมในการกลับใจดังกล่าวข้างต้น,และเคารพสิทธิของพระสังฆราชอย่างเต็มที่ ที่จะจัดระเบียบอำนาจการตัดสินในพระศาสนจักรท้องถิ่นของพวกเขาเอง.... พร้อมกับความใกล้ชิดต่อผู้ตัดสินคดี,สภาพระสังฆราช (ระดับประเทศ),ขยายงานเท่าที่เป็นไปได้ มั่นใจในการกำหนดโทษของเจ้าหน้าที่ศาล,มั่นใจว่ากระบวนการมีอิสระ,เนื่องจากพระศาสนจักร เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับเรื่องความรอดของวิญญาณ, แสดงหน้าที่ตามกระบวนการศาลเพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการนี้แสดงให้เห็นถึงความรักกตัญญูต่อพระคริสตเจ้า ที่ทรงช่วยเราทุกคนให้รอดพ้น”
 7. การอุทธรณ์ต่อสันตะสำนัก: ทุกรูปแบบต้องมีความสะดวก, ในการอุทธรณ์ต่อ Roman Rota ซึ่งเป็นศาลปกติของสันตะสำนัก,นั่นคือ เคารพหลักการของศาลโบราณ  เพื่อเสริมสร้างพันธะระหว่างสันตะสำนักแห่งนักบุญเปโตรกับพระศาสนจักรท้องถิ่น,อย่างไรก็ตาม การใส่ใจในศิษย์ที่อุทธรณ์ ไปสู่การขจัดการละเมิดความถูกต้องใด ๆ เพื่อว่าจะไม่เกิดอันตรายต่อความรอดพ้นของวิญญาณ
            กฎของโรตาโรมันจะไม่ใช้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้กับกฎระเบียบของขั้นตอนการที่ได้รับการปฏิรูปแล้ว,ภายในขอบเขตของความจำเป็น
            ในประเด็นที่ 8 ที่สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสกับ
พระศาสนจักรเฉพาะ และระเบียบของพระศาสนจักรตะวันออก,ขอกำหนดบรรทัดฐานเพื่อปฏิรูปขั้นตอนการแต่งงานที่แยกจากประมวลกฎหมายพระศาสนจักรของพระศาสนจักรตะวันออก
    สุดท้ายนี้, ข้าพเจ้าขอออกสมณกฤษฎีกาและกำหนดว่า ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ 3 (บรรพ 3,ลักษณะ 1  หมวด 1) เกี่ยวกับขั้นตอนการทำเรื่องขอโมฆะกรรมการแต่งงาน (มาตรา 1671-1691) จะใช้กับบรรทัดฐานใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2015/2558
              เมื่อกล่าวถึงพระศาสนจักรตะวันออกในสมณกฤษฎีกาชื่อ “พระเยซูเจ้าผู้ทรงอ่อนโยนและเมตตา” (“Mitis et misericors Iesus”) พระองค์ประทานข้อสังเกตว่า สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้านี้ ที่ทรงริเริ่มกฎหมายพระศาสนจักรของพระศาสนจักรตะวันออก,ทรงยืนยันว่า “ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการเข้ารหัสประมวลกฎหมายของพระศาสนจักรตะวันออก,เจตจำนงของพระสันตะปาปาเพื่อเปิดกฎหมาย 2 ฉบับ,ฉบับหนึ่งของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก(ละติน),แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กฎหมายของพระศาสนจักรตะวันออกปรารถนาที่จะรักษาสิ่งที่ได้เกิดขึ้นโดยพระญาณเอื้ออาทรในพระศาสนจักร, นั่นคือ สิ่งที่รวมตัวกันอีกครั้งโดยพระจิตเจ้า, พระศาสนจักรต้องหายใจด้วยปอดทั้งสองข้างของ
พระศาสนจักรตะวันออกและพระศาสนจักรตะวันตก,และการถูกแผดเผาไปกับพระเมตตาของพระคริสตเจ้า เหมือนกับหัวใจดวงเดียวกันที่ประกอบด้วยห้องหัวใจ 2 ห้อง”
         “การใช้เส้นทางเดิม,การเข้าสู่กฎระเบียบที่มีระเบียบวิธีของพระศาสนจักรตะวันออก, ข้าพเจ้าตัดสินใจที่จะแยกกฤษฎีกาออกจากบรรทัดฐาน  เพื่อปฏิรูประเบียบขั้นตอนการแต่งงานในกฎหมายพระศาสนจักรของพระศาสนจักรตะวันออกด้วย
          สมเด็จพระสันตะปาปายังทรงเน้นความสำคัญของศาสนบริการของพระสังฆราช,และทรงอ้างคำสอนของพระศาสนจักรตะวันออก, "ผู้ตัดสินคดีและแพทย์,ให้บริการมนุษย์,ที่บาดเจ็บและพลาดล้ม,เนื่องมาจากบาปกำเนิดและบาปส่วนบุคคลของเขาเอง,ความรู้สึกสะอิดสะเอียนและได้รับการรักษาแห่งการชดเชยบาป จะได้รับการเยียวยาและการให้อภัยจากพระเจ้า,และพวกเขาคืนดีกับพระศาสนจักร. อันที่จริง พระสังฆราชเป็นบุคคลที่พระจิตเจ้าทรงแต่งตั้งให้เป็นโฉมพระพักตร์ของพระคริสตเจ้าและกระทำพันธกิจแทนพระองค์,เป็นศาสนบริกรแรกและสำคัญที่สุดแห่งพระเมตตาของพระเจ้า "
           สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสในการประชุมสมัชชาพระสังฆราชของพระศาสนจักรตะวันออกเพื่อทรงแนะนำสมณกฤษฎีกาชื่อ “พระเยซูเจ้าผู้ทรงอ่อนโยนและเมตตา” (“Mitis et misericors Iesus”)      ซื่งทรงแนะนำชื่อนี้กับสมัชชาสภาพระสังฆราช.
               สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าขอออกกฤษฎีกา  ที่กำหนดในลักษณะที่ 26 ของกฎหมายพระศาสนจักรของพระศาสนจักรตะวันออก (บรรพ 1,ลักษณะ 1).กรณีการขอโมฆะแก่การแต่งงาน, (กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 1357-1377) มีบรรทัดฐานใหม่มาแทนทั้งหมด มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2015/2558