การศึกษา, กระแสเรียกตามธรรมชาติของครอบครัว
นครรัฐวาติกัน 20 พฤษภาคม 2015 (VIS) –

                การศึกษาของเด็ก เป็นกระแสเรียกธรรมชาติของครอบครัว เป็นหัวเรื่องของการสอนคำสอนของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ประทานแก่มหาชนที่เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาวันพุธ ณ จัตุรัสนักบุญเปโตร
            ตอนแรก สมเด็จพระสันตะปาปา ทรงอ้างถ้อยคำของนักบุญเปาโลถึงชาวโคโลสีที่ว่า "บุตร จงเชื่อฟังบิดามารดาในทุกสิ่ง เพราะการกระทำเช่นนี้เป็นที่พอพระทัย
องค์พระผู้เป็นเจ้า” (ข้อ 20)
               “บิดาก็จงอย่าขัดใจบุตรเกินไป จนเขาท้อแท้หมดกำลังใจ”  เป็นหน้าที่ของบิดามารดาที่จะเป็นเพื่อนกับลูกของตนในการก้าวไปทีละก้าวของเขา,โดยไม่เรียกร้องสิ่งที่เป็นไปไม่ได้จากลูก เพื่อบิดาจะไม่ครอบงำลูกๆ.
              แล้วพระองค์ตรัสถึงความยากลำบากที่พ่อแม่ประสบ ซึ่งบ่อยครั้งมีโอกาสที่จะเห็นลูกๆในตอนเย็นเท่านั้น  เมื่อพวกเขากลับบ้านด้วยความเหน็ดเหนื่อยหลังจากการทำงาน  เขาเป็น“คนที่โชคดีพอมีงานทำ” และทรงอ้างถึงสถานการณ์วิกฤต ในครอบครัวแตกแยก,ด้วยการทำให้พวกเขามั่นใจว่า ความขัดแย้งระหว่างคู่สมรสต้องไม่กระทบต่อลูกๆ
        พระองค์ตรัสว่า ครอบครัวถูกตำหนิหลายเรื่อง รวมทั้ง การเป็นเผด็จการแบบอำนาจนิยม  การเล่นพรรคเล่นพวกและอารมณ์ถดถอย ล้วนก่อให้เกิดความขัดแย้ง. “ความจริง   ต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันเมื่อมีอยแยกที่เปิดออกระหว่างครอบครัวกับสังคม,และด้วยวิธีนี้,มีสัมพันธภาพระหว่างครอบครัวกับสังคมในการให้การศึกษาแก่ลูก”
        พระองค์ตรัสต่อไปว่า “มีเครื่องบ่งชี้หลายประการ เช่น ในโรงเรียน สิ่งนี้มีผลกระทบต่อสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่และครู,...อีกแง่หนึ่ง,มีการแพร่ความคิดที่ให้“ผู้เชี่ยวชาญ” แย่งบทบาทของพ่อแม่ แม้ในมุมมองด้านการศึกษา...และให้พ่อแม่เพียงแต่ฟัง เรียนรู้และปรับตัว. พ่อแม่จึงไม่ได้ทำตามบทบาทของตน,พวกเขามักจะสรุปรวบยอด  แสดงตนเป็นเจ้าเข้าเจ้าของลูกๆเกินไป, โดยไม่เคยแก้ไขพฤติกรรมของลูก.
           บิดามารดามีแนวโน้มที่จะมอบลูกแก่'ผู้เชี่ยวชาญ' แม้ในความสัมพันธ์กับมุมมองส่วนตัวที่ละเอียดอ่อนมากที่สุดของชีวิตพวกเขา,ด้วยการซ๋อนตัวอยู่ในมุม. ด้วยเหตุนี้ พ่อแม่จึงอยู่ห่างจากชีวิตลูกของตน”
           "เรามาถึงประเด็นนี้ได้อย่างไร? พ่อแม่ในอดีตเป็นต้นแบบด้านการศึกษา ที่มีข้อจำกัด. และเป็นจริงว่า พ่อแม่เท่านั้นที่มีสิทธิอำนาจที่จะทำเรื่องนี้. ขณะที่พวกเขาสามารถชดเชยให้ลูกๆด้วยวิธีที่คนอื่นทำไม่ได้.
        ในอีกแง่หนึ่ง เท่าที่เราทราบมาอย่างดี,บัดนี้ การดำเนินชีวิตทำให้เราเหลือเวลาน้อยสำหรับพูด,คิดไตร่ตรองและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น. ดังนั้น การงานและความกังวลอื่น ๆ ของพวกเขา “ลักพาตัว'  พ่อแม่ไป. พวกเขาก็พบว่า ตัวเองเป็นอัมพาตเพราะกลัวที่จะทำผิด.
          อย่างไรก็ตาม  ปัญหาไม่ใช่เกี่ยวกับการพูดคุยเท่านั้น ...ให้เราถามตัวเองว่า: เราจะพยายามที่จะเข้าใจ 'ที่' ลูกๆของเราอยู่บนเส้นทางของพวกเขาอย่างแท้จริง จิตวิญญาณของลูกๆอยู่ที่ไหน? ... และเหนือสิ่งอื่นใด เราต้องการที่จะรู้หรือไม่ "
           สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเน้นย้ำว่า ชุมชนคริสตชนได้รับเรียกให้สนับสนุนภารกิจด้านการศึกษาของครอบครัว "ความรักย่อมอดทน มีใจเอื้อเฟื้อ ไม่อิจฉา ไม่โอ้อวดตนเอง ไม่จองหอง  ไม่หยาบคาย ไม่เห็นแก่ตัว ความรักไม่ฉุนเฉียว ไม่จดจำความผิดที่ได้รับ  ไม่ยินดีในความชั่ว แต่ร่วมยินดีในความถูกต้อง  ความรักให้อภัยทุกอย่าง เชื่อทุกอย่าง หวังทุกอย่าง อดทนทุกอย่าง” แม้จะเป็นกรณีนี้ พระหรรษทานแห่งความรักของพระคริสตเจ้า เป็นสิ่งที่จารึกในธรรมชาติมนุษย์. แบบอย่างที่วิเศษมากที่เรามีพ่อแม่
ที่เต็มไปด้วยปรีชาญาณมนุษย์. พวกเขาแสดงว่า การให้การศึกษาเป็นแกนสำคัญของแนวคิดมนุษยนิยม. การแผ่ซ่านสู่สังคมคืออย่าปล่อยให้เราชดเชยความอ่อนแอ,บาดแผล,การขาดความเป็นมารดาและความเป็นบิดาที่มีผลต่อลูกที่มีโชคน้อยที่สุด และงานอัศจรรย์แท้”
             พระองค์ทรงสรุปว่า “พ่อหวังว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าประทานครอบครัวที่มีความเชื่อ,อิสรภาพและความกล้าหาญที่จำเป็นต่อพันธกิจของพวกเขา. ถ้าการให้การศึกษาในครอบครัว มีความภูมิใจที่เป็นศูนย์กลาง, หลายสิ่งจะเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า,เพื่อพ่อแม่ที่ไม่เข้มแข็งและลูกๆที่ท้อแท้. ถึงเวลาที่พ่อแม่จะกลับจากการเนรเทศของพวกเขา,และมามีบทบาทเป็นผู้ให้การศึกษา”